ใครเป็นผู้กำหนดโชคชะตาคนเรา
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308.jpg@n
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gifhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gifhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gifhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gifhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gif
ชีวิตมนุษย์ ใครเป็นผู้กำหนดให้มีความแตกต่างกันหลายๆอย่าง ชีวิตนี้มาจากไหน ดำรงอยู่และเป็นไปด้วยทุกข์ สุข ล้วนต่างกัน ทำไมความสุขมีขึ้นแล้วก็หมดไป ช่างมีอยู่สั้นเหลือเกิน ส่วนความทุกข์มีขึ้นแล้วก็อยู่นานกว่าความสุข.
ความทุกข์ของวันวานน่าจะหมดไปเสียเมื่อวานแล้ว ทำไมต้องมามีขึ้นวันนี้อีก ความทุกข์ของวันไหนก็น่าจะพอแล้วสำหรับวันนั้น.
บุคคลที่หายาก คือบุคคลที่สามารถทำให้ความทุกข์ของเมื่อวานนี้เป็นความทุกข์ของเมื่อวานนี้เท่านั้น ไม่กลับมาเป็นความทุกข์สำหรับวันนี้อีก และสามารถมองเห็นความทุกข์นั้นติดอยู่กับความสุข และเหมือนกันทั้งทุกข์และสุข เพราะล้วนตั้งอยู่ชั่วคราวและก็จางคลายไป สุขทั้งกายและสุขทั้งใจล้วนมีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปสิ้น.
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ต้องสลายไปในท่ามกลาง และหมดไปในที่สุด เมื่อเหตุปัจจัยหมดลง.
ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่มีการบังเอิญ ไม่มีพรสวรรค์ ไม่มีพรหมลิขิต ทุกสิ่งทุกอย่างมีขึ้นเป็นผล ล้วนต้องมีเหตุ และเหตุก็ต้องตรงกับผล เหมือนปลูกพืชว่านพืชใดลงไป ย่อมได้ผลอย่างนั้น ปลูกมะม่วงก็ต้องได้มะม่วง ปลูกลำใยก็ต้องได้ลำใย ทำเหตเสีย (ไม่ดี) เช่นเมื่อมีความโกรธ ความพยาบาทก็เกิดขึ้นในใจ (มโนกรรม ทุจริต) จิตใจของคนเรานั้นจะสดใสผ่องแผ้วย่อมเป็นไปไม่ได้
คนสองคน คนหนึ่งกำลังโกรธ อีกคนหนึ่งนั้นไม่โกรธตอบกับความโกรธของคนนั้น ในขณะนั้นใจของคนทั้งสองย่อมต่างกัน เพราะทำเหตุต่างกันผลที่คนทั้งสองได้รับย่อมต่างกันเพราะคนโกรธย่อมได้รับผลเป็นความทุกข์ใจอย่างแน่นอน ในขณะที่ความโกรธกำลังตั้งอยู่ ความโกรธเป็นเหตุ เป็นมโนกรรมที่ไม่ดี ย่อมมีความทุกข์ทางใจที่เศร้าหมอง เร่าร้อน ดิ้นรน ดุร้าย รุนแรงตามอำนาจแห่งแรงของความโกรธ อาจทำร้ายทุกอย่างที่ขวางหน้าได้.
กรรม (เจตนา) คือความจงใจในการกระทำนั้น ทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นไปทางที่ดีและไม่ดี ที่เรียกว่า สุจริตกรรมและทุจริตกรรม
ผู้ใดมีใจสุจริต กายและวาจาย่อมสุจริต ความสุขอันเป็นผลของสุจริตทั้ง ๓ นั้น ย่อมติดตามผู้นั้นไปเหมือนเงาตามตัว บุญและความสุขจึงอยู่ที่เหตุผล
ผู้ใดมีใจทุจริต กายและวาจาย่อมเป็นไปตามใจที่ทุจริตนั้น ความทุกข์อันเป็นผลที่เกิดจากเหตุทุจริตทั้ง ๓ นั้น ย่อมติดตามเขาไปเหมือนรอยเกวียนที่หมุนตามรอยเท้าโคไปฉันนั้น บาปอยู่ที่เหตุ บาปอยู่ที่ผล ในโลกนี้คำสอนของพระบรมศาสดาไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตนั้น จะพ้นจากสัจจะและเหตุผลไม่มีเลย.
