อยู่อย่างปลอดภัยในร่มเงาเสือพิทักษ์ (3)
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@nhttps://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14605-1.gif@n
เมื่อความหลากหลายของมนุษย์ได้มาแสดงความแตกต่างระหว่างที่อยู่ร่วมกันในบ้านเสือพิทักษ์มั่นใจได้เลยว่า ภาระหนักจะต้องแบกอยู่บนบ่าของผู้ดูแลหรือครูผู้สอนอย่างแน่นอน และก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ผู้เข้ามาศึกษาธรรมหรือปฏิบัติธรรมบางท่าน จะมีพื้นฐานความเข้าใจว่า“ตนเองดีกว่าผู้อื่น” อาจจะคิดว่าดีกว่าคนอื่นมากหรือดีกว่าอยู่หน่อยหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับบุคคลที่นำตนเองไปเปรียบเทียบ แล้วความรู้สึกที่คิดว่า “ดีกว่า” นี้ ก็เป็นเหมือนกำลังใจอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้พยายามมาศึกษาหรือปฏิบัติธรรมเพื่อให้ตนเองดีขึ้น
การเปรียบเทียบว่าดีกว่าหรือต่ำกว่ามาจากความมีมานะซึ่งเป็นกิเลสที่เกี่ยวข้องกับการสำคัญตนหรือถือตน มีความละเอียดละได้ยากยิ่งทั้งยังเป็นเครื่องร้อยรัดให้ยึดติดในความเป็นตัวตนให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรื่อยไป และนอกจากความถือตนโดยประการต่าง ๆ แล้วแต่ละคนก็ยังแบกเสบียงบาปส่วนตัวมาประชันขันแข่งกันอยู่ตลอดเวลา
การอยู่ร่วมกันของคนหมู่มากจึงต้องมีการจัดระเบียบเพื่อความเรียบร้อยสำหรับพระสงฆ์ก็คือพระวินัย สำหรับประชาชนทั่วไปก็คือกฎหมาย สำหรับกลุ่มหรือสมาคมต่าง ๆก็จะมีข้อบังคับข้อห้ามตามแต่ละกำหนดไว้อย่างชัดเจน
และสำหรับกลุ่มผู้มาศึกษาหรือปฏิบัติธรรมนอกจากเบญจศีลเบญจธรรมขั้นพื้นฐานแล้วจะต้องอาศัยมโนธรรมมาเป็นหลักสำคัญในการตัดสินใจที่จะกระทำเรื่องต่างๆ พูดโดยรวมมโนธรรมก็คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำมโนธรรมจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักพระธรรมตลอดจนการเจริญสติปัญญาและการเจริญพรหมวิหารธรรม
ด้วยเหตุนี้ การอบรมและดูแลบุคคลที่มีความถือตน(มานะ)อยู่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมเพื่อสร้างมโนธรรมและเดินเข้าสู่เส้นทางประพฤติปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์จึงเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากในการฝึกคนให้เป็นคนดีและนอกจากจะประพฤติตนดีแล้วยังต้องมีสติปัญญาอีกด้วย
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14385-1.jpg@n
