กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 768|ตอบกลับ: 5

ตัวการสำคัญที่จะทำให้การนอนหลับเกิดขึ้น

[คัดลอกลิงก์]

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917


ตัวการสำคัญที่จะทำให้การนอนหลับเกิดขึ้น

โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร.

คนโบราณกล่าวเปรียบเทียบเอาไว้ว่า การนอนหลับเป็นพี่น้องฝาแฝดกับความตาย การเปรียบเทียบเช่นนี้ใกล้ชิดกับความจริงมาก เพราะความตายนั้นย่อมจะเกิดกับคนทุกคน จะไม่ตายไม่ได้ การนอนหลับก็จะต้องนอนหลับกันทุกคน ไม่หลับไม่ได้เหมือนกัน

ผู้ใหญ่ทุกคนผจญและได้ลิ้มชิมรสโรค (ความจริงไม่ใช่โรค) นอนไม่หลับกันมามากบ้างน้อยบ้างด้วยกันทั้งนั้น บางคนต้องต่อสู้กับโรคนี้มาอย่างโชกโชน การนอนไม่หลับ หรือหลับน้อยเกินไป ได้เป็นเหตุให้สมรรถภาพของการทำงานลดลงทำให้จิตใจหม่นหมองไม่แจ่มใสสดชื่น อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิดบ่อย ๆ

ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความแตกร้าวหรือเกิดวิบาทบาดหมางกันโดยไม่รู้สึกตัว ทำให้ความเร็วในปฎิกริยาสนองตอบต่อสิ่งเร้าลดลงมาก การใช้สมองถอถอยเสื่อมและล่าช้า มีการตัดสินใจผิดง่ายไม่แน่นอน

นอกจากนี้ทำให้กินอาหารไม่ได้ ร่างกายอ่อนแอ ความจำเสื่อม การแสดงออกซึ่งสติปัญญาต่ำกว่าปกติทำการงานผิดพลาดง่าย ขาดความพินิจและขาดความในใจในกิจการงานอย่างมาก อาจเห็นโลกนี้น่าเบื่อหน่าย หรืออาจถึงแก่วิกลจริตไปจนถึงอัตวินิบาตกรรมตนเอง ถ้าเป็นการนอนไม่ค่อยหลับ-เรื้อรัง อย่างน้อยที่สุดก็จะทำให้สุภาพทรุดโทรมให้ช่องแก่โรคภัยไขเจ็บต่างๆ


29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-5 15:50:46 | ดูโพสต์ทั้งหมด
สมัยนี้โรคนอนไม่หลับกำลังระบาดอยู่ทั่วไป ท่ามกลางบ้านเมืองที่ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาก ๆ ยิ่งในนครหลวงใหญ่ ๆ ที่ว่าความเจริญเกือบจะถึงขีดสูงสุด มีตึกรามบ้านช่องสลับซับซ้อน ผู้คนหนาแน่น ก็ยิ่งจะมีผู้นอนหลับยาก หรือนอนน้อยแผ่ซ่านไปอย่างทั่วถึง นายแพทย์ที่ต้องตรวจและรักษาโรคประสาท โรคนอนไม่หลับต้องทำงานหนักขึ้น

ยาบังคับวิถีประสาท เช่นมอร์ฟีน โคเดอีน จึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ผู้นอนไม่หลับทั้งหลาย และยาที่จะบังคับให้นอนหลับเล่า ก็ได้มีผู้ผลิตขึ้นจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย ยิ่งไปเสียกว่ายาที่ปลุกประสาทให้ตื่นไม่ให้หลับหรือไม่ให้ง่วง เช่น คาเฟอีนและยาที่เข้าสตริกนินเป็นไหน ๆ

ดู ๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าสลดใจ แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องน่าขบขัน เพราะว่าคนหนึ่งเตรียมตัวจะนอนหลับให้สนิท เพื่อเอาแรงไว้ต่อสู้กับงานในวันรุ่งขึ้น แต่กลับนอนลืมตาแจ๋วอยู่บนที่นอน กระสับกระส่าย พลิกไปพลิกมา บงคนถึงกับกลัดกลุ้ม ทุรนทุราย ในเรื่องที่บังคับตัวเองให้หลับไม่สำเร็จ แม้จะได้กิน ยานอนหลับเข้าไปแล้วก็ตาม

