บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:15:02

ความถึงพร้อม ๗ ประการ


http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/13623.jpg@n

ความถึงพร้อม ๗ ประการ
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ.

มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษซึ่งแตกต่างจากสัตว์อื่น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ คือ สิกขาหรือการศึกษา ได้แก่ การเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา มนุษย์จึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐเพราะมีสิกขา

สิกขาคืออะไร? สิกขาหรือการศึกษา เรามีโอกาสเรียนรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำไว้แต่อดีต และเราก็เลือกทำตามการศึกษาว่า อะไรควรละ เราก็ไม่ทำ อะไรควรทำ เราก็ทำมา แล้วทำความดีมาในสิกขานั้นก็จับอารมณ์ดีนั้นจุติแล้วปฏิสนธิได้เป็นมนุษย์ นี่คือคำตอบที่ตรง เพราะว่าเดรัจฉานไม่มีการศึกษา

ศึกษา คือการเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาจิตใจให้ไม่ไหลต่ำไปเป็นเดรัจฉาน เมื่อได้การศึกษาและมาพัฒนาแล้วชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ คำว่าสัตว์ประเสริฐ หมายถึง ผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามตนเอง และมีความสามารถช่วยสังคมดำรงอยู่ในสันติสุข ความสุขอันพอควรได้ ฉะนั้นอดีตแต่ละคนจึงจะต้องมีแสงเงินแสงทองส่องชีวิตมาด้วยเหตุอดีตเราต้องมีกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว

มนุษย์ทั้งหมดมีการเรียนรู้ แต่จะเรียนรู้ต่างกันอย่างไร เช่น เรียนรู้ดี รู้ชั่ว จนได้ฝึกฝน แต่จะฝึกฝนอย่างไรล่ะ ในสถานที่ที่ปฏิบัติจิตใจให้ไกลจากกิเลสก็ดี พวกนี้จะต้องมีการเรียนรู้จากอดีตเรียกว่า ปุพเพ กต ปุญฺญตา และเคยคบค้าสมาคมกับกัลยาณมิตร ดังรายละเอียดดังนี้


บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:15:22

มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษซึ่งแตกต่างจากสัตว์อื่น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ คือ สิกขาหรือการศึกษา ได้แก่ การเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนา มนุษย์จึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐเพราะมีสิกขา

สิกขาคืออะไร? สิกขาหรือการศึกษา เรามีโอกาสเรียนรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำไว้แต่อดีต และเราก็เลือกทำตามการศึกษาว่า อะไรควรละ เราก็ไม่ทำ อะไรควรทำ เราก็ทำมา แล้วทำความดีมาในสิกขานั้นก็จับอารมณ์ดีนั้นจุติแล้วปฏิสนธิได้เป็นมนุษย์ นี่คือคำตอบที่ตรง เพราะว่าเดรัจฉานไม่มีการศึกษา

ศึกษา คือการเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาจิตใจให้ไม่ไหลต่ำไปเป็นเดรัจฉาน เมื่อได้การศึกษาและมาพัฒนาแล้วชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ คำว่าสัตว์ประเสริฐ หมายถึง ผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามตนเอง และมีความสามารถช่วยสังคมดำรงอยู่ในสันติสุข ความสุขอันพอควรได้ ฉะนั้นอดีตแต่ละคนจึงจะต้องมีแสงเงินแสงทองส่องชีวิตมาด้วยเหตุอดีตเราต้องมีกัลยาณมิตรมาก่อนแล้ว

มนุษย์ทั้งหมดมีการเรียนรู้ แต่จะเรียนรู้ต่างกันอย่างไร เช่น เรียนรู้ดี รู้ชั่ว จนได้ฝึกฝน แต่จะฝึกฝนอย่างไรล่ะ ในสถานที่ที่ปฏิบัติจิตใจให้ไกลจากกิเลสก็ดี พวกนี้จะต้องมีการเรียนรู้จากอดีตเรียกว่า ปุพเพ กต ปุญฺญตา และเคยคบค้าสมาคมกับกัลยาณมิตร ดังรายละเอียดดังนี้

