มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 781|ตอบกลับ: 4

ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ๔ ประการ

[คัดลอกลิงก์]

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ๔ ประการ
(คัดตัดตอนมาจากหนังสือการปฏิบัติวิปัสสนา ของอภิธรรมมูลนิธิ)
โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร ( พระอาจารย์บุญมี เมธังกุโร)

2033.jpg

ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ๔ ประการ

๑. ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดกามุปาทาน ได้แก่ ความยินดีติดใจในอารมณ์ก่อให้เกิดความยึดมั่นเหนียวแน่นในอารมณ์ที่เป็นกาม

อันความติดอกติดใจเหนียวแน่นซึ่งเป็นอุปาทานนั้น ถ้าเป็นไปตามธรรมดาสามัญน่ากลัวอันตรายมากอยู่แล้ว ถ้าจิตใจไม่มั่นคงหรืออำนาจบังคับบัญชาจิตใจของตนเองอ่อนก็ย่อมจะก่อเหตุร้ายแรงขึ้นได้ในชีวิต เพราะจะกล้ากระทำในสิ่งที่ไม่สมควรได้โดยง่าย

เช่น คนมีสตางค์ไม่มากแต่อยากได้โทรทัศน์ อันเป็นอุปาทานเหนียวแน่นอยู่ในใจมาหนุนเนื่องให้จิตเกิดอารมณ์ปรารถนามากยิ่งขึ้น ถ้ายิ่งติดใจเหนียวเท่าไร มันก็ยิ่งมีกำลังแรงมากขึ้นเท่านั้น กำลังของความปรารถนาจะได้โทรทัศน์ที่เก็บแฝงอยู่ภายในใจจะกระทบใจไม่ได้หยุดหย่อน ทำให้คิดนึกถึงอยู่เรื่อยๆ ไป ยิ่งมองเห็นลูกหลานไปดูที่บ้านคนอื่นก็สะท้อนใจ แม้ร่างกายจะเห็นว่ามันอยู่นิ่งๆ แต่ภายในใจนั้นกระสับกระส่ายไม่สงบเลย

ตามตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ถ้าอำนาจบังคับจิตใจไม่มีความเข้มแข็งแล้วก็จะต้องวุ่นวายแสวงหาเงินทองไปในทางที่ไม่สุจริตก็ได้ เช่น แอบขอยืมเงินหลวงไปใช้ก่อนหรือหาทางคอรัปชั่นเป็นต้น ถ้าหากว่ามีอำนาจบังคับบัญชาจิตของตนดี สิ่งแวดล้อมหรือการอบรมในอดีตมาดีพอใช้ ก็คงจะไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งในทางทุจริต แต่ก็จะพยายามหาทางอื่น เช่น ขอยืมเงิน ซื้อเงินผ่อน หรือจำนองจำนำทรัพย์สินบางอย่าง

๒. ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดทิฏฐุปาทาน ได้แก่ ความยินดีติดใจในอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นผิด (เป็นความเห็นผิดที่ไม่เกี่ยวกับสีลัพพตทิฏฐิและอัตตทิฏฐิ)

หมายความว่า ความติดอกติดใจในอารมณ์ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นผิด เช่นเห็นผิดว่า คนเราที่เกิดมาได้นั้นก็เพราะพ่อแม่สมสู่อยู่ด้วยกัน ไม่มีเหตุอื่นอะไรอีกเลย และเมื่อเกิดมาแล้วมีความสบายก็ดี ลำบากก็ดี รูปร่างสวยงามหรือไม่สวยงามก็ดี ยากจนหรือร่ำรวยก็ดี เป็นไปได้ก็โดยเหตุบังเอิญทั้งนั้น ไม่ใช่ผลมาจากกรรมในชาติก่อนเลย

บุคคลเหล่านี้มักถือว่าเมื่อตายลงไปแล้วก็สูญสิ้นหมดไป เพราะอาศัยเหตุผลตื้นๆ ในปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้นมาตัดสิน แล้วก็มีความยินดีพอใจในความเห็นของตนอย่างแน่นหนา ความยินดีติดใจในกามคุณเช่นความสนุกสนานเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆ จึงไม่ได้คิดพิจารณาเหตุผลลึกซึ้งจึงได้เกิดทิฏฐุปาทาน มีความเห็นว่าบาปบุญไม่มี ทำดีหรือทำชั่วก็ไม่มีผลสืบต่อไปในอนาคต แล้วยึดติดอยู่ในความเห็นผิดอันนั้น

