มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


พระอภิธรรมสังเขป (๑๑)







พระอภิธรรมสังเขป และธรรมบางประการที่น่าสนใจ
โดย พระนิติเกษตรสุนทร


ตอนที่ (๑๐) อ่านที่นี่

จิตเกิดและดับ


จิตนั้นมีลักษณะรู้อารมณ์ที่มากระทบ อารมณ์ใดเกิดขึ้น การรู้อารมณ์นั้นเรียกว่า จิต

เช่น รูปกระทบจักขุปสาท เกิดการเห็น การเห็นนั้นคือจิต แล้วจิตหรือการเห็นนั้นก็ดับไป เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตก็มิได้มีสภาพตั้งทรงอยู่ หากแต่มีการเกิดดับตามนามรูปอยู่ทุกขณะ

และก็มิใช่เป็นจิตดวงเดียวกัน กล่าวคือเมื่ออารมณ์มากระทบ จิตดวงแรกก็เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นแล้วก็ดับไป และในการดับไปนี้ยังมีอำนาจที่ช่วยอุดหนุนเป็นปัจจัยให้แก่ธรรมที่เป็นพวกเดียวกันอันได้แก่จิตดวงที่ ๒ ให้เกิดขึ้นรับช่วงสืบต่อไปแล้วก็ดับลง แล้วจิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้นรับช่วงต่อไป และก็ดับลงเช่นเดียวกัน จิตดวงที่ ๔ ก็เกิดขึ้นสืบต่อไป เป็นอยู่อย่างนี้ไปหมดวิถีของจิต

เหมือนอย่างน้ำที่อยู่ในสระ เมื่อเอาก้อนหินโยนลงไปกลางสระ คลื่นลูกแรกเกิดขึ้นแล้วก็เลือนจะหายไป คลื่นลูกที่ ๒ ก็เกิดสืบต่อ และเมื่อเลือนจะหายไป คลื่นลูกที่ ๓ ก็เกิดขึ้นสืบต่อไปอีก เป็นดังนี้จนกว่าจะเลือนหายไปหมด

การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็วยากที่จะหาอะไรมาเปรียบเทียบได้ แม้กระแสไฟฟ้าที่เกิดดับอยู่ในหลอดไฟอันมีความเร็วอย่างที่ไม่อาจมองเห็นความเกิดดับด้วยสายตาได้นั้น ก็ยังมีความเร็วห่างไกลจากความเกิดดับของจิตอยู่มาก ขณะที่อารมณ์มากระทบอันเป็นปัจจุบันนั้น จิตมีการเกิดดับ ๑๗ ครั้ง

จึงเป็นเหตุให้บุคคลไม่น้อยเข้าใจผิดว่าจิตมีอยู่เพียงดวงเดียว ปรากฏอยู่ทรงอยู่ไม่สูญสลาย ทั้งนี้เพราะสันตติ คือความเกิดดับของจิตเกิดดับสืบเนื่องติดต่อกันเร็วมาก

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:51:17 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ


  สลักธรรม 1


พระคัมภีร์มหาปัฏฐานกล่าวว่า จิตดวงแรกเกิดขึ้นและดับไปนั้น เป็นอนันตรปัจจัย (เหตุ) แก่จิตดวงที่ ๒ ให้เกิดขึ้น และ จิตดวงที่ ๒ ที่เป็นอนันตรปัจจยุบบัน (ผล) นั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นอนันตรปัจจัย (เหตุ) ให้เกิดจิตดวงที่ ๓ ต่อไปอีก สืบต่อกันไปเช่นนี้ โดยไม่มีเวลาหยุดหรือเว้นว่างเลย

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า วิญฺญาณํอนิจฺจํ วิญญาณคือจิตไม่เที่ยงเกิดดับอยู่เสมอ

