มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ 3





สวัสดีค่ะท่านที่นับถือ
อยากเรียนถามว่าท่านได้อ่านมาแล้วสองตอนนั้น
เป็นอย่างไรบ้างคะ..เรื่องการกำหนด

เมื่อลองเทียบกับที่ผ่านๆมาที่เคยกระทำอยู่
สังเกตุอารมณ์แบบนี้หรือเปล่าค่ะ

ถ้าใช่ก็อย่าทอดทิ้งธุระที่ควรเจริญนี้นะคะ
ต้องตรวจดูศรัทธาตนเองบ่อยๆนะคะ
ว่ายังอยู่ในเป้าหมายเดิมหรือเปล่า
คือต้องการไปให้พ้นจากทุกข์

มิเช่นนั้นสภาพจิตอาจตกไปเราจะไม่ทราบนะคะ




วันนี้มาทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนากันต่อไปนะคะว่า…เวลากำหนดอยู่นั้น หลับตา หรือ ลืมตา

จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้แล้วแต่ถนัด
เพราะบางคนไม่ชอบหลับตา
พอหลับตาแล้วง่วง
หลับตาแล้วก็ฟุ้งไป จิตใจก็ฟุ้งไป

บางคนก็ลืมตาไม่ได้ ลืมตาแล้วไม่ถนัด
ลืมตาแล้วเห็นโน่นเห็นนี่
มันไม่ได้อยู่ที่รูปนั่ง
หรือกำหนดไม่ทันเลยสักทวาร

อันนี้ก็แล้วแต่อัธยาศัย
และก็แล้วแต่ความสังเกตของเรา
คนอื่นก็รู้ไม่ได้ว่าอัธยาศัยของท่านว่า
ชอบหลับหรือลืมตา
เวลาหลับเป็นอย่างไร เวลาลืมตาเป็นอย่างไร

อันนี้อยู่ในความสังเกตของเรา
ใช้ได้ทั้งนั้น จะหลับหรือลืมก็ได้


อีกอย่างที่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนให้ดีก็คือ

ดูนั่ง นอน ยืน เดิน ทำไม?
ที่ต้องดูก็เพราะทุกคนต้องมีอิริยาบถอย่างนั้น

แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็มี ทุกคนก็มี
เข้ากรรมฐานหรือไม่เข้ากรรมฐานก็มี

ทำไมจึงต้องให้ดูนั่ง นอน ยืน เดิน
ดูไปแล้วไม่เห็นน่าจะมีกิเลสอะไร

นั่งมันมีโกรธหรือเปล่า? ก็เปล่า!

มีโลภไหม? ก็ไม่มี!

ร่างกายนี้ไม่มีโลภ โกรธ หลง
กิเลสอยู่กับใจอยู่กับนาม
เมื่อไม่มีแล้วจะไปดูมันทำไม ? ต้องเข้าใจนะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [7 มิ.ย. 2546 , 09:37:57 น.] ( IP = 203.107.209.228 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ] [ 3 ]


  สลักธรรม 11


กราบขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
ยังไม่ขอวิจารณ์ขณะนี้ แต่ต้องขอกลับไปอ่านซ้ำอีกหลายๆครั้งก่อนนะคะ

โดย พี่ดา [8 มิ.ย. 2546 , 19:47:21 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.124 )


  สลักธรรม 12

กลับมาอ่านทำความเข้าใจอีกครั้งค่ะ


ช่วงที่รออาจารย์มาตอบ ขออกความเห็นนิดนะคะ
ที่หมออุ๊และน้องถ้วยสงสัยว่า...รูปนั่งปรากฎอยู่ เราถึงนึกได้ว่าเป็นรูปนั่ง อย่างนี้เป็นการดูผิดยังไงหรือเจ้าคะ ...

พี่ดาว่าน่าจะผิดนะ เพราะการนึกได้ กับการรู้สึกตัว ไม่เหมือนกันนะคะ แต่ก็เขียนอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน รู้แต่ว่ามันไม่เหมือนกันแน่ๆ


ที่น้องถ้วยพูดถึงเหมือนกับว่าพอจิตตกไปจากรูปนั่งแล้ว เราก็มานึกได้ว่ากำลังดูรูปนั่งก็กลับไปดูรูปนั่งใหม่ใช่หรือเปล่า?
ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าจะใช้คำว่านามรู้(คือรู้ว่าขณะนี้เราตกจากรูปนั่งแล้ว) แล้วก็ทำความรู้สึกในรูปนั่งต่อไป
ไม่ควรใช้นึกเอานะ
ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าค่ะ
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ

รออาจารย์ขี้ม้าขาวมาช่วยดีกว่า..ฮิ..ฮิ..

