ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1038|ตอบกลับ: 6

เพียงเพื่อความสุข ๔.

[คัดลอกลิงก์]

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
เพียงเพื่อ.jpg

ความสุขเป็นของขวัญแห่งชีวิตที่เราทุกคนต้องการ
หากแต่คนเราไม่ค่อยลงทุนส่งของขวัญให้แก่ตนเอง...
กลับมัวรอรับจากผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องยาก
และได้มาก็ไม่ถูกใจนัก ถ้าเทียบกับการมีโอกาสซื้อหามาเอง

หันมาใส่ใจกับชีวิตละคิดให้ตัวเองกันเถอะ
....ด้วยการทำบุญ



ทาน คือการให้ ให้ของที่ควรให้ กับคนที่ควรจะให้เพื่อประโยชน์ต่อเขา สละให้ปันสิ่งของๆ ของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ทานมี ๒ หมวดดังนี้

ทานที่ ๑ คือ อามิสทาน คือ การให้สิ่งของ
ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน

ทานที่ ๒ คือ สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้แก่ส่วนรวม
ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:24:33 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ทาน เป็นชื่อของการให้ และสิ่งที่ให้ คนที่ให้ทานท่านเรียกว่า ทานะบดี (ทานะบอดี) เป็นเจ้าของ คือเป็นเจ้าของทานนั้นตลอดไป ใครจะมาแย่งชิงเอาไปไม่ได้

ในทานสองหมวดนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า ธรรมทาน (การให้ธรรมะเป็นทาน) และสังฆทาน (ให้แก่สงฆ์หรือส่วนรวม) ว่าเป็นทานเลิศของแต่ละฝ่าย แต่ในทานสองฝ่ายนี้ ย่อมจะต้องมีคู่กันไป จะตัดออกเสียแล้วเอาแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งนั้น ก็หาสำเร็จประโยชน์ไม่ โดยเฉพาะในหมวดที่ 1 นั้น อามิสทาน และธรรมทานจะต้องเดินไปด้วยกัน เหตุทั้งนี้เพราะ..

อามิสทาน เป็นเครื่องบริหารกาย
ธรรมทาน ก็เป็นเครื่องบริหารใจ

ในสองอย่างนี้ จะต้องเดินเคียงกันอยู่เสมอ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่อาจที่จะสำเร็จประโยชน์อันสูงสุดได้

ดังนั้น ในฐานะปุถุชนเต็มขั้น จึงควรที่จะบำเพ็ญทานสองอย่างนี้ควบกันไป ไม่ควรที่จะมุ่งทำแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะทานทั้งสองอย่างนี้ย่อมจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

ร่างกายของคนย่อมต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงฉันใด? จิตใจก็ย่อมจะต้องอาศัยธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงฉันนั้น

โดยเฉพาะชาวบ้านด้วยแล้ว ถ้าไม่บำเพ็ญทานเลย ภิกษุทั้งหลายก็อยู่ไม่ได้ เมื่อไม่มีภิกษุแล้ว พระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ได้อย่างไร

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:24:57 | ดูโพสต์ทั้งหมด

การทำบุญ เป็นการทำฝังขุมทรัพย์ไว้ ย่อมเป็นของเราตลอดไป ไม่มีใครจะมาแย่งเอาไปได้ ถ้าพอมีโอกาสไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ขอให้รีบทำอย่ารอไว้เมื่อนั่นเมื่อนี่ ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีหลักประกัน ข้อสำคัญให้ทำด้วยศรัทธาจริงๆ เป็นศรัทธาที่บริสุทธิ์ อย่าทำบุญเอาหน้า อย่าภาวนาหลอกลวง อย่าทำเพื่อหวังอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ควรตั้งเป้าไว้สองจุดคือ

ก. เพื่อบูชาคุณท่าน หรือเพื่อสงเคราะห์
ข. เพื่อขจัดความตระหนี่ หรือความเห็นแก่ตัว

อย่าได้ไปหวังว่า ขอให้ไปเกิดเป็นคนรวย เกิดในสวรรค์วิมานชั้นสูงๆ หรือใหญ่ๆ มีทรัพย์สินเงินทองมากๆ นั่นไม่บริสุทธิ์ มีอานิสงส์อ่อน ไม่ขัดเกลากิเลส แต่เพิ่มตัณหาและเป็นไปเพื่อวัฏฏะไม่พ้นทุกข์ เราทำบุญทำทานไว้แล้ว ตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เราก็ต้องได้รับอยู่ จะต้องไปปรารถนาทำไม

