ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 817|ตอบกลับ: 4

ทบทวนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เรื่องจิต (ตอนที่ ๑)

[คัดลอกลิงก์]

4

กระทู้

52

ตอบกลับ

912

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
912
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-6 11:52

Sw1234.jpg

ทบทวนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เรื่องจิต (ตอนที่ ๑)


จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์  

จิตมีมากมายหลากหลายประเภทซึ่งล้วนเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เจตสิก  

การจะศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่องจิตซึ่งมีมากมายถึง ๘๙ ประเภท (ดวง)โดยย่อ หรือ ๑๒๑ ดวงโดยพิสดาร


จำเป็นต้องอาศัยผังจิตช่วย   ซึ่งด้วยความปรีชาญาณของท่านพระครูศรีโชติญาณ  อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีประวัติได้คิดรูปแบบของผังจิตที่ง่ายต่อการศึกษาและจดจำ ด้วยการใช้เวทนามาแทนจิตแต่ละดวง

เพราะจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นย่อมต้องประกอบด้วยเวทนา  
ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ และจะเกิดขึ้นประกอบกับจิตเสมอ


4

กระทู้

52

ตอบกลับ

912

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
912
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-6 11:18:34 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-6 11:21

00009.jpg
เวทนามี๕ อย่างคือ

๑.สุขเวทนา         รู้สึกสุขทางกาย     

๒.ทุกขเวทนา       รู้สึกทุกข์ทางกาย   

๓.โสมนัสเวทนา    รู้สึกสุขทางใจ   

๔.โทมนัสเวทนา    รู้สึกทุกข์ทางใจ    

๕.อุเบกขาเวทนา   รู้สึกเฉยๆทางใจ  







4

กระทู้

52

ตอบกลับ

912

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
912
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-6 11:24:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด

000010.jpg

ผังจิต ๘๙ โดยย่อ หรือ ๑๒๑ โดยพิสดาร ซึ่งใช้ประกอบการศึกษาเล่าเรียนค่ะ

4

กระทู้

52

ตอบกลับ

912

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
912
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-6 11:34:37 | ดูโพสต์ทั้งหมด
000011.jpg

4

กระทู้

52

ตอบกลับ

912

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
912
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-6 11:40:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-6 17:45

000012.jpg

* เพราะจิตมีสภาพที่เป็นไตรลักษณ์ จิตจึงมีการเกิดดับรวดเร็วมาก และเกิดสืบต่อกันไม่ขาดสาย
* การจะเข้าใจสภาวะลักษณะอันแท้จริงของจิตได้นั้น ต้องพิจารณาจากลักษณะพิเศษเฉพาะประจำตัวของจิต นั่นก็คือวิเสสลักษณะ ซึ่งมี ๔ ประการ คือ

๑. ลักษณะ ได้แก่ สภาพประจำตัวเฉพาะ  
     จิตมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ คือจิตแค่รู้อย่างเดียวเท่านั้น

๒. รสะ ได้แก่ กิจ/หน้าที่การงาน  
     จิตมีการเป็นประธานในธรรมทั้งปวง ซึ่งหมายถึงจิตเป็นประธานในสัมปยุตตธรรมคือเจตสิกที่ประกอบร่วมด้วย จิตน้อมไปสู่อารมณ์ใด เจตสิกที่ประกอบก็น้องไปสู่อารมณ์นั้นๆด้วย

๓. ปัจจุปัฏฐาน ได้แก่ผลปรากฏที่เกิดขึ้นจากหน้าที่
     จิตมีการเกิดขึ้นสืบเนื่องกันไม่ขาดสาย  เช่น จิตมีการเห็น การได้ยินเป็นอาการปรากฏ

๔. ปทัฏฐาน ได้แก่ เหตุใกล้ที่ให้ธรรมนั้นปรากฏขึ้น
    จิตมีนามรูปเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
    นามในที่นี้หมายถึงเจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น
    ส่วนรูปหมายถึงกรรมชรูปที่เป็นที่อาศัยของจิตนั้น

หมายเหตุ
    ** เหตุให้จิตเกิดมีทั้งเหตุไกลและเหตุใกล้
    - เหตุไกล หมายถึง อารมณ์และ อดีตกรรม
    - เหตุใกล้ หมายถึง เจตสิกและวัตถุที่อาศัย (กรรมชรูป)

    ** วิเสสลักษณะมี ๔ ข้อ มีลักษณะเป็นข้อแรก จึงมักเรียกว่า "ลักขณาทิจตุกะ" มาจาก ลักษณะ + อาทิ + จตุกะ   
          อาทิ แปลว่า เป็นต้น   จตุกะแปลว่า ๔
          ลักขณาทิจตุกะ จึงหมายความว่า ในลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ๔ ประการนี้มีลักษณะเป็นต้น


(โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ)



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-1 10:41 , Processed in 0.091160 second(s), 24 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้