โดย พี่ดา [9 มิ.ย. 2546 , 10:03:54 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.82 )


  สลักธรรม 13

…ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงค่ะไม่ค่อยมีโอกาสเข้ามาเปิดดู แต่มาเปิดดูทีไรก็ได้รับประโยชน์ให้กับชีวิตตนเองทุกครั้งค่ะ

โดย ปุ้มค่ะ [9 มิ.ย. 2546 , 10:33:13 น.] ( IP = 203.107.223.135 : : )


  สลักธรรม 14

สวัสดีค่ะทุกๆท่านที่น่ารัก

ที่น้องอุ๊ถามตรงนี้ว่า
แล้วก็ต้อง รู้สึกตัวด้วยว่า..เวลานี้ดูอะไร
เดี๋ยวเวลานั่งแล้วจะไป นึก ว่า รูปนั่ง
รูปนั่งอันนี้ไม่ได้แล้วละคะ
เพราะว่าใจ นึก เอาเอง
มันไม่ได้ออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่ง ที่นอน ...


ที่พี่ดาตอบนะถูกเลยนะคะ
เพราะเป็นการนึกเอา
หรือที่น้องถ้วยถามนั้นเรียกว่านึกออกหรือนึกได้..อดีตอารมณ์แล้วคะไม่ใช่ปัจจุบันแล้ว

มาลองทำความเข้าใจใหม่นะคะ
จะยกตัวอย่างอีกแบบค่ะ

ต้องมีความสังเกตในขณะทำงานนะคะวิปัสสนานี้นะคะ

ในเวลาที่กำหนด ต้องมีความสังเกตว่า
ถูกต้องตรงกับที่อาจารย์สอนไหมว่า

เวลานั่ง ให้ทำ อย่างไร ?
เวลานั่ง ให้ดู รูปนั่ง หรือให้พิจารณารูปนั่ง

ดูรูปนั่งนี่ดูในท่าของกายที่ตั้งอยู่ในท่านั้น
เรียกว่า นั่ง...ส่วนยืนก็อีกท่า..เดินก็อีกท่าหนึ่ง
นอนก็อีกท่าหนึ่ง

เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็ไปดูอาการที่นั่ง
นอน ยืน เดิน
ดูแล้วก็ต้องเอารูปนามที่อาจารย์สอนแล้ว
นี้ไปใช้ด้วย

เวลาดูนี่น่ะ ต้องรู้สึกด้วยว่า ดูรูปนั่ง
คือ ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย
ถ้านั่งเฉย ๆ ไม่ได้
หรือดูว่า นั่งนี่ เวลานี้ นั่งเราก็รู้อยู่ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้ ต้องมี รูป ด้วย ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย รูปเฉยๆ ก็ไม่ได้ รู้ว่ารูปนั่งนี้เป็นรูป เราก็ดูรูปอย่างนี้
แต่ไม่มี นั่ง ก็ไม่ได้นะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 11:08:29 น.] ( IP = 203.107.205.153 : : )


  สลักธรรม 15


เพราะว่า รูปนั่งกับรูปนอนนี้น่ะ มันคนละรูป
มันคนละอัน เช่น ตัวหนังสือนี้

เราเห็นเราก็บอกหนังสือ รู้แล้วว่า มันเป็นหนังสือ
แต่ว่า ตัวอะไร ก. หรือ ข.

มันไม่เหมือนกันนี่

ถ้าเราไม่รู้ว่า ก. ไก่ มีลักษณะอย่างไร
ข.ไข่ มีลักษณะอย่างไร
เราจะอ่านหนังสือไม่ออก
เพราะว่ามันคนละตัวกัน

เพราะฉะนั้น มีความสำคัญมากทีเดียว
นี่ก็เหมือนกับอาจารย์ให้หนังสือไปดู
ให้หนังสือไปอ่าน..
ถ้ายังแยก ก. ข.ไม่ได้ก็เป็นอันสอบตกไงคะ
ไม่ได้เลื่อนชั้นแน่เลย


เพราะฉะนั้น ต้องคอยสังเกต
สังเกตนี่เป็นตัวศึกษา
พอกำหนดรูปนั่งลงไป ต้องสังเกตว่า
ถูกตรงกับที่อาจารย์บอกไหมว่า
ให้ทำความรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง
ดูรูปเฉยๆ ไม่ได้ หรือจะบอกว่านึกได้ทีหลังก็ไม่ได้

เพราะว่า รูปนี่มีหลายอย่าง
ดูรูปเฉยๆ นั่งก็เป็นรูป
นอนก็เป็นรูป
ประเดี๋ยวก็รูปมันจะเป็นอันเดียวกันอย่างนี้ไม่ได้
อันนี้ไม่ได้แน่

