มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 689|ตอบกลับ: 3

มองตน มองคน

[คัดลอกลิงก์]

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405






มองตน มองคน

การมองตนจะมองอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของลูกตาคู่นั้น และเกิดความสมดุลย์กันในการมองให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะคนเรามักมองคนอื่น และมองเห็นแต่ความผิดพลาดของผู้อื่น

ฉะนั้น ในการมองจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพจิตใจในขณะมองด้วย จิตใจดี มองก็ดี พูดก็ดี ถ้าจิตใจลำเอียง มันจะเอนให้ไปมองหาข้อบกพร่องแต่เพียงอย่างเดียว มองผ่านสิ่งที่ดีไป ถ้าชอบอยู่ก่อน ก็จะมองเห็นแต่ข้อดีของเขา แม้จะมีดีน้อยก็เห็นมาก แล้วเอาไปพร่ำพรรณามากมาย มองผ่านข้อไม่ดีไป

การมองด้วยตาจึงเชื่ออะไรไม่ได้นัก เพราะมีจิตลำเอียงอยู่ เมื่อต้องมองอย่ามัวแต่มองผู้อื่น ให้มองตนเองด้วย พระตถาคตทรงสอนว่า ไม่พึงใส่ใจถึงคำพูดที่ก่อความบั่นทอนของคนอื่น และภิกษุทั้งหลายไม่พึงมองดูในสิ่งที่เขาทำแล้ว หรือยังไม่ทำ จึงพึงพิจารณาหน้าที่การงานของตนเท่านั้นว่า เราได้ทำ และทำดีแล้วหรือยัง

มีกลอนบทหนึ่งกล่าวว่า โทษคนอื่นเราเห็นเท่าภูเขา โทษของเราเราเห็นเท่าเส้นขนพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรียนรู้ตัวเองให้มากเข้าไว้ แม้จะมองเห็นได้ยากเพียงใดก็ตาม เช่นนามรูปปริจเฉทญาณ

คนเราไม่ค่อยยอมรับความบกพร่อง และผิดพลาดของตนเอง แต่เพื่อความเจริญของตนเอง ท่านว่าก็ควรทำความเห็นแล้วคิดแก้ไขให้ทันท่วงที เรื่องของคนอื่นเขาจะขึ้นช้างลงม้าก็เรื่องของเขาเถอะ เขาจะทำหรือไม่ทำอะไรก็เรื่องของเขา หากไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราแล้ว ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเขาไป ผู้ที่หาความบกพร่องของตนเองได้ นับว่าประเสริฐ หาได้ยาก ยิ่งเมื่อเห็นแล้ว ยอมรับความบกพร่องได้ มีจิตพร้อมปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น ยิ่งเป็นคนประเสริฐหาได้ยากยิ่ง จัดเป็นประเภทยอดคน

“ผู้ใดเป็นคนโง่เป็นคนพาล แต่ก็รู้ว่าเป็นคนโง่เป็นคนพาล ผู้นั้นยังพอจะเป็นคนฉลาดต่อไป ส่วนผู้ใดเป็นคนโง่เป็นคนพาล แต่สำคัญว่าตนเองฉลาดและเก่ง ผู้นั้นแหละจะเป็นคนฉลาดต่อไป เพราะจะไม่ยอมเรียน รับรู้อะไรจากใครโดยคิดว่าตัวเองฉลาดพอตัวแล้ว เขาจึงเป็นคนโง่ตลอดชิวิต”

ดังนั้น มองดูว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องของเราหรือไม่ ถ้าไม่ใช่อย่ายุ่ง นิ่งในสิ่งที่ควรนิ่ง



32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-28 18:24:55 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ถาม คนมีหลายแบบแล้วจะสังเกตว่าใครเป็นคนเก่ง ได้อย่างไร

ตอบ คนเราทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัว ต่างแต่ว่าจะเก่งมากหรือเก่งน้อย เพราะถ้าไม่เก่งก็ไม่อยู่มาถึงวันนี้ได้หรอก พระสารีบุตรท่านกล่าวว่า ความเก่งนี้แหละทำให้ชีวิตเราอยู่รอดได้ ความสันทัดนั้นเราก็เรียกว่าเป็นความเก่ง เราใช้ความเก่งประกอบอาชีพได้ ใครเก่งมากก็ได้เงินเดือนมาก

