มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 756|ตอบกลับ: 8

พระนิพพานเป็นอย่างไร ?

[คัดลอกลิงก์]

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917




พระนิพพานเป็นอย่างไร
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ

คำว่า นิพพาน เมื่อแยกศัพท์แล้วมี ๒ ศัพท์คือ นิ + วาน นิ แปลว่า พ้น, วาน แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องร้อยรัด หมายถึง ตัณหา

เมื่อรวม ๒ ศัพท์เข้าด้วยกันแล้วเป็น นิวาน แปลว่า ธรรมที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด หรือธรรมที่พ้นจากตัณหา ในอภิธัมมัตถสังคหบาลีแสดงว่า วาน สงฺขตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺตตฺตา นิพฺพานํฯ แปลความว่า ธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาเครื่องร้อยรัดนั้นเรียกว่า นิพพาน

วจนัตถะอีกนัยหนึ่งแสดงว่า วินติ สํสพฺพตีติ = วานํ แปลความว่า ธรรมชาติใดย่อมเป็นผู้เกี่ยวไว้ร้อยรัดไว้ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วาน ได้แก่ ตัณหา

วานโต นิกฺขนฺตนฺติ = นิพฺพานํ แปลความว่า ธรรมชาติใดย่อมพ้นจากความเกี่ยวโยงร้อยรัดธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน

อธิบายว่า บรรดาสัตว์ต่างๆ ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้ล้วนมีความเกิด ความตายผ่านมาแล้วอย่างมากมายจนคำนวณนับไม่ได้เป็นอนันตชาติ และจะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอีกนานเท่าใดก็กำหนดไม่ได้ เหมือนอย่างที่บอกว่า ลมหายใจสิ้นสุดได้ แต่ความดีสิ้นสุดไม่ได้



29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:29:48 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ฉะนั้นเรามีการเกิดมาแล้วนับถอยหลังไปเป็นทศนิยมไม่รู้จบ แล้วจะต้องเกิดไปไม่มีกำหนด ที่มีความเกิดความตายสลับสับเปลี่ยนอยู่เรื่อยไปเพราะอาศัยตัณหา คือความยินดีติดใจต้องการในอารมณ์ต่างๆ นั่นเอง จึงมีการเกิดการตายหาสิ้นสุดไม่ได้ ตัณหาเป็นผู้เกี่ยวโยงร้อยรัดเข้าไว้ไม่ให้หลุดพ้นจากความเกิดความตายไปได้

ท่านเปรียบเหมือนหนึ่งช่างเย็บผ้าที่นำผ้าหลายชิ้นมาเย็บให้ติดๆ กันฉันใด ตัณหาก็เปรียบเหมือนช่างเย็บผ้า ส่วนสัตว์ในภพเก่ากับภพใหม่เหมือนผ้าถูกช่างเย็บคือตัณหา เย็บติดต่อกันเรื่อยไปด้วยเหตุนี้ตัณหาจึงชื่อว่า วาน

สำหรับพระนิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาไปแล้วจึงได้ชื่อว่า นิวาน เช่นเดียวกับพระอรหันต์ทั้งหลายที่ได้ชื่อว่า พระขีณาสพ

ซึ่งคำว่า ขีณาสพ นี้ เมื่อแยกศัพท์แล้วได้ ๒ ศัพท์ คือ ขีณ + อาสว = ขีณาสพ ขีณ แปลว่า หมดสิ้น อาสว แปลว่า ธรรมที่หมักดอง หรือธรรมที่ไหลไปได้ใน ๓๑ ภูมิ ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ อาสวะ จึงเป็นชื่อของกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ของไม่ดี เมื่อเติมคำว่า ขีณ กลับเป็นสิ่งที่ดีไป หมายถึง สิ้น อาสวกิเลส ซึ่งว่าโดยบุคคลแล้ว ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา แสดงลักษณะของพระนิพพานว่า

ตยิทํ สนฺติลกฺขณํ แปลความว่า นิพพานมีความสุขที่พ้นจากกิเลสเป็นลักษณะ

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:30:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ความสุขของพระนิพพานนั้นไม่ใช่เป็นความสุขที่ได้รับจากการเสวยอารมณ์ ความสุขที่เกิดจากความสบายกาย สบายใจ เรียกว่า เวทยิตสุข คือ ความสุขที่เกิดจากการเสพอารมณ์

