ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1364|ตอบกลับ: 6

วิปัสสนากรรมฐาน ตอน ๓

[คัดลอกลิงก์]

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901


ภูมิ ๓๑

เมื่อสมมติบัญญัติอันเป็นโมฆธรรมได้สลายลงแล้ว ก็มีธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งเป็นสันตติสืบเนื่องกันไปไหลอยู่ไม่ขาดสาย ธรรมชาติอันแท้นั้นเรียกว่าปรมัตถธรรม เป็นสภาพที่เกิดดับอยู่เสมอ

เมื่อจวนจะสิ้นชีวิต มี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต เป็นสะพานให้จิตที่จุติและปฏิสนธิ จากภพเก่าสู่ภพใหม่ไม่มีสิ้นสุด เรียกว่า วัฏฏสงสาร คือการท่องเที่ยววนเวียนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ภูมิ ๓๑ ซึ่งจัดเป็นภูมิเบื้องต่ำ เรียกว่าเหฏฐิมภูมิ ภูมิท่ามกลาง เรียกว่า มัชฌิมภูมิ และภูมิเบื้องสูง เรียกว่า อุปริมภูมิ ซึ่งรวมเรียกว่า สังสาระ การท่องเที่ยวของสัตว์ทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้คือ :-

๑.เหฏฐิมสังสาระ การท่องเที่ยวของสัตว์ทั้งหลายในภูมิเบื้องต่ำ คืออบายภูมิทั้ง ๔ มีเปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดียรัจฉาน อาศัยกรรม, กรรมนิมิตและคตินิมิต

เมื่อบุคคล เช่น มนุษย์เมื่อใกล้จะตาย ปัญจทวารย่อมดับก่อน คือตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน จมูกไม่รู้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส กายไม่รู้สึกสัมผัส กายเบื้องบนตายลงมาถึงคอ คือหมดความรู้สึกตลอดถึงแขนทั้ง ๒ ข้าง กายเบื้องล่างตายตั้งแต่เท้ามาถึงท้องหมดความรู้สึกตลอด มีความรู้สึกนึกคิดอยู่ทางมโนทวารคือทางใจทางเดียว สิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรเป็นสรณะที่พึ่งที่อาศัยได้เลย มีแต่กรรมที่ได้เคยกระทำมาเท่านั้น เป็นอารมณ์ให้ผู้ที่จะไปเกิดในภูมิแห่งเปรตและอสุรกาย

กรรมชั่วอันเป็นอกุศลกรรมที่ได้เคยกระทำมาแล้วแต่อดีต เช่น การลัก การขโมย หรือการประพฤติผิดในกาม มีโลภะ ตัณหา ราคะ เป็นเหตุให้กรรมที่เคยกระทำชั่วเช่นนี้ จะมาปรากฏทางใจให้เห็นว่า ตนได้กระทำในขณะนั้น เรียกว่า กรรมนิมิต เมื่อกรรมนิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป เป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต คือ ภูมิของเปรตอสุรกายมีนิมิตเป็นโคลนตม สิ่งสกปรกโสมม หรือริมแม่น้ำ ชายป่า เป็นต้น เป็นสะพานให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เมื่อจุติจิตดับลงแล้ว ก็จะไปปฏิสนธิในภูมิแห่งเปรตหรืออสุรกาย

ถ้าปัจจุบันชาติได้เคยทำกรรมชั่ว มีฆ่าสัตว์ ฆ่ามนุษย์ มีวาจาด่าผู้อื่น มีใจคิดพยาบาทปองร้ายอันเกิดมาจากโทสะ คือ ความโกรธเป็นเหตุให้เกิดกรรมนิมิต เสมือนว่าตนได้กำลังกระทำอยู่ในเวลานั้น เป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต มีไฟ หรือศัสตราวุธคอยเผาผลาญ หรือทิ่มแทงให้ได้รับทุกขเวทนา เมื่อจุติดับลงแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิจิตในภูมิแห่งนรก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสสิ้นกาลนาน จนกว่าจะหมดอายุของวิบากกรรม

