มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛ โยนิโส..เป็นประโยชน์ต่อปัญญา ๚ ๛ 4




สวัสดีค่ะท่านที่เคารพทุกๆท่าน
เรามาทำความเข้าใจในการกำหนดในงานทางใจกันต่อไปนะคะเพราะจะได้เข้าใจมากขึ้นและถูกตรงตามความจริงคือที่ปัจจุบันนะคะ


วิปัสสนานี้ ท่านเรียกว่า ปัญญาสิกขา

สิกขา แปลว่า ศึกษา ศึกษาการงานของปัญญา
ศึกษานี้อยู่ที่ไหน ?
ศึกษาอยู่ที่การสังเกตนะคะ
นี่แหละค่ะเราเรียกว่า ศึกษา
คือ การสังเกต คอยดูว่า ผิดหรือถูกอะไรต่ออะไร

ถ้าขาดความสังเกตไม่มีการศึกษา
จะสังเกตได้ต้องเข้าใจก่อน

เข้าใจว่า ที่ถูกนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ
ทีนี้เวลาทำงานก็สังเกตว่า
ตรงกันไหมกับที่เราเข้าใจ

บางทีก็เดิน เดิน เดินไปมีแต่เดิน รูปไม่มี
อย่างนี้ไม่ได้ พอรู้ว่า รูป ไม่มีก็กลับทำความรู้สึกเสียใหม่นะคะ

บางที เดินไม่กี่ก้าว รูป ก็หลุดไปแล้วเหลือแต่ เดิน

บางที เดิน ก็ไม่มีเหลือแต่อาการที่ก้าวไปๆ
รู้ในอาการนั้นเท่านั้น เท้าก้าวไปๆ ก็รู้
แต่ไม่มี รูป ไม่มีอะไรทั้งนั้น
เมื่อเป็นอย่างนี้ท่าน ก็ต้องตั้งต้นใหม่
อย่าทำต่อไป เลิก หยุด
แล้วก็ตั้งต้นกำหนดใหม่นะคะ
ไม่ต้องกลัวจะล่าช้าเหมือนจักรยานล้มไงคะ
มีหน้าที่ลุกขึ้นและตั้งต้นถีบใหม่ต่อไป
เพื่อหาความชำนาญ


เพราะฉะนั้น จึงได้ย้ำท่านเสมอๆว่าให้สังเกต

เวลาที่กำหนดเดิน หรือกำหนดนั่ง แรก ๆ
เมื่อเข้าใจดีก็กำหนดไม่ผิด
ให้สังเกตว่า มีความรู้สึกอย่างไร
ทีนี้ทำไป ๆ มันเคลื่อนไป
พอเคลื่อนไปก็กลับมาตั้งต้นใหม่
พอชำนาญแล้วก็ทำถูกมาก ไม่ค่อยผิด
ก่อนที่จะชำนาญก็ต้องทำบ่อย ๆ

แต่ถ้าทำบ่อย ๆ แต่ถ้าไม่เข้าใจมาก่อน
ก็ทำไม่ถูกอยู่ดี จะต้องเข้าใจก่อนแล้ว
ก็ไปหัดทำจนชำนาญ ระหว่างทำงานก็ต้องคอยสังเกต ว่า อะไรมันขัดข้องอะไรเป็นยังไง

สังเกตว่า เวลานั่งทำไมรู้สึกอย่างนั้น
ทำไมมีอาการอย่างนี้

เวลาเดินทำไมมีอาการอย่างนี้ ต้องสังเกตนะคะ
แล้วจะได้รู้ว่า อะไรมันขาด อะไรมันเกิน
ดูถูกหรือไม่ถูกผิดตรงไหน

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [23 มิ.ย. 2546 , 10:20:02 น.] ( IP = 203.107.211.48 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ] [ 3 ]


  สลักธรรม 11

การปฎิบัติวิปัสสนานั้นก็เพื่อคลายความเห็นผิดใช่ไหมคะ..ที่เห็นว่าเดิน ยืน นั่ง นอน เหล่านี้มีสาระ

.ก็เห็นรูปเดินนั่นแหละ ไม่มีสาระ
รูปเดินนั่นแหละไม่ใช่ตัว รูปเดินนั่นแหละไม่เที่ยง รูปเดินนั่นแหละเป็นทุกข์