คนดีมีเครื่องหมายบ่งบอกคือความกตัญญูกตเวทิตาคุณ คนเก่งก็มีเครื่องหมายบ่งบอกคือ ศิลปะ ความเป็นผู้มีศิลปะจัดว่าเป็นคนเก่ง คำว่าศิลปะ หมายความว่า การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ หรือถ้าจะแปลแบบชาวบ้าน ศิลปะ คือ ความรู้ความสามารถที่ได้ถ่ายทอดออกมา

คนมีศิลปะคือคนมีฝีมือในการทำงาน ตัวอย่างเช่นที่ศูนย์ศิลปาชีพ คนที่มีความรู้ความสามารถเรียกว่า พหูสูต แต่ถ้ายังแสดงฝีไม้ลายมือออกมาไม่ได้ ยังทำงานโชว์ฝีมือไม่ได้ ก็จัดว่าเป็นคนเก่งคนมีศิลปะยังไม่ได้ เรียนมากแต่ถ่ายทอดไม่ได้ก็ยังไม่เป็นคนเก่ง เพราะศิลปะนั้นต้องถ่ายทอดออกมาจึงจะเห็นกันได้ รู้เก่งก็ไม่เท่าทำงานเก่ง คนเรียนเก่งแต่ไม่ทำงาน ก็ไม่มีใครรู้ว่าคนนี้เก่งหรือไม่ แต่คนเรียนเก่งมักทำงานเก่งด้วย การแสดงออกอาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงผลงาน การร่ายรำ เป็นต้น

ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่ง? คนสอนงาน งานสร้างคน คนสร้างงาน และสิ่งต่างๆ ไม่ได้สำเร็จด้วยการพูดอย่างเดียวแตาต้องทำด้วย คำพูดหรือหลักการเป็นการสร้างความหวัง แต่การทำเป็นการสร้างความจริง เกิดเป็นคนไม่ต้องเก่งทุกอย่าง ขอให้เก่งจริงสักเพียงหนึ่งอย่างก็ยังดี และที่สำคัญคือเป็นคนดี รวมถึงอย่างอมืองอเท้ารอพึ่งแต่ผู้อื่น

ความกลัวไม่ช่วยให้ไม่ตาย ความเกรงใจชนิดคิดมาก ไม่ช่วยให้มีมิตรภาพเพิ่มขึ้น แต่กำลังทำลายมิตรภาพในใจตนเองโดยที่คู่ต่อสู้หรือมิตรเคียงข้างไม่รู้ ฉะนั้น อย่าคิดมาก คิดให้น้อย และคิดให้ถูก จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด มาคนเดียว อยู่คนเดียว ไปคนเดียว หวังดี และหวังได้ดีด้วย

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-28 18:25:18 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ผู้ที่มีมิตรภาพในใจมากจนล้นเลยก็คือ พระพุทธเจ้า ท่านมีมิตรภาพในใจต่อเวไนยสัตว์ทั้งหลาย เป็นมิตรภาพที่อาบจิต ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในพุทธางกูรทั้งหลาย ต้องเป็นผู้ที่ชะโลมใจด้วยมิตรภาพจนมิตรภาพนั้นอาบจิต จึงจะเกิดในวงศาคณาญาติของพุทโธหรือพทธะได้ พระโมคคัลลา พระสารีบุตร พระอานนท์ พระราชบิดา มารดา ต้องสร้างมิตรภาพในใจมา

มิตรภาพในใจไม่จำเป็นต้องบอกใคร เหมือนคำว่าหวังดี เราจะก้าวไปไหนก็แล้วแต่ ไม่ได้ทำไปเพื่อหวังร้าย และทำลายใคร เราก้าวไปเพื่อหวังดีกับตนเองและผู้อื่น เช่น การเจือจานความรู้แก่ผู้อื่น การให้เป็นมิตรภาพที่สุด ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้โดยไม่สะเทือนต่อโลกธรรม เรียกว่าจิตที่มีมิตรภาพ เป็นสันติต่อวิบาก อะไรที่ทำแล้วไม่ทำให้ใจกระเพื่อมทั้งทางโสมนัส และโทมนัส เรียกว่า จิตมิตรภาพ

สิ่งเหล่านี้ต้องปลูกฝัง เพราะเรามักกังวลไปว่า ทำอย่างนี้แล้วจะสะเทือนอันนั้น มิตรภาพของเราก็คือถูกใจกัน คบกัน เข้าใจกัน เราคิดแค่นี้เอง คิดตื้นๆ มิตรภาพนี้ต้องมิตรจิตมิตรใจ ทำให้เหมือนพระพุทธเจ้าท่าน เช่น ที่อาจารย์บุษกร บอกว่าไม่มีใครพิเศษ แต่ต้องการให้ทุกคนวิเศษ เช่นนี้เป็นจิตที่มีมิตรภาพ

