มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


๚ ๛ โยนิโส..เป็นประโยชน์ต่อปัญญา ๚ ๛ 3





…สวัสดีตอนบ่ายค่ะทุกๆท่าน
วันนี้ช่วงเช้าก็ได้เข้ามาทบทวน
ที่ได้เขียนลงไปแล้ว
สำรวจว่ายังมีอะไรอีกบ้าง
ที่จะพอเป็นหลักสำคัญๆที่จะนำมามอบให้แก่ทุกท่านด้วยจิตที่ปิติสุขในการให้

และยิ่งมาทราบว่าท่านมาอ่านกันคนละหลายรอบ
ทำให้รู้สึกว่าชีวิตที่มีอยู่มีค่าขึ้นด้วยคะ

ขอบพระคุณทุกๆท่านนะคะ




และวันนี้ก็อยากจะเรียนให้ท่านทราบ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเอง
กับที่เคยฟังท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
ท่านไปสอบอารมณ์กรรมฐานผู้ที่มาเข้าปฏิบัติ
มักจะได้ฟังบ่อยๆว่า …รู้สึกว่ามันนิ่งๆไปคะ

เพราะอย่างนี้ จึงได้บอกว่า ต้องระวัง
ขอให้ได้อารมณ์ปัจจุบัน แล้ว ความรู้สึกว่า เป็นรูป กับเป็นนาม ต้องมีอยู่เสมอ

... ถ้าจะรู้ไปนิ่งๆ อย่างนั้น
แต่ว่าตัวดูอะไรเวลานั้นรู้ได้ไหมคะว่า
ดูรูปอะไร หรือดูนามอะไรก็ไม่รู้ใช่ไหมคะ
รู้แต่นิ่ง มันนิ่งไปเฉยๆ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้

เพราะอารมณ์นี้เป็นสมาธิ.. ไม่ใช่เป็นอารมณ์ของปัญญา.. แล้วก็ไม่มี นาม ไม่มี รูป

นิ่งเฉยๆ ไม่รู้ว่าเป็นนามเป็นรูปก็ไมได้นะคะ
ขอให้สังเกตต้องคอยดูว่า
...อันนี้ไม่ใช่ ความรู้สึกอย่างนี้ไม่ใช่
ถ้าไม่สังเกตก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน

ถ้าใช่แล้วจะต้องมีความรู้สึกอย่างนั้นทีเดียว
จะต้องรู้สึกว่า.. เวลานี้ตัวกำลังทำอะไรอยู่
ตัวดูกำลังดูอะไรอยู่ ต้องรู้สึกอย่างนั้น

ถ้าไม่รู้สึก ดูเฉยๆ สติสัมปชัญญะไม่มีกำลังพอ
อารมณ์อะไรผ่านมานิดเดียวก็ตกใจได้ ได้ยินเสียงอะไรนิดหน่อยก็ไม่ทันอารมณ์ หรือไม่ก็ปล่อบอารมณ์นั้นทิ้งไปเลย
และเกิดความกลัวอะไรต่อมิอะไรขึ้นมาแทน
อย่างนี้ก็มีมากนะคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 13:43:31 น.] ( IP = 203.107.211.207 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ
[ 1 ] [ 2 ]


  สลักธรรม 1

จิตมันก็ทิ้งอารมณ์นี้ไปแล้ว
การที่ผู้ปฎิบัติรู้สึกตกใจหายวาบไป

แต่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น
ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร
แล้วที่นี้ใจกลับเข้ามาจะกำหนดต่อไป
พอความรู้สึกกลับเข้ามาใจก็เต้น
ใจเต้นเพราะความกลัว
แต่ยังไม่รู้ว่ากลัวอะไร

อันนี้ใช้ไม่ได้ คือว่า ถ้าไม่รู้ว่า อะไรเป็นอะไร
เลยทั้งนั้นนั่นแหละค่ะใช้ไม่ได้

เหมือนกับผู้ที่เป็นนักสืบ
ปัญญาน่ะเหมือนนักสืบ เพื่อทำจารกรรม
เข้าไปในที่ไหน..ก็เพื่อจะไปสืบหาเหตุผลว่า

