ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1037|ตอบกลับ: 5

เกี่ยวกับพระ

[คัดลอกลิงก์]

29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ศาลาเสือพิทักษ์ เมื่อ 2017-6-3 10:28





พระ
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ.

คำว่า “พระ” ต้องมีนิสัยเป็นสุภาพชน คือรักความเรียบร้อย ไม่ว่าจะนุ่งห่มจีวร ต้องหัดนิสัยรักนุ่งห่มด้วย ไม่ใช่นุ่งธรรมดา แต่อุปัชฌาย์/ พี่เลี้ยงต้องให้นิสัยรักความเรียบร้อย “เธอมีแค่นี้ ๓ ผืน ๒ ชุด ต้องรักษา ต้องดูแล ต้องรักใส่ ต้องรักสวม พอรักหมดแล้วเท่ากับรักตัวเองมากเลย”

พระโดยมากรักที่จะคบกับสุภาพชนทั่วไป คนใดเกะกะเกเร แม้เพียงมารยาทไม่งาม หรือแสดงออกด้วยวิสัยที่ไม่ใช่สุภาพชนแล้ว พระจะรังเกียจไม่สมัครคบหา ถ้าเป็นพระสมัยโบร่ำโบราณท่านพบคนพวกนี้เข้าก็จะเมินเสีย และไม่ใส่ใจในการอยู่การไปของผู้นั้น สมัครที่จะอยู่คนเดียวดีกว่า ถือธุดงควัตรดีกว่า สมกับพระพุทธโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนพระด้วยว่า

“ถ้าได้เพื่อนที่ฉลาดสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ชอบ อยู่ร่วมกับคนดี เป็นเพื่อนร่วมใจ อาจกำจัดอันตรายที่จะถึงตัวได้ ก็ควรจะดีใจไว้ มีสติรักษาน้ำใจเที่ยวไปกับเขา แต่ถ้าไม่ได้เพื่อนเช่นนั้น เที่ยวไปคนเดียวดีกว่า ไม่เดือดร้อน เพราะคนพาลไม่มีคุณธรรมพอที่จะคบเป็นเพื่อนไปได้ตลอดกาล คำว่า “เที่ยว” ของพระพุทธเจ้า หมายถึง เที่ยวปฏิบัติธรรมจาริก ไม่ใช่เที่ยวไปไหนๆ

พระในสมัยก่อนท่านรู้จักพุทธโอวาท จึงมีนิสัยรักความเรียบร้อย ความจริงนับตั้งแต่เข้ามาสู่พระธรรมวินัย พระจะต้องประคองตัวให้อยู่ในพระธรรมวินัยเรียกว่า แต่ละท่านที่เข้ามาบวชนั้น จะต้องตั้งตัวดีก่อนบวชแล้ว มีนิสัยอย่างไรอยู่อย่างไร ท่านสอนตั้งแต่แรก และถูกผู้ใหญ่ตักเตือนอยู่เสมอให้เชื่อฟังอุปัชฌาย์

เมื่อออกบวชแล้ว ก็ได้รับคำพร่ำสอนจากอุปัชฌาย์อีก และเมื่อบวชเข้ามาแล้วก็มีเพื่อนพระเป็นแบบฉบับได้กระทำอยู่ และมีชีวิตอยู่ ซึ่งแต่ละวันๆ เป็นการเห็นมารยาทที่ดีงามน่าดูน่าชม เป็นสิ่งที่เรียบร้อย ทำให้เกิดนิสัยรักความเรียบร้อย

โดยปกติพระจะฉันเรียบร้อย ถือเป็นเรื่องใหญ่เลย แม้จะอยู่ตามลำพังก็ต้องทำตามระเบียบที่พระนิยมทำ ท่านบอกว่าไม่ปีนตลิ่ง แม้จะอยู่คนเดียวก็จะไม่ประพฤติออกนอกทางให้เสียเกียรติ รู้ไหมการฉันของพระ ปกติมีหลัก ๙ อย่าง



29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-3 10:25:29 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หลักการฉัน ๙ อย่าง คือ

