ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1470|ตอบกลับ: 7

การทำทานและสังฆทาน

[คัดลอกลิงก์]

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
1dcdec93c3661cff05e3203da3c5852b.jpg

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้ทาน

การให้ทาน คือ การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน โดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่

๑.อามิสทาน คือ การให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน

๒.ธรรมทาน คือ การสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน

๓.อภัยทาน คือ การให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน


การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดีและได้กุศลมากนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ

๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือ เป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอก ลักขโมย โกงใครมา หรือได้มาด้วยวิธีทุจริต

๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีความยินดีผ่องใสเบิกบานในการทำทาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้

๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์


การให้ทานที่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่ไม่ดี เช่น

๑.ให้สุรา ยาเสพติด เป็นต้น

๒.ให้อาวุธ

๓.ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ

๔.ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์

๕.ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด ฯลฯ



238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:43:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงทาน ๔ ประการไว้ในธรรมบทว่า

๑. การให้ทานด้วยตน ไม่ชักชวนผู้อื่น ย่อมได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ

๒. การชักชวนผู้อื่น ไม่ให้ด้วยตน ย่อมได้บริวารสมบัติ ไม่ได้โภคสมบัติ

๓. การไม่ให้ด้วยตน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่น ย่อมไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ

๔. การให้ด้วยตน ทั้งชักชวนผู้อื่น ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ ทั้งบริวารสมบัติ


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงผลการให้ทาน ไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร ว่า

๑. ให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน ได้ผลร้อยเท่า

๒. ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล ได้ผลพันเท่า

๓. ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล ได้ผลแสนเท่า

๔. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ได้ผลแสนโกฏิเท่า

๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ได้ผลนับประมาณไม่ได้

๖. ถ้าให้ทานใน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลยิ่งไม่อาจนับประมาณได้เลย

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:44:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระผู้มีพระภาค ตรัสถึงทาน ๕ ประการไว้ในสัปปุริสทานสูตร ว่า

๑. ทานที่ให้ด้วยศรัทธา ทำให้ร่ำรวยและมีรูปงาม

๒. ทานที่ให้โดยเคารพ ทำให้ร่ำรวยและมีบุตร ภรรยา บริวารที่เชื่อฟัง

๓. ทานที่ให้โดยกาลอันควร ทำให้ร่ำรวยตั้งแต่ปฐมวัย

๔. ทานที่ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ทำให้ร่ำรวยและพอใจใช้ของดีๆ

๕. ทานที่ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ทำให้ร่ำรวยและทรัพย์นั้นปลอดภัยจากไฟ น้ำ หรือการแย่งชิงของผู้อื่น


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในกินททสูตร ว่า

การให้ข้าวและน้ำ ชื่อว่า ให้กำลัง

การให้ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ

การให้ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุขทั้งกายและใจ

การให้ประทีบดวงไฟ ชื่อว่า ให้ดวงตา

การให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือให้กำลัง ให้ผิวพรรณ ให้ความสุข และให้ดวงตา

การพร่ำสอนธรรม คือการให้ธรรมะ ชื่อว่า ให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตาย ไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง แม้การจะทำทานให้ถูกต้องก็ต้องอาศัยการฟังธรรม

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:44:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด
พระผู้มีพระภาค ตรัสถึงการให้ทาน ๗ อย่าง ไว้ในทานสูตร

๑. การให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

๒. การให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

๓. การให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้ เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นยามา

๔. การให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

๕. การให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเหมือนฤษีครั้งก่อน เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๖. การให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใสเกิดความปลื้มใจและโสมนัส เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี

๗. การให้ทาน เพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เมื่อตายแล้ว ย่อมเกิดในพรหมโลก (ชั้นสุทธาวาส) ภายหลังย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง (อรรถาธิบายว่า เขาไม่อาจไปเกิดในพรหมโลกด้วยทานแต่ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้น เขาทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ย่อมเกิดในพรหมโลกด้วยฌาน)

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:45:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ทำสังฆทานอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

สังฆทาน ได้แก่ทานที่ถวายแก่สงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แล้วแต่ทางวัด คือเจ้าอาวาสหรือพระภัตตุเทสก์จะจัดส่งไปให้ การนิมนต์พระก็ดี การเผดียงสงฆ์ก็ดีจึงควรจัดให้เป็นไปตามชนิดของทาน คือ ถ้าจะถวายเป็นปาฏิปุคคลิกทาน เจ้าภาพต้องไปนิมนต์พระเฉพาะด้วยตนเอง ถ้าจะถวายเป็นสังฆทาน เจ้าภาพจะไปเองหรือส่งคนผู้ที่เชื่อถือไปเผดียงต่อเจ้าอาวาสหรือภิกษุภัตตุทเทสก์ หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในวัดนั้นก็ได้ โดยกำหนดวันเวลาและสถานที่ จำนวนพระภิกษุที่ต้องการให้ท่านทราบรายละเอียด

