มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 816|ตอบกลับ: 8

คุณสมบัติของผู้ข้ามฝั่งแห่งวัฏฏะ

[คัดลอกลิงก์]

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405





คุณสมบัติของผู้ข้ามฝั่งแห่งวัฏฏะ
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่ละมานะได้แล้ว ๑ มีใจมั่นคง ๑ มีจิตดี ๑ หลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง ๑ อยู่ป่าเพียงผู้เดียว ๑ ไม่ประมาท ๑ ย่อมข้ามฝั่งแห่งวัฏฏะในไตรภูมิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความตายได้”

วัฏฏะ แปลว่า หมุน คือ การหมุนไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก หมุนไปด้วยกิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิบากวัฏ หมุนเวียนเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติใน ๓๑ ภูมิ เพราะว่าในที่สุดทุกภพภูมิต้องเจอความตายแน่นอน

ฉะนั้นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของชีวิตคือความตาย แต่บุคคลแรกที่ตายแล้วไม่เกิดคือ พระอรหันต์ นอกนั้นเกิดหมด

คุณสมบัติของผู้ข้ามฝั่งแห่งวัฏฏะคือ บุคคลที่ละมานะได้, มีจิตใจมั่นคง, มีจิตใจดี, หลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง, การอยู่ผู้เดียว และมีความไม่ประมาท




32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:14:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๑ .บุคคลที่ละมานะได้ มานะ คือความทะนงตน ความหยิ่งความถือตัว ความสำคัญตนว่าดีกว่าเขา หรือเสมอเขา หรือต่ำกว่าเขา โดยทั่วไปคนไทยมักใช้คำว่า มานะ ที่แตกต่างจากความหมายในภาษาธรรมคือภาษาของพระพุทธเจ้า เช่น เด็กชายมานะ โดยหมายถึงความเพียรพยายาม แต่ในภาษาธรรม ความเพียรใช้คำว่า วิริยะ เป็นต้น

การถือตัวว่าดีกว่าเขา ก็เป็นเหตุให้ดูหมิ่นผู้อื่น มองข้ามความรู้สึกของคนอื่นไปเลย

หากถือตนว่าเสมอเขา ก็เป็นเหตุให้เกิดการแข่งขัน แก่งแย่งชิงดีกัน เช่น เราทำการค้าเหมือนกัน อย่างเดียวกัน ต้องสู้กันหน่อย ว่าใครจะถึงเป้าหมายมากกว่ากัน

ถ้าถือตัวว่าตนเองต่ำกว่าเขา ก็เป็นเหตุให้น้อยเนื้อต่ำใจ เกิดริษยาได้ ทำให้เกิดเป็นปมด้อย เช่น มีร่างกายทุพพลภาพ รูปไม่งาม ซึ่งเป็นผลมาจากการฆ่าสัตว์ แต่ความรู้สึกที่น้อยเนื้อต่ำใจเป็นมานะ ซึ่งการถือเช่นนี้ทำให้ใจเราเศร้าหมองเอง ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง

ในความเป็นจริง มนุษย์เราจะเสมอหรือต่ำกว่าผู้อื่นในบางแง่เท่านั้นเอง หรือในบางเรื่องเท่านั้น ไม่ใช่ทุกอย่างไป ฉะนั้นเราต้องมีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเทียบตนกับผู้อื่น การไม่หยุดเอาตนเปรียบเทียบกับผู้อื่น นั่นคือการไม่หยุดความทุกข์ไม่หยุดมานะ

แต่วิธีการเปรียบเทียบที่ควรทำก็คือ เปรียบเทียบตนเองว่า จิตวันนี้กับจิตเมื่อวานนี้เป็นอย่างไร ความรู้สึกวันนี้ กับเมื่อปีที่แล้วเป็นอย่างไร เป็นการหาดีในตน ถ้าไม่ดี ทำต่อ ให้นึกอย่างนี้เท่านั้นเอง

เปรียบเทียบจิตของตนเองเมื่อปีที่แล้ว เดือนที่แล้ว กับปีนี้ เดือนนี้ เราเป็นบุคคลที่มีธรรมะแตกต่างกันไหม ไม่ต้องเปรียบเทียบผู้อื่นเลย นี่คือวิธีการกำจัดมานะอย่างหนึ่ง

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:14:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้วางเฉย และมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนในโลกว่า เสมอกว่าเขา วิเศษกว่าเขา นี่คือวิธีการกำจัดมานะอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้วางเฉย และมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนในโลกว่า เสมอกว่าเขา วิเศษกว่าเขา นี่คือวิธีการกำจัดมานะอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้วางเฉย และมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนในโลกว่า เสมอกว่าเขา วิเศษกว่าเขา หรือต่ำกว่าเขา ผู้นั้นย่อมไม่มีกิเลสฟูขึ้น”