นี่เขาทำอะไรกัน ไปสมาคมอะไรกัน
ส่งเข้าไปเป็นสืบสวนดู
ต้องไม่ให้เขารู้เลยว่า เราเป็นจารบุรุษ
มิฉะนั้นสืบไม่ได้เรื่อง ต้องรู้จัก
ต้องแยบคาย ต้องมีอุบายต่างๆ

แต่ว่า อุบายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้เทศนาไว้ สั่งสอนไว้แล้ว
ก็จดจารึกไว้ในพระไตรปิฏก

เพราะฉะนั้น บางทีมันยาก
จนกระทั่งถึงว่าไม่เข้าใจ
สอนไว้แล้ว จดแล้ว บันทึกไว้แล้วอยู่ในสมุด

เราเอาสมุดนั้นมาอ่านก็ยังไม่รู้ว่าท่านสอนอะไร
อย่างนี้ก็มีนะคะเพราะขาดความเข้าใจนั่นอง

เราไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร อ่านแล้วก็ไม่รู้
เมื่อไม่รู้แล้วไปทำตามก็ไม่ถูก
ยากมากๆไม่ใช่ของง่ายๆ

ขอให้ทุกท่านเข้าใจว่า..
พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้น

ไม่ใช่เป็นของสาธารณะ
ไม่ใช่เป็นสาธารณะที่ทุกคนจะทำได้

เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ขึ้นมา
ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าแล้ว
ปัญญาบารมีไม่ถึงขนาดที่จะเป็นสัมมาสัมพุทโธ

แล้วจะรู้เองไม่...ต้องอาศัยพระปัญญาธิคุณจึงเป็นเรื่องยากมาก แต่ก็ไม่เกินวิสัยนะคะ




โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 13:57:05 น.] ( IP = 203.107.211.207 : : )


  สลักธรรม 2

…เราจะต้องมีความสังเกตตลอดนะคะว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ถ้าหากว่ามันเบา รู้สึกว่า ตัวเบา
และความรู้สึกก็ไม่ค่อยจะชัด คือ เลือน ๆไป
ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ดีนะ

เพราะตามหลักแล้ว ถ้าสมาธิเข้ามาแล้ว
ความรู้สึกตัวจะไม่ชัดเลือน ๆ
เพราะฉะนั้น อันนี้ต้องอาศัยความสังเกต

ถ้าขาดความสังเกตแล้ว ผิดก็ไม่รู้
ต้องสังเกตนับตั้งแต่ทีแรกที่ลงมือกำหนด

ท่านเคยสังเกตไหมเมื่อแรกที่ลงมือกำหนด
นั่งก็ดี เดินก็ดี นอน หรือยืนก็ตาม
เวลาที่กำหนดครั้งแรกลงไปจะชัดเจน
เพราะว่า ยังไม่มีสมาธิหรืออะไร ๆ เข้ามา

ท่านจะต้อง สังเกตความรู้สึกที่ชัดเจน
อันนี้เอาไว้เป็นหลัก เอาไว้เป็นครู

ไม่ว่าจะนั่งก็ตาม จะนอนก็ตาม
ความรู้สึกที่กำหนดลงไปครั้งแรกจะชัด

ถ้าพูดถึงว่า กำหนดถูก ท่านก็จะต้องจำไว้
จำท่าทาง จำลักษณะไว้
พอกำหนดไปสักประเดี๋ยวความรู้สึกจะเปลี่ยน
คือว่า ความรู้สึกจะอ่อนลงไปหรือว่า

เมื่อสมาธิเข้ามา ความรู้สึกจะอ่อนไป
นี่พูดถึงว่า ไม่ฟุ้ง ถ้าฟุ้งก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง
ความรู้สึกจะอ่อนลงไป เวลานั่งน่ะ ท่านกำหนดอะไร ?


นั่งอะไร ก็ได้ร้อยแปด
ท่านนั่งก็อยู่ในหลายท่าเหมือนกัน
เวลานั่ง.. ท่านกำหนดอะไร ?

