มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ 5





สวัสดีค่ะทุกๆท่านที่นับถือ
จากการที่เราได้ทำความเข้าใจมาเป็นลำดับ
จนกระทั่งการมนสิการได้ถูกตรง

วันนี้ก็มีสิ่งสำคัญที่ท่านต้องรู้ต้องเข้าใจ
นั่นก็คือ

ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนอิริยาบถ

ถ้าเกิดปวดเมื่อยขึ้นมา
เช่นอย่างเวลานั่ง
พอมันปวดมันเมื่อยรู้สึกขึ้นมา
เราก็ต้องเปลี่ยน อย่าไปทน

ทนก็ใช้ไม่ได้ แล้วจะเปลี่ยนโดยที่ยังไม่ทันรู้เหตุผลที่จะสมควรเปลี่ยน

ไม่มีเหตุผลที่จะมาเสนอปัญญา

ทำไปโดยยังไม่ได้เหตุก็ไม่ได้เลยนะคะ

คือ เวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถ เราจะต้องรู้เสียก่อน

ต้องรู้เหตุที่จะทำให้เปลี่ยนอิริยาบถเสียก่อน
ไม่ใช่เปลี่ยนไปด้วยอำนาจกิเลส

ถ้าเราต้องการ ความอยากก็เกิดขึ้น

เราจะละกิเลสไม่ได้

เพราะเราทำไปด้วยความต้องการ

กิเลสก็เข้าอาศัยได้ ก็ละกิเลสไม่ได้

อิริยาบถนี่สำคัญ พอนั่งแล้วรู้สึกว่ามันปวดมันเมื่อย เราก็เปลี่ยนเสีย แต่ว่าให้รู้เสียก่อนว่า

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 04:26:17 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]


  สลักธรรม 1

ให้รู้เสียก่อนว่า เปลี่ยนเพราะเหตุอะไร

คือ เราไม่ได้เปลี่ยนเพราะกิเลส
เราเปลี่ยนเพราะอำนาจความปวด ความเมื่อย

พระอรหันต์ ท่านยังต้องเปลี่ยน
ท่านก็ยังต้องมีอิริยาบถที่ต้องเปลี่ยน
ไม่เปลี่ยนไม่ได้มันก็ต้องตายละคนเรา

ทีนี้เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ

แต่ให้รู้ว่า เปลี่ยนเพราะว่ามันเป็นทุกข์
ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้วเราจะต้อง
เปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์
ต้องให้ทำความรู้สึกอย่างนี้
เพื่อแก้ทุกข์หรือถูกทุกข์บังคับให้เปลี่ยน

ถ้าเราเปลี่ยนแล้ว เราทำความรู้สึกว่า
เปลี่ยนไปเพื่อจะสบาย ...อิริยาบทใหม่นี่มันจะสบาย

เรานั่งเมื่อยเราก็ต้องอยากนอน... ที่เราอยากนอนเพราะเรารู้สึกว่า รูปนอนมันสบาย

สบายเป็นสุขวิปลาสเข้าแล้ว

ความสุขนี่ในพุทธศาสนาถือว่า วิปลาส คือผิดพลาดจากความเป็นจริง

ฉะนั้น ทุกขวิปลาส จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา มีแต่ สุขวิปลาส

เพราะทุกข์นี้เป็นของจริง เป็นตัวอริยสัจ
ทุกคนก็ทราบแล้วว่าทุกข์เป็นตัวอริยสัจ
เป็นของจริงเป็นสัจธรรม

เพราะฉะนั้น ผู้ใดเข้าไปเห็นทุกข์
ชื่อว่า ผู้นั้นเข้าไปเห็นของจริง

การเข้าไปเห็นของจริง เป็น สัจจะ
ไม่เรียกว่า วิปลาส


ส่วนความสุขไม่มีจริง จึงไม่มี คำว่า สุขสัจ

เพราะสุขไม่ใช่ของจริง
ความจริงมันมีแต่ทุกข์เท่านั้นแหละในโลกนี้

แต่ว่า เราไม่ได้ดู ที่ไม่ได้ดูเพราะว่า
กิเลสตัณหามันย้อมใจอยู่
มันก็มุ่งไปหาความสุข
หาความสบายอยู่เรื่อย

ตัณหานี่ไม่ชอบทุกข์ ชอบแต่ความสุข
เห็นอะไรที่มันสบาย เห็นรูปแล้วสบายใจ
ฟังเสียงแล้วสบายใจ เหล่านี้นี่แหละตัณหามันชอบ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 04:33:00 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 2

เพราะฉะนั้น.. เวลาที่เราจะเปลี่ยนอิริยาบถ
และเพื่อจะกันตัณหาที่เข้าอาศัยอิริยาบทใหม่

เราจึงต้องมนสิการให้ถูกต้องว่า
ความจริงเราต้องเปลี่ยน.. หรือว่าเราอยากเปลี่ยน?

