มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ 4





สวัสดีค่ะทุกๆท่าน
ในครั้งที่ 3. นั้นมีคำถามเข้ามาถาม
และเป็นคำถามที่ดีมากด้วยค่ะ
เพราะจะได้แก้ไขความสงสัยและเงื่อนงำ
ไปให้หมดก่อนที่จะศึกษากันต่อไป
ก็ขออนุโมทนาในการสร้างสมปัญญาบารมี
ของทุกๆท่านนะคะ




ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น
ท่านต้องเข้าใจนะคะว่า

....รูปนาม คือสิ่งสำคัญที่สุด....

เราได้เรียนเรื่องรูป – เรื่องนามมากันแล้ว
แล้วได้ เข้าใจแล้วว่า

อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม

เวลาที่กำหนดนั้นกำหนด อะไรเป็นรูป-อะไรเป็นนาม

แล้วเวลานั้นจะกำหนดอะไร ? จะรู้อะไร?

ที่สอนกันเรื่องรูปนามนั้น
ต้องเข้าใจนะคะว่า..สอนทำไม ?
เพราะ สำคัญที่สุดเลย

การทำวิปัสสนานี่ต้องรู้จัก รูปนาม
เพราะรูปนามเป็นตัวกรรมฐาน
เป็นตัวให้ความจริง

วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญา ที่ต้องรู้รูปนามไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้น

รูปนามจึงสำคัญในการที่จะให้เห็นความไม่เที่ยง

ถ้าไม่ดูที่รูป ที่นาม แล้ว
ผู้ปฏิบัติจะไปรู้ได้อย่างไรว่า
.. รูปนามไม่เที่ยงเห็นไหมคะว่าสำคัญที่สุดเลย

ส่วนบางที่เขามีการนั่งวิปัสสนากัน
แล้วก็เห็นอะไรมากมายเช่น เห็นเทวดา
เขาก็บอกว่า เป็นวิปัสสนา
แต่ความจริงแล้วไม่ใช่วิปัสสนานะคะ

วิปัสสนาต้องเห็นนามรูปที่ตัวเรานี้แหละคะ
ที่ไม่เที่ยง แล้วก็ไม่เป็นไปเพื่อความสุข
แต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 18:17:08 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]


  สลักธรรม 1

เวลานี้ท่านก็ยังไม่ได้เห็นว่า.. เป็นทุกข์อะไร
..ใช่ไหมคะจึง ต้องไปดู..ดูแล้วถึงจะรู้

เพราะนามรูป นั้นมีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์
ไปต่างๆกัน แล้วแต่ว่าลักษณะไหนจะปรากฎชัด

เราก็จะเห็นอันนั้นมากตามเหตุนั่นเอง
ที่สอนรูปนาม เพราะรูปนามมีความสำคัญ
ที่จะต้องเอาไปใช้งาน

เช่นเราจะทำแกงเนื้อ ก็ต้องมีเนื้อวัว
ไม่เช่นนั้นก็ไม่เป็นแกงเนื้อ

จะตำส้มตำ เราก็ต้องมีมะละกอ
ถ้าไม่มีมะละกอ เราจะตำส้มตำได้ยังไร

เหมือนกับ รูปนามนี้ เราต้องมีไปด้วย
ไม่ใช่ถูกสอนมา เพียงแต่จะให้รู้ไว้เฉยๆ
สอนไว้ เพื่อจะได้เอาไปใช้ เอาไปดู

เวลาดู ท่านก็จะต้องดูรูป ดูนาม
แต่ว่าขั้นต้นนี้ให้ดูรูปก่อน 4 อย่างเท่านั้นคะ
ถ้ามากนักประเดี๋ยวจะจำไม่ได้

ที่ว่าเอารูป – นามไปใช้ด้วย เอาไปใช้เวลาไหน
ก็ใช้เวลาที่ไปดูหรือกำหนด
เอารูปนามไปทำงานด้วยนั้น ไปทำอย่างไร ?
ใครเป็นคนทำงาน ?

ใจ คือ นามที่เป็นตัวทำงาน
จะกำหนดรูปนั่ง รูปนอน

นี่ละคะเป็นการงานของใจ
ที่จะต้องไปรู้รูปนั่ง รูปนอน
หรือไปพิจารณารูปนั่ง รูปนอน
อย่างนี้ละค่ะคือเอารูปนามไปทำงาน
รูปนามสำคัญที่สุดคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 18:24:39 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : )


  สลักธรรม 2

ขอย้ำอีกครั้งนะคะเพื่อความเข้าใจ
ถึงเรื่องความสังเกตในขณะทำงาน

ในเวลาที่กำหนด ท่านต้องมีความสังเกตว่า
ที่ท่านกำหนดนั้นถูกต้องตรง
กับที่ครูอาจารย์สอนไว้ไหมว่า
เวลานั่ง ให้ทำ อย่างไร ?