(ปาฏิปุคคลิกทาน ได้แก่ ทานที่ถวายจำเพาะเจาะจงบุคคล คือถวายเฉพาะตัว เช่นต้องการจะถวายแก่ภิกษุรูปใดก็นิมนต์จำเพาะองค์นั้น)

๑. การถวายสังฆทาน เท่าที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ จัดถวายที่บ้านก็มี, ถวายที่วัดก็มี ข้อสำคัญเจ้าภาพต้องทำเจตนาให้บริสุทธิ์ คือเมื่อเผดียงสงฆ์ต่อเจ้าอาวาส หรือภิกษุภัตตุทเทสก์ หรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าขอเผดียงสงฆ์จากวัดนี้ เพื่อรับสังฆทาน ในวันนั้น เวลา สถานที่นั้น จำนวนภิกษุเท่านั้นรูป" ตามที่ต้องการแล้ว

อย่าคำนึงถึงว่า จะได้พระรูปใดก็สุดแล้วแต่ทางวัดจะจัดส่งไปให้ แม้ว่าภิกษุรูปนั้นจะไม่ชอบพอกับตนมาก่อน ก็ไม่ควรแสดงความรังเกียจ แม้จะได้เพียงสามเณรไปรับสังฆทานก็ควรยินดี เพื่อให้ทานนั้นเป็นของบริสุทธิ์เป็น "สังฆทาน"

เพราะว่า พวกภิกษุหรือสามเณร ก็ชื่อว่ามาในนามของสงฆ์ เจ้าภาพพึงทำเจตนาให้มุ่งตรงต่อสงฆ์ว่า ไม่ใช่ถวายแก่ "บุคคล" ในการถวายสังฆทานนี้ ไม่จำกัดจำนวนพระสงฆ์ จะนิมนต์เพียง ๔-๕-๖ รูปก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่กำลังศรัทธาของเจ้าภาพ

๒. พิธีถวาย เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพพึงนำสิ่งของ คืออาหาร คาวหวานหรือสิ่งของอย่างอื่นที่ได้จัดเตรียมไว้รวมทั้งดอกไม้ ธูป เทียนออกมาจัดเรียงไว้เป็นชุดๆ ตามจำนวนพระสงฆ์ที่มา จากนั้นเจ้าภาพจัดการจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัยกราบลง ๓ ครั้ง อาราธนาศีล พระให้ศีล เจ้าภาพรับศีล

ถ้ามีการฉันด้วยโดยมากเมื่อรับศีล แล้วพระสงฆ์สวดถวายพรพระก่อนฉัน ถ้าไม่มีการฉันเมื่อรับศีล จบแล้วให้เจ้าภาพกราบลง ๓ ครั้ง ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำถวายสังฆทานต่อไป

๓. คำถวายสังฆทานว่าดังนี้

อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ

อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ


คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็น บริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

๔. คำถวายสังฆทานดังกล่าวนี้ ถ้าว่าจบเดียวต้องว่าคำแปลด้วย ถ้าว่า ๓ ครั้ง โดยใช้คำว่า ทุติ, ตะติ, นำหน้า ครั้งที่ ๒-๓ ไม่ต้องว่าคำแปลนี้ ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้ทราบว่าเจ้าภาพว่าจบเดียว หรือ ๓ จบ จะได้ประนมมือและรับว่า "สาธุ" ได้ถูกต้อง ในขณะผู้กล่าวคำถวายว่า ตะติ, หรือ ว่าคำแปลนั้น พระสงฆ์ทุกรูปจะประนมมือ เมื่อผู้ว่าคำถวายจบ พระสงฆ์รับว่า "สาธุ"

๕. เมื่อถวายเสร็จแล้ว พระภิกษุสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพก็เตรียมกรวดน้ำต่อไป การถวายสังฆทานดังกล่าวมานี้ เป็นการถวายประเภทสามัญ คือถวายเพื่อความสุข ความเจริญของตน ถวายเพื่อกุศลให้บุพการีคุณ อันมีบิดา มารดา ครูอาจารย์ ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายทานอย่างอื่นมีสลากภัตต์เป็นต้น ต้องเปลี่ยนคำถวายดังต่อไปนี้

238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:46:06 | ดูโพสต์ทั้งหมด


ถังสังฆทาน ..สะดวกดีแล้วหรือ ?