ฉะนั้นตามความหมายของความสุขจึงมี ๒ ประการ คือ

๑.เวทยิตสุข ได้แก่ สุขจากเวทนา การเสวยอารมณ์ เช่น กินข้าวอร่อย ดูหนังฟังเพลง มีเงินเยอะหมดหนี้หมดสิน

๒.สันติสุข ได้แก่ สุขที่เกิดจากการพ้นกิเลส คือ สุขที่ไม่มีกิเลสเกิด อันเป็นนิโรธสัจจะ ได้แก่ ความสุขที่เป็นความพ้นทุกข์ พ้นจากตัณหา

พระนิพพาน มีการแสดงไว้เป็นหลายนัยด้วยกัน มี ๑ ประเภทบ้าง ๒ ประเภทบ้าง หรือ ๓ ประเภทบ้าง ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

นิพพานมี ๑ ประเภท

โดยสภาวะลักษณะ นิพพานมีประเภทเดียวคือ สันติลักษณะ หมายถึง ความสงบจากกิเลสและขันธ์ ๕ ทั้งหลาย เพราะพระนิพพานนั้นไม่เหมือนกับวัตถุสิ่งของที่มีสิ่งเดียว แต่มีผู้ใช้หลายคนจะใช้สิ่งของนั้นๆ พร้อมกันไม่ได้ ต้องผลัดกันใช้ทีละคน พระนิพพานหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานแล้วย่อมเข้าถึงสันติสุขด้วยกันทั้งสิ้นคือ พ้นจากความเกิดและความตาย หรือความดับสิ้นไปของตัณหาโดยเด็ดขาดและแน่นอน ดังคำว่า ใครทำ ใครได้ ใครพบ ใครพ้น

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:30:36 | ดูโพสต์ทั้งหมด
นิพพานมี ๒ ประเภท

นิพพาน เมื่อกล่าวโดยปริยายแห่งเหตุ (การณูปจารนัย) แล้วมี ๒ ประเภทคือสอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน

๑.สอุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕ คือยังมีขันธ์ ๕ อยู่และได้พระนิพพานด้วย คือ พระโสดาบันที่มีชีวิตอยู่ พระสกทาคามีที่มีชีวิตอยู่ พระอนาคามีที่มีชีวิตอยู่ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ เช่น พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ตอนที่ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังโปรดสัตว์อยู่ แต่เป็นอนุปาทานขันธ์ ไม่เป็นอุปาทานขันธ์แล้ว

สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕ ได้แก่ วิบากและกรรมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลายที่ประหาณลงได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณแล้ว ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ดังวจนัตถะแสดงว่า       

๑.๑ กมฺมกิเลเสหิ อุปาทิยตีติ = อุปาทิ (วา) อารมฺมณกรณวเสน ตณฺหาทิฏฺฐีหิ อุปาทิยตีติ = อุปาทิ แปลความว่า กรรมกิเลสเหล่านี้ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบากและกรรมชรูปว่าเป็นของเรา ฉะนั้นขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรุปนี้ ชื่อว่า อุปาทิ หรืออีกนัยหนึ่งแปลความว่า ตัณหาและทิฏฐิเหล่านี้ย่อมยึดถือเอาขันธ์ ๕ คือ วิบากและกรรมชรูปโดยกระทำให้เป็นอารมณ์ของเรา ฉะนั้นขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรุป ชื่อว่า อุปาทิ

๑.๒ นิสฺสติ อวสิสฺสตีติ = เสโส อุปาทิ จ เสโส จาติ = อุปาทิเสโส แปลความว่า ขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรูป ชื่อว่า เสสะ เพราะเป็นส่วนที่เหลือจากกิเลสที่ถูกประหานแล้ว ขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรูป ชื่อว่า อุปาทิ ด้วย ชื่อว่า เสสะ ด้วย เพราะถูกกรรมและกิเลสยึดถือเอาว่าเป็นของเรา หรือถูกตัณหาและทิฏฐิยึดถือเอาโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์และเป็นธรรมที่ยังเหลืออยู่จากกิเลส ฉะนั้นขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรูป เหล่านี้ชื่อว่า อุปาทิเสส