จิตเป็นนามธรรม มีการเกิดดับเป็นสันตติอยู่เมื่อยังเป็นสังขตธรรม ไม่ใช่ Soul หรือดวงวิญญาณอย่างที่บุคคลโดยมากเข้าใจว่า เป็นอัตตาตัวตนทรงสภาพอยู่ชั่วนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากมีการเกิดดับเป็นสันตติแล้ว จิตแต่ละดวงยังมีสภาวะรู้อารมณ์แต่ขณะละอารมณ์เดียว จะรู้มากกว่าอารมณ์หนึ่งในขณะจิตหนึ่งหาไม่ได้

เช่น การนึกถึงเด็กที่โรงเรียน อารมณ์เด็กกระทบจิตก็รู้เฉพาะเด็กอย่างเดียวแล้วดับไป แล้วอารมณ์โรงเรียนมากระทบจิตจึงรู้เฉพาะโรงเรียนเป็นต้น การที่เข้าใจว่าจิตนึกถึงเด็กและนึกถึงโรงเรียนด้วยในคราวเดียวพร้อมกัน และเป็นจิตดวงเดียวกันนั้นหาใช่ความจริงไม่

ขอให้พิจารณาดูง่ายๆ จะเห็นว่า สัญญาความจำเด็กคนนั้น อย่างหนึ่งและสัญญาความจำโรงเรียนนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ลักษณะของอารมณ์ต่างกันอยู่ จะซ้อนเป็นสองอยู่ในขณะจิตเดียวกันไม่ได้ เหตุที่ทำให้เข้าใจว่า จิตดวงเดียวนึกคิดในอารมณ์ทั้งสองได้ในคราวเดียวกันนั้น เป็นเพราะจิตมีสันตติเกิดดับสืบต่อกันเร็วมาก จึงทำให้เห็นไปว่าเป็นจิตดวงเดียว ซึ่งมีความจริงนั้นในอารมณ์ที่นึกถึงโรงเรียนและเด็กดังกล่าวแล้ว ตามสภาวะมีจิตดวงอื่นๆ เกิดดับคั่นอยู่อีกมาก.

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:52:10 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )


  สลักธรรม 2


ภวังคจิต


ภวังคจิตนี้ บางท่านว่าเป็นจิตเคลิ้มๆ ครึ่งหลับครึ่งตื่น บางท่านก็ว่าเป็นจิตขณะทำสมาธิ เรียกว่าเข้าภวังค์

“ภวังคจิต” ตามศัพท์หมายความว่า เป็นจิตที่รักษาไว้ซึ่งองค์ของภพ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ จิต (วิปากจิต) ที่รักษาปัจจุบันขันธ์ให้คงอยู่ เช่น ขณะที่นอนหลับไม่ได้ฝัน จิตมิได้เกิดขึ้นรับอารมณ์อย่างใด (ในปัจจุบัน) แต่คงสงบอยู่รักษารูปนามไว้มิให้แตกทำลายไป เรียกว่าจิตอยู่ในภวังค์

เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งต้นชีวิตแก่สัตว์ใดแล้วปฏิสนธิจิตนั้นก็ดับลงตามสภาวะ ภวังคจิตก็เกิดขึ้นในทันใดรับช่วงต่อการปฏิสนธิจิตรักษาภพชาติที่เกิดขึ้นนั้นไว้สืบต่อไปตลอดชาติหนึ่ง จนกว่าสัตว์นั้นถึงแก่ความตายคือจุติ จึงเรียกว่าภวังคจิตรักษาไว้ซึ่งองค์ของภพ

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:52:31 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )


  สลักธรรม 3


ภวังคจิตเป็นจิตไม่รู้สำนึกสงบนอนเนื่องอยู่ภายในไม่อาจคิดนึกตามปกติให้ปรากฏขึ้นได้ถูกต้องในปัจจุบันชาติ เหมือนกับจิตรู้สำนึกที่สามารถรับอารมณ์คิดนึกได้จิตไม่รู้สำนึกนั้นเป็นจิตที่เคยรับอารมณ์แล้ว แต่เป็นกาลนานมา เหตุการณ์นั้นคงประทับอยู่กับจิตเช่นเดิม แต่สะสมสลับซับซ้อนฝังลึกอยู่ภายใน