สุภาพบุรุษท่านหนึ่งเล่าว่า " ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบขับรถไปต่างจังหวัด และถ้ามีโอกาสก็จะเตรียมของไปถวายพระใส่ท้ายรถโดยไม่เจาะจงวัด หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า"ทำสังฆทาน"

ถ้าเราเข้าไปในวัดส่วนใหญ่ที่จะถวายของ เราจะได้เห็นถังสีเหลืองมากมายก่ายกองในว ัด ส่วนใหญ่ก็มาจากท่านพุทธบริษัททั้งหลายนั่นแหละที่มาทำบุญ และนิยมซื้อของถวาย ซึ่งเรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า ถังสังฆทาน แปลว่าของถวายพระที่จัดสำเร็จมาในถัง

ซึ่งผู้ซื้อจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดภายในถังหรอกว่ามีอะไรในนั้นบ้าง เพราะจะมีพลาสติกใสคลุมปิดมิดชิด อาจจะดูแล้วดี สวย แถมยังติดเทปกาวอย่างแน่นหนา สร้างความรู้สึกว่าของล้นถัง

แต่ช่วงที่ผมได้บวชเป็นพระภิกษุเมื่อหลายปีก่อน ก็มีญาตโยมมาถวายถังเหมือนกัน จึงเจอของจริงเป็นสัจธรรมที่ว่า....

ถังพลาสติกสีเหลืองมักทำด้วยพลาสติกที่มีเนื้อบาง ใส่น้ำและหิ้วได้ไม่กี่ครั้ง ถังจะแตก หูหิ้วหัก-หรือหลุด ใช้งานไม่ได้อีกต่อไป พระท่านจะนำไปใช้ซักจีวรก็ลำบากเต็มทน สาเหตุมาจากปากถังนั้นเล็กมากเมื่อเทียบกับจีวรซึ่งมีขนาดกว้าง พระท่านกลัวว่าโยมที่ถวายจะเสียใจจึงจำเป็นต้องใช้ แต่ถ้าเลือกได้ ท่านคงใช้ กะละมังจะดีกว่า

ใบชาที่ใส่มาในถังรวมกับผงซักฟอก พระท่านจะไม่นำมาฉันเลยเพราะจะเป็น ใบชากลิ่นผงซักฟอก ที่มีกลิ่นเพราะใบชามีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น พระท่านทำได้แค่นำไปใส่เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เท่านั้น

ผ้าใช้สรงน้ำสวยๆ ที่เป็นพับเป็นรูปดอกบัววางบนถัง ผู้ขายจะใส่แป้งมันไว้เยอะๆให้พับง่าย และดูหนา แต่มีเนื้อผ้าจริงๆ น้อยมาก หากให้พระเอาไปนุ่งอาบน้ำก็คงจะโป๊ ผ้าเปื่อยเร็ว

ถ้านำของที่ออกมาจากถังก็จะมีไม่กี่ชนิด แต่ที่ดูเหมือนมีมากจนล้นก็เพราะ คนขายเขานำขันไปคว่ำไว้ด้านล่างก็กินเนื้อที่ไปค่อนถังแล้ว ทำให้มีของกองพูนขึ้นมาดูมีมากจนล้น

ของทั้งหมดที่อยู่ในถัง ดูเหมือนว่าเราตั้งใจถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ แต่ประโยชน์ที่พระท่าน ได้รับมีน้อยมาก ดูไม่คุ้มกับค่าเงินที่เสียไป หรือว่าชีวิตทุกวันนี้ดูจะรีบร้อนไปเสียหมด ไม่มีเวลาแม้จะหาของมาทำบุญ ต้องไปซื้อสังฆทานสำเร็จรูป

หากเราให้เวลาสักนิดในการเลือกซื้อของถวายพระ คราวหน้าเพียงตั้งใจซื้อของไม่ต้องมากชิ้น แค่กะละมังใบเดียว หรือกล่องน้ำชาที่ไม่มีกลิ่นผงซักฟอกซัก 1 กล่อง ให้พระท่านได้ใช้จริง ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ บุญที่ได้ก็จะสมบูรณ์ เพราะได้นำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ส่วนผมเคยบวชพระมา เลยรู้ว่าของอะไรที่จำเป็น ก็จะตั้งใจเดินหาของที่พระจำเป็นต้องใช้จริงๆเท่านั้น ไม่เคยซื้อถังสังฆทานแบบสำเร็จเลย!!! ถวายนมถั่วเหลือง 1แพ็ค +รองเท้าแตะ (และของใช้อื่นๆอีกอย่างสองอย่างก็พอ) ทำบุญสังฆทานแบบนี้เรื่อยมา พระท่านก็ชอบใจ และผมก็มีความสุขใจ+บุญจากความตั้งใจ ที่ได้ถวายของเพราะท่านได้ไปใช้จริง คงจะดีกว่าถังสังฆทานหลายสิบเท่าเลยล่ะครับ!!!! ลองเสียเวลาเดินดูของซักนิด ท่านทั้งหลายอาจได้ความสุขใจที่มีมากจนล้นกว่าเดิมก็เป็นได้



