กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 709|ตอบกลับ: 5

ธัมมานุสติ

[คัดลอกลิงก์]

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917


ธัมมานุสติ

เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิต ความต้องการชนิดใหม่ของใจก็เกิดขึ้นทันที คือ ต้องการมีความสุข และต่างก็ดำเนินการเพื่อที่จะได้มาเพื่อความสุขนั้นไปตามสภาพตามความคิด บางคนเลือกที่จะทำร้ายตนเองหรือปลิดชีพตนเองเพื่อหลบหนีความทุกข์ บางคนเลือกที่จะทำร้ายผู้อื่นเพื่อระบายทุกข์ บางคนเลือกเข้าหาสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ส่วนบางคนก็เลือกที่จะเข้าหาศาสนาและปรัชญาของนักคิดเพื่อทำความเข้าใจชีวิตให้ถึงแก่น จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีการคิดค้นคว้าเพื่อหาทางดับทุกข์ของกลุ่มชนในโลกนี้เกิดขึ้นเป็นลักธิความเชื่อต่างๆ

การค้นคว้าและการแสวงหาความสุขจึงเป็นเสมือนเป้าหมายในชีวิตของคนทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แม้กระทั่งทารกตัวเล็กๆ ที่เมื่อพบกับภัยแห่งความหิวก็จะส่งเสียงร้องเพื่อแสดงความทุกข์นั้นออกมาด้วยความไม่พอใจ เมื่อได้รับอาหารก็จะเงียบสงบลงและหลับตาพริ้มลงได้ และเมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการแห่งช่วงวัยก็จะพบว่า แต่ละวัยล้วนมีความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ และก็พยายามแก้ไขเพื่อหาความสุขกันไปตามสภาพด้วยการเบียดเบียนคนอื่นบ้างเบียดเบียนตนเองบ้าง ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา

ดังนั้น ไม่ว่าจะกี่กัปกี่กัลป์ที่ผ่านมาทุกคนต่างก็ไขว่คว้าหาความสุขกันอยู่ทุกวินาที ไม่เว้นแม้แต่ฤาษีชีไพรที่หลักเร้นกายเพื่อแสวงหาวิโมกข์ธรรม ซึ่งพยายามทุ่มเทชีวิตกันอย่างเต็มที่อดทนต่อความยากลำบากเพื่อจะไปให้ถึงความสุขอันเป็นอมตะ จึงเห็นได้ว่า ความสุขก็คือสุดยอดปรารถนาของสรรพชีวิต

สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นมีความโชคดีที่ไม่ต้องค้นหาหลักการสร้างความสุขเพราะมีพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เสียสละทุกสิ่งเพื่อตรัสรู้พระธรรมคำสอนไว้ให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและปฏิบัติเพื่อคลายทุกข์ ขอเพียงแต่ใช้ชีวิตของตนดำเนินไปตามคำสอนนั้นความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ทั้งในปัจจุบันชาติ อนาคตชาติ และประโยชน์อันสถาพร

พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดานั้นมีคุณลักษณะที่พิเศษยิ่งเพราะเป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เป็นไปเพื่อการปล่อยวาง และความหลุดพ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความปราศจากทุกข์ เพื่อความไม่สะสมกองกิเลส เพื่อความอยากที่ลดลง เพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ เพื่อความสงัดสงบจากหมู่ เพื่อความเพียร เพื่อความเลี้ยงชีพง่าย

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-30 16:31:20 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ในครั้งพุทธกาลมีผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้วได้พบความสุขกันมากมาย และมีนับไม่ถ้วนกับผู้ที่ได้พบความสุขกันเป็นอมตะคือพระนิพพาน แม้ในบัดนี้จะสิ้นแล้วจากพระบรมศาสดา แต่ที่พึ่งของชาวพุทธก็หาได้สิ้นสุดลงไปไม่ แม้ในปีพ.ศ.นี้ การดำเนินชีวิตก็ยังไม่เป็นความสิ้นหวัง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ในมหาปรินิพพานสูตรว่า