ไม่ใช่ว่าเดินเพื่อจะเห็นความไม่เที่ยงนะคะ
ถ้ามีความคิดอย่างนี้ไม่ได้ไม่ถูกนะคะ

ก็ดูที่รูปเดินนั่นแหละคะหน้าที่
ถ้าจะเห็นความไม่เที่ยงมันก็เห็นขึ้นมา
ถ้าเราดู(กำหนด - สังเกตุ - พิจรณาถูก)
ก็มีโอกาสที่จะเห็นธรรมะนั้นๆได้คะ
ถ้าพิจารณาถูกต้องได้มากก็จะเห็นขึ้นมา


ขออย่าเดินกรรมฐาน
อันนี้ห้ามยากจริง ๆคะน้อง

ด้วยเหตุนี้ จึงได้บอกว่า
ถ้าไม่จำเป็นอย่าให้ใช้อิริยาบถ ...ไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถ

เพราะ ถ้าใช้อิริยาบถโดยไม่จำเป็นแล้ว
ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลส
เมื่อกิเลสเข้าไปอาศัยในความรู้สึกอันนั้นแล้ว
ปัญญาจะเข้าไปทำงาน หรือมีสิทธิ์เข้าไปในที่นั้นไม่ได้ ก็เพราะกิเลสเข้าไปปกครองก่อนแล้ว.

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [23 มิ.ย. 2546 , 18:54:03 น.] ( IP = 203.107.205.55 : : )


  สลักธรรม 12

แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันกิเลส
หรือถ้าตั้งคำถามว่า...
วิธีกันไม่ให้กิเลสเข้า ทำอย่างไรเล่า ?



คำตอบก็คือ... จิตเราต้อง รู้สึกอยู่ในปัจจุบัน
ไม่มุ่งเลยไปใน.. อนาคต...กับอดีตกิเลสก็เข้าไม่ได้

อารมณ์ปัจจุบันมันก็กั้นไม่ให้กิเลสเข้าค่ะ

ถ้าเอื้อมไปอดีตกับอนาคตก็จะเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่เลย


เวลาไม่จำเป็นไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถ

เวลาจะเปลี่ยนก็ต้องรู้เหตุเสียก่อนว่าเปลี่ยนเพราะเหตุใด


คนเราไม่เปลี่ยนอิริยาบถได้ไหมคะ..ก็ไม่ได้เพราะว่าเมื่อยเป็นทุกข์
แต่เราไม่ได้พิจารณาว่าเสียก่อน..ว่าความจริงนั้นเราจะต้องเปลี่ยน

ถ้าไม่พิจารณาให้ถูกต้องเข้าถึงความจริงแล้ว ต้องอยากเปลี่ยน นั่งเมื่อยแล้วก็อยากนอน... เมื่ออยากนอนแล้ว

ปัญญาจะเข้าไปสอนธรรมเราในที่นั้นก็ไม่ได้
เพราะว่ากิเลสมันเข้าไปสอนแทนเสียแล้ว

ความอยากนอนนี้ ผิดหรือถูก ? ก็ไม่ถูก
และจะให้ถูกจะเป็นอย่างไร ?
ก็คือต้องดูทุกข์เสียก่อนใช่ไหมคะ

ทุกๆอย่างต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของความจริงที่ต้องกำหนดรู้นั่นเองคะ


หวังว่าคงทำความเข้าใจได้ดีขึ้นนะคะ
ข้อสำคัญอ่านช้าๆให้จบก่อนอย่าอ่านเป็นวรรคตอนเพราะไม่ใช่บทกลอนหรือสักวานะคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [23 มิ.ย. 2546 , 19:09:38 น.] ( IP = 203.107.205.55 : : )


  สลักธรรม 13

กราบขอบพระคุณอาจารย์บุษกรมากค่ะ
ยิ่งได้อ่าน ก็ยิ่งย้ำความรู้และเข้าใจให้เพิ่มมากขึ้นค่ะ และที่จะต้องระวัง คือ
"จิตอย่าเอื้อมไปว่า จะเห็นรูปเห็นนามเห็นเกิดดับ
เพราะไม่ใช่ "ปัจจุบัน" แต่เป็น อนาคต "

