มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


เจตสิกปรมัตถ์โดยสังเขป (ตอน ๕)





เจตสิกปรมัตถ์โดยสังเขป (ตอนที่ ๕)



เจตสิก ตอนที่ ๔...อ่านที่นี่
 

จบพอสังเขปสำหรับอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘ ดวงไปแล้ว ต่อไปจะเป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวง

อกุศลจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบกับ ๒ กลุ่ม คือ

๑) อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวงและ
๒) อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง

รวม ๒๗ ดวง


....ต่อไป มาดูหน้าตาของอกุศลเจตสิก ๑๔

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 10:28:40 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ]


  สลักธรรม 1




โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 10:41:04 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 2



โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 10:42:49 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 3


อกุศลเจตสิก ประกอบได้เฉพาะกับอกุศลจิต ๑๒ เท่านั้น
อกุศลเจตสิก จำแนกออกเป็น๕ กลุ่มคือ

๑. โมจตุกเจตสิก ๔ ประกอบด้วย
...โมหเจตสิก
...อหิริกเจตสิก
...อโนตตัปปเจตสิก
...อุทธัจจเจตสิก

๒. โลติกเจตสิก ๓ ประกอบด้วย
...โลภเจตสิก
...ทิฏฐิเจตสิก
...มานเจตสิก

๓. โทจตุกเจตสิก ๔ ประกอบด้วย
...โทสเจตสิก
...อิสสาเจตสิก
...มัจฉริยเจตสิก
...กุกกุจจเจตสิก

๔. ถีทุกเจตสิก ๒ ประกอบด้วย
...ถีนเจตสิก
...มิทธเจตสิก

๕. วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 10:55:22 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 4


โมจตุกเจตสิก ๔
ได้แก่ โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก อุทธัจจเจตสิก โดยมีโมหเจตสิกเป็นประธาน

* โมจตุกเจตสิก
เป็นเจตสิกที่สาธารณแก่อกุศลจิตทั้งหมด และเข้าประกอบพร้อมกันหมดทั้ง ๔ ดวง

- โมหเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ซ่อนเร้นปิดบังสภาพความจริงของอารมณ์ต่างๆ
(: ดุจสุนัขที่แทะกระดูกและหลงน้ำลายตัวเอง)

- อหิริกเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ไม่มีความละอายต่อบาปทุจริตต่างๆ
(: ดุจสุกรที่ไม่รังเกียจคูถ)

- อโนตตัปปเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ไม่กลัวต่อทุจริต มีความ
(: ดุจตั๊กแตนไม่สะดุ้งกลัวไฟ)

- อุทธัจจเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่น คือจับอารมณ์ไม่มั่น ปรุงแต่งจิตให้รับอารมณ์อื่นอยู่เสมอ
(: ดุจธงที่พัดพลิ้วเพราะถูกลมพัด)

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:05:14 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 5


โมจตุกเจตสิก ๔ เข้าประกอบกับอกุศลจิตทุกดวง ในเวลาที่บุคคลประพฤติทุจริตทั้งหลาย มีปาณาติปาตเป็นต้นนั้น เพราะเหตุว่า...

... โมหเจตสิก ความโง่ ความหลงปิดบังให้ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

... ทำให้ความไม่ละอายต่อบาป (อหิริกเจตสิก) และความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป (อโนตตัปปเจตสิก) เกิดขึ้น

...พร้อมกับมีอุทธัจจเจตสิก ความฟุ้งซ่าน จับอารมณ์ไม่มั่นคง ความไม่สงบแห่งจิตเกิดขึ้น จึงกล้าทำอกุศล

อกุศลเจตสิก ๔ ดวงนี้จึงสาธารณแก่อกุศลจิตทุกดวง และรียกชื่ออีกอย่างว่า อกุศลสาธารณเจตสิก หรือ สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (ซึ่งมาจาก สัพพ+อกุศล+สาธารณ+ เจตสิก)

สรุป
- โมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ ประกอบได้กับอกุศลจิตทั้ง ๑๒
- โมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ ดวงจะประกอบกับอกุศลจิตพร้อมกันเสมอ และต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ ไม่ก้าวก่ายกัน

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:12:46 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 6


*โลติกเจตสิก ๓ ได้แก่ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิก โดยมีโลภเจตสิกเป็นประธาน

โลติกเจตสิก ประกอบได้กับโลภมูลจิต ๘ ดวง ตามสมควร

- โลภเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่มียินดีติดใจในอารมณ์
(: ดุจลิงติดตัง)

โลภะ เปรียบเสมือนชะลอมที่ตักน้ำไม่รู้จักเต็ม ดูได้จากวิวัฒนาการต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่รู้จักพอทั้งสิ้น เช่นละครทีวี เรื่องใดก็ตามที่มีผู้ชมมาก ก็จะมีการสร้างภาค ๒ ภาค ๓ฯ ตามมา หรือ มี i phone i pad รุ่น ๑ออกมา ก็จะตามมาด้วยรุ่น ๒, ๓ ,๔...อย่างไม่รู้จักพอ