๑.ไม่เดินพลางฉันพลาง

๒.ไม่ยืนฉัน

๓.ไม่นอนฉัน เว้นแต่อาพาธหนัก

๔.จะฉันอาหารในอิริยาบถนั่งเท่านั้น

๕.ไม่นั่งเท้าแขนฉัน

๖.ไม่นั่งยองๆ ฉัน

๗. ไม่นั่งเหยียดเท้าฉัน

๘.ไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งขณะกำลังฉันอยู่ (ปากยังเคี้ยวไม่หมด ลุกพรวดไม่ได้เลย)

๙.ไม่ลงมือฉันก่อนที่ยังเตรียมเครื่องฉันไม่พร้อม (ต้องจัดอุปกรณ์ให้พร้อมแล้ว ช้อน ชาม ที่ล้างมือ เป็นต้น เพราะพอฉันเสร็จ ก็สามารถยถาสัพพีได้เลย)

29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-3 10:25:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ก่อนลงมือฉันต้องตระเตรียมของ ๔ แบบ คือ

๑.ที่นั่ง ปูเสื่อและอาสนะ

๒.ตั้งกระโถน (สมัยพระพุทธเจ้าใช้กะลา หรือลูกน้ำเต้าที่ตัดและควักไส้ข้างในออกแล้วไว้ใส่เศษอาหารไม่ให้เป็นเหยื่อของมด ขันน้ำใช้เสร็จก็ต้องคว่ำ ยุงจะได้ไม่มาไข่ไว้ เพราะถ้ามีลูกยุงแล้วไปตักน้ำก็ประมาทแล้ว ทำให้สัตว์ต้องตายได้

๓.น้ำใช้ น้ำฉัน

๔. ตั้งอาหารตามที่มีไว้พร้อม เพราะเมื่อลงมือฉันแล้วจะได้ไม่ต้องลุกไป

29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-3 10:26:43 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การปฏิบัติเวลาฉัน

๑.ในเวลาฉันก็ฉันโดยอาการเรียบร้อยตามมารยาทที่สอนไว้ เป็นระเบียบประจำตัว คือ ๙ อย่างข้างต้น

๒. เวลาฉันต้องสำรวมตามองดูแต่บาตร หรือชามข้าวของตน ไม่ฉันพลางดูอย่างอื่น ถ้าจะมองดูภาชนะใส่อาหาร ก็เพื่อเพื่อนพระร่วมวงเท่านั้นเอง หรือนั่งใกล้กัน ถ้ามีจิตคิดว่าข้าวของเขาบกพร่องจะได้ช่วยเหลือเพราะไกล แค่นั้นเอง

๓. ไม่ตักอาหารให้แหว่งเป็นหย่อมๆ เมื่อตักอาหารใส่ชามแล้ว เอาช้อนกลางไปคืนต้องเขี่ยทันทีให้อาหารอยู่ทรงสภาพเดิม ไม่เว้าๆ แหว่งๆ

๔. ฉันข้าวให้พอสมควรกับกับข้าว ไม่ดูตะกละตะกราม ตักไว้มากๆ

๕. การตักข้าวเข้าปาก คำข้าวหรืออาหารให้พอประมาณ พอดีแก่ปากของคนเปิบ

๖. ทำคำข้าวหรืออาหารก่อนเข้าปากให้เรียบร้อย

๗. ห้ามอ้าปากรออาหารก่อน

๘. หุบปากเคี้ยวอาหาร จะอ้าปากเฉพาะตอนนำอาหารเข้าเท่านั้น

๙. ไม่สอดนิ้วมือเข้าปากในเวลานั้น เพราะสกปรกเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น ถ้าจำเป็นต้องเอานิ้วเข้าไปเอาก้างปลาหรือกระดูกสัตว์ออก ก็ให้เอามือซ้ายป้องปาก หรือหยิบผ้าป้องปากเสียก่อน

๑๐. เวลาฉันจะไม่พูด ถ้าจำเป็นจะต้องพูด ก็พยายามพูดแต่น้อย เพราะเวลาฉันไม่ใช่เวลาพูด และจะพูดก็ต่อเมื่อกลืนคำข้าวแล้ว ห้ามพูดทั้งๆ ที่ในปากมีข้าวอยู่

๑๑. ไม่ซุกซนโยนอาหารเข้าปากและอ้าปากงับ ทำให้เสียความเรียบร้อยไม่สุภาพ (เณรชอบโยนลูกหว้าเข้าปาก เป็นต้น)