คือว่า สำคัญที่ความรู้สึก เวลานั่งนั้นท่านมีความรู้สึกอย่างไร
ท่านทำความรู้สึกอย่างไร ?
บางท่านไปกำหนดเสียทั่งเลยแต่ผิดๆ
เช่น รู้สึกว่า ศีรษะนี่ที่ตั้งอยู่บนบ่า นี่แขน นี่ขา
เป็นท่านั่งพับเพียบ..รู้สึกเสร็จสรรพจัดท่าทางเสร็จ

...ไม่ต้องไปรู้สึกอย่างนั้น
ถ้าไปรู้สึกอย่างนั้นแล้วตกลงว่า
รูปนั่งอยู่ตรงไหน ท่านก็ยังไม่เจอะรูปนั่ง

ขอให้นึกถึงว่า เมื่อท่านยังไม่ได้เข้ากรรมฐาน
เวลานั่ง ท่านก็ทราบ เดินก็ทราบ

โดยปกติธรรมดานี่เอง เวลานั่ง
ท่านก็ไม่ต้องไปรู้ตรงบ่า ตรงแขน ตรงขาอะไร
ก็ไม่มี เช่น อย่างเวลานี้ท่านก็ทราบนั่งหรือนอน
นั่งท่านก็ทราบตามปกตินี่เอง
ทำไมท่านถึงทราบว่า นั่ง

เพราะว่า ตั้งกายอยู่ในท่านี้ เรียกว่า นั่ง
ทั้งตัวเลย เรารู้ที่ตรงท่าทางเท่านั้นพอนะคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 14:10:40 น.] ( IP = 203.107.211.207 : : )


  สลักธรรม 3

..เดี๋ยวมาต่อนะคะ..ขอพักสักนิดคะ

โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 14:11:49 น.] ( IP = 203.107.211.207 : : )


  สลักธรรม 4

คือ รู้ในท่าที่นั่ง นี่เวลานี้ท่านก็นั่งแล้ว
ไม่ต้องไปมีเก้าอี้ก็นั่งได้

ถ้านั่งจะจะไปนั่งเก้าอี้ จะต้องมีเก้าอี้
ก็จะไม่ได้ปัจจุบันอารมณ์

ดังนั้นที่ที่ต้องการแน่ ๆ จะไม่รู้ว่า นั่งอยู่ที่ไหน
ต้องรู้อยู่ที่ท่าเวลานี้ท่านนั่ง ก็อยู่ที่ท่านั่งนั่นเอง

คือ ท่านตั้งกายอยู่ในท่าไหน ท่านก็รู้อยู่ในท่านั้น
รู้อยู่ในท่าที่นั่งไม่ใช่ไปรู้ตรงแขน ตรงขา
รู้อย่างนั้นไม่ถูก เวลานั่งทำความรู้สึกดูรูปนั่ง
คือ รู้สึกอยู่ในท่านั่ง

ท่านยืนก็รู้สึกอยู่ในท่ายืน นอนก็รู้สึกอยู่ในท่านอน เวลาเดินก็รู้สึกอยู่ในรูปเดิน
เวลาที่เท้าก้าวไป ๆรูปเดินก็ไม่ใช่อยู่ที่เท้า
เพราะเวลานี้ ท่านก็มีเท้า แต่เดินมีไหม
เท้ามี แต่เดินไม่มี ยืนก็มีเท้า
แต่เดินไม่มี เพราะยังไม่ได้ก้าวไป

เพราะฉะนั้นรูปเดินเราก็ดูในขณะที่ยกเท้าก้าวไป ข้างไหนก้าวไปก็รู้ข้างนั้น

รู้รูปก้าวข้างนั้นๆ ไม่ต้องมีซ้าย
ไม่ต้องมีขวา เพราะซ้ายขวานี้เป็นบัญญัติ

อาการที่แท้จริงก็คือ อาการที่ก้าวไปเท่านั้นแหละ ข้างไหนก้าวไปก็รู้ข้างนั้น


ในการดูก็ดูด้วยความรู้สึก ไม่ใช่นึก


นึกกับรู้สึกต่างกันอย่างไร ?.

