กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 956|ตอบกลับ: 4

วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๒

[คัดลอกลิงก์]

42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901




บรรดาสมมติบัญญัติทั้งมวลที่แสดงมาแล้ว เพียงย่อๆ เท่านั้น ถ้าจะพรรณนาสมมติบัญญัติที่มีในโลกทั้งหมดแล้ว ก็ไม่อาจพรรณนาให้หมดสิ้นได้ เพราะการสมมติบัญญัตินั้นไม่เหมือนกัน ชาติหนึ่ง ภาษาหนึ่ง ก็สมมติไปอย่างหนึ่งๆ เช่น คำว่า ร้อน เป็นภาษาไทย ภาษาบาลีเรียกว่า อุณฺห ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ฮ๊อท ภาษาจีนเรียกว่า ยั๊วะ มีต่างกันเช่นนี้ทุกภาษา อาศัยสภาวะอันเป็นตัวปรมัตถ์ คือ ความร้อนยืนไว้ให้บัญญัติ แต่เมื่อกล่าวโดยย่อที่สุดแล้ว มีอยู่ ๒ ประการ คือ ..บัญญัติที่มีสภาวะรับรอง และบัญญัติที่ไม่มีสภาวะรับรองเท่านั้น แต่บัญญัติหรือสมมติที่ไม่มีสภาวะรับรอง พระพุทธองค์ได้ตรัสเรียกว่า โมฆธรรม ทั้งสิ้น

คำว่า โมฆธรรม นั้น คือ ทรงความไม่มีไว้ ถ้าจะมีปัญหาสอบถามเข้ามาว่า ไม่มีอย่างไร? ข้อนี้มีวิสัชนาว่า คือ เป็นของว่าง เป็นของเปล่า สำคัญมั่นหมายเอาเอง ขอให้มองไปรอบๆ ตัวเราเองเราจะเห็นวัตถุสิ่งของต่างๆ หลายอย่างหลายชนิด เป็นต้นว่า บ้านเรือน เครื่องใช้สอยต่างๆ มีเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย มี แก้ว แหวน เพชร นิล จินดา เหล่านี้ล้วนแต่เป็นบัญญัติสมมติที่ไม่มีสภาวะรับรองทั้งสิ้น เมื่อเวลากาลผ่านไป ทรัพย์สมบัติและบ้านเรือนทั้งสิ้น ย่อมชำรุดแตกดับผุพังไปด้วยอำนาจของความร้อน ความหนาว เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ทั้งสิ้น เหลือแต่ความว่างเปล่าจะไขว่คว้ามาเป็นของเราก็ไม่ได้ เพราะเป็นโมฆธรรม ไม่มีอะไร แม้แต่วัตถุสิ่งของที่ไกลออกไปทั่วสากลจักรวาล ก็มีแต่เป็นโมฆะทั้งสิ้น

เช่น หญ้าทั้งหมด เครื่องเถาทั้งหมด ต้นไม้ทั้งหมด ภูเขาทั้งหมด เหล็ก หรือแร่ธาตุทั้งหมด ก็ย่อมแตกดับผุพัง เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ทั้งสิ้น แม้ว่าเหล่าสัตว์มนุษย์บนพื้นพิภพนี้ เมื่อเกิดมาแล้วย่อมผ่านความชราแก่คร่ำคร่า ผ่านความเจ็บไข้ลำบากกายลำบากใจ สุดท้ายก็ถึงแก่ความมรณะมีกายที่ประชุมด้วยธาตุทั้ง ๔ ก็แตกแยกออกจากกัน ผุพังเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม แต่ละส่วน ไม่มีอะไร เป็นโมฆธรรมแท้ๆ

แม้ว่าสัตว์เหล่านี้ มีดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมให้เราอาศัยอยู่ ซึ่งเรียกว่าโอกาสโลก หรือโลกอื่นทั้งหมด เพราะพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ว่า “เมื่อสิ้นกัปแล้ว โลกจะทำลาย” เป็นโมฆะธรรมอีกเหมือนกัน



42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-31 10:45:31 | ดูโพสต์ทั้งหมด