พระองค์ทรงวางรากฐานว่า หยุดเปรียบเทียบโลกภายนอก ดูใจตนเอง ดูเป็นรูปเป็นนาม คือวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ขณะนั้นไม่ได้ดูใคร ดูตนเองเป็นหลัก ทางก็สะอาดขึ้นเหมือนมีการเช็ดทุกวัน เช็ดใจทุกวันจนบริสุทธิ์หมดจด หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ไม่มีพระขีณาสพองค์ใดเช็ดครั้งเดียวออก ต้องใช้ความเพียร

มานะเป็นเรื่องใหญ่ แต่จะไม่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้มีปัญญา เพื่อความสงบสุขแห่งชีวิต บุคคลจึงสมควรละมานะเสีย จะละอย่างไรล่ะ? พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า การละมานะเสียเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง ทรงตรัสไว้ว่า

“ความวิเวกของผู้สันโดษ ผู้สดับธรรมแล้ว ผู้เห็นธรรมแล้ว มีความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสรรพสิ่งทั้งหลาย การก้าวพ้นคือกามหรือวิราคกาม ธรรมเหล่านี้เป็นสุขทั้งสิ้น แต่การละอัสมิมานะได้เป็นบรมสุขยิ่งกว่า”

อัสมิมานะ คือ ความสำคัญหมายมั่นว่าเป็นเราหรือตัวฉัน หรือเราเป็นนั่น เราเป็นนี่ เป็นเหตุให้เกิดการยกตนข่มท่าน เหมือนช้างชูงวง ขาดความเห็นใจและเข้าใจผู้อื่น ถือตนเป็นศูนย์กลาง ตั้งตนเองเป็นผู้มีความรู้ ผู้มีความยิ่งใหญ่ ยึดมั่นตนเองไว้ บางครั้งอาจแสดงออกมาในรูปเกียรติยศ ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:15:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๒. มีจิตใจมั่นคง คือมีสมาธิดี มีใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘ อย่าง คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

เพราะเห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านี้มีประจำโลก เป็นของคู่กับโลก ถึงเราจะนิพพานไปแล้ว ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีไว้ให้คนอื่น ไม่ติดตามเราไปหรอก ตราบใดโลกยังไม่ร้างจากลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์มีอยู่ ตราบนั้นความพินาศย่อมมีอยู่ แต่ถ้าเห็นด้วยปัญญา หมายถึงว่า มีจิตตั้งมั่น มีสมาธิ ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรก็รู้สึกว่าเป็นของธรรมดา

แต่ทุกวันนี้เรารู้สึกว่าเป็นของแปลกใหม่ แต่ใหม่สำหรับตัวเรา แต่เก่าสำหรับคนอื่นก็ได้ ลาภ ยศ ต่างๆ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ว่าใครทั้งสิ้น แต่มีความแตกต่างกันก็คือ ถ้าโลกธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่สดับรับฟังพระสัจธรรม เขาเหล่านั้นย่อมดีใจอย่างที่สุด ถ้าเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เขาเหล่านั้นก็เสียใจอย่างที่สุด เพราะว่าไม่ตระหนักรู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้

แต่ถ้าโลกธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่ผู้ที่รู้ธรรม จะทำให้ผู้นั้นมีความมั่นคง มีสมาธิดี ตระหนักรู้ ฉะนั้นจะไม่หวั่นไหวในโลกธรรม เมื่อเกิดความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ จะไม่เกิดความหวั่นไหวกับสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยเจ้า เพราะท่านย่อมตระหนักรู้ความเป็นจริงว่า สิ่งที่ได้มา มันไม่เที่ยง โลกธรรมเหล่านั้นจึงไม่อาจครอบงำจิตท่านได้ แต่พวกเราโลกธรรมครอบงำจิตได้ง่าย

ท่านเปรียบไว้ว่า “ลาภยศเหมือนบทละครที่มีมาให้เล่น เล่นตามบทบาท สคริปที่เขาวางมาให้คือกรรม แต่กรรมนั้นเป็นแก่นสารคือความจริงนั่นเอง”

เมื่อตระหนักรู้ดังนี้ ผู้มีปัญญาจะสนใจลาภยศหรือสนใจในธรรม ต้องตอบว่า สนใจในธรรม เพราะจิตรู้ว่าไม่เที่ยง เมื่อสนใจในธรรมก็มีธรรมเป็นที่ตั้ง เพราะชอบกันก็สรรเสริญเจริญสิ้น ชังกันก็นินทาทุกแห่งหน นี่เป็นของธรรมดาเลย

