ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 4266|ตอบกลับ: 5

พุทธวิธีเตรียมตัวตาย

[คัดลอกลิงก์]

32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405





พุทธวิธีเตรียมตัวตาย
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ

จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รับอารมณ์ มีอารมณ์อยู่เสมอ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็ด้วยเหตุต่างๆ กัน แต่สำหรับคนที่ใกล้จะตาย อารมณ์เกิดขึ้นในขณะใกล้ตายเรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์

๑.ผู้ใดทำกรรมอะไรไว้ ไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม เมื่อทำไว้มากๆ กรรมเหล่านั้นก็มักจะกระทบกับจิตทำให้เกิดอารมณ์ขึ้น คือทำให้จิตได้สร้างเป็นมโนภาพโดยอาศัยอานุภาพของกรรมในอดีตให้เป็นไปต่างๆ นานา เป็นต้นมา ฆ่าสัตว์มากๆ ก็มักจะเห็นการฆ่าสัตว์ เช่น ยิงนก ตกปลา ถ้าทำบุญให้ทานมากๆ ก็มักจะเห็นการทำบุญให้ทานนั้น หรือการรักษาศีลเจริญภาวนา อารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น กรรมอารมณ์ ( กรรมอารมณ์ คือเจตนา ๒๙ ได้แก่ อกุศล ๑๒ มหากุศล ๘ มหัคคตกุศล ๙)       

๒. บุคคลผู้ใกล้จะตายเห็นนิมิตต่างๆ อาจจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ดี เช่น เห็นอุปกรณ์การทำกุศลหรืออกุศลที่ตนได้เคยกระทำมา เห็นธงทิว เครื่องตบแต่ง หรือขบวนแห่บวชนาค ทอดกฐินซึ่งเป็นกุศล ทางฝ่ายอกุศลก็เห็นแห อวน มีด ไม้ เครื่องดักหรือจับสัตว์ เห็นเครื่องมือการพนัน อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์

๓. บุคคลที่ใกล้จะตาย เกิดนิมิตขึ้นเห็นถ้ำ เห็นเหว เห็นปล่อง เห็นการทรมานสัตว์ก็ดี หรือเห็นปราสาทราชวังที่ทำด้วยทอง หรือราชรถอันวิจิตร (เป็นอารมณ์ที่เราไม่ได้ทำไว้ แต่จะมีปรากฏจริง) เรียกว่า คตินิมิตอารมณ์ หรือจะจำแนกเป็นคติ ๕ อย่างคือ นิรยคติ เปรตคติ เดรัจฉานคติ มนุสคติ และเทวตาคติ



32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-9 13:45:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด

สัตว์ทั้งหลายขณะที่ใกล้จะจุติ คือตาย จะต้องเกิดอารมณ์ขึ้น จิตว่างไม่มีเพราะจิตจะไม่ว่างจากการรู้อารมณ์ เปรียบเหมือนนักเตะฟุตบอลแตะส่งลูกบอลไปแล้ว หรือเหมือนการขว้างก้อนหินออกไปแล้ว จะดึงกลับไม่ได้

เมื่อกรรมมาปรากฏแล้ว ก็จับกรรมแล้วเหวี่ยงไปปฏิสนธิสู่ภพใหม่ทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น ฉะนั้นตายแล้วเกิดทันทีใน ๓๑ ภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งเปรียบเสมือนเมื่อเอามือตีวัตถุใด เสียงก็ย่อมปรากฏตามมาทันทีเช่นกัน

สำหรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็น กรรมอารมณ์ หรือกรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อันใดอันหนึ่ง จะเกิดขึ้นทั้ง ๓ อารมณ์พร้อมกันไม่ได้ เพราะจิตที่เกิดขึ้น ๑ ขณะ สามารถรับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้เพียงอารมณ์เดียวเท่านั้น และสภาพของจิต ๑ ขณะก็ตกภายใต้กฎของพระไตรลักษณ์ คือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป และเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงต่อไปโดยไม่ขาดสาย