นักจิตวิทยาบางท่านสามารถทำให้ผู้ที่ถูกสะกดจิตย้อนระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล่วงแล้ว และให้กระทำกิจการบางอย่างได้ถูกต้อง เหมือนที่ผู้นั้นเคยกระทำมาแต่อดีต เช่นให้ผู้ใหญ่ที่ถูกสะกดจิต เซ็นชื่อได้เหมือนกับลายเซ็นของผู้นั้นเมื่อขณะเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ หรือให้ผู้ถูกสะกดจิตนั้น ระลึกถอยหลังบอกถึงเหตุการณ์ที่ได้กระทำล่วงมาแล้วนานช้าได้ โดยเหตุที่ได้อาศัยวิทยาการบางประการเข้าประกอบ

นักจิตวิทยาสามารถแสดงได้ว่า มนุษย์ไม่ใช่มีแต่จิตรู้สำนึกในปัจจุบันชาตินี้แต่อย่างเดียว หากยังมีจิตไม่รู้สำนึกร่วมอยู่ด้วย และเพราะด้วยจิตไม่รู้สำนึกนี้ประการหนึ่ง จึงทำให้ความเชื่อเรื่อง “ตายแล้วเกิดใหม่” เป็นที่ยอมรับกันส่วนมากในเวลานี้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าจิตไม่รู้สำนึก หาเพียงแต่เก็บความทรงจำเหตุการณ์ที่ได้กระทำในปัจจุบันชาตินี้อย่างเดียวไม่ แต่ยังเก็บเหตุการณ์ในอดีตล่วงแล้วในชาติก่อนๆ ไว้ด้วย

ผู้ระลึกชาติได้ในปัจจุบันนี้มีหลายรายที่เล่าเหตุการณ์ในชาติก่อนได้ถูกต้อง ก็เพราะเหตุการณ์นั้นๆ ได้เก็บฝังอยู่ภายในจิตไม่รู้สำนึกของเขา เหตุการณ์ที่ประทับเก็บอยู่ในจิตไม่รู้สำนึกตามที่กล่าวมานี้ ตรงตามหลักของกรรมตามพระพุทธศาสนาที่ว่า กรรมอันได้กระทำลงแล้วย่อมจะประทับไว้ในจิตเป็นสัญญาไม่สูญหายไป

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:53:00 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )


  สลักธรรม 4


ภวังคจิตเป็นจิตที่ไม่ขึ้นสู่วิถี คือ ไม่รู้ ไม่รับ ไม่คิดอารมณ์ต่างๆ ทางทวารทั้ง ๖ เป็นจิตที่สงบนิ่งอยู่ มีชื่อเรียกต่างกันรวม ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันติรณวิบาก ๒ มหาวิบาก ๘ รูปาวจรวิบาก ๕ และอรูปาวจรวิบาก ๔

ในขณะที่นอนหลับอยู่มิได้มีการฝันนั้น เรียกว่าจิตตกอยู่ในภวังค์ คือ ไม่รู้ไม่คิดอะไรทั้งนั้น แม้จะไม่มีการรับอารมณ์ใดๆ แต่จิตนั้นคงมีอยู่ คราวใดที่มีการเห็น การได้ยิน การคิดนึก การฝัน ฯลฯ เป็นต้น คราวนั้นเรียกว่ากระแสภวังค์ถูกตัด (ภวังค์คุปัจเฉทะ) จิตขึ้นรับอารมณ์ และเมื่อรับอารมณ์แล้ว จิตก็กลับตกลงสู่ภวังค์อีกต่อไป จิตขึ้นรับอารมณ์และตกภวังค์นี้ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่

