มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ 3





สวัสดีค่ะท่านที่นับถือ
อยากเรียนถามว่าท่านได้อ่านมาแล้วสองตอนนั้น
เป็นอย่างไรบ้างคะ..เรื่องการกำหนด

เมื่อลองเทียบกับที่ผ่านๆมาที่เคยกระทำอยู่
สังเกตุอารมณ์แบบนี้หรือเปล่าค่ะ

ถ้าใช่ก็อย่าทอดทิ้งธุระที่ควรเจริญนี้นะคะ
ต้องตรวจดูศรัทธาตนเองบ่อยๆนะคะ
ว่ายังอยู่ในเป้าหมายเดิมหรือเปล่า
คือต้องการไปให้พ้นจากทุกข์

มิเช่นนั้นสภาพจิตอาจตกไปเราจะไม่ทราบนะคะ




วันนี้มาทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนากันต่อไปนะคะว่า…เวลากำหนดอยู่นั้น หลับตา หรือ ลืมตา

จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้แล้วแต่ถนัด
เพราะบางคนไม่ชอบหลับตา
พอหลับตาแล้วง่วง
หลับตาแล้วก็ฟุ้งไป จิตใจก็ฟุ้งไป

บางคนก็ลืมตาไม่ได้ ลืมตาแล้วไม่ถนัด
ลืมตาแล้วเห็นโน่นเห็นนี่
มันไม่ได้อยู่ที่รูปนั่ง
หรือกำหนดไม่ทันเลยสักทวาร

อันนี้ก็แล้วแต่อัธยาศัย
และก็แล้วแต่ความสังเกตของเรา
คนอื่นก็รู้ไม่ได้ว่าอัธยาศัยของท่านว่า
ชอบหลับหรือลืมตา
เวลาหลับเป็นอย่างไร เวลาลืมตาเป็นอย่างไร

อันนี้อยู่ในความสังเกตของเรา
ใช้ได้ทั้งนั้น จะหลับหรือลืมก็ได้


อีกอย่างที่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนให้ดีก็คือ

ดูนั่ง นอน ยืน เดิน ทำไม?
ที่ต้องดูก็เพราะทุกคนต้องมีอิริยาบถอย่างนั้น

แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็มี ทุกคนก็มี
เข้ากรรมฐานหรือไม่เข้ากรรมฐานก็มี

ทำไมจึงต้องให้ดูนั่ง นอน ยืน เดิน
ดูไปแล้วไม่เห็นน่าจะมีกิเลสอะไร

นั่งมันมีโกรธหรือเปล่า? ก็เปล่า!

มีโลภไหม? ก็ไม่มี!

ร่างกายนี้ไม่มีโลภ โกรธ หลง
กิเลสอยู่กับใจอยู่กับนาม
เมื่อไม่มีแล้วจะไปดูมันทำไม ? ต้องเข้าใจนะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 09:37:57 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]


  สลักธรรม 1

การทำวิปัสสนาก็มีความมุ่งหมายเพื่อจะละกิเลส

กิเลสที่อาศัยการนั่ง การนอน การยืน การเดินนั่นเอง
เวลานั่งตามธรรมดา..เรานั่งนี้
ก็ต้องมีความรู้สึกว่า เรานั่ง
เรานอน เรายืน เราเดิน

ความจริงตัวนั่งน่ะมันไม่มีนะคะ
แต่ว่าใจอาศัย รูปนั่ง ทำให้เกิดเข้าใจผิดว่า
"เรานั่ง"
อาศัยรูปนั่งทำให้เกิดเข้าใจผิดคิดว่า เรานั่ง

เราก็เข้าใจผิดอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เกิดมา
จนอายุเท่าไรก็ตาม ก็รู้ว่าเรานั่ง เรานอน
เรายืน เราเดิน อยู่อย่างนี้เรื่อยไปใช่ไหมคะ

แต่ในหลักของวิปัสสนานั้น
ให้เข้าไปรู้ความจริงว่า

นั่ง นี่เป็น รูป และ นาม
ให้รู้ว่านั่ง ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีผู้หญิง ผู้ชาย
มีแต่สภาวะของรูปเท่านั้น

