กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 800|ตอบกลับ: 7

ลักษณะของพระไตรลักษณ์

[คัดลอกลิงก์]

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917





ลักษณะของพระไตรลักษณ์
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ.

ผู้จะเห็นพระไตรลักษณ์ได้ต้องผ่านนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริจคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ต้องผ่านญาณใหญ่ๆ ๔ อย่าง จึงจะเห็นพระไตรลักษณ์ได้ ถ้าไม่ผ่านญาณปัญญา ๔ อย่าง แค่รู้จักพระไตรลักษณ์ ไม่เห็นพระไตรลักษณ์ เพราะพระไตรลักษณ์ดูด้วยตาเปล่าไม่ได้

พระไตรลักษณ์ คือลักษณะทั้ง ๓ ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ถาม ใครทำให้พระไตรลักษณ์เกิดขึ้นมา

ตอบ อำนาจกรรม คนเราเกิดมามีกรรมทุกคน ไม่มีใครไม่มีกรรม ที่เกิดมาเป็นมนุษย์เพราะกุศลกรรมนำเกิด ที่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพราะอกุศลกรรมนำเกิด เพราะว่าไม่มีใครเก่งเกินกรรม เมื่อจิตใกล้ตายจับคติดี ก็นำไปในที่ดีได้กุศลนำเกิด ถ้าจิตจับอารมณ์ไม่ดี มัวหมองเศร้า ก็มีคติไม่ดี อกุศลกรรมนำเกิด ไม่มีใครในโลกนี้จะเก่งเกินกรรม คนเก่งในโลกนี้ไม่เก่งเกินกรรม และตายเพราะกรรม

อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง

ทุกขัง คือ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

อนัตตา คือ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

ฉะนั้น อะไรไม่เที่ยง อะไรทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อะไรบังคับบัญชาไม่ได้?

ตอบโดยพระปรมัตถธรรมก็คือ รูปนามไม่เที่ยง รูปนามทนอยู่ในสภาพเดิมไมได้ รูปนามบังคับบัญชาไม่ได้นัยหนึ่ง

หรือจะรวมว่า ชีวิตไม่เที่ยง ชีวิตนี้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ชีวิตนี้บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะชีวิตก็คือ รูปกับนามนั่นเอง



29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:06:49 | ดูโพสต์ทั้งหมด
นาม คือ ตัวรู้ วิญญาณขันธ์หรือจิต ฉะนั้น จิตไม่เที่ยง จิตทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ จิตบังคับบัญชาไม่ได้

อารมณ์ คือ ตัวถูกรู้ ฉะนั้นอะไรไม่เที่ยง อารมณ์ไม่เที่ยง อารมณ์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อารมณ์บังคับบัญชาไม่ได้

ธรรมก็คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

นามธรรมก็คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

นามธรรมก็คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

รูปธรรมก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ฉะนั้นก็คือรูปนามทั้งนั้น เราต้องรู้ว่าอะไรที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจึงเน้นถึงอารมณ์ ก็เพราะว่ากิเลสอาศัยอารมณ์เกิดขึ้น แล้วเราอุปาทานอะไร อุปาทานอารมณ์

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:07:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่างๆ เช่น ถ้าเราเห็นพระพุทธรูปสวยๆ ก็ชอบ พระพุทธรูปเป็นอารมณ์ของเรา เมื่อชอบก็เก็บไว้ จำได้ นั่นแหละอุปาทานไว้ แต่บัดนี้มีไหม ไม่มีแล้ว มีแต่ความทรงจำ สัญญา ฉะนั้น พระพุทธรูปเป็นบัญญัติ แต่ที่เห็นก็คือรูปธรรม ตัวที่เห็นก็คือนามธรรม เมื่อตีแผ่ออกมาแล้ว ไม่มีอะไรเลย มีเพียงรูปธรรมกับนามธรรม มีเพียงตัวรู้กับตัวถูกรู้เท่านั้น

เราจะพิจารณาว่าอารมณ์ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้อย่างไร ตัวอย่าง เช่น

มีปากกาสีแดง มาให้จิตรู้ แล้วผ่านไป

ต่อมามีปากกาสีเขียวมาให้รู้ แล้วผ่านไป

ต่อมามีปากกาสีน้ำเงินมาให้รู้ แล้วผ่านไป

สรุป ขณะที่เข้าไปรู้อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน รู้แล้วผ่านไปๆ นั้น ขณะนั้นคืออารมณ์ไม่เที่ยง