หมายความว่า วิบากและกรรมชรูปที่วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏเหล่านี้ ย่อมมีการเกิดเกี่ยวเนื่องกับกิเลสอยู่เสมอ ครั้นเมื่ออรหัตตมรรคประหานกิเลสทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว แต่วิบากและกรรมชรูป ซึ่งเป็นผลของกิเลสนั้นยังหลงเหลืออยู่ ฉะนั้น วิบากและกรรมชรูปนี้แหละจึงได้ชื่อว่า อุปาทิเสส เมื่อว่าโดยบุคคลาธิษฐานแล้วก็ได้แก่ พระอรหันต์ที่ยังมีร่างกายและชีวิตอยู่นั่นเอง

dd>๑.๓ สห อุปาทิเสเสน ยา วตฺตตีติ = สอุปาทิเสสา แปลว่า นิพพานใดย่อมเกิดพร้อมด้วยวิบากและกรรมชรูปที่เหลือจากกิเลสทั้งหลายนั้น นิพพานนั้นชื่อว่า สอุปาทิเสส ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าไปรู้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์

ที่ว่า นิพพานที่เกิดพร้อมด้วยวิบากและกรรมชรูปนั้นไม่เหมือนกับจิตที่เกิดพร้อมกับเจตสิก มุ่งหมายเอาวิบากและกรรมชรูปที่ยังเหลืออยู่นั้น เป็นเหตุให้รู้ถึงพระนิพพาน

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:31:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ได้แก่ นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ เป็นพระอรหันต์แล้ว ดับขันธปรินิพพานด้วย หมดจากการมีขันธ์แล้ว

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรูปที่เหลืออยู่ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว มีวจนัตถะแสดงว่า

นตฺถิ อุปาทิเสโส ยสฺสาติ = อนุปาทิเสโส แปลความว่า ขันธ์ ๕ คือวิบากและกรรมชรูปที่เหลือไม่มีแก่นิพพานใด ฉะนั้นนิพพานนั้นชื่อว่า อนุปาทิเสส

ในปรมัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า จุติ อนนฺตเร ขนฺธานํอนุปฺปาโท อนุปาทิเสส นามฯ แปลความว่า สภาพที่ไม่เกิดขึ้นซึ่งขันธ์หลังการดับของพระอรหันต์นั้นชื่อว่า อนุปปาทิเสสนิพพาน

การแสดงนิพพานมี ๒ ประเภท ที่แสดงโดยการณูปจารนัย คือโดยปริยายแห่งเหตุนี้ หมายความว่า วิบากและกรรมชรูปที่ยังเหลืออยู่ และไม่มีเหลืออยู่ทั้ง ๒ ประเภทนี้ เป็นเหตุให้รู้ถึงสภาวะของพระนิพพาน ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงแสดงนิพพานมี ๒ ประเภท ตามเหตุดังกล่าวแล้วนั้น เป็นการแสดงโดยปริยาย

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:31:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
นิพพานมี ๓ ประเภท

นิพพานนั้น เมื่อกล่าวโดยอาการเข้าถึงหรือโดยอาการเป็นไปแล้วมี ๓ ประการ คือ

๑.อนิมิตตนิพพาน หมายถึง ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเครื่องหมาย รูปร่าง สัณฐาน สีสันวรรณะอย่างใด ไม่มีเมืองแก้วเมืองสวรรค์

ในปรมัตถทีปนีฏีกาแสดงว่า กิเลสานํ ชรามรณา ทีนญฺจ วตฺถุถูตสฺส นิมิตฺตสฺส อภาวา อนิมิตฺโต นามฯ แปลความว่า การสงัดจากนิมิตอารมณ์ที่ยังให้เกิดกิเลสหรือชรามรณธรรม เป็นต้นนั้นชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน

หมายความว่า พระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนานั้น ย่อมเห็นการเกิดดับแห่งรูปนาม โดยความเป็นไตรลักษณ์ก่อนเห็นแจ้งพระนิพพาน นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ สัมมสนญาณ ก็สามารถเห็นไตรลักษณ์อย่างอ่อนๆ เห็นการเกิดดับของรูปนาม และผู้รู้ดับด้วย เปิดประตูแล้วให้เห็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งถึงวิปัสสนาญาณ ๙ จึงจะสามารถเห็นทางออกทางอนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา

