มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


ทางสู่ความพ้นทุกข์ (๖)







ทางสู่ความพ้นทุกข์ (๖)


ฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามมรรค ๘ ย่อมต้องเริ่มด้วย สัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น คือ มีความเห็นถูกชอบว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน กล่าวคือ ขันธ์ ๕ รูปนามนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชีวิตความเป็นอยู่เป็นกองทุกข์ ตัณหาคือ ความอยากได้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และคนเราจะพ้นจากทุกข์ได้ด้วยการออกจากโลกียอารมณ์ และกระทำวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้น โดยเกิดจากการเพ่งพิจารณาในสติปัฏฐาน จะต้องสร้างอันนี้ให้เกิดขึ้นมาก่อน สัมมาทิฏฐินี้จึงต้องมีอยู่อย่างเต็มศรัทธา

สัมมาสังกัปปะ คือ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐาน ไม่ใช่ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์ “ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐาน” คำพูดนี้หรือการกระทำนี้ เท่ากับ ยกจิตออกจากกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ต้องมีความเพียรในจิตนั้นดำริออกจาก กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

จะยกได้อย่างไรเล่า? ก็เพียรยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐาน มี กาย เวทนา จิต ธรรม การที่ยกจิตอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน มีกายเป็นที่ดู มีเวทนาเป็นที่ดู มีจิตเป็นที่ดู มีธรรมเป็นที่ดู เท่ากับเป็นการยกจิตออกมาแล้วจาก กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก แล้วเอาไปตั้งที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ถ้าหากเป็นผู้ที่กำหนดอานาปานสติอยู่ ก็กำหนดลมหายใจนั้นอยู่ ในขณะนี้จึงไม่มีความยินดีในรูป ไม่มีความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ ไม่มีโกรธ ไม่มีเคือง ไม่มีพยาบาท ไม่มีการคิดเบียดเบียนใดๆ เกิดขึ้นเลย ขณะที่ยกจิตนั้น ก็ปราศจากพวกนี้ทั้งหมด

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 07:58:37 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ


  สลักธรรม 1

สัมมาสติ คือ มีสติกำหนดรู้อยู่ทุกขณะ ในตอนแรกได้กล่าวว่า หายใจเข้าก็กระทบกับปลายจมูก หายใจออกก็กระทบกับริมฝีปากบน สัมมาสติ ก็คือ มีสติกำหนดรู้อยู่ขณะที่ลมหายใจเข้าและออกที่กระทบริมฝีปากก็ดี กระทบปลายจมูกก็ดี กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจกระทบร้อนหรือเย็นตลอดไป มิให้จิตนี้ไปสอดรู้สอดเห็นอย่างอื่น นอกจากการกระทบเข้ากระทบออกของลมหายใจเท่านั้น เอาอานาปานสติขึ้นมาเป็นประธาน ฉะนั้น สัมมาสตินี้ ถ้ากำหนดอยู่ในอาการนั่ง ก็ดูรูปนั้น อาการนั้น รูปนั้นมีอาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รูปเดียวแต่อาการต่างๆ บางครั้งไม่ชัด เป็นรูปนั่งเหมือนกันแต่อาการต่างกัน

ยกตัวอย่างการเขียน ก.ไก่ ซ้ำที่เดิมกันหลายๆ ครั้ง เปรียบเทียบการสาธิตอาการรูปนั่งนี้ก็ไม่ใช่รูปนั่งนั้นๆ กิริยาอาการที่แผ่วเบามันก็จะเด่นชัดขึ้นมา จิตจะเกาะอารมณ์นั้นอยู่ แต่รู้เท่าทัน เพื่อกันอดีตสัญญาไม่ใช่อารมณ์เดียวกัน ปรากฏอนิจจัง ก็ได้ ทุกขังก็ได้ อนัตตาก็ได้

สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามให้สติตั้งอยู่ ในตอนแรกพูดถึงเรื่องการตั้งสติอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก คือเอาอานาปานสติเป็นประธาน โดยมีสติ หรือ เพียรพยายามให้สติตั้งอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ทำเพื่ออะไร ต้องให้รู้ก่อน ทำเพื่อมิให้สตินั้นตกไปหรือเผลอไปที่อื่น ถ้าเผื่อเรามีสติกำหนดรูปอยู่ ก็คอยสังเกตรูปนั้น ไม่ใช่นั่งแล้วเผลอ ฟุ้งไป มันเผลอจากรูปไป จิตมันแอบไปแล้ว