สัญญาความจำสีได้ ต้องไปรู้สีอื่น รู้สีเดียวไม่ได้ ขณะนั้นทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

เมื่อนำปากกามารวมกันทั้ง ๓ ด้าม แล้วให้มองเป็นสีเดียว ก็ทำไม่ได้ ขณะนั้นจึงตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาไม่ได้

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:07:44 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กล่าวคือวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไป

หากกล่าวโดยจิตก็เหมือนกัน จิตที่รู้สีแดง ก็ต้องไปรู้สีเขียว ก็คือจิตรู้การเปลี่ยนไป จิตของเราก็ไม่เที่ยง จิตก็ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ จิตก็ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

ฉะนั้น ท่านมุ่งหมายให้เข้าใจเรื่องจิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในวิปัสสนาท่านให้เห็นการเกิดดับของจิต หรือการเกิดดับของขันธ์ ๕ คือ รูปนามขันธ์ ๕ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ฉะนั้น อนิจจังมีอยู่ ทุกขังมีอยู่ อนัตตามีอยู่ เราไม่เคยเห็น และเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ ต้องปฏิบัติเท่านั้น

เช่น ขณะที่นั่งอยู่ ก็รู้รูปนั่ง เมื่อเกิดความเมื่อยเข้ามา ก็ต้องขยับเปลี่ยนท่าใหม่ ก็ทำให้เกิดความไม่เที่ยง มีทุกข์เข้ามาแล้ว ท่านั้นก็บังคับบัญชาไม่ได้ ว่าอย่าปวดอย่าเมื่อยเลย ต้องขยับจากรูปนี้ไปอีกรูปหนึ่ง อาการนั้นจึงไม่เที่ยง อาการนั้นทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อาการนั้นไม่สามารถบังคับบัญชาได้ นี่คือความเป็นจริงที่อยู่ในรูปในนาม ที่เราไม่เห็นความจริงอันนี้ เพราะมีตัวปิดอยู่ ฉะนั้นต้องทำลายตัวปิดนี้ให้ได้ ถ้าทำลายไม่ได้ก็ไม่มีใครเห็นอนิจจังได้ ทุกขังได้ อนัตตาได้

ตัวที่ปิดบังอนิจจังเรียกว่า สันตติ

ตัวที่ปิดบังทุกขังเรียกว่า อิริยาบถ

ตัวที่ปิดบังอนัตตาเรียกว่า ฆนสัญญา

ซึ่งเปรียบเหมือนขนมครก เต้าขนมครกปิดฝาอยู่ เราก็ไม่สามารถรู้ว่าข้างในนั้นใส่ต้นหอม ข้าวโพด หรือเผือกฉันใด การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ฉันนั้น

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:08:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อนิจจังคือ ความไม่เที่ยง เรามีความโง่หลงผิดคิดว่าเที่ยงเป็นนิจจัง เพราะมีสันตติคือการเกิดดับ และมีการเกิดขึ้นแทนความดับโดยไม่ขาดสาย ตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟ้าติดอยู่ไหม ตอบว่า ติดอยู่ คำตอบนี้ก็ผิด เพราะเอดิสันก็พิสูจน์มาแล้วว่าจะมีการเกิดดับ มีการสป๊าคของประจุไฟฟ้าบวกลบ แต่ตาของเรามองไม่เห็นความดับ เพราะมีการเกิดขึ้นแทนความดับเร็วมาก จนทำให้เราฟั่นเฟือนไปตามอาการ หลงไปว่าไฟติดอยู่

ฉะนั้นที่กล่าวว่าไฟติดอยู่ก็ผิด การเกิดดับมีอยู่ตลอดเวลา การเกิดขึ้นแทนความดับเร็วมากนี้เรียกว่า สันตติ ซึ่งปิดบังทำให้คิดว่าไฟติดอยู่เที่ยงเลย แท้ที่จริงไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง แต่ที่เราเห็นเป็นภาพลวงตาให้เห็นเป็นนิจจัง

ทุกขังคือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ที่จริงคนเราไม่มีอะไรทนได้เลย นั่งนานๆ เมื่อยไหม...เมื่อย เดินนานๆ เมื่อยไหม...เมื่อย ยืนนานๆ เมื่อยไหม...เมื่อย นอนนานๆ เมื่อยไหม...เมื่อย ไม่มีอิริยาบถใหญ่ ๑ ใน ๔ ที่ไม่เมื่อยไม่ปวด แต่เราเมื่อยแล้ว เราก็เปลี่ยนอิริยาบถใหม่ เช่น นั่งแล้วเดินก็รู้สึกสบาย