โดย เซิ่น [23 มิ.ย. 2546 , 23:03:23 น.] ( IP = 203.170.149.234 : : )


  สลักธรรม 14

มาอ่านตั้งหลายรอบแล้วค่ะ...โดยเฉพาะตั้งแต่คำถามของพี่อุ๊เป็นต้นมา .ยิ่งอ่านช้าเข้าไปใหญ่.... ได้ชิ้นส่วนภาพประกอบจิ๊กซอว์มากขึ้นค่ะ ..... กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะอาจารยื

โดย น้องกิ๊ฟ [23 มิ.ย. 2546 , 23:41:53 น.] ( IP = 202.183.178.214 : : )


  สลักธรรม 15


ขอบพระคุณค่ะคุณครู
คราวนี้เริ่มเห็นความแตกต่างมากขึ้นแล้วค่ะ
อารมณ์ดูคล้ายกันมากเลยนะคะ ห่างกันแค่เสี้ยวเวลาก็พลาดถลำกับกิเลสจนได้
เรียกว่าโง่แล้วไม่รู้ว่ากำลังโง่
วันนี้คำว่า "ปัจจุบัน" สำคัญยิ่งๆๆเลยละคะ
น้องอุ๊จะกลับมาอ่านให้ละเอียดใหม่
แต่ต้องขอไปประชุมก่อนนะคะ ใกล้เวลาที่จะต้องประชุมแล้วค่ะ
ยังไงจะไม่อ่านแบบบทกลอนหรือสักวานะคะ
ขอบพระคุณค่ะที่เตือนสติค่ะ
ชอบค่ะสำหรับคำเตือนเช่นนี้
คุณครูน่ารักจริงๆเลยนะคะ วันนี้วันเกิดค่ะ เอากุศลมาฝากคุณครูนะคะ

โดย น้องอุ๊ [24 มิ.ย. 2546 , 08:31:36 น.] ( IP = 202.28.169.165 : : unknown )


  สลักธรรม 16


….
กราบขอบพระคุณอาจารย์บุษกรมากค่ะ


.จะพยายามนำความเข้าใจที่ได้รับ ไปฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ให้เกิดความชำนาญ
แม้จะเป็นเวลาในช่วงสั้นๆ ก็ตาม
…
.

อ่านตอนนี้แล้ว รู้เลยว่า ...
การปฏิบัติเมื่อก่อนนี้เดินผิดทางบ่อย เพราะพอไปแล้ว ชักเพลิน
แล้วก็จริงอย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่า …ยิ่งไป ก็ยิ่งกลับยาก
…

.โดยเฉพาะข้อความที่กล่าวว่า
ความต้องการเห็นในสิ่งที่เคยเห็นแล้วนั้น จะไม่มีโอกาสพบได้เลย
เพราะยิ่งหายิ่งห่างจากปัจจุบัน

ทำให้รู้สึกว่า ความต้องการนี้มันแกะยากที่สุด
แฝงอยู่แทบทุกขณะ แม้กระทั่งในการเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ทันที่จะโยนิโส ความต้องการก็แฝงอยู่แล้ว
จึงทำให้เห็นความสำคัญของ การสังเกต
ที่ท่านอาจารย์พยายามกำชับให้พวกเรามี
…

.

ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณในหวังดีที่ท่านอาจารย์มอบให้…ค่ะ
…



โดย วยุรี [24 มิ.ย. 2546 , 08:33:31 น.] ( IP = 203.113.38.13 : : )


  สลักธรรม 17

กราบขอบพระคุณอาจารย์บุษกรมากค่ะ

ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้ว่าตนเองไม่รู้อะไรอีกเยอะเลยค่ะ
ชอบจังเลย ที่กล่าวว่า...
เหมือนนัยน์ตาเรานี่เหลือบไปนิดหนึ่ง
ตรงหน้านี้ก็ไม่เห็นเสียแล้วใช่ไหมคะ
อันนี้ต้องระวัง ต้องให้ได้ปัจจุบัน

เห็นภาพพจน์เลยค่ะว่าตรงไหนที่เรียกว่าปัจจุบัน

กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
และขอบคุณน้องอุ๊ด้วยนะคะที่ถามปัญหาเสริมสร้างความรู้ให้พี่ๆ ที่ถามไม่ค่อยเป็นค่ะ

