บุษกร เมธางกูร โพสต์ 2018-1-26 09:15:55

ความมุ่งหมายของการเจริญวิปัสสนา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บุษกร เมธางกูร เมื่อ 2018-1-26 09:17

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14458.jpg@n
ในหลักคำสอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้น เป็นการแสดงเพื่อประกาศให้ชาวโลกทั้งหลายรู้ว่า ชีวิตคืออะไร และเป็นทุกข์อย่างไรนั่นเอง เพราะถ้าเราท่านได้เข้ามาศึกษาพระอภิธรรมแล้ว ก็จะเข้าใจตามได้อย่างชัดเจน เมื่อเข้าใจแล้วก็จะได้อาศัยความศรัทธานั้น มามุ่งปฏิบัติขัดเกลากิเลส เพื่อสร้างเหตุพ้นทุกข์นั่นเอง

ดังนั้นความมุ่งหมายของการเจริญวิปัสสนานั้น ก็เพื่อรู้ทุกข์อย่างเดียว เพราะเมื่อรู้ทุกข์ได้แล้ว ตัวตัณหาคือความต้องการก็จะต้องถูกละไปเอง


การเจริญมรรค ตามหลักฐานของสติปัฏฐานนั้น ผู้ปฏิบัติจำต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ


ต้องมีความเพียรตามหลักของประธาน ความเพียร ๔ อย่าง มีเพียรละบาปเก่าเป็นต้น ตั้งอยู่มีความรู้สึกตัวในขณะปฏิบัติว่า


ขณะนี้ตนกำลังตั้งอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันหรือไม่ และต้องมีสติเข้าไปตั้งอยู่ในกาย คือรูปที่กำลังปรากฏอยู่โดยไม่มีความเลื่อนลอย พลธรรม ๕ ประการมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จำต้องมีความสม่ำเสมอกัน จะเหลี่อมล้ำต่ำสูงกว่ากันไม่ได้


บุษกร เมธางกูร โพสต์ 2018-1-26 09:16:20

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14458-1.jpg@n
การเจริญบุพเพภาคมรรค คือ ศีล สมาธิและปัญญา จะต้องทำกิจไปพร้อมในเวลาปฏิบัติ

การปฏิบัติวิปัสสนา ล้วน ๆ นั้นในหลักปฏิบัติจริง ๆ ก็มีอยู่เพียง ๓ ข้อเท่านั้น

อิริยาบถ คือ การเดิน –ยืน –นั่ง และนอน ๑

สัมปชัญญะ ๗ หมวด มีก้าวไปข้างหน้า และถอยหลังกลับมาข้างหลัง เป็นต้น

ธาตุมนสิการ คือ การใส่ใจถึงธาตุ ๔ มีธาตุดิน เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ในการกำหนดนั้น จึงจำเป็นต้องมีรูปมีนามมาเป็นอารมณ์กำหนดเสมอ เพราะนอกจากรูปนามแล้วก็ไม่มีอะไรเลย

การเจริญวิปัสสนาเป็นการเจริญหรือพัฒนาความรู้ให้เป็นสากล เป็นกิจที่ทำได้เพราทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่นอกไปจากรูปกับนาม เราเข้าใจผิดในรูปและนาม จึงเข้าใจว่า มีหญิง มีชาย มีท่าน มีเธอ แล้วก็ยึดติดในหญิงในชายเป็นต้นทุกวันเวลา

ชีวิตของเราทั้งหลาย ได้แต่ดิ้นรนขวนขวาย อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น เป็นต้น มาสังเวยตัณหา คือ ความต้องการของตนเองอยู่ แทบทุกลมหายใจ หามาให้เท่าไร ก็ไม่รู้จักเพียงพอ และเมื่อหามาได้แล้วก็ยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น ยังจะยึดมั่นถือมั่นหวงแห่งไม่ยอมให้ผู้อื่น ด้วยอำนาจของอุปทานอีก