ถ้าหากว่าในปัจจุบันชาตินี้ได้กระทำกรรมชั่วไว้ ด้วยอำนาจแห่งโมหะ คือความหลง ความเผลอ ความไม่รู้ คือไม่รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ มีกิริยาท่าทางเซอะซึมทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ พูดเพ้อเจ้อไม่ได้เรื่องราว ไม่มีเหตุผล จิตใจเลื่อนลอยปราศจากความยั้งคิด นึกจะทำก็ทำ นึกจะพูดก็พูด กรรมเหล่านี้มาปรากฏแล้วในเวลาใกล้จะตาย เรียกว่ากรรมนิมิต เป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต เห็นป่า เห็นสัตว์เดียรัจฉาน หรือท้องของสัตว์เดียรัจฉาน เมื่อจุติจิตดับลงแล้ว ปฏิสนธิจิตก็เกิดในภูมิแห่งสัตว์เดียรัจฉาน ทนทุกข์ทรมานอยู่จนกว่าจะสิ้นวิบาก

กรรมที่ สัตว์ทั้งหลายผู้กระทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ด้วยอำนาจแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ ย่อมเที่ยวไปในอบายภูมิ คือที่อยู่ของผู้ปราศจากความสบาย เรียกว่า เหฏฐิมสังสาระ ด้วยประการฉะนึ้ .



42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:18:28 | ดูโพสต์ทั้งหมด

๒. มัชฌิมสังสาระ คือ ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิท่ามกลาง หรือเรียกว่าสุคติภูมิ ๗ คือ มนุษย์ภูมิ ๑ และเทวดาภูมิ ๖

สัตว์ผู้ใกล้จะตาย ถ้าปรากฏกรรมที่เคยได้กระทำมาอันเป็นกุศลกรรมที่เรียกว่า มนุษยธรรม คือ เบ็ญจศีล เบ็ญจธรรม หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วไซร้ จะเกิดกรรมนิมิต เสมือนว่าตนได้กำลังกระทำอยู่ในเวลานั้น เพราะอาศัยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุให้เกิดคตินิมิต มีอาคาร บ้านเรือน ชิ้นเนื้อ หรือครรภ์มารดา เป็นต้น เมื่อจุติดับลงแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตในภูมิแห่งมนุษย์

ถ้าหากว่าในปัจจุบันชาตินี้เป็นผู้มีจิตที่ประกอบด้วยหิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ทุจจริต ตั้งอยู่ในธรรมอันขาว มีใจอันสงบระงับปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุแล้ว เป็นผู้ทำทานการกุศล มีการถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระภิกษุสงฆ์ และให้ทานแก่คนยากจนอนาถา หรือถวายไตรจีวรแก่พระภิกษุสงฆ์ ให้ทานเสื้อผ้าแก่คนยากจน สร้างกุฏิ วิหาร เสนาสนะ ศาลา หรือสร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล สร้างถนนหนทาง สร้างสิ่งสาธารณะทั่วไป อันเป็นประโยชน์แก่เพื่อนร่วมการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน หรือให้ทานยารักษาโรคเป็นต้น หรือว่าให้ส่วนบุญ อนุโมทนาส่วนบุญ เหล่านี้เป็นเหตุให้ปรากฏเป็นกรรมนิมิต เสมือนว่าตนกำลังกระทำในเวลานั้นเมื่อใกล้จะมรณภาพ จะเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต เสมือนว่าตนกำลังกระทำในเวลานั้นเมื่อใกล้จะมรณภาพ จะเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต เห็นเป็นเทวดาหรือเครื่องทรงเทวดา หรือมีวิมานเป็นทิพย์ เมื่อจุติจิตดับลงแล้วปฏิสนธิจิตก็เกิดในเทวภูมิ ชั้นใดชั้นหนี่ง คือชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นดาวดึงสา ชั้นยามา ชั้นดุสิตา ชั้นนิมมานรดี หรือชั้นปรนิมมิตวสวัสตี ตามวิบากของกุศลกรรมนั้นๆ มีอายุอย่างต่ำ ๕๐๐ ปีทิพย์ อย่างสูง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ท่องเที่ยวไปในสุคติภูมิ ๗ นี้จนกว่าหมดสิ้นวิบาก ด้วยประการฉะนี้.