เวลานั่ง ให้ดู รูปนั่ง หรือให้พิจารณารูปนั่ง

ดูรูปนั่งนี่ดูในท่าของกายที่ตั้งอยู่ในท่า
นั้นเรียกว่า นั่ง เพราะยืนก็อีกท่าเดินก็อีกท่าหนึ่ง
นอนก็อีกท่าหนึ่ง เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว
ก็ไปดูอาการที่นั่ง นอน ยืน เดิน

ดูแล้วก็ต้องเอารูปนามที่เรียนมาแล้วนี้ไปใช้ด้วย
เวลาดูต้องรู้สึกด้วยว่า ดูรูปนั่ง
คือ ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย

ถ้ากำหนดนั่งเฉย ๆ ไม่ได้นะคะ
หรือดูว่า เวลานี้นั่ง
เราก็รู้อยู่ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้
ต้องมีรูปด้วย ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย
รูปเฉยๆ ก็ไม่ได้

ต้องรู้ว่ารูปนั่งนี้เป็นรูป
เพราะว่า รูปนั่ง กับรูปนอนนี้เป็นคนละรูป
เพราะฉะนั้น ต้องคอยสังเกต

สังเกต = เป็นตัวศึกษา

พอกำหนดรูปนั่งลงไป ต้องสังเกตเสมอว่า
ถูกตรงกับที่ครูอาจารย์ท่านบอกไหม?

ให้ทำความรู้สึกตัวว่า ดูรูปนั่ง
ดูรูปเฉยๆ ไม่ได้
เพราะว่า รูปนี่มีหลายอย่าง
ดูรูปเฉยๆ นั่งก็เป็นรูป นอนก็เป็นรูป
ประเดี๋ยวก็รูปมันจะเป็นอันเดียวกันอย่างนี้ไม่ได้
อันนี้ไม่ได้แน่ สำคัญมากนะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 18:31:33 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : )


  สลักธรรม 3

คราวนี้มาเรื่องของฟุ้งกันบ้างค่ะ

ตามธรรมดาจิตเราไม่เคยอบรม
มันก็เที่ยวกวัดแกว่งไป

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
อะไรจะเร็วเท่ากับจิตใจไม่มี
จิตนี่ไวที่สุด
เพราะฉะนั้น จึงเป็นของอบรมยาก
และก็อยู่อยากด้วย

ทีนี้เวลาที่เรากำหนดในรูปนั่ง
ประเดี๋ยวมันก็ฟุ้งไปแล้ว
ที่แรกก็รู้อยู่ว่าดูรูปนั่ง
ประเดี๋ยวก็เผลอแพล็บไป ออกไปแล้ว

ขณะนี้จิตใจมันก็เที่ยวอยู่ทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน
แต่ว่า เราไม่ดูจิตเลย
มันก็เหมือนกับว่าไม่ไปไหน

แต่พอเราไปเข้ากรรมฐาน
พอเราจะไปจับมันเท่านั้นแหละ
ไปแพล็บ ไปแพล็บ นี่เพราะว่าเราดูเข้า
เราจึงเห็นว่า มันไป ฟุ้งนี่เป็นอาการของจิตใจ

เป็นนามธรรม เรียกว่า "นามฟุ้ง"

ธรรมชาติของจิตย่อมคิดฟุ้งไปต่าง ๆเสมอๆ
เมื่อไปแล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องไปสนใจ
แล้วใจก็อย่าไปนึกว่า จะต้องไม่ให้มันฟุ้ง
ไม่ให้มันไปไหนที่อื่น

จะพยายามให้จิตมันอยู่ที่นี่ไม่ได้
ทำความรู้สึกอย่างนี้ไม่ได้นะคะ
เพราะการ ทำความรู้สึกอย่างนี้
มันเป็นที่อาศัยของกิเลสเหมือนกันค่ะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 18:42:06 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : )


  สลักธรรม 4


พอมันฟุ้งไปแล้ว
ก็ให้ทำความรู้สึกอย่างเดียวว่า
จิตหลุดจากนั่ง..นี่สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่
ยังไม่ต้องกำหนดนามฟุ้งนะคะให้แค่รู้สึกว่าจิตหลุดจากการดูนั่งก็พอ แล้วกลับมาดูอิริยาบถต่อไป
จะฟุ้งไปอีกก็ช่าง
ก็กลับมาใหม่อย่าไปไม่พอใจมัน

เพราะลงเกิดความไม่พอใจแล้ว
ยิ่งจะฟุ้งใหญ่ ทำอย่างนั้นไม่ได้

จำไว้นะคะว่าเราไม่มีหน้าที่
จะไปแก้ไขอะไรทั้งหมด

เมื่อมันไม่อยู่ไม่ดูอาการที่ปรากฏอยู่
เราก็รู้สึกว่า อ้อ หลุดไปแล้ว กลับมาดูใหม่อีก

เหมือนกับคนหัดถีบรถจักรยาน
พอล้มแล้วท่านจะทำอย่างไร

โกรธว่ามันล้มหรือคะ
หรือคิดว่ามันไม่ควรจะล้มอย่างนั้นหรือคะ

คิดเช่นนั้นมันไม่ถูกใช่ไหม?
โกรธแล้วมันจะไม่ล้มอย่างนั้นหรือ?

