มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

Moonlanithi Vipassana
Meditation
OnlineStudy
thai    english
Article สำนักวิปัสสนา
อ้อมน้อย
กิจกรรม About Us

[ Home ] [ ลานถาม-ตอบปัญหาธรรมะ ] [ ลานกวีธรรม ] [ ลานคิด เล่า เขียน ] [ ลานกลิ่นดอกแก้ว ] [ ค้นหากระทู้ ] [ สมัครสมาชิก ] [ login เข้าระบบ ]


บัญญัติธรรมคืออะไร ?




ในอภิธรรมปิฏกกล่าวไว้ถึงธรรมที่เป็น
ประธานมี ๕ คือ จิ. เจ. รุ. นิ.และบัญญัติ
ผมอยากทราบว่าบัญญัติคืออะไร มีเท่าไหร่ครับ ขอช่วยอธิบายด้วยครับ
ลานธรรม.

โดย จากลานธรรม [20 ก.ค. 2544 , 21:06:30 น.] ( IP = 203.148.169.225 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณ


  สลักธรรม 1

คำถามว่า บัญญัติธรรม คืออะไร มีอะไรบ้างนั้น ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจให้รู้จักคำว่า ปรมฺตถ
แยกศัพท์ได้เป็น ๒ คือ ปรม+อตฺถ
ปรม ..แปลว่าไม่วิปริตหรือผันแปร
อตฺถ แปลว่า สภาวหรือสภาพ
ปรม ย่อมจำแนกออกเป็น ๒ คือ
อุตฺตม และ ปธาน
อุตฺตม แปลว่า อุดมหรือประเสริฐ เช่น ธรรมชาติที่ไม่วิปริต ปธาน แปลว่า ประธาน เช่น ธรรมที่เป็นประธาน
อตฺถ ย่อมจำแนกออกเป็น ๒ คือ
สภาวสิทฺธอตฺถ และ ปริกปฺปสิทฺธอตฺถ
สภาวสิทฺธอตฺถ แปลว่า สภาพที่มีความสมบูรณ์ องค์ธรรม ได้แก่ จิตต เจตสิก รูป นิพพาน
ปริกปฺปสิทฺธตตฺถ แปลว่า สภาพที่ต้องอาศัยหรือยึดความนึกคิดเป็นบรรทัดฐาน
องค์ธรรมได้แก่ บัญญัติธรรม คือ บุคคล อัตตะ ชีวะ ฯลฯ
ฉะนั้น ปรมัตถมีอรรถ ๒ นัย
คือ อุตฺตมสภาวสิทฺธอตฺถ แปลว่า
สภาพที่ประเสริฐทรงไว้ด้วยความสมบูรณ์
และ ปธานสภาวสิทฺธตตฺถ แปลว่า
สภาวธรรมที่เป็นประธานทรงไว้ด้วยความสมบูรณ์
ดังนั้น คำว่าบัญญัติธรรม คือ บุคคล อัตตะ ชีวะ นั่นเอง แต่ถ้าท่านจะทำความเข้าใจให้สะดวก
แล้ว พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั้น จิตตฺ เจตสิก รูป
และนิพพาน เป็นธรรมที่เป็น ปรมัตถฺ และธรรมที่เหลือนั้น จัดเป็นบัญญัติธรรมครับ.
เทพธรรม.

โดย เทพธรรม [22 ก.ค. 2544 , 17:34:27 น.] ( IP = 203.145.27.61 : : )


