เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:44:56

วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๔

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14258.jpg@n

ปรมัตถธรรม ๔

สภาวธรรมที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์ไม่รู้จักสิ้น และสภาวธรรมที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากวัฏฏสงสารคือความสิ้นทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ รวมธรรมทั้งที่เป็นสังขตธรรม และอสังขตธรรม สภาวธรรมนั้น ได้แก่พระปรมัตถธรรม ๔ ประการ คือ ธรรมที่มีเนื้อความที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ :-


๑.        จิต ๘๙ ดวง อย่างพิสดารมี ๑๒๑ ดวง
๒.        เจตสิก ๕๒ ดวง
๓.        รูป ๒๘ ดวง
๔.        นิพพาน ๑

คำว่า จิต หมายถึงสภาพที่รู้อารมณ์เป็นลักษณะ มีภาษาบาลีรับรองว่า อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ มีการนำรูปนามมาเป็นกิจมีบาลีว่า ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเชื่อมต่อเป็นผล ภาษาบาลีว่า สนฺทหนปจฺจุปฏฐานํ มีนามรูปเป็นเหตุใกล้ ภาษาบาลี

๑.        เอกุปฺปาท        เกิดพร้อมกับจิต
๒.        เอกนิโรธ        ดับพร้อมกับจิต
๓.        เอกาลมฺพณ        มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต
๔.        เอกวตฺถก        อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต


เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:45:16

คำว่า รูป คือสภาพที่แตกดับเป็นลักษณะ ภาษาบาลีว่า รูปฺปนลกฺจขณํ


คำว่า นิพพาน คือธรรมชาติที่พ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ดับทั้งกิเลสและเบ็ญจขันธ์ มีสันติสุขเป็นลักษณะ ภาษาบาลีว่า สนฺติลกฺขณํ


จิตปรมัตถธรรม ๘๙ ดวง แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ :-

๑.        กามาวจรจิต จิตที่เป็นไปในกามภูมิ มี ๕๔ ดวง
๒.        รูปาวจรจิต มี ๑๕ ดวง
๓.อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง
๔.        โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง

คำว่า รูป คือสภาพที่แตกดับเป็นลักษณะ ภาษาบาลีว่า รุปฺปนลกฺขณํ

คำว่า นิพพาน คือธรรมชาติที่พ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ดับทั้งกิเลสและเบ็ญจขันธ์ มีสันติสุขเป็นลักษณะ        ภาษาบาลี สนฺติลกฺขณํ

เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:45:36

กามาวจรจิต ๕๔ ดวง คือ :-

อกุศลจิต ๑๒ ดวง
อเหตุกจิต        ๑๘ ดวง
กามาวจรโสภณจิต        ๒๔ ดวง

อกุศลจิต คือ จิตที่ไม่ใช่กุศล เป็นจิตบาป แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ :-

๑.        โลภมูลจิต มี ๘ ดวง
๒.        โทสมูลจิตมี ๒ ดวง
๓.        โมหมูลจิต มี ๒ ดวง

เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:45:59

โลภมูลจิต คือ จิตที่มีความอยากได้เป็นมูลฐาน ๘ ดวง มีชื่อดังต่อไปนี้


ดวงที่ ๑ ชื่อว่า โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๒ ชื่อว่า โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมกับความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๓ ชื่อว่า โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดโดยไม่มีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๔ ชื่อว่า โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๕ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๖ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๗ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตวิปปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๘ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เคยมีการชักนำ ๑ ดวง

เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:46:24

โทสมูลจิต คือ จิตที่มีความโกรธเป็นมูลฐาน ๒ ดวง มีชื่อดังต่อไปนี้


ดวงที่ ๑ ชื่อว่า โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทย จิตโกรธที่เกิดพร้อมด้วยความเสียใจประกอบด้วยความโกรธ โดยไม่มีการชักนำ ๑ ดวง

ดวงที่ ๒ ชื่อว่า โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตโกรธที่เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธโดยมีการชักนำ ๑ ดวง

เทพธรรม โพสต์ 2017-8-5 15:46:47

โมหมูลจิต คือ จิตที่มีความหลง ความเผลอ เป็นมูลฐาน ๒ ดวง มีชื่อดังต่อไปนี้


ดวงที่ ๑ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตหลงที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย ๑ ดวง


ดวงที่ ๒ ชื่อว่า อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตเมกํ
ภาษาไทยว่า จิตหลงที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน ๑ ดวง

โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/i77.photobucket.com/albums/j76/payear/Line/Line117.gif
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๔