มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1357|ตอบกลับ: 4

วิปัสสนากรรมฐาน

[คัดลอกลิงก์]

42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901

วิปัสสนากรรมฐาน
ภาค ๑
ปริยัติธรรม


ในพระวิปัสสนากรรมฐานนี้ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณประทานไว้แก่พุทธบริษัท ทั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตราบเท่าเวลา ๔๕ พรรษา ก่อนพุทธปรินิพพาน มีเนื้อหาลึกซึ้งคัมภีรภาพ ยังเวไนยสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ถึงอมตมหานิพพาน อันเป็นแดนบรมสุขเป็นอันมาก

วิปัสสนากรรมฐาน แบ่งเป็น ๓ ภาค คือ : -

๑.ภาค ๑ ได้แก่ปริยัติศาสนา คือ การสอนปริยัติให้รอบรู้ภายในเขตของวิปัสสนาภูมิ ๖ ประการ ที่เป็นอุปกรณ์ซ้อมความเข้าใจ ให้รู้ความมุ่งหมายของการปฏิบัติวิปัสสนา และปลูกศรัทธาปสาทะให้มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้น

๒. ภาค ๒ ได้แก่ปฏิบัติศาสนา คือ การสอนการปฏิบัติฝึกหัดอบรมตามที่ได้ศึกษามาในภาค ๑ คือ ภาคปริยัติ ว่าด้วยการละปลิโพธิ การจัดสถานที่สัปปายะ พิธีวันเข้าปฏิบัติวิปัสสนา วิธีตั้งสติกำหนดรุ้ทันรูปนาม ตามแบบปฏิบัติทุกๆ แบบปฏิบัติ

๓. ภาค ๓ ได้แก่ปฏิเวธศาสนา ว่าด้วย มรรค ผล นิพพาน สอนให้รู้ในญาณทั้งโลกีย์และโลกุตตระ และฝึกหัดเข้าผลสมาบัติ กับนิโรธสมาบัติ เป็นต้น

ในภาค ๑ นี้ แสดงถึงปรยัติศาสนาให้ทราบในสัจจธรรม ที่พระบรมศาสนาทรงเทศนาไว้ มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ (แปดหมื่นสี่พัน) พระธรรมขันธ์ คือ พระไตรปิฏกทั้ง ๓ นั่นเอง ได้แก่

ในพระวินัยปิฏก        มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ในพระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ในพระอภิธรรมปิฏก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


รวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งพระสุรเสียงจากพระโอษฐ์ ประกาศสัจจธรรมมีประมาณเท่านี้ เมื่อสรุปย่อลงแล้วมีอยู่ ๒ ประการ คือ...



42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-30 15:30:16 | ดูโพสต์ทั้งหมด


๑.        สมมติสัจจะ อาศัยบัญญัติตั้งขึ้น คือ ความจริงโดยสมมติ

๒.        ปรมัตถสัจจะ คือ สภาวะความมีปรากฏอยู่จริง

วิปัสสนานั้น คือ การมีปัญญาญาณ รู้แจ้งเห็นจริงในพระปรมัตถสัจจะและสมมติสัจจะได้โดยเด็ดขาด แต่จะกล่าวถึงสมมติสัจจะพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

สมมติสัจจะ เป็นโวหารคำกล่าวที่โลกียชนได้นิยมใช้กล่าวกันสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล คือ สมมติเอาสัตว์ บุคคล อัตตะ ชีวะ สัณฐาน สันตติ นิมิต และ อนุพยัญชนะ เป็นต้น

คำว่า สัตว์ เป็นชื่อที่สมมติใช้เรียกได้ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน
คำว่า บุคคล เป็นที่ใช้สมมติเรียกชื่อสัตว์ใน ๓๑ ภูมิ ที่เคยตกนรกมาแล้ว ปัจจุบันนี้ นิยมใช้เรียกมนุษย์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์เดียรัจฉาน

คำว่า อัตตะเป็นชื่อสมมติใช้อย่างแพร่หลาย คือ สมมติหมายกำหนดเอาแก่นสารแห่งขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัว เป็นตน โดยใช้สรรพนามว่าเรานั่นเอง

คำว่า ชีวะ หรือ ชีวี นี้ เป็นส่วนสำคัญของอัตตะ เท่ากับศีรษะของอัตตะ อัตตะจะทรงอยู่ได้นาน ก็ด้วยอำนาจชีวะ หรือ ชีวี พิทักษ์รักษาไว้

คำว่า สัณฐาน เป็นชื่อที่พึงกำหนดนับได้ตั้งแต่ ปรมาณู อณูของปถวีธาตุ คือ ธาตุดิน ตลอดถึงขุนเขา อันสามารถกำหนดกว้าง ยาว สั้น คอด สูง ต่ำ ทุกส่วนสัดของรูปร่างลักษณะ

คำว่า นิมิต คือ ลักษณะทรวดทรงของสัตว์ และบุคคล เป็นต้น จำแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ สุภนิมิต และอสุภนิมิต ได้แก่นิมิตที่สวยงามและไม่สวยงาม

คำว่า อนุพยัญชนะ คือ การเคลื่อนไหวของสัตว์และบุคคล เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะทั้งสุภะงาม และอสุภะไม่งาม