นับว่าเป็นความทุกข์ทั้งขึ้นทั้งล่องไม่มีเวลาที่จะว่างเว้นเลย มีสิ่งที่อยากได้ เมื่ออยากได้ก็ถูกความต้องการบังคับให้ต้องดิ้นรนเสาะหามาสนองความต้องการให้ได้ ถึงจะยากเย็นขนาดไหน ก็จะต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อได้มาให้จงได้ บางทีก็ต้องเอาชีวิตเข้าเสี่ยงก็ได้ นี้นับเป็นความทุกข์อันเนื่องมากจากการแสวงหา

แต่เพราะเรามืดบอด มองไม่เห็นว่าเป็นทุกข์

จึงต้องแสวงหากันเรื่อยไป และเมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องลำบากในการพิทักษ์รักษาอีก เป็นความห่วงใยกังวล ไปไหนก็ไม่รอด เพราะห่วงใยอาลัยถึง ทำให้จิตใจถูกผูกพันอยู่ ไม่ต่างอะไรกับติดคุกติดตะราง ไม่มีความเป็นอิสระในตัวเองเลย

บุษกร เมธางกูร โพสต์ 2018-1-26 09:16:38

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14458-2.jpg@n
ความเคยชินต่อความเห็นผิดที่มีประจำมาจนนับชาติไม่ถ้วน จึงไม่รู้สึกว่า นามรูปเป็นโทษเป็นภัย ท่านอุปมาเหมือนกับหนอนอยู่ในพริก ไม่รู้สึกร้อนฉะนั้น

เราต่างจะเอาจริงเอาจังกับนามรูป ซึ่งไม่มีความจีรังยั่งยืน อยู่ทุกเสี้ยววินาที

นามรูปเกิดจากปัจจัย คืออวิชชา และตัณหา อวิชชาเป็นอดีตเหตุ ตัณหาเป็นปัจจุบันเหตุ ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดอนาคตผลต่อไป

กาล ๓ คือ อดีตอัทธา คือตัวอวิชชาและสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์คือ วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ ผัสสะและเวทนา อันเป็นตัวปัจจุบันผล ๕ เมื่อมีเวทนาแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจุบันเหตุ คือตัณหาอุปาทานและกรรมภพอีก และก็ทำให้เกิดผลคือชาติ และชรามรณะในอนาคตต่อไป ไม่มีที่สิ้นสุดสัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในวังวนคือวัฏฏะ

ด้วยเพราะ ตาบอด (คือไม่มีปัญญาคือแสงสว่าง) จึงมองไม่เห็นว่า โลกเป็นความทุกข์ ทุกคนจึงต่างมุ่งแต่จะแสวงหา ภาลยศ สรรเสริญและความสุข มาสู่ตนและครอบครัว โดยไม่มีทางที่จะรู้ตนเองได้เลยว่าตนนั้นกำลังตกอยู่ภายใต้ความทุกข์อย่างใหญ่หลวง

บุษกร เมธางกูร โพสต์ 2018-1-26 09:16:59

http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14458-3.jpg@n
ด้วยเหตุนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะหันมารีบสร้างทางแห่งความสุขให้แก่ตนเองสักที ด้วยการศึกษาหาความรู้ในหลักคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงประทานไว้

และรีบออกเดินทางจากความทุกข์ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อละคลายความเห็นผิด ว่าชีวิตนั้นเป็นเราเป็นของๆเรากันเถิด

และจงมีศรัทธา ที่จะปฏิบัติโดยไม่ท้อถอย เพราะเส้นทางนี้เท่านั้น (คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน) ที่จะทำให้ท่านผู้มีศรัทธา พาตนเองพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ค่ะ

ด้วยความปรารถนาดี

บุษกร เมธางกูร


http://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/7158-11.gif@n
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ความมุ่งหมายของการเจริญวิปัสสนา