สำคัญมากทีเดียว สำหรับตอนใหม่ๆ นี้ก็ไม่มีอะไรสำคัญ สำคัญแต่เพียงว่า
ทำความรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง เท่านั้นเอง

คงพอจะเข้าใจไหมคะว่า..สำคัญตรงให้เข้าใจถูก...ไม่ใช่นึกถูกไงคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 11:10:22 น.] ( IP = 203.107.205.153 : : )


  สลักธรรม 16

คราวนี้มีคำตอบที่ชัดเจนแล้วค่ะ การรู้แค่นั่งเฉยๆ หรือดูรูปเฉยๆ ย่อมขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบจริงๆ ความรู้สึกเช่นนี้ต้องหมั่นสังเกตบ่อยๆ เพราะบางทีก็มีเหมือนกันที่ดูรูปนั่ง ดูๆไปรูปหายเหลือนั่งแทน มักเกิดตอนที่นิวรณ์เริ่มเข้าแทรก แต่เพื่อความมั่นใจอยากทราบต่ออีกสักนิดว่า
......การกำหนดดูรูปนั่งควรเริ่มวางใจตั้งแต่ตอนไหน คะ
ขอบพระคุณค่ะอ.บุษกร แล้วจะมาเป็นเด็กนักเรียนอนุบาลใหม่ นะคะ

โดย น้องอุ๊ [9 มิ.ย. 2546 , 12:30:17 น.] ( IP = 202.28.169.165 : : unknown )


  สลักธรรม 17


สวัสดีค่ะน้องอุ๊
ดีใจมากคะที่เข้าใจแล้วว่าต้องกำหนดอย่างไร

แหละการกำหนดเริ่มเมื่อไรในท่านั่งนั้น
จะกำหนดได้ก็ต่อเมื่อท่านั่งเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว

ถ้ายังไม่สมบรูณ์ในท่าขณะนั้นยังไม่เป็นรูปนั่งนะคะ
ยังเป็นอิริยาบถย่อยต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อ
กระทำท่าหรือรูปนั่งให้เสร็จกิจตามจิตสั่งคะ


แต่ไม่ต้องไปกำหนดอิริยาบถย่อยนะคะ
เพราะอย่างเราท่านยังไม่มีกำลังแห่งสติปัญญาพอแน่นอนเดี๋ยวจะพลาดไปจากปัจจุบันนะคะ
และจะไม่เป็นวิปัสสนาด้วยเพราะนึกเอาคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 16:31:37 น.] ( IP = 203.107.206.9 : : )


  สลักธรรม 18

กราบขอบพระคุณอาจารย์บุษกรมากค่ะ
ที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการปฎิบัติอย่างละเอียด
ทำให้ได้ความเข้าใจชัดเจนมากขึ้นเลยค่ะ

เข้ามาอ่านเป็นครั้งที่ 2 ค่ะ
ครั้งแรกพิมพ์แล้ว แต่บังเอิญส่งข้อความไม่ได้
คราวนี้เปิดมาดูใหม่ ได้คำอธิบายเพิ่มเติมของอาจารย์จากคำถามของน้องๆ
ต้องขอบคุณพี่ๆน้องๆที่ช่วยกันขมวดปมให้เห็นชัดขึ้นค่ะ

โดย ธัญธร [9 มิ.ย. 2546 , 23:03:45 น.] ( IP = 203.113.71.165 : : )


  สลักธรรม 19

ขอบพระคุณอาจารย์บุษกรมากค่ะ
และก็ต้องขอบคุณน้องอุ๊ด้วยนะจ๊ะ ช่างถามดี ชอบค่ะ


แต่เอ... อาจารย์ค่ะขออนุญาตถามนิดหนึ่งค่ะ
อาจารย์กล่าวว่า
....ดูว่า นั่งนี่ เวลานี้ นั่งเราก็รู้อยู่ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้ ต้องมี รูป ด้วย ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย....

ก็สงสัยว่า..ขณะที่ดูรูปนั่งนั้น คือเราก็รู้สึกนะคะว่ากำลังนั่งอยู่ เรากำหนดนามรู้สึกอย่างเดียวไม่ได้หรือค่ะ ในเมื่อก็ยังมี(รูป)นามเป็นอารมณ์อยู่

กราบขอบพระคุณค่ะ

โดย พี่ดา [10 มิ.ย. 2546 , 08:48:34 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.79 )


  สลักธรรม 20

ขออนุญาตคำถามยกไปถามในวิปัสสนา..๔ค่ะ

โดย พี่ดา [10 มิ.ย. 2546 , 08:59:52 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.79 )
[ 1 ] [ 2 ] [ 3 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org