  สลักธรรม 2

ขอแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยนะคะ
บัญญัติกล่าวโดยปรระเภทใหญ่ๆได้ 2 อย่างค่ะ ได้แก่
อัตถบัญญัติ หมายถึง เนื้อความคือวัตถุ สิ่งของ เรื่องราวต่างๆที่พึงให้ถูกรู้ได้
สัททบัญญัติ หมายถึง เสียงหรือคำพูด ที่ทำให้รู้เนื้อความ คือวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว สภาพธรรมต่างๆ
อัตถบัญญัติ โดยย่อมี 6 หรือโดยพิศดารมี 17 อย่างค่ะ ตัวอย่างเช่น กาลบัญญัติ ใช้บอกเวลา เช้า เย็น ทิสาบัญญัติ ใช้บอกทิศต่างๆ กสิณบัญญัติ เช่น ปถวีกสิณเป็นต้น
สัททบัญญัติ มี 6 ประะเภทค่ะ ซึ่ง เป็นคำพูดต่างๆ ที่บัญญัติออกมา มีทั้งชนิดที่มีสภาพปรมัคถ์ปรากฏรร่วมด้วย หรือ ไม่มีสภาพปรมัตถ์ร่วมด้วย บางครั้งก็มีทั้งร่วมด้วยหรือไม่ร่วมด้วยปนกัน ยกตัวอย่างนะคะ เช่น คำว่า รูป เวทนา ก็จะเป็นบัญญัติที่เป็นปรมัตถ์ค่ะ ส่วน บ้าน ต้นไม้ ก็จะไม่มีปรมัตถ์รองรับ แต่ถ้าพูดว่า โสดาบันบุคคล โสดาบันก็มีสภาวะปรมัตถ์รองรับ แต่บุคคล ไม่มีสภาวะรองรับค่ะ
จะยกตัวอย่างเพื่อแยกปรมัตถ์ ออกจาก บัญญัตินะคะ
ชื่อว่า ดอกไม้(เป็นสัททบัญญัติ) มีกลีบเรียวยาว(อัตถบัญญัติ) สีดอกไม้ทำให้เห็นไดี ( สี เป็น รูปปรมัตถ์ การเห็นดอกไม้ เป็น นามปรมัตถ์) ถ้าจับดูก็จะรรู้สึก่าอ่อน ( อ่อน เป็น รูปปรมัตถ์ ความรู้สึก เป็น นามปรมัตถ์)
คิดว่า คงเป็นปรระโยชน์ได้บ้างนะคะ

โดย พยาบาลอุ๊ [23 ก.ค. 2544 , 08:35:54 น.] ( IP = unknown : : unknown )


  สลักธรรม 3

ผมอยากทราบว่า การภาวนาพุทโธ หรือ เพ่งกสิณ จัดว่าเป็นบัญญัติไหมครับ?

โดย อำนาจ อยู่เจริญ [25 ก.ค. 2544 , 08:09:29 น.] ( IP = 203.170.156.120 : : 203.170.156.120 )


  สลักธรรม 4

ขอร่วมด้วยช่วยกัน กับคุณอำนาจนะคะ
ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเพิ่มอีกสักนิดนะคะ ในเรื่องของอารมณ์ และผู้รับอารมณ์ แตกต่างกันค่ะ
อารมณ์ คือสิ่งที่ทำให้จิตรู้
ผู้รับอารมณ์ ก็ คือจิตที่รับอารมณ์นั่นเอง
สำหรับคำภาวนาว่า พุทโธ หรือ กสิณ ที่ใช้เพ่งนั้น จัดเป็นอารมณ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งอารมณ์ประเภทนี้ เรียกว่า บัญญัติอารมณ์ ค่ะ
แต่ขณะที่กำลังภาวนา ย่อมเป็นจิตฝ่ายกุศล ทำหน้าที่รับอารมณ์เหล่านั้น
ดังนั้น ขณะที่ภาวนา จะเรียกว่า
เป็น บัญญัติ ไม่ถูกค่ะ

โดย พยาบาลอุ๊ [25 ก.ค. 2544 , 15:50:51 น.] ( IP = unknown : : unknown )


  สลักธรรม 5

ได้อ่านการอธิบายแล้ว พอได้เข้าใจมากขึ้น แต่ อยากถามว่า..บัญญัติเป็นอารมณ์ ของกุศลได้ไหม ? ช่วยอธิบายด้วยครับ.
ขอบคุณมากครับ

โดย เกษม ชาวอบรม [25 ก.ค. 2544 , 23:39:35 น.] ( IP = 202.59.255.53 : : )