แต่บางคนตรงกันข้าม พยายามบังคับไม่ให้หลับ ไม่ให้ง่วง เพราะจะต้องการดูหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้าสอบ หรือต้องทำงานกลางคืน เช่นขับรถหรือเป็นยาม บุคคลเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อยกว่า แต่ก็กลัดกลุ้มไม่ใช่เล่นเหมือนก็ต้องหายามาเร้าให้ประสาทตื่นตัวอยู่เสมอ เช่น ดื่มกาแฟแก่ๆ แต่เมื่อประสาทชินชาเสียแล้ว ยาปลุกประสาทให้ตื่นตัวก็ไร้ผลยิ่งง่วงแล้วกลับนอนหลับสนิทดีเสียอีกด้วยซ้ำ บางคนก็ดื่มกาแฟแก่ ๆ จนดื่มเคยเสียแล้ว ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งจะหลับสบายไปเลย

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-5 15:51:06 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การนอนหลับให้สนิทตามธรรมชาตินั้นเป็นประโยชน์แก่ร่างกายมาก การใช้ยาบังคับให้นอนหลับ แม้จะหลับได้ก็มีประโยชน์น้อยกว่า เพราะไปบังคับการทำงานของระบบประสาทในสมอง แต่ก็ไม่มียาศักดิ์สิทธิ์ขนานใด ๆ ในโลกที่จะไปบังคับให้การนอนหลับเป็นไปตามธรรมชาติได้ ดังนี้ เมื่อถึงคราวจำเป็นที่จะให้นอนหลับตามธรรมชาติไม่ได้เสียแล้วจึงต้องใช้ยาเข้าไปบังคับ ซึ่งก็ยังดีกว่านอนไม่หลับเอาเสียเลย

มีบุคคลเป็นอันมากมีความเข้าใจว่า เพราะจิตใจฟุ้งซ่านมากจึงเป็นเหตุให้นอนไม่หลับ แท้จริงเป็นความเข้าใจผิด ความฟุ้งซ่านมิได้เป็นปฐมเหตุเลย มิได้เป็นตัวการทำให้นอนไม่หลับโดยตรง เป็นปลายเหตุแท้ ๆ

ต้นเหตุที่นอนไม่หลับมีประการเดียวคือ การที่จิตยกขึ้นสู่อารมณ์มิได้หยุดหย่อน

แน่นอน ... เมื่อจิตยกขึ้นสู่อารมณ์บ่อย ๆ แล้ว การนอนที่จะให้หลับก็ปราศจากผล ดังนั้น จึงควรจะทราบว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่จะทำให้จิตต้องยกขึ้นอารมณ์บ่อย ๆ มีอะไรบ้างเล่าที่จะที่ให้จิตถูกระงับยับยั้งไม่ยกขึ้นสู่อารมณ์

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-5 15:51:29 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การนอนหลับเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกายหรือจิตใจ

มีบุคคลเป็นอันมากกล่าวว่า เมื่อร่างกายได้กรากกรำทำงานมาตลอดทั้งวันแล้ว ร่างกายก็ย่อมจะถดถอยกำลังจนรู้สึกอ่อนเพลีย เมื่ออ่อนเพลียก็ย่อมต้องการพักผ่อนนอนหลับถนอมกำลังเอาไว้ เพื่อจะได้ก่อให้เกิดพลังงาน สำหรับจะได้เอาไว้ต่อสู้ในวันต่อไป ดังนั้น การนอนหลับจึงได้เกิดขึ้น

คำกล่าวเช่นนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นคำกล่าวที่ผิดไปจากความจริงโดยชัดแจ้งก็จริง แต่ก็หาได้ตอบตรงเป้าหมายไม่ เพราะการนอนหลับนั้นเป็นเรื่องของจิตใจโดยตรง ร่างกายที่ไม่มีจิตใจ (คือซากศพ) ก็จะไม่ต้องการนอนหลับเลย แต่แน่นอนละ ย่อมจะมีสาเหตุมาจากทางร่างกายบ้าง เช่นกรำงานหนักจนรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า การใช้ความคิดคร่ำเคร่งในเรื่องราวต่าง ๆ จนรู้สึกอยากจะนอนขึ้นมา

อย่างไรก็ดี บางคนไม่ได้ทำการงานอะไรเลยแม้แต่น้อยเพราะมีกินมีใช้เสียแล้ว ทั้งไม่ค่อยได้ใช้ความคิดในเรื่องอะไรด้วย เพราะไม่มีเรื่องราวอะไรจะคิด ร่างกายก็มิได้ระโหยโรยแรงเพราะถูกใช้งานมากแม้แต่สักอย่างเดียว แต่กลับนอนได้นอนดีทั้งกลางวันกลางคืน นั่งที่ไหนก็คอยแต่จะง่วงคอยแต่จะหลับที่นั้น