ความจริงเราต้องเปลี่ยน ไม่เปลี่ยนมันไม่ได้

ไม่เปลี่ยนได้ไหม
ถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนไม่ได้
นี่เท่ากับรับรองแล้ว

การที่ตัวเข้าใจว่า ตัวอยากเปลี่ยนนั้นน่ะ
ที่จริงมันผิดแล้ว
ความทุกข์มันเกิดขึ้นเราต้องแก้
เพื่อแก้ทุกข์ถูกไหมคะ
ความจริงมันเป็นอย่างนี้นะคะ

แต่ว่า เมื่อเราไม่ได้พิจารณา
แม้แต่เพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าถึงความจริงได้ค่ะ


วิปลาสมันคอยอยากเปลี่ยน

แท้ที่จริงไม่ได้มีความอยากเปลี่ยนอะไรหรอก

ถ้าอยากเปลี่ยน...
กิเลสตัณหาก็เข้าอาศัยอิริยาบถใหม่ทันที
ทำลายวิปลาสไม่ได้

เราทำความรู้สึกไม่ถูก

เราโยนิโสไม่ถูก ก็ทำลายไม่ได้เลยจริงๆนะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 04:39:26 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 3

ในการกำหนดวิปัสสนานั้น
ท่านระวังนะคะ
เพราะถ้าโยนิโสไม่ถูก
ก็ไม่สามารถทำลายกิเลสตัณหาได้นะคะ

ด้วยเหตุนี้ จึงห้ามไม่ให้รู้สึกว่า
นั่งกรรมฐาน อย่าไปรู้สึกว่า

เราจะต้องนั่งท่านี้..ถึงจะแก้ทุกข์ได้
ห้ามคะ ห้ามไม่ให้รู้สึกว่า นั่งกรรมฐาน

เวลาจะลุกขึ้นเดิน ไม่ให้รู้สึกว่า เดินกรรมฐาน
อันนี้เป็นความสำคัญอันหนึ่ง
ซึ่งเป็นของน่าแปลกมาก
ใครๆ เขามาทำกรรมฐานแล้ว
ไม่ให้นั่งกรรมฐาน ไม่ให้ทำกรรมฐาน

สำหรับวิปัสสนานี่ห้ามรู้สึกว่านั่งกรรมฐาน

หรือเรานั่ง เพื่อจะเอากรรมฐาน
นั่งเพื่อจะได้กรรมฐาน
จะได้เห็นธรรมอะไรมันจะโผล่ขึ้นมา
มันกลายเป็นอย่างนี้ไป
ไม่ใช่นั่งกรรมฐานแล้วละคะ

วิปัสสนานั้น นั่งเพื่อแก้ทุกข์
นอนเพื่อแก้ทุกข์ เดินเพื่อแก้ทุกข์


เพราะถ้ายังไม่ทุกข์ไม่ต้องเปลี่ยน

ถ้าทุกข์แล้วจะเปลี่ยนเมื่อไรก็ได้
๕ นาที ๑๐ นาที ตามใจ
แต่ให้มีเหตุผลที่จะพิจารณาได้

แต่ถ้าเราไปว่าจะนั่งกรรมฐานเดินกรรมฐาน
ก็กลายเป็นว่า เราอยากนั่ง อยากเดิน
เพื่ออยากจะเห็นธรรม
เขาว่าเดินมากๆ แล้วจะเห็นรูปเดินก็เลยเดิน
เพราะอยากเห็นรูปเดิน

อย่างนี้กิเลสก็ปิดบังอิริยาบถเดิน
ไม่รู้ว่าใครเดิน
ในที่สุด
ก็จะคิดเหมาเอาว่าเรา เดิน

ก็จะไม่ได้ความจริง
เพราะฉะนั้น ต้องทำไปตามความจริง
เพราะจริงมีอยู่แล้ว
ขอให้ไปพิจารณาดูจริงๆ
ถ้าทำจริง ๆ ท่านจะพบสิ่งที่ท่านไม่เคยพบเลย
ในชีวิต ... "ธรรม"...ต้องพบแน่
แต่ขอให้ได้อารมณ์ปัจจุบันมาก ๆค่ะfont>

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 04:55:17 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 4