ดังนั้น ผู้ที่ข้ามโอฆสงสาร ข้ามแม่น้ำแห่งตัณหาจึงต้องมีจิตใจมั่นคง ต้องมีสมาธิดี ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ ดำเนินตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าคือ มรรคอันมีองค์ ๘ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง จึงจะชื่อว่าข้ามวัฏสงสารได้

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:16:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๓. มีจิตใจดี จิตใจดี คือจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ เราต้องฝึกจิตไม่ให้เกลือกกลั้วกับความชั่ว และรู้ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วเป็นทุกข์ สุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามา เพราะไม่มีใครสุขหรือทุกข์โดยส่วนเดียว เพราะมีความแปรปรวน จึงไม่ควรยึดมั่นอะไรเลย

ความเป็นผู้มีใจดี คือเป็นผู้ไม่ใจร้ายนั่นเอง ไม่ใจดำ คนใจร้ายใจดำคือจิตที่ประกอบด้วยโทสะ ทำไมเขาใจร้ายจัง เพราะเขามีโทสะครอบงำอยู่ จึงต้องค่อยๆ ลดโทสะลงวันละเล็กวันละน้อย จึงจะใจดีเปรียบเหมือนช่างเหล็กที่กำจัดสนิมฉะนั้น

หรือช่างทองที่กำลังกำจัดมลทินเงินทอง โทสะต้องขัดล้างด้วยเมตตา แผ่เมตตาให้ตนเองและสงสารตนเองบ้างเถอะ เพราะใจของเราเป็นสะพานเชื่อมนรก โทสะทำให้ทอดลงสู่นรก นรกไม่ดีเลย เราไม่ชอบ

ก็หมั่นแผ่เมตตาเนืองๆ แล้วอธิษฐานว่า “ด้วยกุศลเจตนาที่ข้าพเจ้าให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงทำให้ข้าพเจ้านั้นเบาบางจากโทสจิตซึ่งเป็นของไม่ดี ขอให้ข้าพเจ้าหมดจากโทสะในอารมณ์นี้ได้โดยเร็วเทอญ”

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ผู้มีใจดี ผู้มีปัญญา จงกำจัดมลทินใจของตนคราวละเล็กละน้อยโดยลำดับ เพราะโทสะเป็นมลทินใจ นอกจากนี้ต้องอาศัยธรรมะคือความข่มใจว่า เขาไม่ได้พูดให้เราโกรธ เราโกรธเอง

การฝึกอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของตนให้ใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ โดยเปรียบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เหมือนกับสัตว์ที่เอาไว้ใช้งาน อย่าให้สัตว์มาเล่นงาน เช่น วัว ควาย นำมาใช้โดยมี ๒ วิธี คือ ๑. ฝึกไม่ให้พยศ ๒. ฝึกให้ทำในสิ่งที่เราต้องการให้ทำ

ยามมีโทสะก็ให้นิ่งเสีย ไม่มีใครรู้ หน้าแดงก็ลูบหน้าตนเอง ให้ความรู้สึก เขาจะพูดอะไรช่างเขา เก็บไว้ ข่มใจ เมื่อฝึกอินทรีย์ได้ ข่มได้ อีกหน่อยใช้ถูก ยามฟังใช้แค่หู ยามเจรจาใช้ปากกับสติ ใช้กับธรรมะทั้งสิ้น

และมีวิธีการเดียวเท่านั้นที่จะบังคับอินทรีย์ของเราคือ วิปัสสนากรรมฐาน ดูอารมณ์มีหน้าที่รู้ เมื่อมีความเข้าใจ วิปัสสนาเท่านั้นที่จะดึงออกได้ ความอดทนทำไปอย่าให้เสียกลางคัน เมื่อฝึกจิตแล้ว ต่อไปจิตก็จะเชื่องแน่นอน เมื่อจิตเชื่องแล้วให้ผลคุ้มเหนื่อย คุ้มที่เราเหนื่อยลงทุนเข้าปฏิบัติเป็นเดือนๆ เมื่อปรากฏนามรูปปริจเฉทญาณมันไม่หายไปไหนหรอก อำนาจปัญญาไม่หาย สติเฟื่องฟูขึ้น มีปัญญามากขึ้น

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:16:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๔. หลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง        คือไม่ติดในสิ่งใด เพราะความคิดทำให้เราเสียอิสรภาพ เพราะความคิดไม่ใช่ความจริง จิตไม่อิสระเพราะถูกกักขังอยู่ในอารมณ์นั้น ติดอยู่กับอารมณ์นั้น แล้วโง่หลงว่าจริง

แต่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่คิด ไม่รู้ แต่รู้ทุกข์แล้วก็แก้ไขทุกข์เท่านั้น ทำให้หลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง คือไม่ติดกับสิ่งใดๆ เช่น การติดยา ติดคุก ติดคน ก็ทำให้ขาดอิสรภาพ