เวลาดูรูปนั่งก็นึกว่า รูป นั่ง รูปนั่ง รูปนั่ง
ท่านต้องสังเกตว่า ..นึกหรือรู้สึก..
ต้องใช้ความรู้สึก.

ถ้านึกเอาแล้วมันไม่ได้อารมณ์ปัจจุบัน
ถ้ารู้สึกถึงจะได้ อารมณ์ปัจจุบัน


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 17:16:56 น.] ( IP = 203.107.205.98 : : )


  สลักธรรม 5


เวลานี้ท่านกำลังทำอะไรอยู่นั่งอยู่.. เวลานี้กำลังนั่ง

...ถ้ารู้สึกแบบนี้คือนั่งอยู่ ไม่ใช่แล้วคะ
นั่งไม่ใช่เป็นอธิบดีแล้วนะคะ

เวลานี้ท่านนั่งเพื่ออะไร ? กำลังอ่านตัวหนังสือบนจอคอมอยู่ใช่ไหมคะ ?

แล้วนั่งอ่านนั้น...ท่านต้องนึกหรือเปล่าว่า อ่านอยู่ อ่านอยู่ๆๆ

ท่านก็ไม่ต้องนึกใช่ไหมคะว่าท่านอ่านอยู่ ก็ต้องอ่านที่ตัวหนังสือให้ออกว่าเขียนอะไร ?

ถ้ามันไปมัวนึกเสีย ท่านก็อ่านไม่รู้เรื่อง

หรืออีกนัยหนึ่ง เวลาเอามือจับของร้อน ท่านก็รู้สึกว่า ร้อน ท่านก็ไม่ต้องนึกอะไร ความรู้สึกนั้น จะต้องมีอารมณ์ปรากฎเป็นปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้สำคัญมากในการทำวิปัสสนา
ท่านรู้สึกว่า ร้อนก็ไม่ต้องนึกอะไร...ก็ร้อนเอง

ทีนี้เอามือออกแล้วก็นึกถึงร้อน ท่านจะร้อนไหม
ท่านก็ไม่ร้อนนะคะ

อันนี้ท่านจะต้องใช้ความสังเกต ให้มากสักหน่อยนะคะ เพราะว่าเรายังไม่คล่อง


เพราะฉะนั้น เวลานั่งใจก็รู้สึกตัวอยู่ว่า ดู รูปนั่ง
แล้วก็คอยสังเกต พอเวลาดูไป ดูไป
ถ้าไม่ฟุ้งประเดี๋ยวก็สมาธิเข้ามาแล้ว
รูปก็จะหลุดไป เหลือแต่ นั่ง
รูปมันจะหลุดไปก่อน อย่างนี้ก็ไม่ได้
เพราะว่ารู้แต่ นั่ง อย่างเดียว

ใครนั่ง ถึงแม้ว่า จะไม่รู้ว่า เรานั่ง
แต่ว่า เรานั่ง ที่มันเคยฝังสันดาน




โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 17:36:33 น.] ( IP = 203.107.205.98 : : )


  สลักธรรม 6


คราวนี้ เมื่อรูปมันหลุดไป
ความรู้สึกว่า เรานั่งมันไม่ออกไปหรอกนะคะ

เพราะความรู้สึกใหม่ยังไม่เกิดขึ้น
เป็นแต่เพียงว่า เราพิจารณาอยู่ ..แต่ว่า ความรู้สึกว่า เป็นรูปแท้ ๆ ยังไม่เกิดขึ้น

ต้องเกิดขึ้นแล้ว เราจึงจะหลุดออกไปได้
ต้องเป็น รูป อย่างชัดเจน
แต่ว่า เวลานี้เรากำลังพยายามกำหนดรูปอยู่

ทำไมจึงต้องกำหนดรูปด้วย
เวลานี้ท่านก็รู้ว่า นั่งมันเป็น รูป

แต่เวลานั่งจริงๆไม่รู้ว่า มันเป็นรูป
มันก็จะเป็น "เรานั่ง" ขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ท่านต้องพยายามกำหนด
จนกระทั่งรู้สึกว่าเป็น "รูปนั่ง"จริง ๆ อย่างนี้แหละคะ
เรานั่ง มันจึงจะเข้ามาไม่ได้