เราอาจจะไม่เคยคิด ..การซื้อของต่างๆก็คือการแลกเปลี่ยนโลภะซึ่งกันและกัน ...เราอยากได้ของที่ดี ราคาถูก ...คนขายก็อยากได้เงินมากๆ

โลภะ ความยินดีอยากได้จึงเปรียบเสมือนชะลอมที่ตักไม่รู้จักเต็ม

นอกจากความทะยานอยากได้ในอารมณ์ต่างๆแล้ว เรายังมีความยินดีในความเห็นผิดอีก ทิฏฐิจึงเกิดพร้อมกับโลภะ

โลภเจตสิก ประกอบได้กับโลภมูลจิตทั้ง ๘ ดวง

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:27:25 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 7


- ทิฏฐิเจตสิก

ทิฏฐิเจตสิกเป็นธรรมชาติที่มีความเห็นผิดในอารมณ์ เป็นความเห็นผิดที่คลาดเคลื่อนจากสภาวธรรมตามความเป็นจริง จึงมีความยึดมั่นโดยหาปัญญามิได้

ความเห็นผิดที่เป็นสามัญทั่วไปของสัตวโลกทั้งหลายก็คือสักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดในรูป ในนามที่มาประชุมกัน ว่าเป็นตัวตนคนสัตว์เป็นหญิงเป็นชาย เป็นต้น

นอกจากนั้นก็ยังมีความเห็นผิดอื่นๆอีก ที่มีความเห็นผิดในเรื่องของบาปบุญคุณโทษ มีความเห็นผิดว่าบาปไม่มี บุญไม่มี ชาตินี้ชาติเดียวตายแล้วก็จบสิ้นกัน เป็นต้น

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:31:50 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 8


- มานเจตสิก

มานเจตสิกเป็นธรรมชาติที่มีอวดดื้อถือ มีการทะนงตน ยกย่องตน เพราะเรามีความยินดีในวงศ์ตระกูล ฐานะ การศึกษา รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ตำแหน่งหน้าที่การงานของเรา

ดังนั้นขณะที่เรามีมานะทะนงในความรู้ของเรา ขณะนั้นโลภมูลจิตก็เกิดขึ้นแล้ว มานะจึงเกิดขึ้นประกอบกับโลภะเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จิตเป็นธรรมที่รู้อารมณ์เท่านั้น แต่ตัวที่มีบทบาทมากคือเจตสิกที่ประกอบ เมื่อเราศึกษาเข้าใจแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจสภาพจิตที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปอย่างไร ด้วยอำนาจของกิเลสร้ายอะไรที่เข้าปรุงแต่ง

กิเลส ก็คือธรรมชาติที่ทำให้จิตเร่าร้อน เศร้าหมอง ทั้งโลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิก ก็จัดเป็นกิเลส

สิ่งสำคัญ ความทะยานอยากได้ในอารมณ์ต่างๆ ทำให้เราดิ้นรนต่อสู้ แสวงหาเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ จนบางครั้งถึงขั้นกระทำทุจริตขึ้น เกิดการลักทรัพย์ พูดปด เป็นต้น

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:37:54 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 9


*โทจตุกเจตสิก ๔ ได้แก่ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก โดยมีโทสเจตสิกเป็นประธาน

โทจตุกเจตสิก ประกอบได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวงตามสมควร

- โทสเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ประทุษร้ายอารมณ์ มีความดุร้ายหยาบกระด้าง
(: ดุจอสรพิษที่ถูกตี)

- อิสสาเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ไม่พอใจในสมบัติ หรือคุณความดีของผู้อื่น

- มัจฉริยเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่มีความหวงแหนในสมบัติ หรือคุณงามความดีของตน

- กุกกุจจเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่มีความรำคาญใจในทุจริตที่ได้ทำไปแล้ว และในสุจริตที่ยังไม่ได้ทำ

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:43:10 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )


  สลักธรรม 10



ถีทุกเจตสิก ๒ ได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก โดยมีถีนเจตสิกเป็นประธาน และเจตสิกทั้ง๒ ดวง เกิดพร้อมกันเสมอ

ถีทุกเจตสิก ประกอบกับอกุศลสสังขาริกจิต ๕ ดวง (ขณะที่จิตมีกำลังอ่อน)

- ถีนเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ทำให้จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน หรือหมดความเพียร เฉื่อยชา อยากจะนอน

- มิทธเจตสิก
หมายถึง ธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกเซื่องซึมท้อถอยจากอารมณ์ ด้วยอำนาจความไม่มีความสามารถ ไม่อาจสำเร็จการงานได้ เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน

ความง่วงเกิดขึ้นทำให้การงานอันเป็นกุศลลดกำลังลง จึงจัดว่าเป็นบาป

โดย ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์ [30 ต.ค. 2557 , 11:50:31 น.] ( IP = 27.145.82.120 : : )
[ 1 ] [ 2 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org