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:15:40

๒.ศีลสัมปทา

ทำศีลให้ถึงพร้อม เราต้องมีอดีตมาอุดหนุนด้วยนะจึงมาฟังเรื่องศีล สวดมนต์ได้ ฟังแล้วไม่มึนเหมือนถูกอะไรกรีด บางคนทรมานใจมากเพราะพึ่งฆ่าวัวฆ่าควายมา แล้วมารับศีล ทำให้อึดอัด และตอนใกล้ตายคนฆ่าสัตว์มักจะมีภาพสัตว์เกิดขึ้น เช่น คนชอบชนไก่ แล้วกินเหล้าด้วย ตอนใกล้ตายก็เอามือชนกันอยู่ตลอดเวลาจนเลือดซิบ พอญาติเอามือไปผูกไว้ก็สงบ เมื่อปล่อยก็เป็น อย่างนั้นอีก มีญาติเขามาตามพระอาจารย์บุญมีกับพ่อไปช่วย ก็ไปตามคำขอความช่วยเหลือ แต่ก็รู้อยู่ว่าตายแล้วไปนรกแน่นอน ช่วยไม่ได้ เพราะที่หมายเขาเป็นอย่างนี้ และอีกคนเป็นนักชกมวย ก็เดินชกหน้าตัวเองตลอด

ฉะนั้นจึงต้องมีสิ่งที่เป็นข้อห้ามคือมีศีล ไม่อยากตกต่ำก็คือทำศีลให้ถึงพร้อม มีวินัยเป็นรากฐานของการพัฒนาชีวิต วินัยก็คือศีลนั่นเอง วินัยธรรมหรือพระวินัย คือการพัฒนาชีวิตนั่นเอง รู้จักระเบียบและความเป็นอยู่ รู้จักกิจกรรมและกิจการให้หมด

กิจกรรมที่ควรทำต้องดี กิจการคืองานการที่ต้องเป็นทั้งกายและใจก็ต้องดี และสิ่งแวดล้อมเอื้อโอกาสให้ เช่น สิ่งแวดล้อมเอื้อโอกาสให้เราปล่อยนกปล่อยปลา และโอกาสอย่างนี้หายาก เพียงน้อมกายและใจปล่อยไปให้มีความเคารพในงานบุญทุกครั้ง อย่าอาศัยเหมือนกินข้าว อย่างน้อยต้องมีศีล ๕ มีความประพฤติหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องในความสัมพันธ์กับสังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยอาศัยการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์และสัตว์ต่างๆ เป็นไปอย่างเกื้อกูล ไม่เบียดเบียนกัน

ศีลสัมปทาสำคัญในการใช้ปัจจัย ๔ คือ อาหารต้องไม่ลักขโมยเขากิน ไม่มีก็ขอกัน ถ้าได้ก็นึกว่าวิบากดี ถ้าเขาไม่ให้ก็นึกว่ากรรมตน ดีกว่าไปขโมยเขากิน หาเช้ากินค่ำก็ยังน่าเทิดทูนกว่าอยู่เฉยๆ กินของเขาโดยเขาไม่อนุญาต เพราะเท่ากับลักทรัพย์ บัณฑิตยังสรรเสริญคนหาเช้ากินค่ำ

ที่อยู่อาศัยก็ให้มีศีล โดยอย่าก้าวล่วง อย่าทำผิด บางคนไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่ผ่อนคอนโดมิเนียม แต่เอาเงินไปทำอย่างอื่นก่อน ท่านบอกว่ามีหนี้สินได้ (แต่ไม่มีดีที่สุด) แต่หากจำเป็นต้องมีหนี้สิน ต้องรับผิดชอบ เมื่อจะทำอะไร ต้องรับผิดชอบสิ่งนั้นให้ได้

ท่านสอนเรื่องที่อยู่อาศัยว่า ครอบครัวเป็นของไม่ดี แต่เมื่อมีแล้วทำดีให้เกิดในครอบครัว รับผิดชอบ อยู่ด้วยกันจนไม้เท้ายอดทองตะบองยอดเพชร หากมีน้อยก็กินน้อยๆ ก็อย่าไปขโมยเขากิน แล้วก็เกื้อกูลกันเป็นมงคลชีวิต เลี้ยงดูในภรรยาและเคารพในสามี สงเคราะห์บุตร อย่าฆ่าสัตว์ โดยเฉพาะทำแท้งไม่ได้ เมื่อมีบุตรแล้วต้องรับผิดชอบดูให้เขาดี ส่งให้เขาดี ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เคยส่งเสริมคุณภาพชีวิตนี้ต้องเคารพ คือกตัญญูต่อสิ่งของ ไม่ทิ้งให้เสียหาย เมื่อให้ประโยชน์เราแล้ว ต้องถนอมดูแลด้วย

