มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๑๐




วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๙ อ่านที่นี่


รูปนามในวิปัสสนาภูมิ
ว่าด้วยขันธ์ ๕


ธรรมดาการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีข้าวเจ้า ข้าวเหนียวเป็นต้นนั้น ต้องอาศัยพื้นที่มีนาเป็นต้น เป็นที่เพาะปลูก ฉันใด แม้วิปัสสนากรรมฐานนี้ก็ต้องอาศัยภูมิพื้นที่ปลูกฉันนั้นเหมือนกัน ภูมิพื้นที่ที่เพาะปลูกให้วิปัสสนาเจริญงอกงามขึ้นนั้น ถ้าว่าโดยย่อที่สุดแล้วมี ๒ อย่าง คือ

๑. รูปธรรม สิ่งที่ยืนให้รู้
๒. นามธรรม สิ่งที่เข้าไปรู้

รูปธรรมนามธรรม (เว้นโลกุตตรธรรม) เป็นภูมิพื้นที่ ที่ยืนให้วิปัสสนาเห็นแจ้งแทงตลอด ทนต่อความพิสูจน์ วิปัสสนาจึงเอารูปนามเป็นกรรมฐาน เอารูปนามเป็นอารมณ์ เอารูปนามเป็นทางเดิน

วิปัสสนาเพ่งรู้รูปนาม รูปนามจึงเป็นภูมิของวิปัสสนา เป็นกรรมฐานของวิปัสสนา รูปนามเป็นอารมณ์ของวิปัสสนารูปนามเป็นทางเดินของวิปัสสนา รูปนามยืนไว้ให้วิปัสสนาเพ่ง

โดย เทพธรรม...นำเสนอ [12 พ.ย. 2557 , 10:07:09 น.] ( IP = 171.96.178.109 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ


  สลักธรรม 1

รูปธรรม ได้แก่ รูปปรมัตถ์
นามธรรม ได้แก่ จิตปรมัตถ์ และเจตสิกปรมัตถ์

ส่วนวิปัสสนา ได้แก่ ปัญญาเจตสิกและสหชาติธรรม เพราะฉะนั้นรูปนามนี้มิใช่อื่น ได้แก่จิต เจตสิก และรูปนั่นเอง (ส่วนพระนิพพานสงเคราะห์เข้าเป็นนามธรรมที่พ้นจากขันธ์) วิปัสสนาภูมิที่พระองค์ทรงแสดง มี ๖ ภูมิ คือ :-


๑. ขันธ์ ๕ คือ กองทั้ง ๕
๒. อายตนะ ๑๒ คือสะพานเครื่องเชื่อมเครื่องต่อให้เกิดความรู้มี ๑๒
๓. ธาตุ ๑๘ สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มี ๑๘
๔. อินทรีย์ ๒๒ ความเป็นใหญ่ มี ๒๒
๕. อริยสัจจ์ ๔ ความจริงอันประเสริฐ มี ๔
๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ความประชุมพร้อมของเหตุผล

โดย เทพธรรม...นำเสนอ [12 พ.ย. 2557 , 10:10:57 น.] ( IP = 171.96.178.109 : : )


  สลักธรรม 2

ที่ได้ชื่อว่าขันธ์ นั้น เพราะเป็นกองที่ประชุมด้วยปรากฏการณ์ ๑๑ คือ เป็นสภาพที่มีมาแล้วในอดีต ๑ เป็นสภาพที่จะเป็นไปในอนาคต ๑ เป็นสภาพที่มีอยู่ในปัจจุบัน ๑ เป็นสภาพที่ละเอียด ๑ เป็นสภาพที่เลว ๑ เป็นสภาพที่ประณีต ๑ เป็นสภาพที่ไกล ๑ เป็นสภาพที่ใกล้ ๑ รวมเป็นสภาพที่ปรากฏได้ใน ๑๑ ประการ เรียกว่า ขันธ์ ได้แก่เบ็ญจขันธ์ มี ๕ คือ :-


๑. รูปขันธ์ (กองรูป มีหน้าที่แตกดับ)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา มีหน้าที่เสวยรูปแตกดับ)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา มีหน้าที่จำรูปแตกดับ)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร มีหน้าที่ปรุงแต่งรูปแตกดับ)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ มีหน้าที่รู้รูปแตกดับ)

ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ก็ไม่ใช่อื่นไกลที่ไหน ได้แก่พระปรมัตถธรรมนั่นเอง อุปมาเหมือนป่าไม้ เมื่ออยู่ในป่าเรียกว่าต้นไม้ เมื่อนำมาใช้ทำบ้านเรือนเรียกว่าเสาบ้าง พื้นบ้าง เป็นต้น ฉันใด แม้ขันธ์ ๕ ก็เอาปรมัตถธรรม ๓ (เว้นนิพพาน) มาเป็น ฉันนั้น

โดย เทพธรรม...นำเสนอ [12 พ.ย. 2557 , 10:14:35 น.] ( IP = 171.96.178.109 : : )


  สลักธรรม 3

สงเคราะห์พระปรมัตถธรรมลงเป็นขันธ์ ๕ ดังนี้

รูปขันธ์ คือ รูป ๒๘ รูป
เวทนาขันธ์ คือ เวทนาเจตสิก ๑ ดวง
สัญญาขันธ์ คือ สัญญาเจตสิก ๑ ดวง
สังขารขันธ์ คือ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ดวง
วิญญาณขันธ์ คือ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง

ส่วนพระนิพพานไม่นับเข้าเป็นขันธ์ เรียกว่า “ขันธวิมุตติ” พ้นจากขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ นี้ คือ รูปนามนั่นเอง มีการสงเคราะห์ ดังนี้

รูปขันธ์ คือ รูปธรรม
เวทนาขันธ์ คือ นามธรรมเจตสิก
สัญญาขันธ์ คือ นามธรรมเจตสิก
สังขารขันธ์ คือ นามธรรมเจตสิก
วิญญาณขันธ์ คือนามธรรมจิต

รวมนามธรรมเจตสิก ๓ กับ นามธรรมจิต ๑ เป็นนามขันธ์ ๔ เรียกว่า นามธรรม รูปขันธ์คงเป็น รูปธรรม

จบ ภูมิขันธ์ ๕

โปรดติดตามตอนต่อไปครับ

โดย เทพธรรม...นำเสนอ [12 พ.ย. 2557 , 10:19:32 น.] ( IP = 171.96.178.109 : : )

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org