๓.อุปริมสังสาระ ความท่องเที่ยวในภูมิเบื้องสูง คือ รูปภูมิ ๑๖ อรูปภูมิ ๔ ซึ่งรวมเรียกว่า พรหมภูมิ ๒๐

ผู้ใกล้จะมรณภาพจะปรากฏกรรมอันเป็นกุศลกรรมใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกุศล ได้แก่รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล มีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ คือ อนุสสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหารเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ อรูปกรรมฐาน ๔ อันใดอันหนึ่ง เป็นอารมณ์ มีองค์ฌานเข้าประกอบในขณะนั้น

ถ้าได้อรูปกรรมฐาน ๔ เป็นอารมณ์ มี อุเบกขา เอกัคคตา อันเป็นองค์ของปัญจมฌานก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต คือภูมิของอรูปพรหม

ถ้าได้รูปกรรมฐานเป็นอารมณ์ คือกรรมฐาน ๑๖ (เว้นอรูปกรรมฐาน ๔) มีอุเบกขา เอกัคคตาอันเป็นองค์ฌานเข้าประกอบ ก็จะเกิดคตินิมิต คือภูมิของปัญจมฌานภูมิ

ถ้าสุข เอกัคคตา อันเป็นองค์ฌานเข้าประกอบ ก็จะเกิดคตินิมิต คือจตุตถฌานภูมิ

ถ้ามี ปีติ สุข เอกัคคตา อันเป็นองค์ฌานเข้าประกอบ ก็จะเกิดคตินิมิต คือตติยฌานภูมิ

ถ้ามี วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อันเป็นองค์ฌานเข้าประกอบ ก็จะเกิดคตินิมิต คือทุติยฌานภูมิ

ถ้ามี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาเข้าประกอบ ก็จะเกิดคตินิมิต คือ ปฐมฌานภูมิ เมื่อจุติดับลงแล้ว ก็จะเกิดปฏิสนธิจิตในพรหมภูมิตามลำดับดังนี้

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:18:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ปฐมฌานภูมิ มี ๓ คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหมา

ทุติยฌานภูมิ มี ๓ คือ ปริตรตาภา อัปปมาณสุภา สุภกิณณา

ตติยฌานภูมิ มี ๓ คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณณา

จตุตถฌานภูมิ มี ๓ คือ เวหัปผลา และอสัญญสัตตา (เฉพาะปุถุชน)

จตุตถฌานภูมิของพระอริยะ มี ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ์

ปัญจมฌานภูมิ มี ๔ เรียกว่า อรูปภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่องเที่ยวอยู่ในพรหมภูมิ ๒๐ นี้ มีอายุยืนนาน ประมาณอย่างต่ำ ๑ ใน ๓ มหากัป อย่างสูง ๘๔,๐๐๐ มหากัป

เมื่อสิ้นวิบากอันเป็นมหัคคตวิบากแล้ว ก็จะจุติปฏิสนธิในเทวภูมิ หรือ มนุษยภูมิอีก แต่ยังไม่ตกในอบายภูมิ

ถ้ามากระทำบาปหยาบช้าด้วย กายทุจริต วจีทุจจริต และมโนทุจจริต ก็จะไปตกในอบายภูมิอีก สิ้นกรรมในอบายภูมิ ก็จะมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เรียกว่าสังสารจักร

สังสารวัฏฏ์ คือการท่องเที่ยววนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด เพราะอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:19:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ในภูมิต่างๆ มีความเป็นอยู่อย่างไร จักแสดงโดยย่อดังต่อไปนี้

จำพวก ๑ เปรต คือ สัตว์ที่เกิดห่างไกลจากความสุข

จำพวก ๒
อสุรกาย คือ สัตว์ที่ไม่มีความสุข

จำพวก ๓ สัตว์นรก คือ สัตว์ที่ไม่มีความสุข

จำพวก ๔ สัตว์เดียรัจฉาน คือ สัตว์ที่เดินขวาง โดยบ่ายหน้าไปสู่ข้างล่าง ได้แก่สัตว์เดียรัจฉานต่างๆ ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้

จำพวก ๕ มนุสสะ คือ สัตว์ที่มีจิตใจกล้าหาญ ทั้งในทางดีและทางชั่ว ได้แก่คนเรานี่เอง