เปล่า! มันก็ล้ม
แล้วล้มบ่อยด้วยใช่ไหมตอนหัดขี่ใหม่ๆ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 19:05:42 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : )


  สลักธรรม 5


แล้วล้มบ่อยจะทำอย่างไรล่ะ จึงจะไม่ให้ล้ม
มีวิธีไหนที่จะไม่ให้ล้ม

...เห็นไหมคะว่าไม่มี
ต้องขึ้นขี่อีกอย่างเดียวเท่านั้น
ล้มแล้วขึ้นอีกจนกระทั่งชำนาญแล้ว

ทีนี้ถ้าเข้าใจดีแล้ว ถูกอบรมดีแล้ว เข้าใจแล้ว
ทีนี้จะขี่ไปชั่วโมงสองชั่วโมงก็ไม่ล้ม

การปฏิบัติก็อย่างเดียวกัน
สิ่งที่ควรจะเข้าใจก็คือ พอมันฟุ้งไปแล้ว

ถ้าเราไม่รู้มันจะไปนานเหลือเกิน
ไปถึงตรงนั้น ไปโน่นต่อไปอีก ไปถึงบ้าน
ต่อจากบ้านออกไปบ้านอื่นไปไหน ๆเป็นสิบๆนาที

ถ้าเราสติไว พอมันไปเราก็รู้
พอรู้แล้วเราก็กลับมา ก็เท่านั้นเอง

ไม่มีหน้าที่อย่างอื่นเลย
ไม่มีหน้าที่จะไปแก้ไข จะให้มันหยุด
จะให้มันไปไม่ได้เลย
นอกจากว่า ล้มแล้ว เราก็มากำหนดใหม่
ล้มแล้วก็มากำหนดใหม่
จนกว่าจะชำนาญรู้ท่าทาง
ว่า.. อ้อ ถ้าอย่างนี้มันไม่ล้ม
ถ้าอย่างนี้มันจะล้มแบบนี้นะคะศึกษาดู
แล้วทีนี้ก็จะสะดวก ขั้นแรกก็มีเพียงเท่านี้…


สำหรับเรื่องของฟุ้งก็มีกันมากๆ
และต่างก็วิตกกันมากด้วย
แทนที่จะหาความชำนาญ
ให้แก่สติปัญญาเข้าไปรู้เข้าไปเห็น.

..กลับหาโทษเติมให้ตนเช่นไม่พอใจไงคะ
นี่เพราะขาดความเข้าใจที่ถูกต้องนั่นเอง…

หวังว่าเมื่อท่านอ่านและเข้าใจทางออกที่ถูกแล้ว
ลองกำหนดดูเลยนะคะ
อย่าผลัดเวลาต่อไปเลย

เพราะไม่แน่เลยว่าเวลาจะมีเหลือ
ให้เราอีกนานสักแค่ไหน
ในการกลับทางเดินที่ซ้ำซากแห่งวัฏฏะสงสารนี้

***พบกันใหม่คราวหน้า***

ด้วยความปรารถนาดี
สวัสดีค่ะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [9 มิ.ย. 2546 , 19:07:38 น.] ( IP = 203.107.207.158 : : )


  สลักธรรม 6

กราบขอบพระคุณค่ะอาจารย์
อ่านแล้วเข้าใจมากในคำอธิบายเกี่ยวกับการกำหนดในอิริยาบถ...(ตามไปอ่านคำตอบที่ตอบพี่อุ๊และพี่มาลีไว้ใน กระทู้ 03161 ๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ 3 มาแล้วค่ะ ) .......และเรื่องของความฟุ้ง ..อีกสักครู่จะลองนำไปฝึกหัดต่อนะคะ..