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:15:59

๓.ฉันทสัมปทา

ทำฉันทะให้ถึงพร้อม มีจิตใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ ก็คือเป็นผู้มีพลังแห่งความใฝ่รู้ มีอำนาจที่จะลุกขึ้นมาใฝ่รู้ใหม่ ลุกขึ้นมาใฝ่ดีใหม่ ลุกขึ้นมาใฝ่ธรรมใหม่ ไม่ใช่พอเบื่อแล้ว ก็เบื่อไปตลอดชีวิต คิดว่าทำดีไม่ได้ดีแล้ว เลยไม่ดีไปตลอดชีวิต

ใฝ่รู้ คือ เรียนไปแล้ว ก็เรียนใหม่ เพราะมีเรื่องให้เรียน ผู้ที่หมดการเรียนก็คือพระอรหันต์เท่านั้น ฉะนั้นเมื่อมีชีวิตจึงต้องเรียนต่อ ฉะนั้นความรู้เรียนไม่จบเพราะชีวิตยังไม่จบจากโลก

ใฝ่ดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี

ใฝ่ทำ คือ การงานไม่คั่งค้าง มงคลชีวิตทั้งหลายใฝ่ทำเสีย ไม่ควรคบคนพาล คบบัณฑิต จนกระทั่งถึงจิตเกษม

ใฝ่สร้างสรรค์ คือ สร้างสรรค์ตนเองให้ดีขึ้น ไม่มีความคิดเดิมๆ ที่ต่ำๆ ไม่พูดเรื่องเดิม ไม่เติมเรื่องชั่ว เรื่องมันจบไปแล้ว คนล้มอย่าข้าม เพราะคนข้ามลำบากเนื่องจากต้องถ่างขา เพราะเวลาเราล้มบ้าง เราก็ไม่อยากให้ใครมาข้าม เราก็อย่าไปข้ามใคร คือไม่เอาใจข้ามเขตไปนอกเรื่องคนอื่น กำหนดรู้และดีต้องทำ ชั่วไม่ทำตลอดไป นี่นึกอย่างนี้

ใฝ่ให้เกิดความสัมฤทธิ์ เช่น ท่านทั้งหลายต้องการมรรคผลนิพพานโดยไวชาติ ก็ต้องนึกถึงเป้าหมายตัวเองทุกวัน วันนี้เราต้องออกไปทำงานทางโลก แต่จุดหมายปลายทางของชีวิต เราไม่ผันแปรไปจากพระนิพพาน ขออำนาจเจตนาในฉันทะในพระนิพพาน จงมาเป็นสติ จงมาเป็นอำนาจวาสนา บารมีส่งเสริมให้ข้าพเจ้านึกได้คิดดี เพราะพระนิพพานต้องนึกได้ในทางและคิดดีในทาง ทุกวันไปจะมีหรือไม่มี ก็นึกได้ให้มีสติ คิดดีมีปัญญาให้มาก สติปัญญาทั้งวัน เป็นหน้าที่

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:16:23

๕. อัตตาสัมปทา

ทำตนให้ถึงพร้อม คำอธิบายในนี้ก็คือ เป็นคนที่มุ่งมั่นฝึกตนเองจนเต็มสุดภาวะ สุดความสามารถ ตามที่ความเป็นคนเข้าถึงได้ เช่น มะม่วงที่อยู่สูงๆ ความเป็นคนต้องฝึกได้คิดสร้างสรรค์ หาไม้มาสอยมีตะกร้อใส่กันมะม่วงร่วง แต่ถ้าเราอยากจะกินมะม่วง แล้วมะม่วงข้างล่างมันหมดแล้ว ก็ไม่กินแล้ว นอนดีกว่า นี่ยังใช้ความเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ มนุษย์มีความริเริ่มและสร้างสรรค์ ถ้าเผื่อสูงไปนิดหนึ่งก็เอาเก้าอี้ต่อขึ้นไปแล้วเก็บ หรือเอาไม้สอยอีก