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
ใครทำกรรมอะไรไว้ ย่อมต้องได้รับผลจากกรรม (เหตุ) ที่ตนได้ทำไว้ เหมือนเมื่อวานเป็นเหตุให้มีวันนี้ได้ และพรุ่งนี้มีได้ก็เพราะมีวันนี้ วันนี้ไม่มี พรุ่งนี้ก็มีไม่ได้ หรือวันนี้ไม่มีก็เพราะไม่มีเมื่อวานนี้ วันนี้เป็นเหตุให้มีพรุ่งนี้ (ผล) วันนี้เป็นผลของเมื่อวานนี้ เมื่อวานนี้เป็นอดีต วันนี้เป็นอนาคตด้วยปัจจุบันด้วย ดังนั้น วันนี้ต้องรับผลกรรมที่ทำไว้เมื่อวันวาน และวันนี้เราทำเหตุใหม่ (กรรม) เพื่อไปรับผลเอาวันพรุ่งนี้
ดังนั้น ความสุขหรือความทุกข์ในวันพรุ่งนี้ จึงขึ้นอยู่กับการกระทำของเราในวันนี้ และวันนี้เราจะมีความสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่เราทำเมื่อวานนี้ ( อุปมาเมื่อวานเป็นอดีตชาติ วันนี้เป็นปัจจุบันชาติ พรุ่งนี้เป็นอนาคตชาติ ) นะคะ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงเรื่องกรรมโดยสังเขป เพื่อให้เห็นภาพรวมอย่างหยาบๆ ในเรื่องของกรรมที่กำหนดแล้ว และกรรมที่ยังไม่ได้กำหนด คือกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่และจะทำต่อไป
เรื่องของกรรมเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจได้ง่าย บางอย่างก็ให้ผลแน่นอน เช่น อนันตริยกรรม เช่นฆ่าบิดา มารดาเป็นต้น ย่อมให้ผลในชาติต่อไปอย่างแน่นอน
กรรมบางอย่างไม่ให้ผลก็มี กลายเป็นอโหสิกรรมไป เพราะการให้ผลตามลำดับมีกาลเวลาจำกัดเอาไว้ก็มี ให้ผลในปัจจุบันชาติ ให้ผลในชาติที่สอง (ชาติต่อไป) และกรรมบางอย่างให้ผลต่อไปจากชาติที่สามต่อไปอีกเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดก็มี จนกว่าจะไม่มีเหตุให้ทำกรรมได้อีกต่อไป.
ชนกกรรม คือกรรมที่นำเกิด ย่อมเป็นไปตามอำนาจของชวนจิตทั้ง ๗ ดวงเช่น...ดวงที่ ๑ ให้ผลในชาตินี้เท่านั้น แต่ไม่ให้ผลเป็นชนกกรรมในชาติที่ ๒ เมื่อจุติในชาตินี้เกิดขึ้น คือการตายเกิดขึ้น ทำให้ชีวิตในชาตินี้สิ้นสุดลง กรรมในชวนจิตดวงที่ ๑ ที่รอให้ผลอยู่ก็ให้ผลอีกต่อไปไม่ได้ เราเรียกกรรมในที่นี้เป็นอโหสิกรรม คือไม่สามารถให้ผลได้อีกต่อไป คือในชาติต่อๆไป ( ชวนจิตมี ๗ ดวง คือเจตนาในการกระทำกุศลและอกุศล) ชวนจิตดวงที่ ๗ จะให้ผลในชาติที่ ๒ ต่อไป ส่วนดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ จะให้ผลตั้งแต่ชาติที่ ๓ เป็นต้นไปและต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเหตุที่จะให้ทำกรรมทั้งกุศลหรืออกุศลกรรมอีกต่อไป เพราะว่าบุคคลนั้นได้ทำวิปัสสนา จนมรรคจิตเกิดขึ้นได้ ๔ ครั้ง ประหานอนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ให้หมดสิ้นไปเป็น สมุจเฉทปหาน
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
การเกิดในภพใหม่เป็นผล เพราะการทำกรรมในชาตินี้เป็นเหตุ และเหตุให้ทำกรรมก็คือกิเลสอันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
การได้อัตตภาพใหม่ ชีวิตใหม่ที่จะตั้งขึ้นในภพใหม่ต้องอาศัยกรรมและกิเลส เป็นเหตุในปัจจุบันชาติ การเกิดใหม่จึงเป็นผล
ดังนั้นถ้าใครบอกว่าตายแล้วเกิดก็เป็นสัสสตทิฐิ ตายแล้วสูญก็เป็นอุจเฉททิฐฺ เป็นมิจฉาทิฐิทั้ง ๒ อย่าง ต้องบอกว่า ตายแล้วถ้ามีเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด ถ้าไม่มีเหตุให้เกิดก็ไม่เกิดจึงจะเป็นสัมมาทิฐิในเรื่องกรรม
ชะตากรรมและโชคชะตาของมนุษย์ ที่แตกต่างกันไป จึงขึ้นอยู่กับการกระทำของเขาเอง (กรรม) จากในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ เป็นเหตุให้เขาต้องได้รับความทุกข์และความสุข ทั้งกายและใจ ในปัจจุบันและในภพต่อๆไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด.