คราวนี้มาลองพิจารณาน้อมระลึกถึง อัตตภาพตัวตนของเราก็เป็นโมฆะมาเป็นลำดับ

ขณะที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา ตามนัยพระอภิธรรมรูปปวัตติแสดงไว้ว่า มีน้ำกลละที่ก่อเป็นรูปในปฏิสนธิ ย่อมมีเพียงส่วนน้อย ประมาณได้เท่าน้ำที่แมลงวันตัวเล็กๆ ได้พยายามดื่มในครั้งหนึ่งๆ จะเป็นน้ำกลละคือน้ำใสอยู่ได้ถึง ๑ สัปดาห์ เรียกว่า กลลสัตตาหะ ต่อแต่นั้นจะกลายเป็นฟองน้ำอยู่ได้อีก ๑ สัปดาห์ เรียกว่า อัมพุทสัตตาหะ แล้วกลายเป็นเมือกอีก ๑ สัปดาห์ เรียกว่า เปสิสัตตาหะ ต่อจากนั้นก็กลายเป็นก้อนเนื้ออยู่ ๑ สัปดาห์ เรียกว่า ฆนสัตตาหะ ต่อจากนี้ก็เกิดปุ่มทั้งห้า คือ ศีรษะ ๑ มือ ๒ ขา ๒ อยู่ประมาณ ๑ สัปดาห์ เรียกว่า ปัญจสาขา ต่อจากนั้นก็จะเกิดอายตนะภายใน มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ประมาณ ๑ สัปดาห์ เรียกว่า จักขาทิสัตตาหะ ต่อจากนั้นก็จะเจริญเติบโตแก่กล้าขึ้นโดยลำดับ เป็นเวลาประมาณ ๓๐ สัปดาห์ เรียกว่า ปริปากสัตตาหะ ต่อจากนั้นเกิด ผม ขน เล็บ เป็นต้น เป็นเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์ เรียกว่า เกสาทิสัตตาหะ รวมเวลาประมาณ ๔๒ สัปดาห์ คิดเป็นเวลา ๙ เดือน ๒๔ วัน แล้วจึงคลอดออกมาจากครรภ์มารดา จะเห็นได้ว่าเป็นโมฆธรรมอยู่เสมอ เป็นน้ำใสไปหมด กลายเป็นฟองน้ำ ฟองน้ำหมดไปกลายเป็นเมือก เมือกหมดไปกลายเป็นก้อนเนื้อ ก้อนเนื้อหมดไปกลายเป็นมีศีรษะ แขน ขา รูปนั้นหมดไปกลายเป็นมี ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น จนเปลี่ยนสภาพมี ผม ขน เล็บ เป็นต้น

เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย กวฬิการาหาร มีอาหาร คือ น้ำนม และข้าวป้อน เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ผ่านวัยอ่อนที่นอนในเบาะเป็นต้น ตามวันและเวลาซึ่งแบ่งได้เป็น ๑๐ วัย ดังนี้

42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-31 10:46:18 | ดูโพสต์ทั้งหมด




๑.มันททสกะ วัยอ่อนนับตั้งแต่แรกคลอดออกมาในขวบที่ ๑ ถึง ๑๐ ขวบ ในวัยนี้จะเห็นความเป็นโมฆะระยะ เช่น รูปอ่อนที่นอนอยู่ในเบาะหายไม่ไม่มี กลายเป็นเด็กนั่งได้ เดินได้ พูดได้ รูปลักษณะเช่นนั้นหายไป กลายเป็นเด็กนั่งเล่นฝุ่น เล่นดิน เหล่านี้เป็นต้น

๒. ขิฑฑฑสกะ วัยสนุกนับตั้งแต่อายุ ๑๐ ปี ถึง ๒๐ ปี ชอบสนุกสนาน ชอบเล่นกีฬาต่างๆ กินมากนอนมาก ร่าเริงอยู่เสมอ สนุกที่ไหนไปที่นั่นฟ้อนรำที่ไหนไปที่นั่น เมื่อวัยนี้ปรากฏขึ้นวัยอ่อนที่ยังเล่นฝุ่นดินก็หายไป เป็นโมฆะจะเรียกร้องให้กลับมาเหมือนอย่างเก่าไม่ได้อีกเลย แม้อาหารที่รับประทานทุกๆ วัน ก็มีแต่หมดไปสิ้นไปไม่มีเหลือ