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 08:00:37 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : )


  สลักธรรม 2

ฉะนั้น จะต้องคอยสังเกตใส่ใจ เหมือนกับคอยดูสำรวจตนดูว่าอะไรขยับเขยื้อนบ้างในอาการนี้ ความรู้สึกเด่นชัดตรงไหน ในนั่งจะมีอารมณ์สารพัด เดี๋ยวมันจะเข้าไปเอง อันนี้สอนเบื้องต้นก่อน เป็นความเพียรชอบในสัมมัปธาน ๔ นั่นเอง สัมมาวายามะ คือ เพียรให้กุศลธรรม กุศลธรรมในที่นี่ก็คือปัญญาญาณสัมปยุต ตอนนี้ถ้าพูดถึงมรรค ๘ ในการปฏิบัติ จึงต้องไม่ใช่ญาณวิปปยุต แต่เป็นญาณสัมปยุต เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ควรเพียรในเกิด ญาณสัมปยุตตลอดเวลา เมื่อมีความเพียรอย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว อกุศลก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะกุศลเกิดขึ้น ตั้งอยู่ อกุศลธรรมจึงเกิดขึ้นไม่ได้

สัมมาวาจา เมื่อเพียรเอาสติกำหนดอยู่ที่อารมณ์เดียว ก็คือ ลมหายใจเข้าออกก็ดี ที่เป็นปัจจุบันอยู่ทุกขณะ อยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กายทุจริต วจีทุจริต ๔ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เอง จัดว่าเป็นศีลในทางวาจา คือ สัมมาวาจา ในทางกายก็คือ สัมมากัมมันตะ ก็คือกลุ่มวิรตีเจตสิก แล้วก็เพียรกำหนดอยู่ที่อารมณ์เดียว เป็นอินทรียสังวรเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ เมื่อเรามีความเพียรนำสติกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียว เช่น ในลมหายใจเข้าออกในรูปนั้นหรือนามนั้น ที่เป็นปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ย่อมเกิดไม่ได้เอง เป็นศีลในทางวาจา คือ สัมมาวาจา และในทางกายก็คือ สัมมากัมมันตะจะแยกกันทำไม่ได้ เช่น วันนี้จะทำสัมมาวาจา พรุ่งนี้ทำสัมมากัมมันตะไม่ได้

สัมมาอาชีวะ การดำรงชีวิตอยู่ ในขณะนั้นก็เป็นสัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ มีความเพียร มีสติกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียว ก็ได้มา ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สิ่งที่ได้นี้ มีความเพียรสติกำหนดอยู่ที่อารมณ์เดียวเป็นอินทรียสังวรศีล และอินทรียสังวรศีลก็จะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 08:02:12 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : )


  สลักธรรม 3

ขณะที่มีสติเพ่งดูสภาวะปัจจุบันอารมณ์อยู่นี้ กิเลสตัณหาย่อมไม่เกิด ทิฏฐิคือความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนก็ไม่เกิดอีกด้วย เพราะว่าคงเห็นแต่เพียงสิ่งที่เรากำหนด โยคาวจรนั้นเพียงรู้สึกอยู่ในรูปในนามที่เกิดแล้วดับ พูดว่าเกิดย่อมต้องมีดับเป็นที่หมาย เหมือนคนเกิดขึ้นมาต้องรู้ว่ามีที่ตาย แต่ยังไม่ได้ตายให้เห็น เช่น เด็กร้องแว้แรกนี้พอหลุดจากครรภ์มารดามาได้ เด็กคนนี้บอกได้ไหมว่าก็ต้องตาย บอกได้ไหม? บอกได้ แต่ตายหรือยัง? ยัง แล้วเราเห็นตายไหม? ไม่เห็น แต่เขาก็ต้องตายแน่ๆ

ฉะนั้น ธรรมชาตินี้เป็นอย่างนี้ ธรรมชาติจิตก็เป็นอย่างนี้ เรามีสิทธิไปเห็นดับไหม? มีสิทธิเห็นเด็กคนนั้นเกิดแล้วตายเลยไหม? ไม่เห็น.. แต่เข้าใจไหม? เข้าใจ ก็คือทิฏฐิ คือความเห็น

ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเข้าใจถูก ฉะนั้น เกิดแล้วไม่เห็นดับสักที ไปรอเห็นดับอดีตสัญญา แต่ความเข้าใจ ฉะนั้น อารมณ์ที่เกิดขึ้น พออารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ก็ไปเกาะอยู่ที่อารมณ์ใหม่ อารมณ์เก่าก็เท่ากับ “ดับ”

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 08:03:25 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : )


  สลักธรรม 4

เมื่อสติกำหนดอยู่ที่นามรูป นิวรณ์ธรรม เครื่องกั้นจิตมิให้ระลึกถึงความดี คือ

กามฉันทะ คือ ความยินดีพอใจในกามารมณ์
พยาปาทะ ความพยาบาท คือ ความไม่พอใจ
ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงา ความหดหู่ มิใช่ความง่วงเหงาหาวนอน เพราะความง่วงเหงาหาวนอนเป็นอาการของจิต เจตสิก ที่มันหดหู่จากง่วงเหงา จิตง่วงเหงา เจตสิกหดหู่ จึงหาวนอน
อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย
อวิชชา คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่เกิด นิวรณ์ ๕ ไม่เกิด ทิฏฐิมีความเห็นว่าเที่ยง ก็ไม่เกิด (ตัวตน) กิเลสตัณหา ก็ไม่เกิด รวมประชุมใหญ่ๆ แล้ว กิเลส ตัณหา ทิฏฐิ นิวรณธรรม ก็ไม่ได้เกิด จิตก็เข้าสู่ความสงบ เป็นสมาธิเรียกว่า สัมมาสมาธิ ฉะนั้น สัมมาสมาธิ เราก็ได้รู้จักเขาแล้ว แล้วอย่างไรจึงจะเรียกว่าสมาธิเฉยๆ และมิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร? เพราะรู้จักสัมมาสมาธิ จึงรู้จัก มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่ไม่มีนิวรณธรรม ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่มีทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ ในจิตขณะนั้นมีการรู้อารมณ์อยู่ในอารมณ์ที่เพ่งเพียงอารมณ์เดียว เป็นสัมปชัญญะ เป็นปัญญา คือ ความรู้รอบถี่ถ้วนตามสภาวะ

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 08:04:54 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : )


  สลักธรรม 5

ฉะนั้น สัมปชัญญะ องค์นี้ นอกจากควบคุมให้เกิดกำลัง จะมาควบคุมให้กำลังแก่สติตั้งอยู่แล้วนี้ ยังให้ความจริงโดยชัดแจ้ง สู่สภาวะสูงขึ้นตามลำดับไป ลำดับไป ทำให้ความจริงชัดแจ้งขยับขึ้นสูง ขณะความรู้ขยับขึ้นสูง ตามลำดับไปจนถึงญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาที่เห็นถูกตามความจริงอันบริสุทธิ์ คือเห็นในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ประการ มีความประณีตละเอียดมากขึ้นๆ เป็นเหตุให้ข้ามพ้นโลกียะ ไปสู่โลกุตตระ

จะเปรียบเทียบว่า ตอนแรกเราพกกิเลสจนตัวหนัก เช่น คนตัวใหญ่ๆ จะกระโดดข้ามท้องร่อง ก็ย่อมโดดข้ามไม่ได้ หรือ คนกระโดดยางก็ต้องใช้คนผอมๆ ตัวเล็กๆ กระโดดลอยข้ามยางไป หรือวิ่งผลัด มีใครตัวใหญ่ๆ อ้วนๆ บ้าง? ไม่มีเพราะมันต้านลม

ฉะนั้น กิเลสที่มันหนักทำให้ไปไม่ถึง พอปลดลงไปแล้วมันเบา พอมันเบาแล้วมันจะทำให้ตัวเองเหมือนสปริงข้ามฝั่งได้ง่าย สปริงในที่นี้ ก็คือสปีดแห่งปัญญาที่มีมากขึ้น และสปีดแห่งสติที่มีกำลังขึ้น จึงทำให้ชีวิตนั้นสปริงไปจากโลกียะได้

โปรดติดตามตอนต่อไป

โดย ศาลาเสือพิทักษ์ [27 ม.ค. 2557 , 08:07:59 น.] ( IP = 58.11.177.159 : : )

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org