มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 648|ตอบกลับ: 1

ความเข้าใจสภาวลักษณะและสามัญญลักษณะ

[คัดลอกลิงก์]

1

กระทู้

2

โพสต์

0

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
0
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Visuddhi เมื่อ 2017-2-18 22:20
      
      โลกนี้คือความว่างเปล่าสุญโญ โลโก รูปนามสังขารธรรมทั้งหลาย พระอานนท์เถระท่านได้กล่าวไว้ทำไมโลกนี้จึงเป็นสุญญะ  คำว่าสุญญะก็คือความว่างเปล่าความว่างเปล่าเกิดอยู่ที่ไหนก็ไม่ใช่อื่นไกลแต่เกิดอยู่กับโลกใบนี้แต่โลกใบนี้ที่หมายถึงได้แก่ รูปและนาม หรือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘  ที่เราท่านทั้งหลายกำลังได้รับอยู่นี้ต่างหากที่ปรากฏออกมาเป็นการกระทำเป็นคำพูด หรือเป็นความคิดทั้งหลายนานา ธรรมเหล่านี้ล้วนว่างเปล่า ดังมายาดังพยับแดด ดังฟองน้ำ ดังน้ำค้าง ดังความฝัน ถ้าคนเข้าใจได้ดังนี้ก็เรียกว่าเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้นมาแล้ว และวิปัสสนาญาณปัญญาตัวที่เกิดนี้ที่เห็นโลกนี้โดยความว่างเปล่า เป็นทุกข์ เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นอนัตตาครอบครองไม่ได้ ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน หวังอะไรไม่ได้ เป็นสภาพนิดหน่อยหรือเรียกความเข้าใจชนิดนี้ตามบาลีว่า ลักขณารัมมณิกวิปัสสนาลักขณะในที่นี้ก็คือลักษณะ อัตตลักษณ์ที่เป็นอารมณ์ให้แก่จิตจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ให้จำได้ให้เข้าใจให้รู้สึกได้โดยลักษณะที่เป็นของธรรมเอง
       คำว่า สามัญ มี๒ อย่างคือ วิเสสสามัญ และ สมานสามัญ แต่ในที่นี้ หมายถึง สมานสามัญ เพราะว่าทั้งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานี้ เป็นความเท่าเทียมกัน ในรูป นาม ขันธ์๕ ทั้งปวง ในรูปนี้ถ้าพิจารณาไปก็จะเห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน ในนามเล่า พิจารณาไปก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน และในขันธ์ทั้งหลาย รูปขันธ์เล่าก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นสภาพไม่ใช่ตัวตน คือ ลักษณะให้กำหนดจดจำของรูป นาม ขันธ์ ๕ เหล่านี้มีทั่วไปทั้งหมด อย่างสามัญ อย่างทั่วถึง อย่างเท่าเทียม และอย่างเสมอภาคกันทั้งหมด จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ และวิปัสสนาปัญญา คือปัญญาที่เข้าใจถึง สามัญญลักษณะอย่างดีนั่นเองเห็นธรรมะก็คือเห็นลักษณะของธรรมะ  อย่างเช่นเราดูคนเราก็จะดูที่ลักษณะของเขา แต่ไม่ได้หมายถึง ลักษณะโหงวเฮ้งที่พวกหมอดูทั้งหลายใช้เป็นเครื่องทำนายทายทักแต่อย่างใด ลักษณะให้กำหนดจดจำที่ภาษาสากลเรียกว่า Characteristics นั่นเองคนทุกคนก็มีลักษณะของตนเอง เช่น สูง ต่ำ ดำ เตี้ย ขาว เป็นต้นที่เป็นสัญลักษณ์ให้กำหนดจดจำได้ว่าเป็นคนนั้นคนนี้ รูปนี้ก็มีลักษณะของมันมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไม่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพไม่ใช่ตัวตนอันนี้ก็เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของรูป และลักษณะเหล่านี้เป็นของใคร ก็ของคนนั้นเช่นน้ำเอาอะไรใส่ลงไปก็เรียกว่า น้ำอยู่ดี เช่นเอาเกลือใส่ลงไปในน้ำก็เรียกน้ำเกลือ เอาของหวานใส่ลงไปก็เรียก น้ำหวาน เป็นต้นทั้งรูปภายใน ทั้งรูปภายนอก ทั้งหลายทั้งปวงล้วนมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพไม่ใช่ตัวตนเสมอกันทั้งหมด