ฉะนั้น อิริยาบถใหม่ปิดบังอิริยาบถเก่า ปิดบังทุกขัง เช่น เรานั่งเมื่อยแล้วขยับ ก็สบายรู้สึกหายเมื่อย อิริยาบถใหม่ปิดบังอิริยาบถเก่าว่าเป็นทุกข์ แต่อิริยาบถใหม่กำลังเป็นตัวเริ่มต้นของความทุกข์ เมื่อนั่งนานๆ อีก เดินนานอีก ก็เมื่อยแล้ว ฉะนั้น อิริยาบถที่มีการเปลี่ยนแปลง ก้ม คู้ เหยียด เงย ต่างๆ ปิดบังความทุกข์ที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ฆนสัญญา คือ การประชุมรวมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า นี่คือภาพรวมที่มีการประชุมกัน ผ้าเช็ดหน้ามีที่ไหน แต่มาจากเส้นด้ายที่ถักจนเป็นผืน ส่วนด้ายก็มาจากการปั่นการทอขึ้นมา กระดาษก็มาจากเยื่อไม้ การประชุมกันของธาตุต่อธาตุ หรือรูปหล่อพระสีทองแดงก็มีทั้งทองแดง ตะกั่ว ประชุมกัน เป็นต้น

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:08:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ฉะนั้นเช่นเดียวกันฆนสัญญาคือ การประชุมกันระหว่างปฐวี อาโป เตโช วาโย ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม การนั่งอยู่ได้นั้นเป็นการประชุมกันของธาตุทั้ง ๔ ถามว่า ใครนั่ง ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า หัวก็นั่ง หูก็นั่ง จมูกก็นั่ง เป็นต้น จึงมีการประชุมกันให้เห็นว่าเป็นคน ลักษณะอย่างนี้เรียกว่านั่ง รูปแต่ละรูปมีการประชุมกันของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ (รายละเอียดเรื่องรูปแสดงอยู่ในพระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๖)

ส่วนที่เราจับเป็นส่วนที่แข็ง เนื้อก็แข็งน้อยคือธาตุดิน ธาตุน้ำทำให้เกาะกุมกันได้นั้น เช่น เอาแป้งสาลีมาเป่าปลิวได้ แล้วเอาน้ำเหยาะลงไปในแป้งเขี่ยให้เท่ากัน คลึง ปั้น มาเป็นขนมต่างๆ ได้ น้ำมีหน้าที่เกาะกุมทำให้เซลล์ต่างๆ เลือดเนื้อต่างๆ เกาะกุมเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ ธาตุลมทำให้ยืดหดได้ คนที่เป็นอัมพาตตัวจะหนัก เพราะสมรรถภาพของธาตุลมไม่ดี ทำให้ตึง ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตาหมด ธาตุไฟคืออะไร ไม่ใช่ไฟข้างนอก แต่ตัวเราอุ่นเพราะในตัวเรามีการปรับให้ชีวิตอยู่ได้ด้วยกรรม

ฉะนั้น ปฐวี อาโป เตโช วาโย วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ เป็นต้น นี่คือการเรียนเรื่องรูป

ในความเป็นจริงแล้วมีการประชุมของธาตุตามที่กล่าวมา แต่เราก็เห็นว่าเป็นคนเดียวนั่ง แท้ที่จริงต้องมีกายกับใจ คนตายลุกขึ้นมานั่งไม่ได้เพราะไม่มีประธานคือจิตสั่ง

เมื่อชีวิตเราต้องประกอบด้วยร่างกายและจิตใจทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกัน บังคับบัญชากันค้ำจุนกัน จึงนั่งอยู่ ไม่ใช่คนนั่งอยู่ มีรูปและจิต และต้องมีกรรม จิต อุตุ อาหาร เช่น ถ้าหมดกรรม ตายแล้วก็ลุกนั่งไม่ได้แล้ว มีจิตสั่งให้นั่ง มีจิตคิดจึงจะนั่งได้ ต้องมีอุตุทำหน้าที่ให้เกิดการเคลื่อนไหวเป็นท่านั่งได้ มีอาหารเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง คนไม่กินอาหารก็ผอมแห้งแรงน้อย เดินไม่ไหว ขาดอะไรไปไม่ได้ เพราะชีวิตต้องอาศัยกรรม จิต อุตุ อาหารเป็นพื้นฐาน จิตเป็นตัวเร่งเร้า อุตุเป็นพลังงาน อาหารเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง มีการประชุมกัน แต่ทำให้หลงไปว่าเป็นเรา บังคับบัญชาได้

