พี่ดา โพสต์ 2018-8-22 16:34:32

ทบทวนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เรื่องจิต-เจตสิก (ตอนที่ ๒)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-22 17:00

ทบทวนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เรื่องจิต-เจตสิก (ตอนที่ ๒)



พี่ดา โพสต์ 2018-8-22 16:50:17

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-22 17:41



เจตสิกเป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตปรุงแต่งจิตให้เป็นไปต่างๆนานาตามคุณลักษณะประจำตัวของเจตสิกเป็นเหตุให้จิตแสดงอำนาจเป็นไปตามการปรุงแต่งนั้นๆ
หากเปรียบจิตดั่งน้ำบรรจุในแก้ว(จิตต้องมีที่อาศัย) เมื่อน้ำถูกปรุงแต่งด้วยสีต่างๆ (เจตสิก) น้ำนั้นก็จะแปรเปลี่ยนไปตามสีที่เข้าปรุงแต่งและถูกเรียกชื่อใหม่ เช่น
... สีแดง เข้าปรุงแต่ง น้ำก็จะกลายเป็น=> น้ำแดง... สีม่วง เข้าปรุงแต่ง น้ำก็จะกลายเป็น=> น้ำม่วง... สีดำ เข้าปรุงแต่ง น้ำก็จะกลายเป็น=> น้ำดำ... สีเขียว เข้าปรุงแต่ง น้ำก็จะกลายเป็น=> น้ำเขียว
      จิต =น้ำ    สีต่างๆที่เติมเข้าไป      = เจตสิก    น้ำที่ถูกปรุงแต่งเป็นน้ำสีต่างๆ       = จิตดวงใหม่น้ำที่เกิดขึ้นใหม่นั้นก็ยังคงอยู่ในแก้ว = จิต-เจตสิกอาศัยวัตถุเดียวกัน
และเราก็ไม่สามารถแยกสีต่างๆนั้นออกมาได้ เฉกเช่น จิต-เจตสิกก็แยกออกจากกันไม่ได้ย่อมประกอบกันเป็นเนื้อเดียวกัน

พี่ดา โพสต์ 2018-8-22 16:58:43

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-22 17:00



สมมุติต่อมาว่า...แก้วน้ำเขียวนั้นแตก
เปรียบดั่งว่า .. จิต-เจตสิก ย่อมดับไปพร้อมกัน

พี่ดา โพสต์ 2018-8-22 17:04:35

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-22 17:39






เจตสิก ๕๒ ดวง แบ่งออกเป็นกลุ่มๆหรือราสีตามอำนาจการเข้าปรุงแต่งของเจตสิกเหล่านั้นจำแนกเป็น ๓ ราสีคือ
๑. อัญญสมานาเจตสิก มี ๑๓ดวง มี ๒ นัย คือ
    ๑.๑ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก๗ ดวง
    ๑.๒ ปกิณณกเจตสิก๖ ดวง

๒. อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง มี ๔ นัย คือ
    ๒.๑ โมจตุกเตสิก ๔ ดวง
    ๒.๒ โลติกเตสิก ๓ ดวง
    ๒.๓ โทจตุกเตสิก ๔ ดวง
    ๒.๔ ถีทุกเตสิก ๔ ดวง
    ๒.๕ วิจิกิจฉาเจตสิก ๔ ดวง

๓. โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง มี ๔ นัย คือ
    ๓.๑ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
    ๓.๒ วิรตีเจตสิก ๓ ดวง
    ๓.๓ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง
    ๓.๔ ปัญญินทรีย์หรือปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

พี่ดา โพสต์ 2018-8-22 17:23:00

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พี่ดา เมื่อ 2018-8-22 17:52



เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. อัญญสมานาเจตก ๑๓....... ประกอบได้กับจิตทุกประเภท
๒. อกุศลเจตสิก ๑๔ ............. ประกอบได้กับอกุศลจิตเท่านั้น๓. โสภณเจตสิก ๒๕ ............ ประกอบได้กับโสภณจิตเท่านั้น
เพื่อจะดูเจตสิกว่ากลุ่มใดเข้าประกอบกับจิตได้ง่ายขึ้น เมื่อเจตสิกมี ๓ กลุ่ม ก็จะแบ่งจิตเป็น ๓ กลุ่มเช่นกัน โดยแบ่งจิตออกเป็น      ๑. อกุศลจิต๑๒      ๒. อเหตุกจิต ๑๘            ๓. โสภณจิต ๕๙/๑๒๑
       จากภาพ จะเห็นได้ว่า....

[*]      อกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒ กลุ่ม คือ
             .... อัญญสมานาเจตสิก และ อกุศลเจตสิก

[*]       อเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๑ กลุ่มคือ
             .... อัญญสมานาเจตสิก

[*]       โสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒ กลุ่ม คือ
             .... อัญญสมานาเจตสิก และ โสภณเจตสิก

(ตอนต่อไปจะขึ้นเรื่องอกุศลจิตตุปบาทนะคะ)

หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ทบทวนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เรื่องจิต-เจตสิก (ตอนที่ ๒)