๓.วัณณทสกะ วัยงาม คือ วัยหนุ่ม วัยสาว อายุตั้งแต่ ๒๐ ปี ถึง ๓๐ ปี ในวัยนี้เป็นวัยที่มีตัณหาราคะ คือความรักอยากได้เจริญกล้า มีโสมนัสยินดีอยู่กับอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความรัก มองดูโลกนี้เต็มไปด้วยวิจิตรตระการตา เห็นต้นไม้ ต้นหญ้า ดอกไม้ ก็ชอบใจร่าเริง เหมือนผีเสื้อ ถลาบินไปจับต้นไม้โน้นแล้วก็ไปต้นไม้นี้ หลงลืมความทุกข์ยากลำบากทั้งมวลเสีย เสียงสายลมกระทบใบไม้ก็แว่วไปว่าเป็นเสียงพิณ ชอบกลิ่นหอม ชอบรสดี รสอร่อย ชอบเครื่องสัมผัสที่ดี ที่ประณีต จิตใจนึกคิดแต่ในอารมณ์อันเป็นอิฏฐารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา หลงเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ทั้ง ๖ จิตใจที่ขึ้นอยู่กับตัณหา ความทยานอยาก สั่งให้รูปกายเคลื่อนไหวไปตามความต้องการ เปลี่ยนแปลงแปรผันทุกวันทุกคืน จนตลอด ๑๐ ปี หมดไปสิ้นไป จะเรียกร้องให้กลับคืนมาเป็นเหมือนอย่างเก่าไม่ได้อีกแล้ว เป็นโมฆธรรมแท้ๆ

42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-31 10:46:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เทพธรรม เมื่อ 2017-7-31 10:48



๔.พลทสกะ
วัยมีกำลัง อายุตั้งแต่ ๓๐ ปี ถึง ๔๐ ปี มีกำลังสมบูรณ์ทำงานการมั่นคงเป็นหลักฐาน สมบูรณ์ด้วย สามี ภรรยา บุตร ธิดา ทรัพย์ยศ และบริวาร ไม่ช้าไม่นาน ๑๐ ปี หมดไปสิ้นไป จะเรียกร้องให้กลับมาอยู่ในสภาพนั้นอีกไม่ได้ ได้ชื่อว่าไม่มี เป็นโมฆธรรม


๕. ปัญญาทสกะ วัยที่มีปัญญาสมบูรณ์ อายุตั้งแต่ ๔๐ ปี ถึง ๕๐ ปี มีสติปัญญาเฉียบแหลม รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักกาลเทศะ รู้จักบุคคล เป็นผู้สูงด้วยอายุและคุณธรรม รู้จักภาวะของตน รู้จักคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์เป็นที่เคารพนับถือของกุลบุตรกุลธิดา จนเวลาล่วงไปหมดไป ๑๐ ปี ปัญญาอันสมบูรณ์นั้นก็สรีรร่างก็เสื่อมไปสิ้นไป เป็นโมฆธรรม

๖. หานิทสกะ วัยมีกำลังน้อย อายุตั้งแต่ ๕๐ ปี ถึง ๖๐ ปี กำลังที่เคยแข็งแรงก็อ่อนเพลีย จะทำกิจการงานใดที่หนักก็ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน จะเดินไปไหนมาไหนก็ต้องหยุดพักผ่อน หายใจหอบถี่ไม่สะดวก ต้องอาศัยผู้อื่นจนกระทั่งเวลาผ่านไปหมดไปสิ้นไป ๑๐ ปี ภาพนั้นก็หายไปหมดไปด้วย เป็นโมฆธรรม

42

กระทู้

156

โพสต์

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-31 10:47:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๔.พลทสกะ วัยมีกำลัง อายุตั้งแต่ ๓๐ ปี ถึง ๔๐ ปี มีกำลังสมบูรณ์ทำงานการมั่นคงเป็นหลักฐาน สมบูรณ์ด้วย สามี ภรรยา บุตร ธิดา ทรัพย์ยศ และบริวาร ไม่ช้าไม่นาน ๑๐ ปี หมดไปสิ้นไป จะเรียกร้องให้กลับมาอยู่ในสภาพนั้นอีกไม่ได้ ได้ชื่อว่าไม่มี เป็นโมฆธรรม