42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-30 15:30:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด


คำว่า สมมติ นี้ หมายความว่ารู้พร้อม เช่น การเห็นผู้ชายเมื่อเห็นก็รู้พร้อมขึ้นมาว่า เป็นผู้ชาย การรู้พร้อมขึ้นมาว่าเป็นผู้ชายนั้นมีบัญญัติธรรมการตั้งขึ้นก่อนเป็นปัจจัย ให้สมมติคือความรู้พร้อมเกิดขึ้นในภายหลัง

คำว่า บัญญัติ เป็นภาษาบาลีว่า ปญฺญตฺติ แปลว่า รู้ได้ด้วยปการะ คือ ตั้งขึ้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑.        สัททบัญญัติ คือ ตั้งขึ้นตามเสียง
๒.        อัตถบัญญัติ คือ ตั้งขึ้นตามเนื้อความ หรือ ตามความหมายนั้นๆ



42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-30 15:31:57 | ดูโพสต์ทั้งหมด


สัททบัญญัติ ย่อมแจกออกไปได้ ๖ ประเภท คือ

๑.        วิชชมานบัญญัติ ได้แก่ชื่อของปรมัตถ์ทั้งหมด เช่น รูป เวทนา สัญญา เป็นต้น ชื่อเหล่านี้เป็นบัญญัติที่มีสภาวะรับรอง

๒. อวิชชมานบัญญัติ ได้แก่ชื่อของโวหารที่โลกตั้งไว้ โดยไม่ได้อาศัยปรมัตถ์ เช่น ดิน น้ำ ภูเขา ป่าไม้ เป็นต้น ชื่อเหล่านี้เป็นบัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรอง

๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คือ ชื่อของปรมัตถ์ กับไม่ใช่ชื่อของปรมัตถ์ผสมกันเรียก เช่น ฉฬาภิญญา (ผู้มีอภิญญาทั้ง ๖) ฌานลาภี (ผู้ได้ฌาน) เป็นต้น ซึ่งเป็นบัญญัติที่มีสภาวะรับรองกับบัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรอง

๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นชื่อที่ไม่มีปรมัตถ์และชื่อที่มีปรมัตถ์ผสมกัน อิตถีสัทโท (เสียงของหญิง) ปุริสวายาโม (ความเพียรของบุรุษ) หญิงกับบุรุษเป็นชื่อไม่มีปรมัตถ์ เสียงกับความเพียร เป็นชื่อที่มีปรมัตถ์ หมายความว่า เป็นบัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรอง กับบัญญัติที่มีสภาวะรับรอง

๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นเรื่องของปรมัตถ์ทั้งสองผสมกัน เช่น จักขุวิญญาณัง (วิญญาณทางตา) โลภเสวะ (เสพความโลภ) ซึ่งเป็นบัญญัติที่มีสภาวะรับรอง กับบัญญัติที่มีสภาวะรับรอง

๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ ชื่อทั้ง ๒ นี้ ล้วนเป็นชื่อที่ปราศจากปรมัตถ์ เช่น ราชปุตโต (ราชบุตร) ราชรโถ (ราชรถ) เป็นต้น คำ ๒ คำนี้ ราชะก็ไม่ใช่ปรมัตถ์ ปุตตะกับรถะ ก็ไม่ใช่ปรมัตถ์เช่นเดียวกัน sมายความว่า บัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรอง กับบัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรอง



42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-30 15:32:47 | ดูโพสต์ทั้งหมด


ส่วนอัตถบัญญัตินั้น เป็นบัญญัติชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอาการของสิ่งต่างๆ ที่วิปริตอยู่หรืออาศัยรูปร่างสัณฐานของวัตถุต่างๆ สิ่งต่างๆ รวมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จำแนกออกไปได้ ๖ ประเภท คือ:-

๑.        สัณฐานบัญญัติ อาศัยรูปร่างสัณฐานเรียก เช่น ภูมิ (ดิน) ปัพพตะ (ภูเขา) เป็นต้น

๒.        สมูหบัญญัติ อาศัยความประชุมของวัตถุและของสิ่งต่างๆ จึงบัญญัติเรียกขึ้น เช่น เคหะ (บ้าน) รถะ (รถ) สกฏะ (เกวียน) เป็นต้น

๓.        สัตตบัญญัติ อาศัยขันธ์ทั้ง ๕ บัญญัติเรียกขึ้น เช่น ปุริสะ (บุรุษ) อิตถี (หญิง) เป็นต้น

๔.        ทิสากาลาทิบัญญัติ อาศัยพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว ความหมุนเวียนยักย้ายเข้าออก จึงบัญญัติเรียก เช่น ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก วัน เดือน ปี เป็นต้น

๕.        ถูปคูหาทิบัญญัติ อาศัยอากาศกับอาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ไม่ติดต่อกัน จึงบัญญัติเรียก เช่น ถูปะ (หลุม) คูหา (ถ้ำ คู) เป็นต้น

๖.        นิมิตตบัญญัติ อาศัยนิมิตของกรรมฐาน และอาศัยอาการที่เกิดของภาวนา จึงบัญญัติตั้งขึ้นเรียก เช่น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต เป็นต้น

โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ







ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-25 13:48 , Processed in 0.107452 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้