ดังนั้นกุศลและอกุศลกรรมเมื่อทำลงไปแล้วจะไม่สูญหายไปไหน คงเก็บไว้ในภวังคจิต และให้ผลเป็นความทุกข์ ความสุขทันที เช่น บางครั้งก็สุขใจ เบาสบาย แช่มชื่นเมื่อเราได้ให้ทาน หรือเจริญภาวนาธรรมไปแล้ว ความสุขใจก็เกิดขึ้นทันที เช่นเดียวกันถ้าเราทำไม่ดีอะไรลงไป ความเดือดร้อนวิตกกังวลเร่าร้อน หนักใจก็ติดตามมาทันที และยังให้ผลในภพหน้าเป็นชนกกรรมหรืออุปถัมภกกรรมต่อไปอีกได้
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
การให้ผลของกรรมนั้นให้ผลเป็นไปตามเหตุ ตือตัวกรรม คือตัวกรรมที่เป็นบุญเป็นบาปที่ทุกคนได้ทำเอาไว้นั่นเอง การเก็บผลของกรรม และจะให้ผลตามกาลเวลาเป็นไปตามลำดับ ก็เช่นเดียวกับการปลูกพืชต่างๆเอาไว้ ย่อมให้ผลต่างเวลากันไป แล้วแต่ชนิดของพืชนั้นๆ
สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรเข้าใจ คืออารมณ์ภายนอกทั้งหมดที่มาสู่เรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี เราเลือกไม่ได้ และเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นผล (วิบาก) ที่เราต้องรับ เพราะเหตุที่เราได้สร้างเอาไว้เองในอดีต
ถ้าเราเลือกได้และเลี่ยงได้ คนบางคนจะไม่ไปที่พังงาแล้วโดนคลื่นยักษ์ซึนามิ (ธรณีภิบัติ) ให้ต้องตายกันมากมายเป็นต้น แต่กรรมที่เราจะทำใหม่ต่อไป จากความคิดความตั้งใจเป็นมโนกรรมของเราดีหรือไม่ดี ก่อนที่เราจะพูด จะทำออกไป ตรงนี้เราเลือกได้ ส่วนอารมณ์ที่รับเข้ามาทางตา หู จมูก กาย เป็นผลของอดีตกรรม (วิบาก) เราเลือกไม่ได้และเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น กรรม จึงจำแนกแยกสัตว์ทั้งหลายให้หลากหลาย แตกต่างกันไปให้ประณีต งดงาม ต่ำทราม ล้วนต่างกัน
บางคนเข้าใจผิดเชื่อกรรมโดยขาดปัญญา ไม่ได้ใคร่ครวญทบทวนว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรมิใช่ประโยชน์ อะไรควรมิควร เวลารับอารมณ์ดี ความยินดีพอใจก็เกิดขึ้นแล้วก็ยึดอารมณ์นั้น ไม่อยากให้อารมณ์ดีนั้นพลัดพรากไป เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญเป็นต้น เพราะไม่รู้ว่าเป็นวิบากคือผลที่เราได้ทำเหตุมาแล้วในอดีตชาติ และไม่ได้ทำกรรมใหม่ออกไปให้ดี เช่น การให้ทาน การเสียสละออกไป การบริจาควัตถุปัจจัย ให้เสียงดีๆสุภาพนุ่มนวลออกไปเพื่อช่วยให้เขาผ่อนคลายจากความทุกข์โศก ให้เขามีสติระลึกได้ว่าเขาต้องกระทำความดีต่อไป ให้ความรู้ที่ดี ให้ความคิดที่ดี ให้โอกาสแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส ล้วนแต่เป็นกรรมดีทั้งสิ้น ซึ่งเป็นงานที่เราไม่ควรเว้นเพราะเป็นคุณประโยชน์ที่ทำด้วยสุจริตทั้ง ๓ คือ ใจ วาจา กาย ผลที่ดีต้องได้รับในภายหน้าอย่างแน่นอน โดยที่เราไม่ต้องไปหวังผลตอบแทนอะไรเลย
เพราะการให้ออกไปที่ดีหรือไม่ดี ล้วนเป็นเหตุใหม่ที่เราต้องทำเองทั้งสิ้น ประโยชน์ที่จะได้รับย่อมได้อย่างแน่นอน ถ้าทำออกไปไม่ดี ย่อมมีโทษและได้รับทุกข์โทษภัยแก่ตนเองแน่นอน
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
คนมองไม่เห็นและไม่เชื่อ ถ้าให้ผลในทันทีเวลาทำชั่ว คนในโลกนี้คงไม่มีใครกล้าทำชั่ว คนคงจะพากันทำแต่ความดีกันแน่ แต่เนื่องจากการให้ผลของกรรมนั้นถูกจำกัดด้วยกาลเวลาที่จะให้ผลไปตามลำดับของกรรม ตามหลักการของชวนจิต ๗ ขณะดังกล่าวไว้แล้ว และยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่คอยตัดรอนหรือส่งเสริมการให้ผลของกรรมให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นหรือหมดไป ไม่ให้ผลอีกต่อไปนั้นมีอยู่
การให้ออกไปที่ดีทีประโยชน์ ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ให้ของที่เป็นเลิศ ย่อมได้ของที่เป็นเลิศ.