หลวงพ่อเสือท่านบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ฝังปลูกลงในจิตใจลูกๆแต่ละคนด้วยการสร้างความเข้าใจถูกอย่างง่ายๆ ให้ลูกๆ จดจำกันได้ขึ้นใจเสียก่อนโดยท่านจะปรับปรุงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้มีระเบียบวินัยในแบบที่ทำได้ง่าย ๆไม่เดือนร้อนผู้อื่น แต่จะเดือดร้อนกิเลสของแต่ละคนเป็นอย่างมาก เช่นการให้การบ้านไปคัดลอกถ้อยคำบางคำหรือบางสำนวนเพื่อให้ผู้คัดลอกได้เตือนใจตัวเองแบบย้ำๆและเกิดความทรงจำที่หนักแน่นจากการเขียนด้วยลายมือตนเอง เช่น เมื่อใครพูดจาไม่ดีส่อไปในทางเพศท่านจะให้ไปคัดลายมือ 50 หรือ 100 หรือ 500 จบ ด้วยคำว่า “พูดดีมีมงคลพูดจาสัปดนมงคลไม่มี” หรือเมื่อใครที่กำลังโกรธผู้อื่นเป็นฟืนเป็นไฟไม่สามารถสงบใจได้ท่านก็จะให้ไปคัดคำว่า “ไม่มีใครพูดให้เราโกรธ แต่เราโกรธเอง”
จากตัวอย่างที่นำมาเล่านี้ถ้าหากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะพบว่าไม่ใช่ถ้อยคำที่ใช้เบรคอารมณ์ของลูกศิษย์ ให้ถอนตัวคืนสู่กุศลในระยะอันรวมเร็วได้เท่านั้นยังเป็นข้อคิดถ้อยภาษาที่มีหลักธรรมมารองรับอย่างถูกต้องไม่ได้เป็นเพียงถ้อยโวหารที่สร้างความคล้องจองเท่านั้น อย่างเช่น “ไม่มีใครพูดให้เราโกรธแต่เราโกรธเอง” หากเป็นนักศึกษาพระอภิธรรมแล้วอย่างน้อยๆ ก็จะรู้ถึงคำว่า โยนิโสมนสิการ อสังขาริกสสังขาริก โทสเจตสิก และอาฆาตวัตถุ 10ประการ และเมื่อเข้าถึงคำเหล่านี้การหยุดยั้งความโกรธ ก็จะมีคุณภาพมากขึ้นกว่าการหยุดยั้งเพราะการนำสำนวนนั้นมาบริกรรมเพื่อข่มใจหรือหยุดยั้งเพราะเกรงใจหลวงพ่อท่าน
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14385-1.jpg@n
คุยกันมาถึงตรงนี้แล้วก็ขอแวะไปที่คำว่าอาฆาตวัตถุสักหน่อยหนึ่งอย่างที่เล่าไว้ข้างต้นว่าผู้มาศึกษาหรือฝึกปฏิบัติธรรมบางคน จะถือตนว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือผู้อื่นและมีตนเองเป็นศูนย์กลางในการตรวจจับสิ่งรอบตัวมาเปรียบเทียบกับตน ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่ตนเองมีอยู่ถ้ามีมโนธรรมมากก็จะตัดสินเป็นกุศลได้มากในเรื่องของตนเอง รวมทั้งในเรื่องของผู้อื่นที่บังเอิญไปรับรู้
บางคราวเราก็ไม่ชอบใครบางคนทั้งที่เราไม่รู้จักหรือไม่เคยคบหาเพราะเรานำพฤติกรรมของเขามาเปรียบเทียบกับหลักตัดสินที่อยู่ในใจเรา แล้วเราก็ยึดถือเข้าไปร่วมกับพฤติการณ์นั้นด้วย เสมือนเราเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรงแต่สำหรับบางคนแม้จะทราบเรื่องราวนั้นและตัดสินได้ว่าเขากระทำสิ่งไม่ดีแต่ก็ไม่ได้ไปเพ่งโทษด้วยจิตอันเป็นอกุศลโดยพิจารณาได้ถึงบริบทของกาลสมัยแห่งความวิบัติและตั้งเป้าหมายที่จะกระทำกรรมที่นำไปสู่ผลที่เป็นสุข
บางคราวเราก็รู้สึกขัดใจกับใครบางคนที่เขากำลังพูดจาอยู่กับคนอื่นก็จริงแต่เราฟังแล้วเราก็รู้สึกไม่ดีกับคำพูดเหล่านั้นเพราะเขากำลังพูดอยู่กับคนที่เรารู้จัก และเรารู้สึกดีกับคนนั้น...ความมีตนเป็นใหญ่ของเราจึงกรูเข้ามาบงการจิตของเราให้เกิดอาฆาตวัตถุชนิดหนึ่งคือความไม่พอใจกับบุคคลที่กำลังพูด หรือแสดงอาการที่ไม่น่าสบอารมณ์กับบุคคลที่เรารักชอบหรือรู้สึกดีหรือรู้สึกเป็นมิตรรวมทั้งเกิดความเพ่งโทษตำหนิติเตียนการกระทำของผู้พูดว่ากำลังทำสิ่งที่ไม่ควรทำ...