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-5 15:52:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ร่างกายกับจิตใจนั้น เหมือนคนกับเงา ย่อมจะติดชิดกันอยู่เสมอ จะขาดไปเสียอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้ ด้วยเหตุผลนี้เอง เมื่อถูกกาย.. ก็จะกระเทือนไปถึงจิต และถ้ากระทบจิต.. ก็จะแล่นไปถึงกาย เมื่อร่างกายถูกเร้าด้วยประการต่างๆ เช่นความอ่อนเพลียหรือการย่อยอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก จิตใจก็จะพลอยรับสิ่งเร้านั้นไปด้วย

ตามธรรมดาจิตจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัย ผัสสะ คือการกระทบ อันเป็นการกระทบระหว่างรูปหรืออารมณ์กับภวังคจิต ถ้าหากมิได้เกิดการกระทบขึ้นแล้วจิตจะเกิดรู้อารมณ์ขึ้นเองแต่ลำพังหาได้ไม่ เช่น ต้องมีเสียงมากระทบหูจึงจะยินต้องมีเรื่องมากระทบใจจึงจะคิดนึกรู้อารมณ์ทางใจได้

รูปหรืออารมณ์ที่มากระทบกับภวังคจิต (จิตที่ปราศจากความสำนึกรู้สึกตัว เช่นนอนหลับ) นั้นจะเกิดอยู่เสมอตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางใจบ้าง แต่อย่างไรก็ดี รูปหรืออารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบกับจิตเหล่านั้นย่อมไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน เพราะจะต้องได้อารมณ์ที่แรงบ้าง ค่อยบ้าง อารมณ์ที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ชัดเจนบ้าง ไม่ชัดเจนบ้าง

เมื่อได้อารมณ์ที่ดีที่ชอบใจ เช่นถูกล๊อตเตอรี่รางวัลมากหรือใครมานินทาว่าร้ายให้เจ็บใจ อารมณ์ที่มากระทบเช่นนี้ต้องเป็นอารมณ์ที่แรง ทำให้กระเทือนใจมาก ถ้าเป็นอารมณ์ที่แรงและความกระเทือนใจมากแล้ว ถีนะ มิทธะอันเป็นเจตสิกที่มีอำนาจเข้ามาประกอบจิตเพื่อให้เกิดความง่วงเหงาหาวนอนย่อมเข้าประกอบไม่ได้ เพราะอารมณ์ที่ยินดีหรือยินร้ายที่เกิดขึ้นนั้นมีกำลังมาก เป็นอสังขาริกจิตได้รับการจูงใจของตนเองมาก เหตุนี้ความง่วงจึงไม่ปรากฏออกมาให้เห็น

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-5 15:52:33 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แต่ถ้าอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นมีกำลังอ่อนหรือมีเรื่องอันไม่น่าสนใจ ไม่สนุก ประโยน์น้อยแล้ว ถีนะ มิทธเจตสิกที่จะทำให้หลับก็ย่างกรายเข้ามา (ถีนะ มิทธะเป็นปฎิปักษ์กับอารมณ์ที่แรง) และถ้าไม่มีอะไรมาขัดขวางเสีย ก็เป็นการแน่นอนว่าจะต้องหลับลงในไม่ช้า

ตามที่ได้แสดงมานี้ย่อมจะเห็นว่า การที่นอนหลับได้นั้น ก็จะต้องอาศัย ถีนะ มิทธะ เป็นตัวการอันสำคัญที่สนับสนุนให้การหลับบังเกิดขึ้น

นอกจากถีนะ มิทธะ อันเป็นตัวชวนให้จิตอ่อนกำลัง ทั้งเป็นตัวการให้จิตเป็นภวังค์ คือหลับลงแล้วยังมีการนอนหลับได้จากทางอื่นอีก เช่น การนอนหลับด้วยอำนาจของสมาธิ บุคคลบางคนจิตใจสงบมีอารมณ์อันใดอันหนึ่งแน่วแน่ จิตชนิดนี้สามารถหลับลงได้ง่าย ๆ หลังจากการมีอารมณ์เป็นสมาธิไม่นานนัก เพราะอำนาจของสมาธิย่อมจะทำให้วิตกเจตสิกที่คอยยกอารมณ์ให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ต้องพ่ายแพ้ไป บางท่านมีอำนาจของจิตที่จะบังคับให้หลับหรือตื่นเวลาใดก็ได้ตามประสงค์ โดยไม่ต้องมีการง่วงเหงาหาวนอนก่อนเลย


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-29 15:32 , Processed in 0.072748 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้