ความตายเป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญ สำหรับผู้ที่ฉลาดในเรื่องของชีวิต ควรจะต้องศึกษาให้รู้เพราะจากชาติหนึ่งไปสู่ชาติหนึ่ง จับอารมณ์ดีก็ไปดี หากจับอารมณ์ไม่ดีก็ไปไม่ดี การนึกถึงความตายและพุทธวิธีเตรียมตัวตายนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-9 13:48:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำแนกกรรมอันเป็นเหตุที่ทำให้สัตว์ไปปฏิสนธิ ๔ ประการ คือ

๑. ครุกรรม (กรรมหนัก) มีทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศล เช่น การทำฌาน การเจริญวิปัสสนา เป็นต้น ส่วนฝ่ายอกุศล เช่น ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ เป็นต้น กรรมนี้เป็นกรรมหนักมีกำลังมาก ดังนั้นเมื่อเวลาจุติคือตาย กำลังของกรรมนี้ก็จะเกิดขึ้นเป็นชนกกรรมนำไปสู่การปฏิสนธิ ไม่มีกรรมใดมาขัดขวางได้ เพราะเป็นกรรมหนักมีกำลังมากต้องให้ผลก่อน

๒. อาสันนกรรม (กรรมใกล้ตาย) บุคคลใกล้จะตายอาจได้รับอารมณ์อะไรก็ได้ ที่เกิดขึ้นติดชิดกับความตาย เช่น ขณะนั้นเห็นพระพุทธรูป ได้ยินเสียงสวดมนต์ เป็นต้น

๓. อาจิณกรรม (กรรมที่ทำอยู่เสมอ) ถ้าอาสันนกรรมไม่ได้ให้ผลแล้ว อาจิณกรรมก็จะมาให้ผลข้อนี้ก็คือ บุคคลทั้งหลายย่อมกระทำกรรมอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้กรรมที่กระทำอยู่เสมอนี้มีโอกาสมากที่สุด จะกระทบจิตทำให้เกิดอารมณ์ขึ้น แล้วแต่อารมณ์นั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล

๔. กฏัตตากรรม (กรรมเล็กน้อย) ถ้ากรรมอื่นๆ ทั้งหมด (ข้อ ๑-๓)ไม่ให้ผลแล้ว กรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็จะมาปรากฏในอารมณ์ นำไปสู่การปฏิสนธิได้ เช่น การทำทานอย่างเสียไม่ได้ ทำทานอย่างไม่ได้ตั้งใจ การพูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น

ฉะนั้น กรรมจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษา เมื่อศึกษาแล้ว ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การพูดได้ การจำได้ การท่องได้ แต่ความสำคัญอยู่ที่ การนำไปใช้ไปปฏิบัติ ต่างหาก แล้วก็จะสามารถเลือกที่จะกระทำกุศลกรรมอันประณีตยิ่งขึ้นได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งเป็นการละเว้นอกุศลกรรมโดยปริยาย

32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-9 13:48:37 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ทุกคนที่เกิดมาต้องมีความตายทุกคน ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ใครๆ ไม่ต้องการคือ เป็นศพ คนเราทุกคนต้องป่วย ต้องเจ็บ ต้องตาย เพราะเป็นกฎของกรรม

ดังนั้น ต้องปลงให้ตกว่า ตายแน่ๆ และไม่ต้องกลัวตาย ทุกคนต้องเตรียมพร้อมที่จะต้องตาย แม้แต่เด็กเกิดใหม่ก็เป็นสัญญาณว่า เธอนั่นแหละจะต้องเดินทางไปสู่ความตาย และความตายเป็นของสามัญ ความตายของทุกคนเหมือนกัน คือ หัวใจหยุดเต้น กินข้าวไม่ได้ พูดไม่ได้ และเน่าลงโลงเหมือนกันหมด