กล่าวคือ เมื่อปสาทรูป เช่นตากระทบกับรูปารมณ์ จิตย่อมรู้ก่อนและรับเอาอารมณ์นั้นมาและจำพร้อมกับคิดในอารมณ์นั้น ต่อนั้นรูป (ร่างกาย) จึงได้รับคำสั่งจากจิตให้ทำกิจการตามความเหมาะสมแก่อารมณ์นั้นทันที แล้วจิตนั้นก็ตกภวังค์ ภวังคจิตนี้เปรียบได้กับกระแสไฟฟ้าที่กำลังไหลอยู่ในสายไฟ เมื่อปิดสวิตไฟแสงสว่างก็ปรากฏขึ้นในหลอด แสงสว่างเทียบได้กับจิตที่ออกจากภวังค์ขึ้นรับอารมณ์ รู้ เห็น คิด นึก ต่างๆ เมื่อหยุด คิด รู้ เห็น ต่างๆ แล้ว จิตก็กลับลงสู่ภวังค์อีก ดุจเมื่อปิดสวิตไฟแสงสว่างก็ดับ แต่กระแสไฟฟ้าก็คงไหลอยู่ตามสาย เช่นเดียวกับภวังคจิตที่ยังคงมีการรักษาภพชาติอยู่ภายใน

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:53:22 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )


  สลักธรรม 5


ภวังคจิตเป็นจิตรักษาภพชาติอยู่ สะสมด้วยวิบากของกรรมในอดีต ทั้งยังเป็นปัจจัยให้จิตในปัจจุบันดำเนินสมคล้อยไปตามวิบากของกรรมในอดีต

ด้วยเหตุหลังนี้ประการหนึ่ง พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มีสติสัมปชัญญะพิจารณารู้ทันต่ออารมณ์ที่มากระทบ เพื่อโมหะความหลงจะได้ไม่เกาะกุมนำไปก่อภพชาติ และจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญารู้เท่าทันต่อสภาวะความจริง

ภวังคจิต คือจิตไม่รู้สำนึกหรือวิบากจิตนั้น อาจปรากฏขึ้นได้ทางกระแสจิต ธรรมดาจิตย่อมมีสภาพรู้และพยายามรู้สึกเข้าไปเท่าที่สามารถรู้ไปถึงได้ แต่เหตุที่จิตรู้ถอยหลังเข้าไปไม่ถึงได้ ก็เพราะโมหะปิดบังครอบคลุมอยู่

การทำสมาธิเป็นการขจัดโมหะให้เบาบางลง และมีจิตแหลมคมที่จะแทงตลอดรู้เข้าไป การรู้ถึงเหตุการณ์ในอดีตได้อาศัยกำลังของจิตเป็นสำคัญ ผู้ที่ได้สมาธิทางจิตจนได้อภิญญา (จัดพิเศษโดยสมาธิแสดงอทธิฤทธิ์ได้ ย่อมสามารถระลึกถอยหลังไปได้โดยปราศจากสงสัย.

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:53:41 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )


  สลักธรรม 6


ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ


๑. อนิจจสัญญา= สัญญาที่เกิดในญาณทำให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง

๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา = สัญญาที่เกิดในญาณทำให้เห็นว่าเป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์

๓. ทุกเข อนัตตสัญญา = สัญญาที่เกิดในญาณทำให้เห็นว่าความทุกข์ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับได้

๔. ปหานสัญญา = สัญญาที่เกิดในญาณทำให้เห็นว่าควรสละเสีย

๕. วิราคสัญญา = สัญญาที่เกิดในญาณทำให้เห็นว่าควรคลายกำหนัดเสีย



ขอนุโมทนากับคุณนวลพรรณ รามวณิช ผู้บันทึกข้อมูล

โดย ศาลาธรรม [15 ก.ย. 2558 , 09:53:59 น.] ( IP = 182.53.129.31 : : )

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org