ที่กล่าวว่าขอให้ได้อารมณ์ปัจจุบันมากๆ
ก็หมายถึงว่า มันไม่ฟุ้งไปอื่น


แต่มันต้องฟุ้งห้ามไม่ได้

ฟุ้งก็ฟุ้งไป แล้วเราก็รู้ว่า มันฟุ้ง
ก็กลับมาดูใหม่เท่านั้นแหละ
ขอให้ทำใจเพียงแค่นี้

อย่าไปทำความไม่พอใจ
ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น
ขอให้ดูแต่ว่า เราจะต้องแก้ทุกข์เท่านั้น

เราแก้ทุกข์ เรารู้ตัวเราไหมว่าคะทุกๆวันนี้
ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมานี่
เราแก้ทุกข์อะไรบ้าง
ทุกข์อะไรก็ตามมีมากมาย
ถ้าแก้ไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ต้องตาย

ที่เราอยู่มาได้ทุกวันนี้..เพราะเราแก้ได้เอง
การที่เราแก้เองได้..เลยกลายเป็นคนดี

ถ้าคราวไหนเราแก้เองไม่ได้
ต้องไปหมอมาช่วยแก้ให้ไงคะ
นั่นแหละถึงจะรู้ว่านั่นเจ็บ นี่มันเมื่อย
เราก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ เราก็นอนได้
เราก็เดินได้ ต่างก็ว่าเราเป็นคนดีๆอย่างนี้

ถ้าเผื่ออยากจะนอนก็นอนไม่ลง
นอนไม่ได้แล้ว ไปเอาหมอมาช่วย
ตอนนี้ก็ว่าเจ็บแล้ว แต่ที่จริงเจ็บอยู่เรื่อย
ต้องแก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลาต่างหากคะ

ขอให้ไปดูไปกำหนดปัจจุบัน
ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป

หลับก็แก้ทุกข์ ถ้าไม่หลับได้ไหม
ไม่ได้ มันไม่สบายอีกแล้ว

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 05:02:33 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 5

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยไป
เราก็ต้องทำอยู่เรื่อยไปคือ.. แก้ทุกข์ทั้งนั้น

แต่เราไม่รู้ เวลานอนต้องแก้ทุกข์กี่ครั้ง
เปลี่ยนอิริยาบถพลิกไปพลิกมากี่หน
พอลงนอนท่าไหนก็ตาม
แล้วก็หลับเลย ไม่มี
มันต้องแก้ทุกข์ท่านั้นท่านี้ตลอดไป

จนกระทั่ง..พอลืมตาขึ้นก็แก้เรื่อยมา
ต้องล้างหน้า ต้องสีฟัน
ถ้าไม่ทำมันไม่สบาย ถ่ายอุจจาระ
ถ้าไม่ถ่ายก็ตาย ไม่ถ่ายปัสสาวะได้ไหมตาย
ไม่กินข้าวได้ไหม ตาย
ไม่นอนหลับได้ไหม ตาย
ท่านบอกว่าทุกข์นี้มันข่มขี่ มันบีบคั้น
มันทำให้เร่าร้อน มันต้องปรุงแต่งเนืองๆ
นี่ละคะลักษณะของทุกข์มันเป็นอย่างนี้

ในการ กินข้าวนั้นเราเข้าใจว่า
อยากกินเท่านั้นหรือคะ..ไม่ใช่

ไม่อยากกินก็ต้องกิน
เราจะเห็นได้ว่าคนเจ็บป่วยนั้น
ไม่อยากจะกินเลย

ยิ่งไปโรงพยาบาลแล้ว เขายังต้องเอาสายยาง
ใส่เข้าไป เพราะคนเจ็บไม่ยอมกิน
กินไม่ได้แล้ว

แม้กระทั่งการ หายใจนี้
ท่านก็แก้ทุกข์อยู่ทุกลมหายใจ
เราเคย รู้กันหรือเปล่าคะว่า
ที่เราหายใจเข้าไปได้ก็ยังอยู่
ถ้าหายใจไม่เข้าก็เจ็บแล้ว..และในที่สุดต้องตาย

หายใจออกได้ก็ยังอยู่
ชีวิตของคนเรานี้
ตั้งอยู่เพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น

ท่านถึงบอกว่า นักปราชญ์
ย่อมเห็นชีวิตไม่เป็นสาระ
ชีวิตเป็นไปเพื่อความทุกข์

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 05:12:46 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 6

มาถึงตรงนี้แล้ว..ท่านพอจะเข้าใจชีวิต
และเห็นความเป็นไปของชีวิตได้ดีขึ้นนะคะ

แหละยิ่งถ้าท่านปฏิบัติวิปัสสนา
จนเข้าไปรู้ไปเห็นความจริงของรูปนาม
ตามลักษณะความจริง