เราไม่เคยเข้าใจอย่างนี้เลย
จึงให้เข้าไปดูไปกำหนด

เข้าไปดูตรงที่เราเข้าใจผิดนั่นเอง

ที่จริงเราเข้าใจผิดอยู่มากมายเหลือเกิน
แต่ให้เข้าไปดูอันนี้ก่อน

เรียกว่า "เจริญปัญญา"

ปัญญานี้รู้อะไร รู้เหตุ รู้ผล

เรียกว่า ปัญญา ถ้ารู้ไม่ตรงกับเหตุผลแล้ว
ไม่เรียกว่าปัญญา เรียกว่า "มิจฉาทิฏฐิ"ิ
แปลว่าเห็นผิด

ท่านทราบไหมคะว่าเห็นผิดจากใคร ?

ก็เห็นผิดจากพระพุทธเจ้าที่ท่านทรงเห็นแจ้งรู้จริงไงคะ หรือจะใช่หลักที่ว่า เห็นผิดจากเหตุผลนั่นเอง

เราไปเห็นผิดจากที่สภาวะที่เขาเป็นอยู่
ถ้าเห็นถูก สัมมาทิฏฐิก็เป็นปัญญา

เวลานั่งรู้สึกว่า เรานั่ง อย่างนั้นไม่จริง
ที่จริงไม่มี เรา มีแต่รูปกับนาม
เราที่ไหนมีความรู้สึกว่า เรานั่ง นี่คือความเห็นผิด

ซึ่งไม่ตรงกับความจริง
เพราะความจริงมันไม่มี
ผู้หญิงนั่ง ผู้ชายนั่งก็ไม่มี

ท่าที่นั่งนั้นจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายได้ยังไงกันคะ
การ เห็น ก็เหมือนกัน นี่ เราเห็น ผู้หญิงเห็น
การเห็น ไม่เป็นทั้งผู้หญิง ผู้ชาย

สภาวะของมันทำหน้าที่

เมื่อได้ปัจจัยก็ทำหน้าที่ เห็น.. ทำหน้าที่ได้ ยิน
แต่ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่มีผู้ชายในความเป็นจริงนั้นเลย


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 09:55:51 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : )


  สลักธรรม 2


การดูรูปนั่งต้องรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง

ไม่ใช่ไปนึกถึงว่า..พอเวลาไปนั่งแล้ว
เขาบอกมาว่า ให้ดูรูปนั่ง ก็เลยนึกถึง รูปนั่ง

รูปนั่ง อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะคะท่านที่กำลังเริ่มปฏิบัติ

คือว่า บางคนดูรูปนั่ง
พอถึงเวลาจะกำหนดดูเข้าจริงๆ

ดูที่ไหนรูปนั่ง ?
รูปนั่งมันอยู่ที่ไหน?

ถ้าหากว่าไม่เข้ากรรมฐานท่านก็รู้สึกตัว

ลุกขึ้นยืนก็ยืนได้ นั่งลงก็นั่งได้

แต่พอเข้ากรรมฐาน
บอกให้ไปดูนั่ง นอน ยืน เดิน

คราวนี้ละคะ ไม่รู้ว่าดูที่ไหน
นั่งอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้

ทั้งที่จริงตัวก็รู้ ถ้าไม่รู้ก็นั่งไม่ถูก นอนไม่ถูก
แต่รู้ผิดไปจากความจริงเท่านั้นเองว่าเป็นเรานั่ง
ทั้งที่จริงเป็นรูปต่างๆ


วิปัสสนานี่ไม่ได้ให้ดูอะไรที่ไม่มีอยู่ในตัว

สิ่งที่มีอยู่ในตัวเป็นของจริง

สิ่งที่ไม่มีอยู่ในตัวเป็นของไม่จริง จึงไม่ได้ดู
ให้ดูเฉพาะที่มีอยู่ในตัวเท่านั้น
เพราะอันนี้เป็นของจริง