red.jpg

1

กระทู้

2

โพสต์

0

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
0
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-2-18 21:58:34 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Visuddhi เมื่อ 2017-2-18 22:21
    ยังมีลักษณะเฉพาะตนไม่ทั่วไปแก่สภาวธรรมทั้งหมด สภาพนั้นเรียกว่า สภาวลักษณะ Individual Characteristic ตัวอย่างเช่น รูป มีลักษณะ เปลี่ยนแปรสลายไป รุปปนลักษณะ ขันธ์เหล่าอื่นไม่มี รุปปนลักษณะ นี้ มีแต่เฉพาะรูปขันธ์เท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่า สภาวลักษณะ ในเวลาเจริญวิปัสสนา ก็จะเห็น สภาวลักษณะก่อน ยังไม่เห็นสามัญญลักษณะ และสภาวลักษณะนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกว่า สัลลักษณะ หรือ ปัจจัตตลักษณะ คือ ลักษณะของตน หรือ ปัจจัตตลักษณะ แยกออกเป็น ปฏิ กับ อัตตะ ปฏิ แปลว่า จำเพาะ อัตต แปลว่าตน รวมจึงเป็น  ลักษณะเฉพาะตน  เช่น รูป มี รุปปนลักษณะ ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีลักษณะชนิดนี้ เวทนาก็มี เวทยิตลักษณะ คือ มีลักษณะเสวยอารมณ์ และลักษณะนี้ รูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มี สัญญาเล่า ก็มี สัญชานนลักษณะ มีความจำได้เป็นลักษณะและลักษณะชนิดนี้ รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มี สังขารก็มี ลักษณะการปรุง การสร้าง การแต่ง การผสม เมื่อมีเหตุขึ้นมา สังขารนี้จะเข้าประกอบและปรุงแต่งร่วมด้วย เกิดร่วม ทำร่วม ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ  และดับร่วมกันพร้อมกับ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ ดังบาลีว่า สังขตัง อภิสังขโรนติ สังขารนี้จึงมีการปรุงแต่งร่วม และสร้างร่วมกับขันธ์ที่เหลือ เพราะว่ามีตัวกรรมอยู่ในสังขารนี้ และลักษณะนี้ รูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ก็ไม่มี วิญญาณ ก็มี วิชานนลักษณะ คือ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ลักษณะนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็ไม่มี และเมื่อได้เห็น สภาวลักษณะเหล่านี้จนแจ่มแจ้งแล้ว ภายหลัง สามัญญลักษณะจึงจะเกิดขึ้นตามมาเมื่อได้เห็นสามัญญลักษณะแล้วจึงจะเรียกว่า เกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาแล้ว
         ดังนั้น ปฐมรูป และ ปฐมนาม ต้องได้เห็น สภาวลักษณะเสียก่อน  เช่น ธาตุดิน ต้องให้เห็นลักษณะของมัน คืน อ่อนหรือแข็ง เสียก่อน ปฐมนาม โลภจิต ต้องให้เห็น ลุพภนลักษณะ คือ ลักษณะติดยึดของโลภะเสียก่อน เมื่อ สภาวลักษณะปรากฏแจ่มแจ้งแล้ว ภายหลัง สามัญญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงจะปรากฏ เมื่อเห็นรูป นาม โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพไม่ใช่ตน เพราะว่า เราไม่สามารถเข้าไปจัดแจงอะไรได้เลย  สามัญญลักษณะ สภาวะก็จะปรากฏว่า เราไม่สามารถเข้าจัดแจงหรือทำอะไรได้เลย ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น และในลักษณะทั้ง ๓ นี้ เมื่อเห็นอนิจจัง ก็จะรู้ความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อเห็นทุกขัง ก็จะรู้โดยความเป็นภัย เมื่อเห็นอนัตตา ก็จะรู้โดยความไม่ใช่ตัวตน และในลักษณะทั้ง ๓ นี้ เมื่อเห็นลักษณะใดก็จะรู้ถึงลักษณะนั้น รู้ทีละลักษณะไม่รู้ทั้ง ๓ ลักษณะพร้อมกันแต่อย่างใด บางคนก็บอกว่า เมื่อเห็นอนิจจัง ก็จะเข้าใจถึง ทุกขัง อนัตตา ด้วย อันนั้นเป็นแต่เพียงถ้อยคำโวหารสักว่าพูดไปเท่านั้นเอง เพราะว่า เมื่อเห็นทุกข์ ญาณรู้ว่าทุกข์ก็จะเกิด เมื่อเห็นอนิจจัง ญาณรู้ว่าไม่เที่ยงก็เกิด เมื่อเห็นอนัตตา ญาณรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนก็เกิด เรียกว่า ขณะไม่เหมือนกัน และจิตก็รับอารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น
yellow.jpg
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-27 02:31 , Processed in 0.199729 second(s), 32 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้