ความยินดีติดใจในอารมณ์ก่อให้เกิดความเห็นผิด จึงมีกำลังความสามารถที่จะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ชีวิต และทำให้วัฏฏะเจริญงอกงามขึ้นโดยไม่รู้ตัว การที่จิตเกิดทิฏฐุปาทานนี้ก็เนื่องมาจากในอดีตชาติและอาศัยสิ่งแวดล้อมและการอบรมในชาติปัจจุบันร่วมด้วย พร้อมทั้งมีโยนิโสมนสิการไม่ดีคือพิจารณาไม่ละเอียดลึกซึ้งจึงได้ทำให้จิตคิดเห็นในแบบนี้

13109.jpg

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-2-2 11:19:37 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๓. ตัณหาเป็นปัจจัยในเกิดสีลัพพัตตุปาทาน ได้แก่ ความยินดีติดใจในอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นในสิ่งที่ผิดเอามาเป็นที่พึ่ง

หมายความว่า เป็นผู้มีความคิดเห็นว่า โลกมนุษย์นี้มีแต่ความวุ่นวายร้ายกาจเต็มไปด้วยทุกข์ จึงหวังความสุขในเทวโลกหรือหวังจะให้พ้นจากการหมุนเวียนเกิดแล้วเกิดอีก ให้พ้นไปเสียจากความทุกข์ทรมาน


เมื่อความปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์มีกำลังมาก จึงได้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์ไปในทางที่ผิดคือเกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเพื่อให้หลุดรอดไปจากทุกข์ถึงซึ่งความสุขอย่างแท้จริง แต่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผลที่ได้รับจึงตรงกันข้าม

ผมขอเล่าเรื่องประกอบสักเรื่องหนึ่ง ยังมีปริพาชกสองคนชื่อ “ปุณณะ” กับ “เสนียะ” ทั้งสองคนนี้ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่มีความเห็นว่าโลกมนุษย์นี้มีแต่ทุกข์ เห็นเทวโลกมีความสุขมากที่สุด แต่การปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายดังกล่าวนั้นจะต้องทำให้กิเลสต่างๆ ไม่เกิดขึ้นมา และบาปเก่าๆ ที่ได้ทำไว้ก็จะต้องสูญสลายหายไปด้วย แต่ความคิดเห็นของเขาได้ออกไปนอกลู่นอกทาง คิดว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ชั้นสูง ควรจะต้องทำตัวให้ต่ำเหมือนสัตว์เดรัจฉานจึงจะทำให้กิเลสหมดสิ้นได้สมปรารถนา โดยปุณณะปริพาชกจึงปฏิบัติตนให้เหมือนกับสุนัข เสนียะปริพาชกก็ปฏิบัติตนให้เหมือนโค

ทั้งสองคนพยายามทำตนให้เหมือนสุนัขและเหมือนโคอย่างแท้จริงเท่าที่จะทำได้ เช่นไม่ใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก แต่ก้มลงกินแบบสัตว์ น้ำที่เคยดื่มก็ใช้ลิ้นเลียเอา แล้วก็ลงเดินสี่เท้าเช่นเดียวกับสุนัขและโค แต่ก็ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้คือมีหาง จึงได้เอากิ่งไม้มาต่อที่ก้นของตนเพื่อให้ใกล้เคียงกับสัตว์ที่เขาปรารถนา