ชีวิตนั้นน่าอนาถ ให้เราคุ้นเคยกันอย่างไร ก็ต่างคนต่างไป แต่ชีวิตภายหลังความตายไม่เหมือนกัน ใครทำอย่างไรได้อย่างนั้น หากจะเปรียบทุกคนเหมือนทาร์ซาน โหนเชือกไปฝั่งโน้น ฉะนั้น บางคนก็โหนต้นไทรหล่นไป บางคนโหนเชือกใหญ่เกินไปที่ไม่เหวี่ยงไปฝั่งโน้น

นี่แหละ ลองถามตัวเองดูบ้างหรือไม่ว่า เรามีเชือกชีวิตแล้วหรือยัง? เชือกชีวิตที่เป็นเส้นเดียวพร้อมด้วยเกลียว ๘ นี้ ที่เหวี่ยงจากภพนี้ไปสู่ภพนิรันดร ไม่ต้องเกิดอีก ทุกวันนี้เราเตรียมตัวหรือยังว่าเราจะเหวี่ยงตัวเองไปด้วยบุญหรือบาป

ฉะนั้น เราต้องไม่กลัวตาย เพราะถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นความตายแน่ จึงควรสำรวมใจให้แน่วแน่และนึกถึงความดีที่เราเคยสร้างเสริมอบรมไว้ เช่น เราบาดเจ็บสาหัส หมอบอกไม่แน่ ก็ให้เตรียมตัวตายเถอะ และพยายามสำรวมใจไม่ให้ฟุ้งซ่านว่า ตายแล้วจะไปในถนนสายไหน(ถนนชีวิต ๖ สาย) ไม่ต้องไปนึกถึงถนน ๖ สายนั้นเลย เพราะนั่นคือทฤษฏี

แต่ให้ระลึกนึกถึงความดีเสมอๆ และถ้าตัวเองหรือใครก็แล้วแต่เคยมีนิมิต สมาธิ ก็ให้จับสมาธิให้แนบแน่นไป โดยไม่ปล่อยให้จิตวอกแวกกับอารมณ์อื่น ให้ทำสมาธิไป กุศลนำไปสู่สุคติแน่นอน โดยไม่ปล่อยให้ใจฟุ้งซ่าน

แต่ใครก็แล้วแต่เคยชินกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็ให้รีบกำหนดรูป-นามเป็นอารมณ์โดยไม่ยอมรับรู้อารมณ์อื่นเลย เรามีหน้าที่เท่านั้นเอง ทำให้ดีที่สุด

32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-9 13:49:03 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ในช่วงคนใกล้ตายจิตจะมีสภาพเบามาก ประสารทรับรู้เบา เปรียบเสมือนถ่าน(วิทยุ)จะหมด ฉะนั้นถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่กับอารมณ์กุศลได้ แม้จะเบาก็ตาม ไม่ช้านิมิตที่เป็นมงคล เช่น เห็นทิพย์วิมานลอยมาบ้าง เห็นอุปกรณ์ทำความดีบ้าง ก็จะเป็นนิมิตที่แนบแน่นไป ถ้าเผื่อตายลงไปในขณะที่นิมิตนั้นปรากฏขึ้น สุคติภูมิก็เป็นที่หวังได้

และถ้าเผื่อมีญาติคนใดคนหนึ่งใกล้จะสิ้นใจ วิธีแบบโบราณเท่าที่เคยปฏิบัติกันมานั้น ก็มักจะนิยมจัดสถานที่สำหรับผู้ป่วยหนักไว้ต่างหาก จัดสถานที่ที่มีความสงบให้ห่างไกลจากลูกหลาน ไม่ใช่มีคนป่วยอยู่แล้วให้หลานเหลนวิ่งกันคึกคัก คนป่วยก็จับอารมณ์ไม่ถูก ต้องให้นิ่ง ต้องหาที่เป็นสัปปายะ ห่างไกลจากลูกหลานและหมู่ญาติ