ถ้าจะปรารถนาก็ควรที่จะปรารถนาสิ่งที่สูงสุด คือปรารถนาพระนิพพานนั่นแหละ แต่ไม่ใช่ปรารถนาอย่างเดียวนะ ต้องทำเหตุร่วมด้วยจึงจะได้ การทำบุญทำทานไว้กับไม้กับมือของเราเองนี้ดีที่สุด แน่นอนที่สุด

การมัวแต่ประมาทรอไว้ให้ญาติทำให้เมื่อตายไปแล้ว โอกาสที่เราจะได้รับนั้นยาก เพราะเราอาจจะไปเกิดในภูมิที่เรารับไม่ได้ หรือพอจะรับได้ แต่เขาไม่ทำบุญ หรือทำบุญจริง แต่เขาไม่อุทิศให้เรา เราก็อดอีก

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:25:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ฉะนั้น จงอย่าไปประมาทเลย ทำไว้ด้วยตนเองดีกว่า มีน้อยก็ทำแต่น้อย มีมากก็ทำมาก ทำตามกำลังทรัพย์ และทำตามกำลังศรัทธา โดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนเป็นดีที่สุด

จากพระอรรถกถานี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า ในการทำบุญทำทานทุกครั้งควรจะต้องมีการอุทิศส่วนบุญไปให้กับญาติของเรา และควรทำทุกๆ ครั้งไป สิ่งที่ไม่ควรคิดก็คือ ผลแห่งบุญนี้ไม่มีการหมดหรือพร่อง อย่ากลัวว่าเราอุทิศให้คนอื่นแล้วมันจะหมดหรือพร่อง บุญเป็นสิ่งประหลาด ยิ่งให้มันก็ยิ่งจะมาก

อุปมาเหมือนเราจุดเทียนขึ้นมาเล่มหนึ่ง แล้วให้คนอื่นจุดต่อๆ กันไป แสงเทียนเล่มเดิมก็คงเดิม แต่แสงสว่างที่จุดต่อๆ กันไป ยิ่งเพิ่มแสงสว่างมากยิ่งขึ้น ผลแห่งบุญก็เช่นเดียวกัน ยิ่งให้ก็ยิ่งจะมาก

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:25:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด

การกรวดน้ำ เราทำได้สองวิธี กรวดน้ำแห้งหรือกรวดน้ำเปียกก็ได้ ถือเจตนาที่ตั้งใจอุทิศเป็นสิ่งสำคัญด้วยการระบุเจาะจงไปเลย ถ้ารู้จักชื่อก็ควรออกชื่อด้วย ถ้าไม่รู้ก็ว่ารวมๆ กันไป ควรกรวดน้ำด้วยภาษาไทยดีกว่า ถ้าจะใช้คำพระด้วยก็ได้ แต่ควรรู้จักคำแปล หรือว่าคำแปลไปพร้อมกันดีที่สุด

ปัญหาอาจมีในบางคนว่าควรกรวดน้ำให้ใครก่อน? ควรกรวดน้ำให้กับคนที่มีพระคุณแก่เรามากที่สุด และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ใครเอ่ย? ก็พ่อแม่ของเรา

ถ้าท่านยังไม่ตายเราก็แผ่ส่วนบุญให้ท่าน ถ้าท่านตายไปแล้ว ก็อุทิศส่วนบุญไปให้ท่าน โดยออกชื่อและนามสกุลของท่านด้วย แผ่ส่วนบุญให้กับคนเป็น อุทิศส่วนบุญให้แก่คนที่ตายไปแล้ว ต่อจากพ่อแม่ก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรและญาติสนิทต่อๆ กันไป จนถึงสรรพสัตว์ทั่วสากลจักรวาล

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:26:18 | ดูโพสต์ทั้งหมด

หลักทำบุญทำกรรมในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ท่านเน้นที่เจตนาเป็นใหญ่ ถ้ามีเจตนาแรงกรรมที่ทำไปนั้นก็ย่อมจะมีผลมาก ถ้ามีเจตนาอ่อนกรรมที่ทำลงไปนั้นก็มีผลน้อย