๑๒. ไม่กัดคำข้าวหรืออาหารที่นำเข้าปาก เนื่องจากทำคำโตเกินปาก (เช่น ไส้กรอกไม่มีสิทธิจิ้มแล้วดึงกับไม้เสียบ หรือขนมปังแซนด์วิชเอามากัดแล้วดึงออก ไม่ได้ ต้องทำเป็นคือ ค่อยๆ ทำเป็นคำก่อนจึงจะฉัน)

29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-3 10:27:18 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๑๓. ไม่ฉันให้แก้มตุ้ยเหมือนลิง

๑๔.ไม่ให้ฉันสลัดมือสลัดช้อน ถ้าอาหารติดมากก็ให้ล้างด้วยน้ำ

๑๕. ให้หุบปากรับเอาคำข้าวไว้ให้สนิท ไม่ปล่อยให้คำข้าวร่วงมายังภาชนะให้เป็นที่น่ารังเกียจ

๑๖. ไม่ฉันแลบลิ้น หรือห้ามรับอาหารนอกปาก

๑๗. ไม่ให้เคี้ยวอาหารดังจั๊บๆ

๑๘. ไม่ซดน้ำแกงดังซู๊ดๆ

๑๙. ไม่ให้ฉันเลียมือเลียช้อน ดูดนิ้วมือก็ห้าม

๒๐. ไม่ให้ฉันขอดบาตร หรือขอดภาชนะ น่าเกลียด ให้ค่อยๆ ตะล่อมข้าวเข้ามาให้เรียบๆ

๒๑. ไม่เลียริมฝีปาก ปากเปรอะให้เช็ดด้วยผ้า

๒๒. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะ

๒๓. ถ้าจะต้องล้างบาตรหรือภาชนะใส่อาหารเอง ไม่พึงเอาน้ำล้างที่มีเศษอาหารปนอยู่เทลงในที่ๆ ไม่สมควร ให้เทลงกระโถนไว้ก่อน แล้วแยกกากอาหาร เมื่อฉันเสร็จแล้ว ถ้าไม่มีคนปรนนิบัติอยู่ตามลำพัง ก็ควรจัดเก็บล้างถูทำความสะอาดเอง แล้วจัดวางอาหารปิ่นโตต่างๆ ไว้ในที่เดิม

29

กระทู้

101

ตอบกลับ

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-6-3 10:27:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การเป็นพระนั้นยาก ต้องเว้นจากวจีทุจริต ๔ ซ้ำต้องประพฤติตามวินัยธรรม ใช้คำที่เป็นคุณถ่ายเดียว พูดแต่ความจริง พูดสมานไมตรี พูดอ่อนหวานนิ่มนวล และพูดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเราต้องใช้กันอยู่ (ฆราวาสก็ต้องทำ)

นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ายังสอนให้ประมาณในการพูด คือ พูดกับใคร ต่างเพศหรือต่างฐานะอย่างไร เช่นอย่างไร โยม...อาตมา โยม...หลวงพ่อ โยม...ฉัน ท่าน...กระผม (พระพูดดับพระ) เมื่อพูดแล้วก็เหมาะแก่ผู้ฟังในสถานที่อันควร ว่าเป็นเรื่องที่เป็นคุณและไม่เป็นโทษ เมื่อเห็นว่าไม่เหมาะไม่ควร ถึงจะเป็นคุณก็ไม่ให้พูด

ท่านบอกเลยนะ ธรณีที่จะก้าวเข้าไปในกุฏินะ แม้กระทั่งอยู่ลำพัง โยมแม่ก็เข้ามาไม่ได้ เช่น เราเป็นพระอยู่ไม่ว่าหนุ่มหรือแก่ขนาดไหน เมื่อเราครองผ้ากาสาวะอยู่ในกุฏิที่เป็นห้องนอนแล้ว แม้โยมแม่เข้ามาคุยตัวต่อตัวก็ยังไม่ได้ เพราะอย่างไร เป็นที่โจษจันได้ เป็นภัยในผ้าเหลืองได้

พระธรรมเสนาบดีนั้นท่านได้รับการขนานนามไว้ว่า เป็นผู้ที่มีความรู้เพียบ เรียบร้อย ยอดกตัญญู รู้คุณค่าแห่งพุทธะ และนำธรรมะเป็นธงชัยของชีวิตเสมอ


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-12-4 15:55 , Processed in 0.075428 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้