โดย พี่ดา [24 มิ.ย. 2546 , 11:18:41 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.95 )


  สลักธรรม 18

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์บุษกรมากค่ะ ค่อยๆอ่าน ๒ -๓ รอบแล้วก็มีความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนาละเอียดอ่อนมากขึ้นค่ะ


โดยเฉพาะตอนที่ว่ารูปเดินนั่นแหละไม่ใช่ตัว รูปเดินนั่นแหละไม่เที่ยง รูปเดินนั่นแหละเป็นทุกข์
ไม่ใช่ว่าเดินเพื่อจะเห็นความไม่เที่ยงนะคะ ได้ความเข้าใจชัดเจนขึ้นมากค่ะ เข้าใจว่าถ้าเรามีการสังเกตอยู่ตลอดเวลาแล้วจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในอาการที่ก้าวเดินนั้น ไม่ใช่ว่าจะเดินเพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ขอบพระคุณมากค่ะ จะนำความเข้าใจทั้งหมดที่ได้จากท่านอาจารย์มาปรับปรุงแก้ไขตนให้มีความสังเกตมากขึ้นค่ะ

โดย เล็ก [24 มิ.ย. 2546 , 12:55:40 น.] ( IP = 203.144.173.160 : : )


  สลักธรรม 19


มาแล้วค่ะ หลังจากทำภารกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว
ดูเหมือนว่ายังมีงานที่จะต้องมาติดตามต่อ
เพราะรู้ว่านี่คือ "สิ่งที่ไม่ทำไม่ได้"
ยังไงขอมาทบทวนแบบชนิดให้ซึมซับไว้ในใจเลยดีกว่านะคะ
เผื่อว่าพรุ่งนี้อาจจะไม่มีโอกาสก็ได้ เพราะชีวิตไม่แน่นอนค่ะ


พูดถึง การใช้อิริยาบถโดยไม่จำเป็นแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลส นั้น
อันนี้ก็รู้สึกว่าเคยเกิดขึ้นเยอะ และใหม่ๆก็รู้สึกเหมือนคนลังเล
เพราะรู้จักทุกข์ในอิริยาบถเก่าแล้ว แต่ก็หาอิริยาบถใหม่ไม่ถูก
เช่นคิดว่าเอ้เราจะเปลี่ยนเป็นเดิน หรือนั่งดี พอตัดสินใจเดินเดินๆไป ก็งงว่าเดินทำไม วนไปวนมา ก็เลยรู้สึกว่าการเดินวนไปวนมาเป็นทุกข์อีก
อันนี้คงเรียกว่าใช้อิริยาบถเกินความจำเป็นได้ไหมคะ
ก็ตอนนั้นโยนิโสไม่เป็นนี่คะ "เด็กใหม่"
แต่ตอนนี้ก็ยังต้องการทราบในเรื่องการเปลี่ยนอิริยาบถต่ออีกสักนิดนะคะ
เช่นในขณะที่นั่งแล้วมีอาการเมื่อย ก็แก้ทุกข์เพียงเปลี่ยนอิริยาบถย่อยก็ช่วยแก้ทุกข์ได้
กับนั่งแล้วเมื่อยมาก ก็จำเป็นต้องแก้ทุกข์ด้วยอิริยาบถใหญ่
ทั้ง 2 แบบนี้มีการโยนิโสต่างกันไหมคะ

โดย น้องอุ๊ [24 มิ.ย. 2546 , 21:45:14 น.] ( IP = 202.57.179.122 : : )


  สลักธรรม 20


...
กราบขอบพระคุณอาจารย์บุษกรขอรับ
และขอsaveไว้เพราะต้องอ่านอีกหลายรอบแน่ขอรับ
เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และยากมากจริงๆ
และจะกลับมาอ่านใหม่ในคำตอบที่พี่อุ๊ตั้งคำถามไว้อีกขอรับ
ขอบพระคุณขอรับ

โดย ซาโย [24 มิ.ย. 2546 , 22:29:53 น.] ( IP = 202.133.169.111 : : )
[ 1 ] [ 2 ] [ 3 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org