๕. ปัญญาทสกะ วัยที่มีปัญญาสมบูรณ์ อายุตั้งแต่ ๔๐ ปี ถึง ๕๐ ปี มีสติปัญญาเฉียบแหลม รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักกาลเทศะ รู้จักบุคคล เป็นผู้สูงด้วยอายุและคุณธรรม รู้จักภาวะของตน รู้จักคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์เป็นที่เคารพนับถือของกุลบุตรกุลธิดา จนเวลาล่วงไปหมดไป ๑๐ ปี ปัญญาอันสมบูรณ์นั้นก็สรีรร่างก็เสื่อมไปสิ้นไป เป็นโมฆธรรม

๖. หานิทสกะ วัยมีกำลังน้อย อายุตั้งแต่ ๕๐ ปี ถึง ๖๐ ปี กำลังที่เคยแข็งแรงก็อ่อนเพลีย จะทำกิจการงานใดที่หนักก็ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน จะเดินไปไหนมาไหนก็ต้องหยุดพักผ่อน หายใจหอบถี่ไม่สะดวก ต้องอาศัยผู้อื่นจนกระทั่งเวลาผ่านไปหมดไปสิ้นไป ๑๐ ปี ภาพนั้นก็หายไปหมดไปด้วย เป็นโมฆธรรม
โดย เทพธรรม...นำเสนอ [29 ต.ค. 2557 , 07:20:48 น.] ( IP = 171.96.177.92 : : )


  สลักธรรม 4


๗ ปัพภารทสกะ วัยชรา มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี ถึง ๗๐ ปี มีผมกลายจากสีดำ เป็นสีขาว ฟันที่เคยแข็งแรงก็โยกคลอนไปหมดหลุดไป เนื้อหนังก็เหี่ยวย่น ตาที่เคยแจ่มใสก็ฝ้าฟาง หูที่เคยแจ่มใสชัดแจ้งฟังสรรพสำเนียงได้ไกลๆ ก็หนวกตึง อยากจะฟังก็ต้องตะแคงหูเข้าไปใกล้ๆ ฟังเสียงไม่ชัด จำผิดพลาด เวลาล่วงสิ้นไป๑๐ ปี สภาพนั้นไม่มีปรากฏให้เห็นอยู่อีก เป็นโมฆะ

๘.วังกาทสกะ วัยหลังโกง อายุตั้งแต่ ๗๐ ปี ถึง ๘๐ ปี เดินไปไหนมาไหนก็ต้องใช้ไม้เท้าคอยค้ำจุนไป มีหลังอันค่อมลงมาทนทรมานอยู่กับการแบกอัตตภาพด้วยความลำบากเช่นนั้น ๑๐ ปี หมดไป สิ้นไป เป็นโมฆธรรมไม่มีอะไร

๙. โมมูหทสกะ วัยมีความหลง อายุตั้งแต่ ๘๐ ปี ถึง ๙๐ ปี มีความทรงจำหลงๆ ลืมๆ พูดผิดๆ ถูกๆ รับประทานอาหารแล้วว่าไม่ได้รับประทาน ลืมหน้าลืมหลัง เป็นที่เกลียดชังผู้ไม่มีความกตัญญูกตเวที ทนทรมานอยู่เช่นนี้ ๑๐ ปี สิ้นไป เป็นโมฆธรรมแท้ๆ

๑๐.สยนทสกะ วัยนอน อายุตั้งแต่ ๙๐ ปี ถึง ๑๐๐ ปี ลุกไปไหนไม่ได้แล้ว ต้องนอนจมอยู่บนที่นอน กินอยู่กับที่ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่กับที่ นอนคอยท่าตายอยู่ อุปมาเหมือนโคที่นายโคบาลนำไปสู่ที่ฆ่าฉะนั้น เวลาล่วงไป ๑๐ ปี หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่มีอะไร เป็นโมฆธรรม

เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ชีวิต ไออุ่น และวิญญาณย่อมดับไป เหลือแต่ซากศพเน่าเหม็นเป็นที่รังเกียจของคนทั้งหลาย เขาเอาไปฝังหรือเผาที่ป่าช้าเหมือนท่อนไม้หรือท่อนฟืน ผุพังด้วยเย็นและร้อน กลายเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไปสิ้น เป็นโมฆธรรม ไม่มีอะไรจริงๆ สักแต่ว่าเป็นสมมติบัญญัติขึ้นเป็น สัตว์ บุคคล เท่านั้น

โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-29 16:35 , Processed in 0.072640 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้