"ดูกรอานนท์ ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น ที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่ง อื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุของเราที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาจักปรากฏอยู่ในความเป็น ยอดยิ่ง ฯ "

"ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัย อันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-30 16:31:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ดังนั้น ถึงแม้พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่พระธรรมคำสั่งสอนซึ่งพระพุทธองค์ทรงมอบไว้เป็นศาสดาแทนพระองค์ยังคงมีอยู่ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงควรวางใจว่าพวกเราไม่ได้อยู่ไกลจากพระพุทธเจ้าเลย เพราะพระธรรมอยู่ที่ไหนพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่นั่น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ตราบใดยังมีการประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ตราบนั้นพระอรหันต์จะไม่สิ้นไปจากโลกนี้ จึงควรน้อมพระธรรมคำสอนเข้ามาปฏิบัติเพราะเป็นพระธรรมคำสอนที่มีอานุภาพมาก หากพุทธศาสนิกชนได้เจริญอยู่เนืองๆเพื่อปลูกฝัง ศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส วิริยะความขยันหมั่นเพียร ฉันทะความยินดีในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ห้หยั่งลึกลงไปในจิตใจ ความสุขความเจริญรุ่งเรืองที่จะมีเกิดขึ้นต่อไปได้

ฉะนั้น พระธรรมจึงเป็นอนุสติที่ควรระลึกถึงเพื่อให้เกิดมงคลแก่ชีวิตทั้งยังทำให้ละคลายจากนิวรณ์ต่างๆได้ ธัมมานุสติ คือ อนุสติอันปรารภพระธรรมคุณให้เกิดขึ้น มีสติเจตสิกอันมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์

ผู้ที่จะเจริญธัมมานุสสติ ก็พึงเป็นผู้ไปในที่สงัดสงบจากผู้คนในเสนาสนะอันสมควร แล้วระลึกถึงคุณทั้งหลายแห่งพระปริยัติธรรมและพระโลกุตตรธรรม ๖ ประการ ตามนัยพระบาลีธัมมานุสสติปาฐะ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ

เมื่อพระโยคาวจรผู้นั้นระลึกถึงพระธรรมคุณทั้งหลายแล้วจิตย่อมไม่มีราคะโทสะโมหะกลุ้มรุม ย่อมดำเนินไปตรงแน่วแน่ในการปรารภพระธรรมจนกระทั่งองค์ฌานเกิดขึ้นอุปจารฌานที่เกิดขึ้นนี้ก็ถึงซึ่งความนับชื่อว่า ธัมมานุสสติเพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระธรรมคุณ

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-30 16:32:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด

สฺวากฺขาโต คือ พระปริยัติธรรมและพระโลกุตตรธรรมอันได้แก่ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์

พระปริยัติธรรม เป็นคำสอนพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชอบแล้ว ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงไม่มีอรรถวิปลาส เป็นธรรมงามทั้งสิ้นคืองามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นรากฐานของตน งามในท่ามกลางด้วยสมถวิปัสสนาและมรรคผล งามในเบื้องปลายด้วยพระนิพพาน หรืองามในเบื้องต้นด้วยพุทธสุโพธิตา ( ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ) งามในท่ามกลางด้วยธัมมสุธัมมตา ( ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ) งามในเบื้องปลายด้วยสังฆสุปฏิปัตติ ( ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ) หรืองามในเบื้องต้นด้วยอภิสัมโพธิ งามในท่ามกลางด้วยปัจเจกสัมโพธิ งามในเบื้องปลายด้วยสาวกโพธิ อันบุคคลผู้ได้ฟังศาสนธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติแล้วเพื่อความเป็นอย่างนั้นจะพึงบรรลุได้