จำพวก ๖ จาตุมหาราชิกา ได้แก่ที่อยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์ เป็นชั้นที่สองจากมนุษย์ ตั้งอยู่ในกลางเขาสิเนรุ เป็นสถานที่ของเทวดาจำพวกหนึ่ง ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครอง แต่สัตว์ที่อาศัยเขามหาสิเนรุ ก็มีหลายจำพวก เช่น นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์ เป็นต้น บ้างก็นับเข้าในเทวดา บ้างก็นับเข้าในเดียรัจฉาน ตามแต่กำเนิดของตนๆ

จำพวก ๗ ตาวติงสา หรือเรียกว่าดาวดึงส์ เป็นที่อยู่ของพวกเทวราช ๓๓ องค์ มีพระอินทร์เป็นประมุข พวกเทวดาที่เกิด ณ ที่นั้นเรียกว่า ตาวติงสเทวบุตร ดาวดึงสเทวโลกนี้ ตั้งอยู่บนเขาสิเนรุ ไกลจากมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เป็นประมาณ

จำพวก ๘ ยามา เป็นพระนามของท้าวมหาราชองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ปกครองภูมินั้น นับจากมนุษย์เป็นที่ ๔ ตั้งอยู่บนอากาศ พวกเทวดาเหล่านี้เรียกว่า ยามาเทวดา มีพระสยามเทวราชเป็นผู้ปกครอง การเรียกชื่อภูมินี้อาศัยนามของผู้ปกครองเป็นหลัก เรียกว่า ยามาภูมิ

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:19:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด

จำพวก ๙ ตุสิตา หมายความว่า จำพวกเทวดาที่ถึงภาวะมีความสนุกสนาน ชอบใจ เป็นภูมิที่ ๕ นับจากมนุษยภูมิและตั้งอยู่บนอากาศ เหมือนกับยามาภูมิ

จำพวก ๑๐ นิมมานรตี หมายความว่า เทวดาจำพวกหนึ่งที่มีความเพลิดเพลินในกามคุณต่างๆ ที่ตนนิมิตได้ เป็นเทวดาที่ไม่มีภรรยาประจำ เมื่อมีความต้องการเมื่อใด ก็นิมิตเอาตามใจชอบแล้วเสพกามตามธรรมชาติได้ตามที่ตนปรารถนา

จำพวก ๑๑ ปรนิมมิตวสวัตตี คือ เทวดาจำพวกหนึ่ง ที่มีความเพลิดเพลินในกามารมณ์ต่างๆ ที่เทวดาอื่นๆ นิมิตไว้ให้ ตนได้นิมิต เมื่อต้องการอารมณ์ใดๆ ก็ตาม มีเทวดาคอยนิมิตให้ มีผู้รักษาหน้าที่อยู่ใกล้เสมอ คอยทำหน้าที่นิมิตให้เสวยตามความต้องการเมื่อพอใจในอารมณ์นั้นแล้ว การนิมิตก็ต้องยกเลิกและสูญอันตรธานไป

จำพวก ๑๒ พรหมปาริสัชชา คือ พรหมที่เป็นบริวารของท้าวมหาพรหมผู้เป็นประมุข อาศัยอยู่ในพรหมปาริสัชชาภูมิ

จำพวก ๑๓ พรหมปุโรหิต คือ พรหมจำพวกหนึ่งที่รับหน้าที่เป็นอำมาตย์ของท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นผู้ปกครองในปฐมฌานภูมิ

จำพวก ๑๔ มหาพรหมา เป็นนามพิเศษของท่านพรหมองค์หนึ่งที่เป็นประมุขแห่งปฐมฌานภูมิ ๓ ภูมิ อุปมาเหมือนเหมือง ๓ เมืองของพรหมจำพวกนี้ซึ่งตั้งอยู่ชั้นเดียวกัน หาสูงต่ำกว่ากันไม่ คือพวกผู้น้อยอยู่แห่งหนึ่ง ผู้ใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง และท่านผู้เป็นประมุขก็อยู่อีกแห่งหนึ่งอย่างนี้

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:20:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด

จำพวก ๑๕ ปริตรตาภา คือ พรหมจำพวกหนึ่งที่มีแสงสว่าง คือรัศมีน้อย ได้แก่ พรหมจำพวกทุติยฌานภูมิ ภูมิแรก

จำพวก ๑๖ อัปปมาณาภา คือ พรหมที่มีแสงสว่าง มีรัศมีโดยไม่มีประมาณ คือรัศมีมากที่สุด อาศัยอยู่ในทุติยฌานภูมิ ซึ่งเรียกว่าอัปปมาณาภาภูมิ

จำพวก ๑๗ อาภัสสรา คือ พรหมที่มีรัศมีออกอยู่ตลอดกาล เป็นชื่อของพระราชาแห่งภูมิทั้ง ๓ ของทุติฌานภูมินั่นเอง

จำพวก ๑๘ ปริตตสุภา คือ พรหมที่มีรัศมีสวยงามแต่น้อย เป็นชื่อของพรหมจำพวกหนึ่งในภูมิแรกของตติยฌานภูมิ เรียกว่าปริตตสุภาภูมิ

จำพวก ๑๙ อัปปมาณสุภา คือ พรหมที่มีรัศมีสวยงามโดยไม่มีประมาณได้แก่ชื่อของพรหมจำพวกหนึ่ง ในตติยฌานภูมิทั้ง ๓ เรียกว่าอัปปมาณสุภาภูมิ

จำพวก ๒๐ สุภกิณณา คือ พรหมที่มีรัศมีสวยงาม ออกปะปนกันอยู่หลายอย่างเสมอ ได้แก่พรหมผู้เป็นมหาราชในตติยฌานภูมิ เรียกว่าสุภกิณณาภูมิ

จำพวก ๒๑ เวหัปผลา คือ พรหมที่ได้ผลสูงสุดในรูปฌานมีผลไพบูลย์ตั้งอยู่ในจตุตถฌานภูมิ

จำพวก ๒๒ อสัญญสัตตา ได้แก่พรหมจำพวกหนึ่งที่ไม่มีนาม คือ สัญญา เป็นต้น พรหมจำพวกนี้แม้ไม่มีนาม มีแต่รูปแต่ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในพรหมภูมิ

42

กระทู้

114

ตอบกลับ

1901

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

เครดิต
1901
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-2 18:20:46 | ดูโพสต์ทั้งหมด

จำพวก ๒๓ อวิหา คือ พรหมจำพวกหนึ่งที่ไม่ยอมทิ้งภูมิของตนในเวลาแม้แต่น้อย

จำพวก ๒๔ อตัปปา พรหมที่ไม่มีความเดือดร้อนใจ มีใจเป็นสุขยิ่ง

จำพวก ๒๕ สุทัสสา คือ พรหมที่มีความสามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยปัญญาจักษุอย่างชัดแจ้ง

จำพวก ๒๖ สุทัสสี คือ พรหมที่มีความสามารถเห็นสภาวธรรมมากกว่า

จำพวก ๒๗ อกนิฏฐา คือ พรหมที่มีความสุขและความรู้ไม่ต่ำกว่าผู้ใด เพราะเป็นพรหมที่จะเป็นพระอรหันต์แน่นอน โดยไม่เป็นอย่างอื่นอีก

จำพวก ๒๘ อากาสานัญจายตนะ คือ พรหมที่เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ว่า ความว่างไม่มีที่สุด ตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนภูมิ

จำพวก ๒๙ วิญญาณัญจายตนะ คือ พรหมที่เพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดตั้งอยู่ในวิญญาณัญจายตนภูมิ

จำพวก ๓๐ อากิญจัญญายตนะ คือ พรหมที่เพ่งความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่บนความไม่หวั่นไหวแม้แต่น้อย อยู่ในอากิญจัญญายตนภูมิ

จำพวก ๓๑ เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ พรหมเพ่งสัญญาหยาบและสัญญาละเอียดเป็นอารมณ์ บางทีรู้ บางทีไม่รู้ บางทีจำได้ บางทีจำไม่ได้ ความจำสงบประณีตอยู่ในอรูปภูมิ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ


โปรดติดตาตอนต่อไปนะครับ


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-23 15:27 , Processed in 0.080780 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้