นอกจากจะเน้นที่เจตนาแล้ว ในการทำความดีต่างๆ ยังต้องรักษาจิตให้มีศรัทธา คือ ความเชื่อและปสาทะ คือ ความเลื่อมใสในขณะที่ก่อนทำกำลังทำและหลังจากทำแล้วด้วย จึงจะได้รับอานิสงส์แรง ยิ่งมีปีติซาบซ่านมีความอิ่มใจปลื้มใจด้วย ก็ยิ่งจะเสริมให้บุญจริยานั้นๆ มีอานิสงส์แรงขึ้น

ดังนั้นในการประกอบการกุศลต่างๆ ในแต่ละครั้ง ถ้าท่านต้องการให้มีอานิสงส์แรง ก็ควรที่จะต้องระลึกถึงเงื่อนไขดังนี้

1. วัตถุสิ่งของ ที่ทำบุญให้ทานนี้ต้องบริสุทธิ์ เป็นของที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่ผิดกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ผิดศีลธรรม ต้องไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นด้วย

2. ผู้ให้หรือทายก เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้มีศีลเป็นพื้นฐาน คือมีศีลห้า ถ้ายังไม่มีศีลมาก่อน ก็ควรที่จะสมาทานศีลก่อนแล้วจึงค่อยให้ทาน หรือในเมื่อทุกครั้งที่มีการประกอบการบุญกุศลต่างๆ ด้วย

3. ผู้รับ (ปฏิคาหก) หรือพระ ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้หมดกิเลส หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้มีศีล ถ้าไม่ได้อย่างนั้นผลแห่งทานก็จะลดลงตามส่วน

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-5 15:27:03 | ดูโพสต์ทั้งหมด

4. ต้องประคองจิตให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา คือก่อนให้ทาน กำลังให้อยู่ หรือให้แล้วก็ตาม จะต้องรักษาจิต ให้ศรัทธากับปสาทะต้องเดินคู่กันไปตลอดเวลา จงกำจัดความลังเลสงสัยออกให้หมด จึงจะได้กุศลแรง ต้องมีปัญญาร่วมด้วยกล่าวคือ

ในการประกอบการบุญทุกประเภท ก่อนทำควรจะพิจารณาก่อนว่า ส่งที่จะทำนั้นๆ มีคุณประโยชน์มากน้อยแค่ไหน? ถูกต้องตามแนวคำสอน ของพระพุทธเจ้าหรือไม่? ทำอย่างไรจึงจะเสียวัตถุน้อยที่สุด แต่ได้รับผลบุญมากที่สุด มิฉะนั้นอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาติดตามมาอีก เช่น


ก. ให้กำลังแก่คนชั่วได้มีกำลังก่อกวนสังคมมากยิ่งขึ้น
ข. ส่งเสริมโจรที่ปล้นศาสนาให้มีกำลังมากขึ้น
ค. จะเกิดวิปฏิสารใจ ว่าไม่ควรทำเลย

เพื่อป้องกันวิปฏิสารใจ ถ้าไม่อาจที่จะรักษาศรัทธาปสาทะหรือปิติไว้ได้ ภายหลังจากการประกอบการกุศลแล้วก็อย่าให้เกิดวิปฏิสารใจ คือ ความเดือดร้อนว่า ไม่ควรทำในสิ่งที่ไม่สมควรเลย เราควรจะคิดปลงดังนี้ว่า ทำแล้วเหมือนทิ้งไป อย่าอาลัยคิดถึงอีก คิดว่าเกิดกุศลดลจิตให้เราเห็นผิดทำไป เอาสติหักห้ามใจไว้ไม่ให้คิดในแง่อกุศล

ถ้าเราสามารถดำเนินปฏิปทาตามที่ได้เสนอแนะไว้นี้ การทำทานหรือประกอบการบุญต่างๆ ของเราก็ย่อมจะมีแต่ผลบวกอย่างเดียว ไม่อาจที่จะประสพผลลบเลย หรือหากว่าจะประสบผลลบ เราก็ไม่ยอมลบด้วย เพราะมีสติเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งหรือยับยั้งใจไว้แล้ว

แล้วจะมาอธิบายต่อนะคะ

ด้วยความปรารถนาดีคะ
บุษกร เมธางกูร


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-22 01:23 , Processed in 0.087981 second(s), 24 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้