การให้แก่บุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นนั้น มิได้เป็นการสูญเสียอะไร แท้จริงนั้นเป็นการให้แก่ตนเอง.
การเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม ด้วยความรู้และความเข้าใจในเหตุผลเหล่านี้ ย่อมน้อมไปให้เกิด ตถาคตโพธิศรัทธากับ กัมมัสสกตาศรัทธา ว่ากรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้ต่างกันออกไป ศรัทธาทั้ง ๔ อันประกอบไปด้วยปัญญา คือความเข้าใจในการดำเนินไปของเหตุผลแห่งกรรมย่อมเป็นทรัพย์อันประเสริฐ ( อริทรัพย์ ) ทั้งศรัทธาและปัญญานี้ จะคอยคุ้มครองให้ชีวิตผู้นั้นไม่ตกต่ำและมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปเรื่องๆ ทั้งในปัจจุบันชาติและอนาคตต่อไป และยังเป็นรากฐานให้การเจริญภาวนาธรรม ซึ่งได้แก่ สมาธิและปัญญา ให้เจริญยิ่งขึ้น ไพบูลย์ขึ้น และบริบรูณ์ไปเป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับ จนปรากฏผลเป็นอริยมรรคจิต ผลจิต ซึ่งพ้นไปจากความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งปวงได้.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดอกแก้ว เมื่อ 2025-7-3 16:31
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14308-1.jpg@n
พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเพียงทำดี ในขั้นของทาน ศีลเท่านั้น แต่ทรงสอนให้ทำชีวิตให้ประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ด้วยภาวนาธรรม เพื่อละคลายความทุกข์ ดับเพลิงกิเลสอันได้แก่อนุสัยอาสวะ ซึ่งเป็นรากเหง้าให้ค่อยๆหมดไป อันเป็นงานของชีวิตที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา ที่เราท่านควรเข้าใจให้ถูก เพื่อชีวิตที่ยิ่งกว่าความดี เป็นชีวิตที่ประเสริฐ.
ขอได้โปรดพิจารณาใคร่ครวญ ทบทวน ทำความรู้จักตนเองให้ดี จนเห็นโทษแห่งชีวิต แล้วพยายามลดโทษของตนให้น้อยลง เตือนตนให้ได้ พยายามจนให้ตนเป็นที่พึ่งของตนให้ได้ แล้วท่านจะทราบว่าชีวิตนี้มีคุณค่าอย่างไร จนกว่าจะจากโลกนี้ไป ด้วยการมีสติและสัมปชัญญะที่สมบรูณ์ ลาจากสิ่งที่รักทั้งปวงไปได้ด้วยความไม่อาลัยอาวรณ์
ด้วยเจตนาที่ได้ตั้งใจเขียนเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ก็เพียรเพื่อหวังให้ทุกท่าน.. เป็นผู้กำหนดโชคชะตาของตนเองได้ถูกตรงต่อทางพ้นทุกข์และด้วยผลของเจตนาที่ได้กระทำดีนี้ ก็ขอให้เป็นพลังอำนาจดลจิตใจของท่านให้ได้ใกล้ธรรม และถึงธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้โดยทั่วทุกท่านนะคะ
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gifhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gif
ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
บุษกร เมธางกูร
๓ กรกฏาคม ๒๕๖๘
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/abhidhamonline.org/flower.gif
หน้า:
[1]