  สลักธรรม 6

คำว่า บัญญัติ คือ สิ่งที่สมมติขึ้นมาอีกที่หนึ่ง มีการแสดงละครหรือลิเก จะสมมติตัวแสดงให้เป็นไปตามเนื้อความของเรื่อง มีเรื่องพระอภัยมณี เป็นต้น
ก่อนจะแสดงต้องหาบุคคลที่มาแสดงแทนตัวจริง จึงสมมติคนที่แสดงว่า นี่คือ พระอภัยมณี (สมมตินามไปตามเรื่องที่จะแสดง) หากจะมองย้อนหลังไป คนที่มาแสดงก่อนนั้น เขามีชื่อของเขาอยู่แล้ว
ในพระอภิธรรมปิฎก มีคัมภีร์หนึ่งชื่อว่า บุคคลบัญญัติ เป็นคัมภีร์ที่ 4 พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสบัญญัติต่างๆไว้ 6 อย่าง (ฉ ปญฺญตฺติโย = บัญญัติ 6 ทั้งหลาย) คือ
ขนฺธปญฺญตฺติ = บัญญัติขันธ์ว่ามี 5 มี รูปขันธ์ เป็นต้น
อายตนปญฺญตฺติ = บัญญัติว่า อายตนะมี 12 มี จักขวายตนะ เป็นต้น
ธาตุปญฺญตฺติ = บัญญัติว่า ธาตุมี 18 มี จักขุธาตุ เป็นต้น
สจฺจปญฺญตฺติ = บัญญัติว่า สัจจะมี 4 มี ทุกขสัจจะ เป็นต้น
อินฺทฺริยปญฺญตฺติ = บัญญัติว่า อินทรีย์มี 22 มี จักขุนทรีย์ เป็นต้น
ปุคฺคลปญฺญตฺติ = บัญญัติว่า บุคคลทั้งหมดมี 10 บุคคล

ต่อมาภายหลัง พระอนุรุทธาจารย์ได้รจนาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 ท่านรวบรวมนัยต่างๆ ทั้งหมด แล้วนำมาแสดงไว้โดยย่อ มีเพียง 2 อย่าง เท่านั้น คือ
อัตถบัญญัติ กับ สัททบัญญัติ

ในอัตถบัญญัติ มีถึง 6 หัวข้อ จะขอยกมาเพียง 1 หัวข้อ คือ
สัตตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัย รูปร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ 5 มาเรียกขานกัน เช่น คน หญิง ชาย ไก่ เป็ด ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
ส่วนสัททบัญญัติ จำแนกไว้ 6 หัวข้อ เช่นกัน จะยกมาเพียง 1 คือ
วิชชมานบัญญัติ เป็นสัททบัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถ์ปรากฏอยู่ เช่น คำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นิพพาน เป็นต้น ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั่นเอง

บัญญัติธรรมที่มีอยู่ในชีวิตของเราทุกวันนี้ จะเป็นอัตถบัญญัติที่เป็นสัตตบัญญัติมากกว่า เช่น เห็นคนยืน (คน คือ ส่วนที่เป็นสัตตบัญญัติ ยืนเป็นอาการของรูป) รูปเป็นวิชชมานบัญญัติที่มีสภาวะปรมัตถธรรมรองรับ มีความแตกดับหรือเสื่อมสลายไป

และบัญญัติเป็นอารมณ์ของกุศลได้ เช่น คำว่า วัดพระแก้ว เป็นบัญญัติ เมื่อมีคนกล่าวถึงหรือนึกถึงภาพที่เราไปทำบุญ รู้สึกอิ่มเอิบใจ ได้ไปในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้กุศลจิตเกิดขึ้นได้ที่เรียกว่า อปราปรเจตนา คือ มีอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ ทำให้เกิดกุศลจิตได้


โดย สง่า [26 ก.ค. 2544 , 14:02:21 น.] ( IP = 203.145.27.111 : : )


  สลักธรรม 7

ครับผมยอดเยี่ยมเลยครับคำตอบ อจ.สง่าอธิบายดีมากเลยครับ.
ขอกุศลที่ อจ. สง่าบำเพ็ญแล้ว จงเป็นบารมีส่งให้ อจ. สง่ามีบารมีสูงๆนะครับ
อนุโมทนาสาธุครับ

โดย เกษม ชาวอบรม [26 ก.ค. 2544 , 23:33:49 น.] ( IP = 203.148.169.12 : : )


  สลักธรรม 8

อนุโมทนาสาธุกับคุณสง่าด้วยคนค่ะ มีภูมิธรรมแน่นดีเหลือเกิน ภาษาบาลีอ่านและจำยากนิดหน่อยแต่เข้าใจในเนื้อหาโดยรวมค่ะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

โดย โด่ง [27 ก.ค. 2544 , 00:37:50 น.] ( IP = 203.155.227.18 : : )

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
รูปภาพ : ไม่เกิน 150KB
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด

ผู้ช่วยเหลือ-แหล่งข้อมูล

[ คีตธรรม ] [ ตารางสี ] [ ค้นหาเพลง ]

ลานภาพ

อบรมวิปัสสนา

ค้นหา

ค้นหา-GooGle

สร้างสรรค์โดย a2.gif (164 bytes) http://www.abhidhamonline.org