อัตตสัมปทา คือ มุ่งมั่นฝึกตน ฝึกภาวะความเป็นคนที่จะถึงได้ คือใช้ความเป็นมนุษย์เต็มที่ โดยดูว่าใช้ความพยายามเต็มที่แล้วหรือไม่ ที่สอบตกเพราะไม่มีความเพียร ไม่ขยัน แล้วบอกว่าหัวไม่เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วเหตุอดีตไม่เหมือนกัน แต่เหตุอันนี้สามารถทำใหม่ได้ หน้าตารูปร่างกระดูกทำใหม่ไม่ได้ แต่จิตมันทำใหม่ได้ สร้างสรรค์ใหม่ได้ โดยให้ระลึกอยู่เสมอว่า ความจริงแท้แห่งธรรมะคือความจริงแห่งธรรมชาติทั้งหลายนี้ของมนุษย์ คือสัตว์ที่ฝึกได้

บางทีเราเบื่อในการเรียนอะไร หรือการปฏิบัติก็ให้หมั่นเตือนตน วันนี้ยังไม่รู้ แต่วันหน้ายังมี ครูคือพระธรรม ผู้ให้พระธรรมคือพระบรมครู จิตสร้างสรรค์ตั้งเรื่องดี ตั้งเป้าหมายดีแล้ว ย้ายอารมณ์ เพื่อกันความไม่แช่ในอารมณ์

โดยฝึกให้กายดี วาจาดี พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากจะมีสี พูดดีเป็นมงคล พูดสัปดนมงคลไม่มี คิดดีได้ดี คิดไม่ดีได้ไม่ดี คาถาที่ใช้พัฒนาชีวิต ไม่ไปตามยถากรรม จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้

ในอัตตสัมปทานั้น การกระทำที่จะหมั่นให้ถึงพร้อมทั้งกาย วาจา ใจนั้น ท่านบอกว่าเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ยากถ้าเผื่อเรามีการเตือนตนอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้ฝึกได้ พระพุทธเจ้าตรัสแค่นี้ สอนแค่นี้ ฝึกอะไร ฝึกพฤติกรรม ฝึกจิตใจ ฝึกปัญญา

ฝึกพฤติกรรมให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องตอบสนองด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มันเป็นธรรมชาติฝ่ายดี และพัฒนาสติปัญญาให้จิตใจเกิดสติอยู่ทุกเมื่อ จิตมีสติอยู่ตลอดเวลาเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดทางคลอดของปัญญา ถ้าจิตไม่มีสติ ปัญญาก็คลอดไม่ออกหรอก เพราะสติเป็นตัวสำคัญของชีวิต

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:16:40

๕.ทิฏฐิสัมปทา

ทำทิฎฐิให้ถึงพร้อม พระพุทธเจ้าสอนให้ถือหลักเหตุปัจจัย มองอะไรตามเหตุและผล คือตั้งอยู่ในหลักของความคิดความเชื่อที่ดีงามอย่างมีเหตุผล เชื่อบุญเชื่อบาป เชื่อนรกเชื่อสวรรค์ เชื่อชาติหน้า

ทำไมต้องเชื่อ เพราะมีหลักการซึ่งเป็นไปตามหลักกรรม หลักการนั้นเหตุนี้ไปอย่างนี้ เหตุนั้นไปอย่างนั้น แล้วใครจะเปลี่ยนแปลงหลักกรรมได้ เปลี่ยนอะไรก็ได้ ศัลยกรรมหน้าได้ แต่ศัลยกรรมกรรมไม่ได้

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เก่งยอดปราชญ์เมธี ท่านก็ได้แค่บอกวิธีให้แต่ละคนเอาวิชาต่างๆ ไปศัลยกรรมกรรมของตัวเอง ฉะนั้นเราได้วิชาของพระพุทธเจ้าไปแล้ว ก็เอามาทำศัลยกรรม เอามาทำกรรมชั่วให้เป็นดี ทำกรรมดีให้เป็นวิสุทธิ ไม่มีวิบาก

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:16:59

๖.อัปปมาทสัมปทา

ทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ไม่ประมาททั้งกาย วาจา ใจ ที่โบราณบอกว่า มือถือสาก ปากถือศีล เพราะฉะนั้นเมื่อจะถือศีล ถือทั้งกายทั้งใจ เช่น บางทีปากก็รับศีลว่า มุสาวาทา เวรมณีสิกขาปทังสมาทิยามิ แต่ตาขยิบจะไปทำผิด บางคนฟังเทศน์ซักพัก ก็ง่วงนอนแล้วหลับ ของดีหนี เพราะติดนิสัยเก่า