ถ้าการเห็นไตรลักษณ์ของพระโยคาวจรนั้น เห็นโดยความไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง ปราศจากนิมิตเครื่องหมายในอารมณ์วิปัสสนานั้น และเพ่งอารมณ์โดยความเป็นอนิจจังต่อไปจนบรรลุมรรคผลมีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานเป็นอารมณ์และพระโยคาวจรผู้เห็นโดยความเป็นอนิจจังนั้นชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน และผู้ที่จะมีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ ต้องอาศัยบุญญาธิการแต่ชาติปางก่อนอบรมไว้แรงด้วยศีล

ธรรมดาอารมณ์ของผู้เจริญวิปัสสนานั้น ย่อมมีรูปนามเป็นอารมณ์ และรูปคือรูปขันธ์นั้นย่อมมีรูปกลาปเกิดร่วมกันอยู่ ฉะนั้นรูปร่างสีสันวรรณะจึงปรากฏได้ ส่วนนามคือนามขันธ์ ๔ มีจิตและเจตสิกเกิดร่วมกัน แม้รูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะจะไม่ปรากฏเหมือนรูปขันธ์ก็จริง

แต่ความเกิดดับสืบต่อของนามขันธ์ทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าและปรจิตตวิชานนอภิญญาลาภีบุคคลทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้เห็นได้ด้วยสามารถแห่งปัญญาคล้ายกับว่า นามขันธ์ ๔ เหล่านี้มีรูปร่างสัณฐาน ฉะนั้นจึงยังมีนิมิตเครื่องหมายสำหรับความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น ไม่เป็นเช่นรูปนามนั้นแต่ประการใดเลย จึงได้ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน



29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:32:26 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๒. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง ภาวะของนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์อันเป็นที่น่าปรารถนา และไม่มีตัณหาอันป็นตัวต้องการอยู่ในนิพพานอารมณ์นั้น กล่าวคือ สังขตธรรมทั้งหลายอันได้แก่ รูปธรรมและนามธรรมก็ดี เหล่านี้ต้องมีสภาพปณิหิตะ คือมีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ หรือมีตัณหาในสังขตธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง

แม้โลกุตตรจิตและเจตสิกที่ประกอบเหล่านี้จะไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัวตัณหาอยู่ก็จริง แต่ยังไม่พ้นจากความเป็นปณิหิตธรรม เพราะต้องเกิดอยู่กับบุคคล แต่นิพพานนั้นเป็นธรรมภายนอกมิได้เกิดอยู่ภายในบุคคล ฉะนั้นจึงชื่อว่าอัปปณิหิตะ สภาพของร่างกายรูปขันธ์นามขันธ์ของเรานี้ ตั้งแต่แรกยังไม่พ้น เรามีความยึดถือว่าเป็นเราเป็นสิ่งเดียว เห็นนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ จนสัมมสนญาณ เห็นความดับไปของนามรูปและผู้รู้ก็ดับด้วย เกิดเห็นไตรลักษณ์เป็นอย่างอ่อนๆ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณ ๙ เกิดขึ้นมีอนิจจังปรากฏหรือทุกขังปรากฏ หรืออนัตตาปรากฏ จับทุกขังแล้วก็อาศัยทุกขังไปสู่มรรคจิตผลจิต

อัปปณิหิตะ คือเป็นสิ่งที่ไม่ต้องอาศัยตั้งอยู่บนกองทุกข์ คือรูปนามนั่นเอง ในปรมัตถทีปนีฏีกามีวจนัตถะแสดงว่า สพฺพทุกฺขานํ นิทานภูตสฺส อาสาทุกฺขสฺส อภาวา อปฺปณิหิโต นามฯ แปลความว่า การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งปวงนั้นชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน

หมายความว่า พระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาจนเห็นไตรลักษณ์โดยอาการเป็นทุกข์ คือภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรแก้ไขอันหาปณิธิที่ตั้งมั่นไม่ได้เช่นนี้แล้ว เพ่งอารมณ์วิปัสสนาโดยความเป็นทุกข์ต่อไปจนบรรลุมรรคผลมีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นทุกข์ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน และผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณืนี้ต้องอาศัยบุญญาธิการแต่ชาติปางก่อนได้อบรมไว้แรงด้วยสมาธิ

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:32:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
๓. สุญญตนิพพาน หมายถึง ภาวะของพระนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่ให้เป็นสิ่งผูกพันกังวล