เมื่อต้องมาพบกับอารมณ์ภายนอกแต่จิตของเรามีมานกิเลสที่เป็นพืชเชื้อจึงส่งต่อกระบวนการคิดให้กลายเป็นกรรมที่ส่งผลให้ชีวิตขาดทุนทั้งที่เป็นเรื่องของคนอื่นแต่เกิดจิตโกรธที่เราหลายแสนหลายล้านวิถีนอกจากความโกรธแล้วก็ยังอาจมีการลบหลู่คุณธรรมหรือบุญคุณของคนอื่นอีกด้วย
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14385-1.jpg@n
เมื่อเราเห็นใครสักคน ถูกตำหนิ หรือโดนดุจึงไม่ควรด่วนตัดสินเฉพาะภาพที่พบเห็น เพราะเราไม่รู้เลยว่าภายใต้การแสดงออกเช่นนั้นมีแรงจูงใจมาจากสิ่งใดมีกระบวนการทำงานของจิตประภทใดประกอบไปด้วยความปรารถนาดีประการหนึ่งประการใดหรือไม่และการที่เราไปตัดสินว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ ก็หมายถึงเราได้พิพากษาผู้กระทำพฤติกรรมเช่นนั้นไปแล้วว่า“ทำสิ่งที่ผิด”จึงต้องย้อนกลับมาตระหนักให้ได้ว่า เรามีวิจารณญาณดีกว่าผู้กระทำมากน้อยเพียงไรและการที่เราสรุปพฤติกรรมนั้นว่า “ดุหรือตำหนิ”นั้นสมควรแล้วหรือไม่ เพราะเราไปมองว่า
คนดุ.....เป็นคนผิดเป็นผู้กระทำคนถูกดุ ...เป็นเหยื่อเป็นผู้ถูกกระทำคนดุ..กลายเป็นอาชญากรทางอารมณ์คนถูกดุ...กลายเป็นผู้ควรได้รับการเยียวยา
คำว่า “โดนดุ โดนตำหนิ”เป็นคำที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าชอบใช้กับผู้ที่อาวุโสมากกว่าในกรณีที่มีการอบรมหรือสอนแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังโดนลงโทษด้วยวาจาแล้วก็อาจกลายเป็นความไม่พอใจในตัวผู้พูดตามมา
คำว่า “โดนดุ โดนตำหนิ”เป็นคำที่ผู้ฟังใช้ผิดไปจากวัตถุประสงค์ของผู้พูดและก็ใช้ผิดกันมาตลอดเพราะผู้พูดได้พูดเพื่อประสงค์จะให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องราวนั้นๆไม่ได้ประสงค์ให้เกิดความรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจว่ากำลังถูกลงโทษ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดอกแก้ว เมื่อ 2025-7-5 19:30
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/14385-1.jpg@n
ในการอบรมหรือสอนหรือชี้แจงประเด็นอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ฟังก็ต้องหันกลับมามองที่ตัวเอง คือการตั้งใจพิจารณาว่าสิ่งที่ได้รับฟังนั้นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ผู้ฟังได้กระทำผิดไปจากแนวทางหรือเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลเดิมที่เคยพูดไว้ (โกหก)หรือพลาดพลั้งกระทำโดยไม่ได้ตั้งใจหรือขาดความละเอียดรอบคอบ (ประมาท) หรือกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่กาลเทศะ
หากรับฟังแล้วเกิดความรู้สึกตัวว่า “เราทำผิด”ก็ต้องมีความรู้สึกตัวว่า เราพลาดหรือรู้สึกตัวว่าเราขาดความรอบคอบอีกแล้ว นี่คือการมองมาที่ตัวเอง เป็นการมองได้ถึงความพลาดที่ตัวเองทำให้ตนจะสามารถแก้ไขได้ ปรับตัวเองได้ (ถ้าอยากเป็นคนดี)
แต่ถ้ารู้สึกว่า “โดนดุ” นั่นคือมองไปที่คนอื่นว่าเขาว่าเรา เขาทำกับเราเอาอีกแล้ว ตรงนี้ละ มันเป็นความคิดว่า “เราไม่ผิด” ในขณะนั้นก็เป็นการเพ่งมองไปที่ผู้พูดจิตไม่พอใจก็เกิดขึ้น การมองอย่างนี้ก็คือ การไม่ยอมรับในความผิดพลาดตนเองเลยผู้ที่มีนิสัยแบบนี้จะช่วยแก้ไขนิสัยได้ยากมากเหมือนวลีที่ปรากฏในนิทานเซน คือ “ชาล้นถ้วย”
ในการอยู่ร่วมกันจำเป็นที่จะต้องมีการอธิบายหรือการสอนจากผู้ใหญ่ไปสู่ผู้น้อยจากครูไปสู่ศิษย์ ซึ่งอาจมีคำพูดที่สร้างความกระทบกระเทือนใจ(กิเลส)ของผู้ฟังอยู่บ้างหลวงพ่อท่านจึงให้เราท่องกันเสมอว่า “ไม่มีใครพูดให้เราโกรธ แต่เราโกรธเอง” และ“คิดแก้ไข ใจให้มีกุศล มองตนให้มาก เรื่องยุ่งยากจะหมดไป”เพื่อให้เรากลับมาทบทวนที่ตนเองมากกว่าการเพ่งโทษคนอื่นรวมทั้งละคลายความถือตนลงบ้างในบางขณะเพื่อที่จะเติมหลักธรรมเข้าไปสู่ชีวิต.
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/2497-14.gif
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นข้อคิด
ให้เกิดการมองใหม่ และเริ่มต้นใหม่ที่ดีแก่ชีวิตได้นะคะ
https://webboard.abhidhammaonline.org/old/abhidhamonline.org/flower.gif
หน้า:
[1]