ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 814|ตอบกลับ: 2

ดอกแก้วบาน ตอนที่ ๕

[คัดลอกลิงก์]

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460


ดอกแก้วบาน ตอนที่ ๕

โดย...พี่ดอกแก้ว

ความรอบรู้...ไม่ได้ทำให้บุคคลนั้นรอบคอบเสมอ
แต่อาศัยการสังวรณ์อันมีสติอยู่
ความรอบคอบจึงจะอยู่ได้



สุภาษิตโบราณท่านกล่าวเอาไว้ว่า รู้อะไรไม่สู้รู้วิชารู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

ฉะนั้น แสดงว่าสิ่งที่เหนือกว่า และดีกว่า ก็ยังมีอยู่

เคยได้มีความรู้สึก และได้นำมาบอกกล่าวให้ทุกๆ ท่านทราบแล้วว่า ความเก่งไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าควรยกย่องเสมอไป

ก็เพราะว่าตัณหาก็เก่ง วิชาก็เก่ง ฉะนั้น ความเก่งจึงไม่ได้เป็นเครื่องชี้ชัดบ่งบอกถึงความสามารถอันดีที่สุด แต่ สติสัมปชัญญะเท่านั้น ที่ทำให้ผู้นั้นไปถึงความดีที่สุดได้ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสจากเครื่องเศร้าหมอง

เช่นเดียวกัน ความรู้ที่เรามีอยู่ ไม่ว่ารู้ทางโลกหรือรู้ทางธรรม ...

ถ้าเผื่อมีความรู้อย่างเดียวก็ไม่สามารถทำให้บุคคลนั้นรอบคอบได้ แต่ต้องอาศัยการสังวร ในที่นี้หมายถึง ความตั้งใจที่จะเพียรพยายามระงับ ระวัง ทวารของตนเอง ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ควบคุมทวารของเราให้อยู่ในพฤติกรรมอันเหมาะสม อิริยาบถอันถูกต้องอันมีสติเป็นตัวประคองชีวิต ความรอบคอบหรือจะใช้ คำว่า ความประมาทนั้นก็จะน้อยลง

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-13 09:17:30 | ดูโพสต์ทั้งหมด

เราจะเห็นได้ว่า รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา เพราะวิชาเป็นเครื่องทำให้เราสามารถพูด ทำ ทั้งในเรื่องต่างๆ เข้าใจและทำได้

แต่รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ก็คือ ต้องเหนือกว่าวิชา เพราะชีวิตต้องการความอยู่รอด อยู่รอดจากการมองผิด คิดผิด ทำผิด

ฉะนั้น ความรู้บางทีก็ทำให้คนนั้นทำผิดได้ ทำให้คนนั้นคิดผิดได้ และทำให้คนนั้นอยู่ผิดได้ แต่การระวังการสังวร หรือจะเรียกเต็มๆ ว่า การสังวรอินทรีย์ด้วยมีสติเป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญ ก็จะทำให้เราไม่ประมาทได้

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี คำนี้เป็นคำที่จะต้องขยายความ ตามความรู้สึกว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ... ฉะนั้น ขนไก่ก็งามทำให้เกิดการน่ามองไปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับ เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ทำให้คนเราดูสวยงามได้ แต่ก็เป็นการปิดบังหรือเป็นเครื่องประดับรูปธรรมเท่านั้น
แต่สติสัมปชัญญะเป็นเครื่องประดับนามธรรมคือ จิตใจ อันเป็นประธานที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของแต่ละชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ฉันใด ฉันนั้น การที่เราจะเพียรพยายามอยู่ให้รอด รอดจากการถูกติฉิน รอดจากการถูกมองผิด รอดจากการคิดผิดแล้วก็ทำผิด นั่นก็คือ การที่เราสำรวม และสังวรอินทรีย์

จะเห็นได้ว่า คนบางคนมีความระมัดระวัง หรือมีคุณสมบัติอันเป็นรากฐานของสกุลมาอยู่แล้ว แต่เพราะว่าการขาดการสังวรระวังอิริยาบถ หรือสังวรทวารต่างๆ นั้น ก็จะทำให้เผลอไปจากความสำรวมได้ จึงทำให้ผู้นั้นไม่สามารถใช้วิชาที่ตนเองมีอยู่ทำให้เกิดความรอบคอบได้ เพราะความรอบคอบนี้ต้องอาศัยสติ คือระวังและระลึกรู้สึกตัวเองไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน ....ความรู้สึกว่าเรียบร้อยสุภาพไหม

อาศัยจากความระลึกรู้สึกตัว คือสตินี่เอง จึงจะสังเกตอิริยาบถของตนเองได้ แต่วิชานั้นเป็นการตัดสินเรื่องภายนอก คือ อารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ...เท่านั้นเอง.


24

กระทู้

60

ตอบกลับ

980

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
980
โพสต์ 2017-5-13 09:21:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

โดยเฉพาะการรักษาตัวให้รอดจากชีวิตที่เต็มไปด้วยกิเลส ๑๕๐๐และตัณหา ๑๐๘
เป็นการรักษาตัวเองที่ดีที่สุดเลยนะครับ ขอบคุณมากครับคุณวยุรี

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-23 17:19 , Processed in 0.096987 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้