ใครอยากหมดแรง ไม่มีหรอก อยากมีแรงทั้งสิ้น แต่เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเสื่อมไป หมดไป        ฉะนั้น จึงขอยกง่ายๆ คือฆนสัญญาปิดบังไว้ทำให้เห็นเป็นคนเป็นสัตว์ แท้ที่จริงมีการประชุมกันเท่านั้นเอง

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:09:04 | ดูโพสต์ทั้งหมด
สำหรับเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ทั้ง ๓ อย่างที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษา แต่เวลาปฏิบัติก็ไปดูว่าการเดินสบายไหม ไม่สบายจริง ต้องมีเมื่อย เมื่อยแล้วเปลี่ยนไปนั่ง สบายไหม ก็ไม่สบายจริง เพราะเป็นการเริ่มต้นทุกข์ใหม่ มีกายกับใจ มีการประชุมกันของอวินิพโภครูป ๘ ซึ่งมีการปิดบังอยู่ เพราะฉะนั้นต้องทำลายเครื่องปิดบัง ตัวทำลายก็คือ วิปัสสนาญาณ ๔ มีนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริจคหญาณ สัมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ จึงจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แค่สัมมสนญาณนี่แหละอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็โผล่ให้เห็นอย่างอ่อนๆ เมื่อเจริญได้วิปัสสนาญาณ ๙ จะโผล่ให้เห็นอีกครั้ง เพื่อหาลู่ทางออก

ฉะนั้น เครื่องปิดบังสันตติ อิริยาบถ ฆนสัญญาต้องมีปัญญา ๒ ตัว คือ นามรูปปริจเฉทญาณ และปัจจยปริจคหญาณ

ทำไมจึงมี ๒ ตัว เพราะการเห็นนามกับรูปไม่ใช่อย่างเดียวกัน นามรูปแยกจากกันแล้ว แล้วนามรูปเองก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อสัมมสนญาณเห็นการเกิดดับ เหมือนเราพิสูจน์เข้าไปได้ เหมือนเอาน้ำหยดลงไป แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ก็จะเห็นมีเชื้อโรคอยู่ ก็เช่นเดียวกันการเห็นการเกิดดับ เราพิจารณาอิริยาบถอยู่ จากอิริยาบถหนึ่งไปอิริยาบถหนึ่งเห็นการเกิดดับของอิริยาบถ การเกิดดับของอิริยาบถจะทำลายได้ด้วยสัมมสนญาณเท่านั้นเอง จะทำลายเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ด้วยปัญญาบารมีเท่านั้นเอง ไม่มีทางอื่นเป็นไปไม่ได้เลย

ฉะนั้น จึงเป็นเครื่องยืนยันอีกชนิดหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือสติปัฏฐาน ๔ หรือมรรคมีองค์ ๘ พรหมจรรย์นี้เท่านั้นที่จะทะลุผ่าน ไม่มีทางสายอื่นเลยที่จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องไปยกพระไตรลักษณ์ขึ้นสู่อารมณ์ จะไปยกทำไม เพราะอารมณ์มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่แล้ว

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-5 11:09:32 | ดูโพสต์ทั้งหมด
คำว่า ยก นั้นหมายถึง เอาองค์ฌานมาพิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์ในนั้น แต่พวกที่บอกว่ายกไตรลักษณ์ขึ้นสู่อารมณ์นั้น เขาพูดกัน เป็นเพียงคำพูด

ผู้เห็นอนิจจังก็เป็นพระอรหันต์ได้

ผู้เห็นทุกขังก็เป็นพระอรหันต์ได้

ผู้เห็นอนัตตาก็เป็นพระอรหันต์ได้

ส่วนเราแค่รู้จัก แต่เรายังไม่เคยเห็น เพราะผู้ที่เห็นครั้งแรกเป็นปฐมนิพพานเท่านั้นคือพระโสดาบัน เห็นครั้งที่ ๒ เป็นพระสกทาคามี เห็นครั้งที่ ๓ เป็นพระอนาคามี เห็นครั้งที่ ๔ เป็นพระอรหันต์

ฉะนั้น จึงเป็นเครื่องยืนยันว่าทางสายเอกเท่านั้นเองคือ วิปัสสนากรรมฐานที่เกิดจากสัพพัญญุตญาณของพระศาสดาเท่านั้นจึงจะพ้นทุกข์ได้



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-29 19:03 , Processed in 0.089146 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้