เราก้าวไปที่ไหนเราไม่เคยไปเพื่อมุ่งร้ายใคร เราไปหาความเจริญ ความก้าวหน้า เวลานำความเจริญความก้าวหน้ามาสู่ตน และผู้อื่นเท่าที่เราทำได้ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดแล้วหยุดแค่นั้น สิ่งสะท้อนย้อนกลับนั้นเป็นเรื่องวิบาก จึงจะต้องมีมิตรภาพต่อวิบากทั้งดีทั้งร้าย คือไม่โวยวายนั่นเอง

เมื่อจิตมีมิตรภาพแล้ว ทุกอย่างจะสิโรราบกับจิตเอง ไม่วันนี้ก็วันหน้า จงมั่นใจในความดี อย่าคิดว่าทำให้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นวาสนาส่วนตัว การมีไมตรีจิตต่อกันถึงเป็นเมตตา แต่การไม่สะเทือนต่อวิบากแล้ว จึงจะเรียกว่ามีมิตรภาพอาบใจ สามารถวางอุเบกขาได้ เช่นกระทบเรื่องไม่ดี คิดได้ว่าเขาไม่ได้พูดให้เราโกรธ เราโกรธเอง ระลึกรู้ทัน ตั้งสติได้ กระทบเรื่องดีก็ไม่โลดโผนโจนทะยานเกินไป วิบากเราเอง ระลึกนึกได้ เรียกว่า หยุดแคร์อารมณ์ แล้วมาเคลียร์เรื่องกรรมกับวิบาก

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-28 18:25:36 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ถาม การให้ที่ไม่ต้องเสีย ทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร เพราะคนเราไม่อยากเสียอะไร

ตอบ การให้ส่วนใหญ่ต้องลงทุน ลงแรง ต้องเสียของ แต่มีการให้อยู่อย่างหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงและไม่ต้องเสียอะไรเลย ซึ่งถ้าใครๆ ให้กันได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้เหมือนกันผลบุญไม่แหว่งอย่างเช่นการแผ่เมตตา

บางทีให้แล้วเสียใจ เพราะรู้ว่าเขาไม่ได้รับ แต่การให้ที่ไม่ต้องเสียและอยากให้ทุกคนฝึกด้วย คือ การให้อภัย ให้อภัยตนเองนะที่คิดผิด จะฟุ้งซ่านคิดมากไป ให้อภัยผู้อื่น การให้นี้ไม่มีเสีย เพียงตัดสินใจไม่ถือโทษเท่านั้นเอง

ฉะนั้น ผลสะท้อนในอนาคตอย่างไรก็แล้วแต่ ..มิตรภาพ.. ให้อภัย ...ให้มีประจำอยู่ในใจเป็นคำภาวนาเลย แล้วคาถานี้จะช่วยจิตเรา จิตต้องมีมิตรภาพ อาบจิตแล้วก็ต้องให้อภัย ซึ่งดูเหมือนจะง่าย แต่จริงๆ ทำได้ยากกว่าการให้อย่างอื่น จะทำได้ต้องฝึกจิต คนเราโกรธอยู่มีโทสะอยู่ เคืองอยู่ จริงๆ ควรคิดว่าไม่มีใครทำอะไรถูกใจ ถูกต้องไปหมด คนที่ให้อภัยได้ มักมีคำติดปากว่าไม่เป็นไร แล้วในใจก็ต้องรู้สึกไม่เป็นไรจริงๆ

การให้อภัยเป็นการสร้างความสุข ความสบายใจแก่ตนเอง การผูกติดอยู่กับความโกรธ ใจย่อมไม่มีอิสรภาพ พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าความโกรธเหมือนไฟสุมอยู่ในอก ทำให้ร้อนรุ่ม และทรงสรุปว่า ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่สบาย ฆ่าความโกรธเสียได้ ก็ไม่ต้องเศร้าต่อไป

เราอาจจะถูกใครเข้าใจผิดได้ ต้องวางใจว่าคนเรา นานาจิตตัง แต่เราลูกพ่อเสือ ต้องบอกตนเองว่า จิตตํ ทนฺตํ สุขาวหํ



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-20 13:52 , Processed in 0.096016 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้