รูปนั่ง ดูที่ไหน ตอบว่าดูที่ท่า

เช่นอย่างเวลานี้ถ้าถามทุกคนว่า
ขณะนี้ท่านนั่งหรือนอนอ่านกระทู้นี้อยู่

ก็ต้องตอบว่า นั่ง ทำไมท่านถึงรู้ว่านั่ง
ก็เพราะท่านอาศัยที่ท่านี้ ตั้งกายไว้ในท่านี้
เขาเรียกว่า นั่ง

ยืนก็อยู่ในท่ายืน เวลายืนก็ดูรูปยืน
คือรู้อยู่ในท่าที่ยืน

เวลาเดินก็ดู รูปเดิน รูปเดินอยู่ที่ไหน
ไม่ได้อยู่ที่เท้านะคะแต่อยู่ที่อาการที่ก้าว

เวลานี้ท่านก็มีเท้า แต่ยังไม่มีเดิน
เวลานี้จึงไม่มีรูปเดิน ดูรูปเดินไม่ได้

ยืนก็ไม่ใช่เดิน แต่เมื่อมีอาการของเท้าที่ก้าวไป
คำว่าเดินจึงจะมีขึ้น ความหมายว่า
เดินถึงจะเกิดขึ้น


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 10:16:49 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : )


  สลักธรรม 3


ทีนี้เวลาเราดู เราก็ต้องดูให้ถูกนะคะ

รูปนี้อยู่ที่ไหน
เดินก็ต้องดูขณะที่ก้าวเท้า
อย่าเอาสติไปตั้งไว้ที่เท้า หรือที่ขาไม่ถูกต้อง

เดินแท้ๆ ต้องอยู่ที่การก้าว
ถ้าไม่มีการก้าว คำว่าเดินก็ไม่มี
อันนี้ก็เข้าใจกันแล้ว
คนที่เคยเข้าวิปัสสนาก็เข้าใจกันแล้วว่า
เดินอยู่ที่ไหนนะคะ

เวลานอน ก็อยู่ที่ท่าอีกนั่นแหละค่ะ
แต่นอนก็มีหลายท่า
เหยียดขาก็ได้ นอนตะแคงก็ได้
นอนหงายก็ได้
ทั้งหมดรวมอยู่ในอิริยาบทใหญ่ เรียกว่านอน

นั่งก็นั่งได้หลายท่า แต่ก็เรียกว่า นั่ง ทั้งหมดก็เรียกว่า นั่งเหมือนกันไม่ต้องไปกำหนดแปลกๆนะคะจะผิดไป


ทีนี้เวลาเราดูนั่ง เราก็ดู เราก็รู้สึกอยู่ในท่าที่เรานั่ง

เวลานอน, ยืน, เดิน ก็รู้สึกอยู่ในท่าที่นอน, ยืน, เดิน ๔ อย่างเท่านี้

แล้วก็ต้อง รู้สึกตัวด้วยว่า..เวลานี้ดูอะไร
เดี๋ยวเวลานั่งแล้วจะไป นึก ว่า รูปนั่ง
รูปนั่งอันนี้ไม่ได้แล้วละคะ

เพราะว่าใจ นึก เอาเอง
มันไม่ได้ออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่ง ที่นอน

ท่านบอกว่า ตั้งกายอยู่ด้วยอาการอย่างไร
ก็ให้รู้อาการเป็นไปของกายที่ตั้งอยู่ในอาการนั้น ๆ

ว่าไว้อย่างนี้ในสติปัฏฐานสูตรค่ะ
ทีนี้เราก็คอยดู รู้สึก ว่าดูรูปนั่ง รูปนอน
รูปยืน รูปเดิน เพราะตามธรรมดา
ถ้าเราไม่ได้ศึกษาและไม่ได้เคยเข้าวิปัสสนาเลย

จะไม่รู้ว่าใครเดิน แล้ว อะไรมันเดิน

ก็ต้องเราน่ะซิเดิน ใครนั่งก็ เรานั่ง
แต่ความเป็นจริงไม่มีเรา
มี รูป กับ นาม ๒ อย่างเท่านั้น