เพราะเรารู้ว่าเป็น "รูป"แล้วจริงๆคือปัญญารู้

เมื่อเรารู้แน่ชัดแล้วว่า คนนี้ไม่ใช่คน
แต่เป็นรูป

พอมาเห็นเข้าอีกที
จะไปรู้สึกว่าเป็นคนอีกไม่ได้คะ เพราะความจริงมันปรากฏแล้ว

เหมือนกับว่าเรารู้แล้วว่าคนนี้ไม่ใช่คนไทย
แต่เป็นคนอินโด ถึงจะเห็นอีกพรุ่งนี้ก็รู้แล้วว่าไม่ใช่คนไทยโดยไม่ต้องบอกซ้ำไงคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 17:39:14 น.] ( IP = 203.107.205.98 : : )


  สลักธรรม 7

เพราะฉะนั้น เราจะทิ้งไม่ได้เลยนะคะ รูป กับ นาม

เพราะว่า มันเป็นตัวกรรมฐาน
เป็นตัวถูกพิจารณาให้รู้แน่ว่ามันมีรูปกับนามจริง ๆ

เพราะฉะนั้น เวลาดูนั้น ดูรูป หรือนาม ดูเฉย ๆไม่ได้ เวลาดูนั้น..ดูรูปนั่ง หรือ รูปนอนดูรูปเฉย ๆไม่ได้

เพราะเป็นรูปคนละรูปไม่เหมือนกัน
คือ รูปนั่งหรือรูปนอน

เพราะถ้ากำหนดเป็นรูปอย่างเดียวกัน ประเดี๋ยวนั่งก็รูปนั้น นอนก็รูปนั้น ยืนก็รูปนั้น เดินก็รูปนั้น รูปจะเกิดเป็นอันเดียวกันขึ้น

ทีนี้รูปก็เลย เที่ยง อีก เพราะว่ารูปนั่งก็เปลี่ยนมาเป็นรูปเดินเท่านั้นเอง ตกลงนั่ง กับ เดินก็เป็นอันเดียวกัน รูปก็เลยเที่ยงขึ้นมา


เพราะฉะนั้นเราจะ รู้สึกรูปเฉย ๆ ไม่ได้เด็ดขาด

จะต้องดู รูปนั่ง หรือ รูปนอน ไม่ใช่
ดูรูปเฉย ๆ นั่งเฉย ๆ ก็ไม่ได้

เดี๋ยวเราก็เข้ามากลายเป็น เรานั่ง เราจึงทิ้งการกำหนดลงไปไม่ได้เลยว่า ดูรูปอะไร

ท่านจะต้องมีอยู่ในความรู้สึกเสมอ

จนกระทั่งจำท่า จำทาง จำอะไรต่ออะไรได้
จำหน้า จำตาได้ดีแล้ว พอกำหนดปุ๊บลงไปเกือบไม่ต้องกำหนดก็รู้

พอดูปั๊บมันก็รู้ขึ้นมา เราก็จะต้องหัดดูจนให้ชำนาญ ทีหลังเมื่อวิปัสสนาเกิดแล้ว

มันมีความรู้สึกคนละอย่าง.... ท่านก็จะทราบเองว่า ท่านจะเห็นแล้วหรือยัง ?

ทั้ง ๆที่ท่านกำหนดรูปน่ะ ท่านเห็นรูปแล้วหรือยัง ต่อเมื่อท่านเห็นรูปท่านก็จะรู้สึกเองว่า
ท่านเห็น พอรู้แล้วก็จะรู้เอง ไม่ต้องมีใครบอกให้ทราบเองจริงๆคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 17:48:57 น.] ( IP = 203.107.205.98 : : )