อย่างเช่นในพระสูตรนั้นงามในเบื้องต้นด้วยนิทาน คือคำขึ้นต้นสูตร บอกกาลที่แสดง สถานที่ๆ แสดง ผู้แสดง และบริษัท คือผู้รับฟัง งามในท่ามกลางคือ เนื้อความไม่วิปริตไป และเพราะประกอบไปด้วย คำชี้ เหตุและอุทาหรณ์ ตามสมควรแก่เวไนยนิกรทั้งหลาย งามในเบื้องปลายด้วยนิคม คือ คำท้ายสูตร ที่ย้ำหรือสรุปเรื่องที่กล่าวมา เพื่อให้ผู้ฟังได้ตระหนักก่อนจะจบ อันยังความได้ศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ฟังทั้งหลาย

พระโลกุตตรธรรม ข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระนิพพาน คือ พระอริยมรรคอันเป็นทางสายกลาง สามัญผลทั้งหลายอันมีกิเลสระงับแล้ว และพระนิพพานอันเป็นสภาพเที่ยง

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-30 16:32:26 | ดูโพสต์ทั้งหมด

สนฺทิฏฺฐิโก คือ พระโลกุตตรธรรมที่ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนเท่านั้นที่จะรู้จะเห็นอย่างประจักษ์แจ้งกับตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง

อกาลิโก คือ ธรรมนั้นหาได้รอกาลอันต่างโดยการกำหนดแต่ย่อมให้ผลติดต่อกันไปกับความเป็นไปของธรรมนั้นทีเดียว ที่ หมายเอาเฉพาะ มรรค ๔ ผล ๔ เท่านั้น เพราะเมื่อมรรคจิต ๔ เกิดขึ้นแล้ว ผลจิต ๔ จะเกิดติดต่อกันไปไม่มีระหว่างคั่น

เอหิปสฺสิโก คือ เพราะธรรมนั้นเป็นสภาพมีอยู่จริงและเป็นสภาพบริสุทธิ์ ไม่ใช่สิ่งที่ปั้นแต่งขึ้น หรือเป็นสิ่งที่ใครหลอกลวงให้เชื่อได้ พระธรรมเป็นสิ่งที่วิเศษสุดที่ใครพบเห็นแล้วย่อมเกิดความชื่นชมยินดี

โอปนยิโก คือ เป็นสิ่งที่บุคคลพึงนำเข้าไปถึงความที่จะทำให้แจ้ง ควรน้อมเข้ามาสู่ตัวเพราะเป็นสิ่งที่ประเสริฐมีคุณค่ายิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเงินทองทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นอริยทรัพย์ที่จะนำความสุขความเจริญที่แท้จริง เป็นแสงสว่างแห่งปัญญาที่นำไปสู่การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิดและความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือ เป็นธรรมที่วิญญูชนมีอุคฆติตัญญูบุคคลเป็นต้นพึงรู้เฉพาะตน (บุคคล ๔ จำพวก คือ ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลันเมื่อยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อได้มีการขยายความ ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำแต่ไม่อาจเข้าใจความหมาย )

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-10-30 16:32:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด

อานิสงส์เจริญธรรมานุสสติ

ผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธัมมานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรงในพระศาสดา ทำความตระหนัก และอ่อนน้อมในพระธรรม ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณมีศรัทธาเป็นต้น เป็นผู้มากไปด้วยปีติปราโมทย์ ทนต่อความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึกเสมือนว่าได้อยู่กับพระธรรม แม้สรีระของเขาผู้นั้นที่มีธรรมคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชาดุจเรือนพระเจดีย์ จิตก็ย่อมน้อมไปในอันจะบรรลุให้ถึงอนุตตรธรรม

อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะย่อมปรากฏแก่ผู้ระลึกถึงความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรมอยู่เสมอ และเมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป ก็ย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า



" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน? คือใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน? "

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่พระองค์ถือไว้ มีประมาณน้อย ที่แท้ใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นประดู่ลายมีมากกว่า "

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องที่เราตรัสรู้แล้ว แต่มิได้บอกแก่ท่านทั้งหลาย ก็มีมากกว่าฉันนั้นเหมือนกัน เหตุใดเล่าจึงมิได้บอก? ก็เพราะว่าเรื่องเหล่านั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงไม่บอกเพราะเหตุนั้น "


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-29 15:21 , Processed in 0.111650 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้