แหละ อาการนั่งจึงปรากฏขึ้น
และถ้ามีแต่รูปน่ะไม่ใช่คนเป็นๆแล้วเป็นคนตาย
เห็นไหมคะ..ตัวมนสิการต้องถูก
ไม่เช่นนั้นการเจริญปัญญาก็เป็นหมัน
เพราะขาดความรู้จริง..จริงแบบแท้ๆด้วย

เพราะถ้านามดับแล้วมีไหม อิริยาบท?
ไม่มีใช่ไหมคะ

นั่งก็นั่งไม่ได้ เพราะว่าวิญญาณไม่มีแล้ว
ก็นั่งไม่ได้

ทีนี้มีแต่นาม รูปไม่มี นั่งมีไหม ? ไม่มีเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น อาการนั่งจะเกิดขึ้นได้
ต้องมีรูปนามพร้อมแล้ว

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 10:36:31 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : )


  สลักธรรม 4


ทีนี้เมื่อเราดูก็ต้องดูด้วยความรู้สึก
รู้สึกอยู่ในท่าทีนั่ง
รู้สึกอยู่ในท่า
แล้วก็รู้สึกว่าดูรูปนั่ง

เช่นยกตัวอย่างว่า..ท่านกำลังพูดคุยกับเพื่อนสนิทอยู่
ท่านรู้ไหมคะว่า.. เวลานี้คุณพูดกับใคร
รู้สึกไหมคะ..ก็ตอบว่ารู้

เวลานี้คุณฟังใครพูดอยู่ รู้ว่าฟังเพื่อนคนนั้นชื่อนั้นพูดอยู่ ต้องรู้อย่างนี้ รู้ว่า ฟัง ฟังอะไร พูดเรื่องอะไร สอนอะไร เราจึงจะเข้าใจ

แต่ถ้าเราได้ยินเหมือนกัน ได้ยินแต่ว่าไม่ได้ฟัง
ฟังแล้วไม่เข้าใจ ทั้ง ๆที่เรานั่งฟังกันอยู่อย่างนี้
ด้วยกัน

แต่ฟังแล้วไม่เข้าใจก็เลยไม่รู้ไม่ได้ประโยชน์จากการฟังไงคะ


ท่านที่เคารพ ท่านจะเห็นได้ว่า
ก่อนที่จะดำเนินไปบนหนทางพ้นทุกข์ได้นั้น
สิ่งสำคัญคือความเข้าใจถูก

เพราะถ้าเข้าใจยังไม่ถูกแล้วก็ไม่ต่างไปจาก
การขึ้นรถผิดสถานีนั่นเอง
จุดหมายปลายทางก็คลาดเคลื่อน

ทั้งที่จุดจบของทุกข์ทั้งหลายมีอยู่
แต่ท่านเองต่างหาก
เป็นผู้ทำผิดไปจากทางที่ควรดำเนิน
แล้วท่านจะมาโทษว่า
การปฏิบัติไม่มีผลนั้นสมควรไหมคะ

ให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าชีวิตเก่าเสียที

เราพูด คุย เล่น กิน สนุก ไร้สาระมากมาย
มากันหลายๆสิบปีแล้วนะคะ


ไม่เบื่อตนเองเลยหรือคะ
ทั้งที่ปากบอกว่า..อยากพ้นทุกข์
แต่ชีวิตทั้งหมดโดยรวมไม่ตรงกับปาก

ความพ้นทุกข์เป็นของคนที่มีสัจจะเท่านั้นนะคะ
พบกันใหม่ครั้งต่อไปนะคะ

ด้วยความจริงใจคะ




โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 10:51:01 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : )


  สลักธรรม 5


กราบขอบพระคุณในความเมตตา
ของอาจารย์อย่างสูงค่ะ

ที่ได้เน้นการปฏิบัติ ให้เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องมากขึ้น

ศิษย์จะคอยติดตามพากเพียรเรียนต่อ...
และรอรับฟังธรรมอันสูงค่าจากท่านต่อไปนะคะ.....

.....ด้วยความเคารพรักอย่างสูงค่ะ....