ท่านเองแหละคะ
จะเป็นผู้เบือนหน้าหนีจากความทุกข์
ที่ท่านประสบเอง
ไม่ต้องรอใครมาร้องบอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า


ชีวิตจริงมีแต่ความทุกข์
แต่ความทุกข์ที่เราท่านรู้อยู่ทุกวันนี้
แค่ทุกข์เวทนาเท่านั้น
หรือรู้ทุกข์จากสัญญาแค่นั้น

ทุกขสัจจ์ยังไม่ปรากฏตราบใด
ชีวิตไม่หมดไปจากวิปลาสตราบนั้น

..อย่างนี้แล้ว..
ท่านยังจะไม่ลองเดินตรงๆกันบ้างหรือคะ
เพื่อไปดูความจริง
คือของที่มีอยู่ในชีวิตของท่านมานานแสนนาน


พบกันใหม่คราวต่อไปนะคะ

ด้วยความปรารถนาดีค่ะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 05:23:11 น.] ( IP = 203.107.209.78 : : )


  สลักธรรม 7



เป็นโอกาสดีที่เปิดเข้ามาก็เห็นเรื่องนี้พอดี จึงรีบเข้ามาอ่านต่อค่ะ


ทุกครั้งที่เข้ามาอ่าน…ได้รับความรู้ที่เป็นตอนสำคัญของการปฏิบัติทั้งสิ้น โดยเฉพาะวันนี้
เหตุผลที่ทำไมจึงห้ามเปลี่ยนอิริยาบถโดยไม่จำเป็น
ที่เน้นให้เห็นการโยนิโสมนสิการ.


… ขอบพระคุณ อาจารย์บุษกรมากค่ะ

…
ทำให้นึกถึงตอนที่เข้าปฏิบัตินานๆ แล้วได้รับความรู้สึกว่าการนอนเป็นความทุกข์ที่สุด
...ซึ่งในชีวิตประจำวันนี้ เราไม่เคยรู้สึกเลย.

…
การนำเสนอเรื่องนี้ มีคุณค่าจริงๆ.ค่ะ
เพราะเป็นแรงกระตุ้นใจให้พวกเราได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังซะที

…

กราบขอบพระคุณอีกครั้งในความเมตตาของท่านอาจารย์ที่มีให้กับพวกเราทุกๆ คน.




โดย วยุรี [12 มิ.ย. 2546 , 05:53:38 น.] ( IP = 203.113.38.6 : : )


  สลักธรรม 8

… กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
ตามมาศึกษาต่อค่ะ และก็มีคำถามอีกแล้ว
ที่อาจารย์กล่าวว่า

....ถ้าทุกข์แล้วจะเปลี่ยนเมื่อไรก็ได้
๕ นาที ๑๐ นาที ตามใจ
แต่ให้มีเหตุผลที่จะพิจารณาได้ ...

อย่างนี้ก็หมายความว่า..ถ้าขณะที่เราเริ่มรู้สึกว่าเมื่อย หรือรู้สึกตึงๆขาเล็กน้อย แต่เราก็ยังสามารถนั่งท่านั้นได้ต่อไปโดยไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์แก่เรา ได้ใช่ไหมค่ะ?

และต่อเมื่อเรารู้สึกว่าเราเมื่อยมากจนอยู่ท่านี้ต่อไปไม่ได้ จึงค่อยเปลี่ยน ถูกหรือเปล่าค่ะ

โดย พี่ดา [12 มิ.ย. 2546 , 09:21:06 น.] ( IP = 158.108.2.2 : : 158.108.12.73 )


  สลักธรรม 9

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะที่กรุณาชี้ทางให้เข้าถึงทุกขสัจจ์ เป็นความจริงที่ทำให้ทิ้งวิปลาสทั้งปวง กราบขอบพระคุณคะ

โดย ปราณี [12 มิ.ย. 2546 , 10:22:04 น.] ( IP = 203.148.162.223 : : 10.199.199.95, 127.0.0.1 )


  สลักธรรม 10

สวัสดีค่ะพี่ดา และทุกๆท่าน

...แต่เราก็ยังสามารถนั่งท่านั้นได้ต่อไปโดยไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์แก่เรา

...และต่อเมื่อเรารู้สึกว่าเราเมื่อยมากจนอยู่ท่านี้ต่อไปไม่ได้ จึงค่อยเปลี่ยน ถูกหรือเปล่าค่ะ

ถูกได้คะแนนเต็มเลยคะ ดีใจมากนะคะที่เข้าใจยอดเยี่ยมเลยคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [12 มิ.ย. 2546 , 11:18:12 น.] ( IP = 203.107.208.241 : : )
[ 1 ] [ 2 ][ 3 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org