ในปรมัตถทีปนีฏีกาแสดงว่า สพฺพปลิโพเธหิ วิวิตฺตตฺตา สุญญตํฯ แปลความว่า ความสงัดจากปลิโพธธรรมทั้งปวงนั้นชื่อว่า สุญญตนิพพาน

หมายความว่า พระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาจนเห็นไตรลักษณ์โดยความเป็นอนัตตา คือ เห็นภาวะที่ไม่ใช่ตัวตนและบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อเพ่งอารมณ์ของรูปนามโดยความเป็นอนัตตาจนบรรลุมรรคผล จนชัดประกาศก้องในใจเป็นรูป ปรากฏเป็นรูปจริงๆ ปรากฏโดยสภาวธรรมเป็นรูปเป็นนาม และในรูปนามนั้น จิตผู้รู้ก็ไม่มีสิทธิไปบงการเสียด้วย

เหมือนไฟไม่สามารถห้ามว่าร้อน ทั้งๆ ที่อยากให้หายร้อน แต่ไม่สามารถแตะได้ รู้ว่าเอื้อมมือไปแตะเมื่อไหร่หายร้อนทันที หยุดดูอยู่กับที่เห็นสภาพความเป็นอนัตตา ไม่สามารถควบคุมได้ เห็นรูปก็ดี เห็นนามก็ดี เหมือนเห็นถ่านที่ลุก ในถ่านก็เป็นก่อนถ่าน เป็นรูป เห็นความร้อนในรูป เห็นความมอดไหม้ของรูป ไม่ใช่เห็นถ่านที่ลุก

ในถ่านก็เป็นก้อน ถ่านเป็นรูป เห็นความร้อนในรูป เห็นความมอดไหม้ของรูป ไม่ใช่เห็นถ่านอย่างเดียวนะ เห็นรูปนั้นเป็นความร้อน เห็นรูปนั้นกำลังถูกเผาผลาญ และผู้เห็นด้วย ผู้มองด้วยไม่สามารถบังคับบัญชาได้ว่า ให้หายร้อนนะ จึงเหมือนการเอื้อมมือไปแตะไฟ เอื้อมไม่ถึง ถึงเอื้อมไปไฟก็ยังเป็นไฟอยู่ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ แล้วอำนาจความเป็นอนัตตาคือการเพ่งความไม่ใช่ตัวตนนี้ บังคับบัญชาไม่ได้

เมื่อเพ่งอารมณ์นามรูปด้วยความเป็นอนัตตาจนบรรลุอำนาจสูงๆ ขึ้นไป อาศัยบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว นิพพานที่เกิดขึ้นในขณะนั้นชื่อว่า สุญญตนิพพาน

ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ มีบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วยปัญญาคือ ได้สร้างปัญญาบารมีไว้แต่อดีตนั่นเอง

29

กระทู้

130

โพสต์

1917

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
1917
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-24 09:34:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด
นิพพานประเภทต่างๆ ที่ได้แสดงแล้วนั้น ได้จากความเป็นไปโดยสามัญลักษณะและโดยอาการเข้าถึง เมื่อกล่าวโดยวิเสสลักษณ์ของพระนิพพานโดยเฉพาะแล้ว มีเพียง ๓ ประการคือ ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ส่วนปทัฏฐานคือเหตุใกล้ให้เกิดนั้นไม่มี ดังพระบาลีที่แสดงว่า

สนฺติลกฺขณมจฺจุตรส        นิพฺพาน อมตํ อนิมิตฺตํ
อุปฏฺฐานํ ปทฏฺฐานํ        น ลพฺภติ ฯ

สนฺติ ลกฺขณา        มีความสงัดจากกิเลสและขันธ์ ๕ เป็นลักษณะ
อจฺจุต รสา        มีความไม่แตกดับเป็นกิจ
อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา        ไม่มีนิมิตเครื่องหมายเป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา        (หรือ) มีความออกจากภพเป็นผล
ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ        ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (พระนิพพานพ้นจากเหตุปัจจัยทั้งปวง)


นิพพานเมื่อกล่าวโดยประเภทแห่งมรรคมี ๔ ประเภทคือ นิพพานของโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค

นิพพานเมื่อกล่าวแบ่งเป็น ๕ ประเภทคือ การดับกามคุณ ๕ คือดับความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

นิพพานเมื่อกล่าวโดยการดับตัณหามี ๖ ประการคือ การดับรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-29 20:40 , Processed in 0.064932 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้