เมื่อใจไปติดข้องอยู่กับสิ่งนั้น ทำให้รู้สึกว่าขาดไม่ได้และตกเป็นทาส เพราะบังคับและผลักดันในสิ่งนั้น ไม่อาจทำด้วยเหตุบริสุทธิ์ได้ ติดคนก็เหมือนกัน เพราะเขากับเราต่างกัน แต่จิตของแต่ละคนมีความไม่เที่ยงเหมือนกัน เมื่อเขาไม่สามารถตามใจเราได้ก็เป็นทุกข์

ฉะนั้น เราจะทำบุญร่วมกับใครก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่กุศลนั้นถวายพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็หลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวง สามารถใช้ปัญญาถูกต้องและถ่องแท้ ไม่มืดมิด ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลส จัดว่าเป็นเสรีชนอย่างแท้จริง เพราะได้ทำลายบ่วงใจให้หมดแล้ว จึงต้องฝึกหัดขัดเกลา

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:17:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๕. การอยู่ผู้เดียว เป็นการข้ามห้วงน้ำแห่งสังสารวัฏได้ ความรู้สึกมีเสรีภาพ คือ จะทำอย่างไรก็ได้ ทำอะไรเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจปรารถนา สำหรับผู้มีธรรมเป็นเพื่อนเมื่ออยู่คนเดียวจะไม่เหงา ด้วยเพราะมีงานมากมาย งานชีวิตที่มีมากมาย โดยอาศัยวิเวกเป็นสหายผู้ประเสริฐ

การอยู่ในป่าอันเงียบสงัด ก่อให้เกิดความหวาดกลัว เมื่ออยู่คนเดียวจึงเป็นเรื่องยากของคนขี้ขลาด แล้วยังไม่เคยชิน แต่เป็นความสุขสำราญอย่างยิ่งของคนต้องการพ้นทุกข์ เป็นการฝึกฝนตนเอง ให้มีความมั่นใจให้จิตใจนั้นกล้าแข็ง เป็นบทเรียนของการตื่น

เพราะหากเราอยู่สองคน ก็หลับใหลไปตามความรู้สึกของเขา ขาดความเห็นถูก ตัณหาเข้าอาศัยแล้ว แม้ในทางปริยัติก็ต้องอยู่คนเดียว เรียนคนเดียว อย่าให้พวกมากลากไป แต่ถ้าสุดความสามารถที่จะแข็งขืนก็ให้ใช้ของดีถ่างตาเมื่อพบของบ้าให้หลับใจ ข่มใจไว้เพราะนั่นเป็นวิบาก ไม่ต้องรับมาคิด

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-11-15 17:18:19 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๖. มีความไม่ประมาท ยังชีวิตด้วยความไม่ประมาท เพื่อการบรรลุผลอันยิ่งใหญ่ ยึดประโยชน์ทั้งสองให้ได้ คือ ประโยชน์ปัจจุบันชาติและประโยชน์ในอนาคตชาติ

ผู้ปรารถนาอายุ ผู้ปรารถนาความไม่มีโรค ผู้ปรารถนาเกิดในตระกูลสูง และความพอใจในอื่นๆ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาท คือไม่ประมาทในการทำบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ความไม่ประมาททำให้ข้ามวัฏฏะได้

ผู้ที่กระทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ เพราะความประมาททั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้ามีปัจฉิมโอวาทที่ทรงสรรเสริญความไม่ประมาทว่า เป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่ รวมธรรมะทั้งหลายไว้ เหมือนรอยเท้าช้างยิ่งใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์บกทุกชนิด

ทรงตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า “ธรรมวินัยนี่แหละจักเป็นที่พึ่งของเธอ จงยังชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด และยังกุศลให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมเป็นคุณกิจเป็นกิจเป็นกิจที่ทำให้เกิดคุณทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้มุ่งข้ามฝั่งห้วงน้ำคือวัฏฏะภัย ต้องข้ามด้วยความไม่ประมาท ดังพระพุทธพจน์ว่า

บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา(สทฺธาย รติ ) , บุคคลข้ามมหรรณพห้วงน้ำใหญ่ได้ด้วยความไม่ประมาท(อปฺปมาเทน อนวํ) , บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร(วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ) และบุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา(ปญฺญาย ปริสุทฺธยนฺติ)

ฉะนั้นธรรม ๖ อย่างนี้จะสามารถนำบุคคลข้ามฝั่งแห่งวัฏสงสารได้ .



0

กระทู้

2

โพสต์

38

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
38
โพสต์ 2019-3-21 09:58:58 | ดูโพสต์ทั้งหมด
นอมรับค่ะ

https://www.gclub-royal1688.com/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-29 02:51 , Processed in 0.095885 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้