แต่ที่เห็นโทษมากก็คือความเคยชินที่มักจะชอบบังคับบัญชาในสิ่งที่ไม่สามารถบังคับได้ ทำให้ชอบแก้ไขอย่างผิดๆ แล้วก็มีโทษติดตามมาอย่างที่อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องขี่จักรยานล้มนั่นแหละค่ะ ... เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มฝึกหัดเสมอ ...
จะพยายามฝึกหัดต่อไปค่ะ

โดย น้องกิ๊ฟ [9 มิ.ย. 2546 , 19:59:06 น.] ( IP = 169.210.10.7 : : )


  สลักธรรม 7

กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
ช่วงระยะนี้ ก็รีบกลับบ้านเร็วขึ้นค่ะ แล้วแบ่งเวลาให้กับการปฏิบัติ
เพราะเมื่อมีโอกาสเช่นนี้แล้ว มีความเข้าใจมากขึ้นจากการศึกษาแล้ว
จึงไม่ควรปล่อยโอกาสนี้ให้ผ่านไป

โดย เซิ่น [9 มิ.ย. 2546 , 23:07:44 น.] ( IP = 169.210.26.67 : : )


  สลักธรรม 8


กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

... อาจารย์ค่ะขออนุญาตถามนิดหนึ่งค่ะ ...
อาจารย์กล่าวไว้ในตอนที่ ๓ว่า
....ดูว่า นั่งนี่ เวลานี้ นั่งเราก็รู้อยู่ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้ ต้องมี รูป ด้วย ต้องมีรูปติดเข้าไปด้วย....
..และมาตอนนี้อาจารย์ก็ย้ำอีกว่าต้องมีรูปนั่งด้วย...


ก็สงสัยค่ะว่า..ขณะที่ดูรูปนั่งนั้น คือเราก็รู้สึกนะคะว่ากำลังนั่งอยู่ เรากำหนดนามรู้สึกได้หรือไม่ค่ะ ในเมื่อก็ยังมี(รูป)นามเป็นอารมณ์อยู่

กราบขอบพระคุณมากค่ะ

โดย พี่ดา [10 มิ.ย. 2546 , 09:06:43 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.79 )


  สลักธรรม 9


เรื่องฟุ้งนี่ดีจังเลยค่ะ ทำให้เข้าใจในการปฏิบัติมากขึ้น

.....พอมันฟุ้งไปแล้ว
ก็ให้ทำความรู้สึกอย่างเดียวว่า
จิตหลุดจากนั่ง..นี่สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่
ยังไม่ต้องกำหนดนามฟุ้งนะคะให้แค่รู้สึกว่าจิตหลุดจากการดูนั่งก็พอ แล้วกลับมาดูอิริยาบถต่อไป ....

ขณะปฏิบัติพอฟุ้งไปแล้ว ก็มักจะไม่พอใจ
สบัดหัวเลย แล้วก็นามรู้ (ก็คือรู้ว่าฟุ้ง.. )
อย่างนี้ก็ผิดเต็มๆ เลยใช่ไหมค่ะ

ตอนนี้เข้าใจแล้ว จะไปแก้ตัวใหม่ค่ะ

โดย พี่ดา [10 มิ.ย. 2546 , 09:15:32 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.79 )


  สลักธรรม 10

สวัสดีคะพี่ดา..
คำว่า..ต้องมี รูป ด้วย นั่นหมายถึง
ต้องมีรูปนั่งนะคะ
ไม่ใช่รู้แต่นั่ง

(เหมือนเราเห็นนั่งบนรถเมล์ กับคนที่ยืน

เราเห็นและแยกแยะได้

แต่ตัวเราที่เห็นไม่ได้รู้สึกนั่งอยู่บนรถเมล์นั้นด้วยใช่ไหมคะ)

เช่นกันคะ
คนบนรถเมล์เขาก็รู้ว่าเขานั่งหรือเขาต้องยืน
ยังมีเขามีเรา ตรงนี้แหละคะวิปลาสธรรม

จึงต้องมนสิการให้ตรงกับความจริง
ในความจริงมีท่านั่งปรากฏอยู่..ก็ต้องรู้
อะไรปรากฏละคะ..ก็ต้องรู้

รวมความว่า รูปปรากฏอยู่ที่ท่านั่ง
จึงต้องกำหนดรูปนั่งคะ


ถามต่อว่า..ขณะที่ดูรูปนั่งนั้น
คือเราก็รู้สึกนะคะว่ากำลังนั่งอยู่
เรากำหนดนามรู้สึกได้หรือไม่ค่ะ
ในเมื่อก็ยังมี(รูป)นามเป็นอารมณ์อยู่


ตอบว่าไม่ได้นะคะ

เพราะการนั่งนั้นมีได้อย่างกล่าวมาแล้วว่า
เมื่อมีนามรูปประชุมกันพร้อมไงคะ

แต่ความเห็นผิดอยู่ตรงไหน
ก็อยู่ตรงไม่รู้ว่าเป็นรูปแต่กลับคิดว่าเป็นเรา
เป็นตัวตนคนสัตว์เป็นผู้นั่ง

ดังนั้นต้องแก้ความเห็นผิดก่อนนะคะ
โดยการระลึกรู้สภาพธรรมนั้นๆว่าเป็นรูปนั่งค่ะพี่ดา

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [10 มิ.ย. 2546 , 09:49:26 น.] ( IP = 203.107.212.108 : : )
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org