ต่อมาทั้งสองคนได้มาพบกันเข้าแล้วต่างก็ถกเถียงกันว่า ข้อปฏิบัติของตนดียิ่งกว่าของอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่มีใครชี้ขาดได้ทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ก็ยังคงโต้เถียงกันอยู่เอ็ดอึง ฝ่ายหนึ่งก็ว่าปฏิบัติเหมือนสุนัขดีกว่า อีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าปฏิบัติเหมือนโคดีกว่า แล้วจึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เมื่อตายจากภพนี้แล้วจะไปเกิดที่ไหน จะไปเกิดยังเทวโลกใช่หรือไม่”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปฟังคำถามแล้วก็ทรงห้ามว่า “อย่าถามเช่นนี้เลย” ทรงห้ามอยู่สามครั้งปริพาชกทั้งสองก็ยังไม่ยอมนิ่ง ในครั้งที่สี่พระองค์จึงได้กล่าวขึ้นว่า “ดูกร ปริพาชก ผู้ใดปฏิบัติตนให้เหมือนสุนัข พยายามทำตนให้ใกล้เคียงกับสุนัขทุกอย่างถ้าหากตายไปก็จะได้ไปเกิดเป็นสุนัขเป็นแน่ ส่วนที่ปฏิบัติตนอย่างเดียวกันกับโคเมื่อตายแล้วจะได้ไปเกิดเป็นโคอย่างแน่นอน และความคิดที่ว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นหนทางนำตนไปสู่เทวโลกนั้นเป็นความคิดที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนั้น จึงอาจจะต้องไปเกิดในนรกเสียก่อนก็อาจจะเป็นได้”

ปริพาชกทั้งสองได้ยินเช่นนั้นก็ตกตะลึง รู้สึกเสียใจ แล้วก็ร้องไห้ขึ้นทั้งสองคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมแก่ปริพาชกทั้งสอง เมื่อแสดงจบแล้วปริพาชกทั้งสองได้กล่าวคำขอถึงซึ่งไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งของตน

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-2-2 11:20:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ทั้งสองคนพยายามทำตนให้เหมือนสุนัขและเหมือนโคอย่างแท้จริงเท่าที่จะทำได้ เช่นไม่ใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก แต่ก้มลงกินแบบสัตว์ น้ำที่เคยดื่มก็ใช้ลิ้นเลียเอา แล้วก็ลงเดินสี่เท้าเช่นเดียวกับสุนัขและโค แต่ก็ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้คือมีหาง จึงได้เอากิ่งไม้มาต่อที่ก้นของตนเพื่อให้ใกล้เคียงกับสัตว์ที่เขาปรารถนา

ต่อมาทั้งสองคนได้มาพบกันเข้าแล้วต่างก็ถกเถียงกันว่า ข้อปฏิบัติของตนดียิ่งกว่าของอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่มีใครชี้ขาดได้ทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ก็ยังคงโต้เถียงกันอยู่เอ็ดอึง ฝ่ายหนึ่งก็ว่าปฏิบัติเหมือนสุนัขดีกว่า อีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าปฏิบัติเหมือนโคดีกว่า แล้วจึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เมื่อตายจากภพนี้แล้วจะไปเกิดที่ไหน จะไปเกิดยังเทวโลกใช่หรือไม่”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปฟังคำถามแล้วก็ทรงห้ามว่า “อย่าถามเช่นนี้เลย” ทรงห้ามอยู่สามครั้งปริพาชกทั้งสองก็ยังไม่ยอมนิ่ง ในครั้งที่สี่พระองค์จึงได้กล่าวขึ้นว่า “ดูกร ปริพาชก ผู้ใดปฏิบัติตนให้เหมือนสุนัข พยายามทำตนให้ใกล้เคียงกับสุนัขทุกอย่างถ้าหากตายไปก็จะได้ไปเกิดเป็นสุนัขเป็นแน่ ส่วนที่ปฏิบัติตนอย่างเดียวกันกับโคเมื่อตายแล้วจะได้ไปเกิดเป็นโคอย่างแน่นอน และความคิดที่ว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นหนทางนำตนไปสู่เทวโลกนั้นเป็นความคิดที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนั้น จึงอาจจะต้องไปเกิดในนรกเสียก่อนก็อาจจะเป็นได้”

ปริพาชกทั้งสองได้ยินเช่นนั้นก็ตกตะลึง รู้สึกเสียใจ แล้วก็ร้องไห้ขึ้นทั้งสองคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมแก่ปริพาชกทั้งสอง เมื่อแสดงจบแล้วปริพาชกทั้งสองได้กล่าวคำขอถึงซึ่งไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งของตน

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-2-2 11:21:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๔. ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอัตตวาทุปาทาน ได้แก่ ความยินดีติดใจเป็นปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นว่าเป็นตัวตนคนสัตว์

อัตตวาทุปาทานนั้นก็คือ อัตตทิฏฐิหรือสักกายทิฏฐิ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนคนสัตว์นั่นเอง

อัตตทิฏฐิหรือสักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นได้โดยอาศัยรูปขันธ์บ้าง วิญญาณขันธ์บ้าง ว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นหญิง เป็นชาย

เช่น เข้าใจว่า เรากับร่างกายเป็นอันเดียวกัน เหมือนเปลวไปกับแสงไฟ

หรือเห็นว่า เรากับร่างกายเป็นคนละอัน เหมือนคนกับเงา

หรือเห็นว่า การรู้อารมณ์เป็นเรา เราคือการรู้อารมณ์

เข้าใจไปว่า เรากับการรู้อารมณ์เป็นอันเดียวกัน เหล่านี้เป็นต้น

ความเชื่อมั่นเป็นอัตตะตัวตน แบ่งออกเป็น ๒ คือ ปรมอัตตะ กับชีวอัตตะ

ปรมอัตตะ คือผู้มีความยึดมั่นว่ามีตัวตนอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เป็นผู้มีความสามารถยิ่งกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะว่าสร้างโลกให้เกิดขึ้นก็ได้ สร้างมนุษย์ สัตว์ และสร้างสิ่งสารพัดทั้งปวงให้เกิดขึ้นก็ได้โดยการดลบันดาลขึ้นมา

แล้วมีความเชื่อว่าตัวตนอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวมานั้นเป็นอมตะ ไม่รู้จักตาย ไม่รู้จักสูญสลายไปไหนเลย สิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตในโลกนี้ทั้งหมด ความมั่งมีหรือความยากจน ตระกูลสูงหรือตระกูลต่ำ เจ็บป่วยมากหรือเจ็บป่วยน้อย รูปร่างสวยงามหรือไม่สวยงาม เหล่านี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการดลบันดาล เกิดขึ้นโดยฝีมือของพระผู้เป็นใหญ่ที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งใดๆ ทั้งนั้น จึงต้องบนบานศาลกล่าว ต้องคารวะกราบไหว้แล้วอ้อนวอนขอความกรุณา เพื่อช่วยให้ตนหลุดรอดไปจากความทุกข์

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-2-2 11:22:44 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชีวอัตตะ คือผู้มีความยึดมั่นว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนี้มีสิ่งกายสิทธิ์อาศัยอยู่ภายในเรียกว่าเจตภูตบ้าง กายทิพย์บ้าง ตัวชีวิตบ้าง และวิญญาณบ้าง เมื่อร่างกายแตกทำลายลงแล้วตัวชีวิตหรือกายทิพย์นี้จะไม่มีวันแตกดับ ไม่มีวันตายไปด้วยเลย แต่จะออกจากร่างกายแล้วล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ตามผลบุญผลบาปที่ได้ทำเอาไว้

แม้ผลที่เกิดจากกรรมดี กรรมชั่ว อันทำให้มีความทุกข์ มีความสุข ก็เชื่อว่าชีวอัตตะ กายทิพย์ หรือวิญญาณ เป็นผู้เสวยความทุกข์หรือความสุขนั้น

แม้ว่าร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่เคลื่อนไหวไปมา พูดได้ บังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามความประสงค์ได้ ก็เรียกว่า ชีวอัตตะ กายทิพย์ หรือวิญญาณ เป็นเจ้านาย เป็นผู้บงการ

ความยึดมั่นทั้งสองอย่างดังกล่าวมาย่อๆ นี้ เกิดขึ้นเพราะไม่มีความเข้าใจตามปรมัตถธรรมอันเป็นความจริงโดยแท้ คือไม่เข้าใจขันธ์ ๕ รูปนาม ว่าสภาพธรรมอันเป็นรูปก็ดี สภาพธรรมอันเป็นจิต เจตสิก ซึ่งเป็นนามก็ดี ไม่ได้เกิดมาลอยๆ หรือมีใครมาดลบันดาลสร้างขึ้นมา ล้วนแต่เป็นอนัตตะ ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น

เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยแล้วก็จะสลายตัวไป ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีเจตภูต ไม่มีกายทิพย์ ไม่มีวิญญาณอมตะที่ไหนที่จะมาคอยบงการบังคับบัญชาร่างกายและจิตใจให้เป็นไปตามอำนาจของตนได้ เพราะธรรมทั้งหลายย่อมอาศัยเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-20 12:30 , Processed in 0.101965 second(s), 31 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้