  สลักธรรม 8

เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญ คือดูรูปอะไร นามอะไรอยู่

แต่ว่าความรู้สึกว่า เป็นรูปนามนั้น มันก็มีอยู่ในใจอยู่แล้วว่า ดูอะไร

แต่ว่า ใหม่ ๆ อาจจะต้องนึกเพราะว่า จำไม่ได้

เพราะฉะนั้น เวลาดูจึงสำคัญมาก
แล้วก็ต้องได้ปัจจุบัน

ขาดปัจจุบันแล้ว วิปัสสนาไม่มีโอกาสเกิด

เหมือนกับว่า ดิฉันเอามือแตะถ้วยน้ำร้อน
ร้อนนี่เป็นรูป รูปร้อนเราก็รู้ ไม่ใช่ เราร้อนนะ

เมื่อเรารู้สึกว่า รูปร้อน ความรู้สึกว่า เราร้อน ก็ไม่มี เกิดไม่ได้ นี่ไงคะเป็นการสลัดความเป็นเราออกไป


วันนี้ก็ได้พยายามแยกแยะอารมณ์วิปัสสนา
ในเรื่องของการสังเกตุให้ออกมา
หลายแบบหลายตัวอย่างด้วยความตั้งใจ

และด้วยความตั้งหวังว่าท่านจะได้ไปลองหัดเปลี่ยนปรับปรุงความเฉื่อยในอารมณ์
ความไม่สังเกตในอารมณ์ได้ดีขึ้นนะคะ
เพราะเราก็รู้กันทุกๆคนแล้วว่า

พรหมไม่ได้ลิขิต
แตเราลิขิตชีวิตเราเอง
เป็นกำลังใจให้ลิขิตชีวิตไปได้บนทางพ้นทุกข์นะคะ


โดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร [20 มิ.ย. 2546 , 18:12:29 น.] ( IP = 203.107.203.222 : : )


  สลักธรรม 9

เข้ามาอ่านสองครั้งค่ะ คือครั้งแรกอ่านถึงตอนที่พักไปก่อนหน้านี้ ... ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ....ได้ความสว่าง คือ ตาสว่างในอีกหลายเรื่อง...

...เมื่อคราวก่อนกล่าวแสดงความคิดเห็นไว้ว่า ..รู้สึกสบายใจที่ไม่ได้นิ่งไปเฉยๆ.... มาอ่านคราวนี้ ไม่มีเรื่องน่าสบายใจเพราะนั่นก็คือความฟุ้งไปที่ไม่ใช่อารมณ์ของปัญญา... และบางครั้งก็ยังเป็นอารมณ์ของสมาธิที่มีความเลือนๆไป...ไม่ใช่นิ่งก็จริง ....ความแตกต่างของอารมณ์ตรงนี้ละเอียดมากเลยนะคะ.... มีหลายๆปัญหาที่เคยเกิดขึ้นคือ เคยถามตัวเองว่า ตอนนี้นึกเอาคือท่องเอาไว้ ..หรือรู้สึกว่าเป็นรูปเป็นนามจริงๆ ..และรู้ว่าที่กำหนดไปนั้นเป็นการท่องตามสูตร .....ในสลักธรรมที่ ๔ นั้นนับว่าเป็นการไขข้อข้องใจให้หลายๆประการเลยทีเดียวค่ะ

....กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ .....

โดย น้องกิ๊ฟ [20 มิ.ย. 2546 , 18:18:52 น.] ( IP = 169.210.13.223 : : )


  สลักธรรม 10

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ จะเข้ามาติดตามต่อนะคะ อ่านไปก็นำมาพิจารณาว่าตนเองปฏิบัติถูกหรือไม่ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะหลังจากที่ได้ติดตามศึกษามาตลอดนั้นทำให้นำไปสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้นค่ะ


คุณเล็กคะพี่ต้อยขอย้ายกระทู้คุณเล็กลงมาข้างล่างนะคะ เพราะอยากให้อ่านต่อเนื่องคะ และขอเอารูปออกนะคะ และใส่รูปใหม่ให้แทนเข้ากับวิปัสสนาหน่อยคะ รูปนั้นกำหนดยากมากเลยนะคะ..พี่ต้อย

โดย เล็ก [20 มิ.ย. 2546 , 18:19:02 น.] ( IP = 203.107.203.222 : : )
[ 1 ] [ 2 ]

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org