โดย แป้ง [7 มิ.ย. 2546 , 15:39:53 น.] ( IP = 203.107.205.54 : : )


  สลักธรรม 6

ติดตามเข้ามารับการอบรมสั่งสอนต่อค่ะ
คงเป็นสิ่งที่เลียนแบบกันไม่ได้ในท่าทางของวิปัสสนา เพราะเป็นท่าจริงของแต่ละคนที่เกิดขึ้น
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

โดย น้องกิ๊ฟ [7 มิ.ย. 2546 , 18:01:59 น.] ( IP = 169.210.12.161 : : )


  สลักธรรม 7

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ
การอธิบายสอนเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้มีความเข้าใจถูกมากขึ้นค่ะ
และข้อคิดที่สำคัญคือ ความพ้นทุกข์เป็นของคนที่มีสัจจะเท่านั้น

โดย เซิ่น [7 มิ.ย. 2546 , 23:04:44 น.] ( IP = 203.170.151.239 : : )


  สลักธรรม 8


เข้ามาอ่านเป็นครั้งที่ ๒ ค่ะ

… กราบขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์บุษกร

…
อ่านครั้งแรก คิดว่าได้รับความรู้ที่ละเอียดดีจริงๆ ของการปฏิบัติวิปัสสนา ที่เป็นหลักใหญ่
คือการกำหนดดูในแต่ละอิริยาบถ
ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน และคงจะชัดจริงเมื่อได้นำไปปฏิบัติที่ตนเอง...
โดยเฉพาะสิ่งที่ท่านอาจารย์เน้นให้พวกเราได้ตระหนักว่า
ที่ให้เข้าไปดูก็ตรงที่เราเข้าใจผิด...

…
พออ่านครั้งที่สอง....กลับได้รับความรู้สึกของผู้ให้
..ที่พยายามถ่ายทอดสิ่งที่สำคัญที่สุด
นั่นก็คือ.....หนทางที่จะนำไปสู่จุดจบของความทุกข์

ความตั้งใจในการถ่ายทอดของท่านอาจารย์เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์
รวมทั้งคำตักเตือนที่ท่านอาจารย์มีมาให้
ไม่ว่าจะเป็น...
ให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าชีวิตเก่าเสียที
ความพ้นทุกข์เป็นของคนที่มีสัจจะเท่านั้น


ขอน้อมรับความปรารถนาดีของท่านอาจารย์ มาปฏิบัติตาม...
ด้วยความรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ



โดย วยุรี [8 มิ.ย. 2546 , 06:48:59 น.] ( IP = 203.113.38.8 : : )


  สลักธรรม 9

ติดตามมาโดยตลอดค่ะ และครั้งนี้มาอ่านอย่างช้าๆและทำความเข้าใจต่อค่ะ ดูเหมือนยังเป็นนักเรียนใหม่จริงๆเลยค่ะ มาถึงตรงนี้อ่านทบทวนแล้ว อาจต้องขอคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
..........

แล้วก็ต้อง รู้สึกตัวด้วยว่า..เวลานี้ดูอะไร
เดี๋ยวเวลานั่งแล้วจะไป นึก ว่า รูปนั่ง
รูปนั่งอันนี้ไม่ได้แล้วละคะ
เพราะว่าใจ นึก เอาเอง
มันไม่ได้ออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่ง ที่นอน

.........
กราบขอบพระคุณค่ะ

โดย น้องอุ๊ [8 มิ.ย. 2546 , 12:19:03 น.] ( IP = 202.57.182.92 : : )


  สลักธรรม 10

… น้องถ้วยก็อยากจะรู้แบบน้องอุ๊อ่ะค่ะว่า

…รูปนั่งปรากฎอยู่ เราถึงนึกได้ว่าเป็นรูปนั่ง อย่างนี้เป็นการดูผิดยังไงหรือเจ้าคะ

และอีกอย่างคือการนึกออกว่าเป็นรูปนั่ง ต่างกับการออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่งด้วยหรือคะ น้องถ้วยว่าความรู้สึกคล้ายกัน จนน่าจะเหมือนกันนะคะ โปรดขยายใหญ่หน่อยนะคะ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ

โดย น้องถ้วย [8 มิ.ย. 2546 , 14:16:30 น.] ( IP = 203.107.212.162 : : )
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org