เช่น ถ้าแม่ใกล้จะตาย หมอบอกว่าเหลืออีกนิดเดียว ให้หยุด ห้ามแตะเนื้อต้องตัวทั้งสิ้น ห้ามเขย่า เพราะอะไร? ถ้าไปเขย่าแล้ว จิตช่วงนั้นเบาจะทำให้หัวใจเหนื่อย และให้หาโต๊ะหมู่บูชา โดยตามประเพณีให้หาดอกไม้ธูป-เทียนที่มีกลิ่นหอม เพราะทวารจะแตกนั้น จมูกจะได้กลิ่นมากกว่า ให้กลิ่นหอมของธูปเป็นสัญลักษณ์แห่งบุญกุศล ซึ่งเป็นการเตือนให้ผู้ป่วยเกิดกุศลจิตอยู่เป็นนิจ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีปัจจัยในเรื่องเหล่านี้คือ มีทุนและมีอุปนิสัย เพราะถ้าไม่มีปัจจัยเลยก็เกิดประโยชน์น้อย เช่น นิมนต์พระมาเทศน์ตอนใกล้ตาย แต่ไม่มีอุปนิสัยเห็นสมณะเป็นมงคล เผอิญไปนิมนต์พระที่ไม่ถูกโฉลกกับเรามา ไม่มองผ้าเหลือง ไปมองหน้าพระ ก็รู้สึกหงุดหงิด การเห็นสมณะเป็นมงคลก็คือ เห็นผ้าไตรสิกขา ฉะนั้น ถ้าเราไม่ฝึกมองดี ก็จะได้ความรู้สึกที่ไม่ดี

ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่จึงไม่ควรทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามไว้ว่าไม่ดี อย่าทำนะ และกว่าพระองค์จะค้นพบอกุศลกรรมบถ ๑๐ ว่าให้ผลอย่างไร กว่าจะรู้เหตุว่าการทำทานให้ผลถึง ๑๑ ประการ พระองค์ต้องลงทุนใช้ชีวิตถึง ๔ อสงไขยกำไรแสนมหากัปเพื่อเราทุกคน

พระองค์ท่านจึงได้เตือนสาธุชนทั้งหลายผู้ที่พร้อมจะตายและผู้ที่มีชีวิตอยู่ว่า ความตายเป็นของธรรมดา เปรียบว่า เมื่อยังไม่ตกน้ำ ก็ควรหัดว่ายน้ำเสียก่อน

32

กระทู้

138

ตอบกลับ

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-9 13:49:28 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ฉะนั้นก่อนนอนทุกวันต้องแผ่เมตตา นึกถึงความดี เพราะตอนหลับเหมือนตกน้ำไปแล้ว คือตกภวังค์ไปแล้ว และถ้าเราไม่นึกถึงความดีก็ตกจมไปเลย เราจึงต้องสร้างอุปนิสัยดังที่โบราณท่านสอนให้กราบพระ ๕ ครั้ง คือ

กราบครั้งที่ ๑ พุทธัง วันทามิ ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้า

กราบครั้งที่ ๒        ธัมมัง วันทามิ ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมเจ้า

กราบครั้งที่ ๓        สังฆัง วันทามิ ข้าพเจ้าไหว้พระสังฆเจ้า

กราบครั้งที่ ๔        มาตาปิตุรัง วันทามิ ข้าพเจ้าไหว้มารดาบิดา

กราบครั้งที่ ๕        อุปการะคุณะวันทัง วันทามิ ข้าพเจ้าไหว้ผู้มีอุปการคุณ ทุกคนมีพระคุณต่อเราทั้งสิ้น

ฉะนั้น ก่อนนอนกราบ ๕ ครั้งทุกวันเป็นนิจ ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆ เป็นนิจ สรุปก็คือ ปลงให้ตกต้องตายแน่นอน ไม่กลัวตาย และสำรวมอยู่ในกุศล แล้วเราก็จะมีโอกาสมีสุคติภูมิเป็นที่ตั้ง และหมั่นปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพราะเป็นทางสายเดียวที่จะทำให้หมดจากการเวียนว่ายตายเกิด



ขออนุโมทนากับน้องนวลผู้พิมพ์

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-1 09:31 , Processed in 0.084823 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้