238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:46:58 | ดูโพสต์ทั้งหมด


ทำอย่างไรการถวายสังฆทานจึงจะมีอานิสงส์มาก?

การถวายสังฆทาน เป็นการให้ทานโดยไม่เจาะจง คือ ไม่เจาะจงภิกษุ หรือสามเณร รูปใดรูปหนึ่งว่า จะต้องเป็นผู้รับทาน

ในทางพระวินัย พระภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปจะเรียกว่า สงฆ์ แต่การถวายสังฆทานนั้น แม้นพระภิกษุรูปเดียวที่สงฆ์จัดมาให้เป็นตัวแทน หรือภิกษุเพียงรูปเดียวที่หมู่สงฆ์รับรองว่า ได้บวชถูกต้องตามพุทธบัญญัติ การถวายทานแก่สงฆ์รูปนั้น ก็นับว่าเป็นสังฆทาน เช่นเดียวกัน

การถวายสังฆทานที่จะมีผลมากและมีอานิสงส์มาก ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ภิกษุสงฆ์ผู้รับทาน (มีพรรษาแก่หรือพรรษาอ่อน) หรือวัตถุทาน (เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีจำนวนมากหรือน้อย คุณภาพดีหรือไม่ดี) ความสำคัญอยู่ที่จิต หรือภาวะจิตของผู้กำลังให้ทานในขณะนั้นว่า มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร

ถ้าเป็นไปในทางที่ถูกต้องตรงตามพระพุทธบัญญัติ ทานที่ถวายแก่สงฆ์ในครั้งนั้น ก็จะเป็นสังฆทาน แต่ถ้าในขณะที่กำลังถวายสังฆทานอยู่ ได้ตั้งจิตไว้ผิด ๆ ก็จะไม่เป็นสังฆทาน

สภาวะจิตของผู้ที่กำลังถวายทาน จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

๑. ไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายต่อภิกษุผู้กำลังรับทาน เช่น ยินดีว่าพระรูปนี้เราชอบ เรานับถือ เราเลื่อมใส หรือไม่ยินดีเพราะว่าพรรษาอ่อนพรรษาแก่ อย่างนี้ไม่ได้ จะต้องมีสภาวะจิตที่ไม่รู้สึกยินดียินร้าย

๒. ถวายสังฆทานด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ คือ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักหน้าที่ของตนเอง รู้จักกาลเทศะ รู้จักฐานะของตนเอง

๓. ผู้ถวายทานมีจิตมุ่งไปในคุณธรรมของพระอริยสงฆ์ คือ มุ่งไปในมรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑ เท่านั้น กิเลสจะล้อมหน้าล้อมหลังไม่ได้เลย



238

กระทู้

231

ตอบกลับ

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-7-9 08:47:31 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ส่วนพระอริยสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้น ๘ บุคคล คือ พระโสดาปัตติมรรค-พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิมรรค-พระสกทาคามิผล พระอนาคามิมรรค-พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค-พระอรหัตตผล

คุณธรรมของพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ท่านประกอบคุณธรรม ๙ ประการ คือ

สุปะฏิปันโน ..... เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ..... เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ..... เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน

สามีจิปะฏิปันโน ..... เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

อาหุเนยโย ..... เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย ..... เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาต้อนรับ

ทักขิเณยโย ..... เป็นผู้ที่ควรรับทักษิณาทาน

อัญชลีกะระณีโย ..... เป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ..... เป็นนาบุญอันประเสริฐของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ด้วยเหตุที่พระอริยสงฆ์มีคุณธรรม ๙ ประการ ทานที่ถวายแก่สงฆ์ที่เรียกว่า สังฆทาน จึงมีอานิสงส์มาก ถ้าผู้ใดได้ฝึกอบรมจิตของตนให้ตั้งมั่น และยึดในคุณธรรมของพระอริยสงฆ์อยู่เนือง ๆ การถวายสังฆทานที่ถูกต้องก็ทำไม่ยาก



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-21 19:57 , Processed in 0.077735 second(s), 24 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้