สัตว์เดรัจฉาน เช่น สุนัข เจอแดดแล้วง่วง เช้าก็ง่วง แต่ทุกคนไม่เคยไม่เกิดเป็นสัตว์อะไรเลย เชื่อไหม เราเคยเป็นหมากันมาก่อน เคยเป็นสัตว์นรก เคยเป็นเดรัจฉาน แต่เป็นของเก่า แต่เราจะไม่ให้เกิดแบบนั้นใหม่เท่านั้นเอง นี่ล่ะยอมรับความจริง นี่ล่ะเดรัจฉานเก่า แต่ใหม่จะไม่มี เพราะไม่ดีเลย เคยเป็นสัตว์นรกเก่า แต่พยายามจะไม่ให้เกิดในสัตว์นรกใหม่อีกให้ได้ ต้องมีใจอย่างนี้เดินตามบุรุษใจเพชร

เคยเป็นอะไร? ยอมรับ ยอมรู้ ดูเป็นว่าจะเลือกทำอะไร ดูของเก่าดี เอามาให้ดีใหม่ ของเก่าไม่ดี อย่ามีอีกนะ นี่พูดไปเลยใครบ้างไม่เคยลงนรก ชี้ตัวเองได้เลย โธ่...ไอ้กิ้งกือเก่า แต่จะไม่เป็นกิ้งกืออีก นี่คือการสอนตน คนเราเวลาใครว่าโกรธ เรามีหน้าที่ว่าตน เตือนตนและช่วยตน เพื่อจะได้ไม่เกิดตำหนิอีกต่อไป นี่แหละชีวิตเรา

ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือมีจิตสำนึกในความไม่เที่ยง ระลึกอยู่เสมอ มองเห็นตระหนักถึงความไม่คงที่ของชีวิต และสิ่งทั้งหลายรอบตัว มีความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา สภาพทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา สิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา ทั้งชีวิตเราและของภายนอก

บุษกร โพสต์ 2017-4-29 14:17:34

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา

ทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม พระพุทธองค์สอนให้เป็นผู้ฉลาดคิดแยบคาย เพราะการคิดแต่ละครั้งๆ ต้องได้ประโยชน์และความจริง ถ้าได้ประโยชน์อย่างเดียวแต่ไม่ใช่ความจริงก็ยังไม่ใช่โยนิโสมนสิการ มีความจริงแต่ไม่เกิดประโยชน์ ก็ไม่ใช่โยนิโสมนสิการ เช่น พูดธรรมะเก่ง แต่ไม่เกิดประโยชน์กับตนเองเลย โยนิโสมนสิการไม่ได้ใช้

โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกระทำอะไรก็แล้วแต่มีความฉลาดคิดให้เกิดประโยชน์และความจริง ฉลาดคิดเป็นประโยชน์ให้รู้จักความจริงในขณะกำหนดรู้ว่านี่เป็นรูป เป็นนาม

ประโยชน์ในที่นี้คือตัดวัฏฏะสงสาร เป็นปรมัตถ์คือเป็นความจริง รู้ว่าสมมติอย่างนี้เป็นสัจจะ แล้วสร้างวัฏฏะของเรา แต่ปรมัตถ์ตัดวัฏฏะคือรูปนาม

รู้จักคิด พิจารณา ใคร่ครวญ แล้วค่อยตัดสิน นี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโยนิโสมนสิการ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายทั้งมวลไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นระบบความสัมพันธ์ของเหตุผล เป็นระบบการทำงานของธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์กลมกลืนตามหน้าที่ของมัน เมื่อไหร่เหตุผลสัมพันธ์กัน ก็มีผลปรากฏขึ้น เมื่อไหร่เหตุผลนั้นจบลง มันก็ไม่มีผล ก็ปีนเกลียวกัน ไม่เป็นไปด้วยสายสัมพันธ์นั่นเอง

ฉะนั้น หลักการเสริมเติมชีวิตให้เกิดความสัมพันธ์กันในชีวิตนี้และชีวิตหน้า ประโยชน์ในชาตินี้และประโยชน์ในชาติหน้าต้องมีตำราเป็นคู่ชีวิต ๗ เรื่องดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/i554.photobucket.com/albums/jj409/somjai100/line/882424051988164824.gif



หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ความถึงพร้อม ๗ ประการ