มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 2655|ตอบกลับ: 2

คุณค่าของความมีเหตุผล

[คัดลอกลิงก์]

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138



คุณค่าของความมีเหตุผล ความมีเหตุผล ทำให้บุคคลมี บุคลิกภาพภายในที่ดีเด่น ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งประการหนึ่ง เพราะผู้มีเหตุผล ย่อมเข้าใจอะไรได้ง่าย รู้จักคิด มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่เอาแต่อารมณ์ มีการไตร่ตรองก่อนทำด้วยปัญญา ไม่ว่าการพูด การคิด ผู้มีเหตุผลดี สามารถปกครองตนและสังคมได้ดี ทำให้เป็นคนที่พร้อมเสมอในความรับผิดชอบตนและสังคม

เมื่อสังคมดีบุคคลก็พลอย ได้รับความสุขสบายไปด้วย หากสังคมวุ่นวาย ยุ่งเหยิงด้อยพัฒนา ก็จะพลอยลำบากกันไปทั่ว

ดังนั้น การที่จะทำให้ส่วนรวมดีได้ ก็ต้องพัฒนาบุคคลให้เป็นคนมีเหตุผลก่อน

ในหลักพระพุทธศาสนาได้แสดง ถึงหลักธรรมเพื่อให้ตนเอง เป็นผู้มีเหตุผลทั้งสิ้น ถ้าจะนำมากล่าวแล้วก็มีหลักใหญ่ๆ ๓ ประการคือ



238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-9-7 14:03:45 | ดูโพสต์ทั้งหมด


๑. โยนิโสมนสิการ
๒. สติสัมปชัญญะ
๓. สัปปุริสธรรม


โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การเห็นโดยแยบคาย เห็นโดยถูกตรง และถูกต้องอันจะเป็นการนำออกจากโมหะ อวิชชา จนสามารถถึงซึ่งความพ้นทุกข์ในที่สุดได้

สติสัมปชัญญะ สติคือความระลึกได้ ความรู้สึกตัวในการงานนั่นเอง เช่นนึกได้ว่ามีนัดพรุ่งนี้ นึกได้ว่าต้องทานยาหลังอาหารเป็นต้น ในที่นี้หมายถึง อาการที่ไม่เผลอไผล ไม่หลงลืม สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว หมายถึงอาการที่จิตรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำ กำลังพูดอะไรอยู่ และแยกแยะถูกผิด เป็นประโยชน์หรือไม่ เป็นความดีความถูกต้องหรือไม่

สติสัมปชัญญะ เป็นธรรมะคู่กัน เรียกว่า...โลกปาลธรรม ( ธรรมคุ้มครองโลก ) หรือพหุปการธรรม ( ธรรมที่มีอุปการ ) เป็นธรรมที่ควบคุมพฤติกรรม ให้ชีวิตบุคคลให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ควบคุมอารมณ์มิให้วู่วามได้ บุคคลใดขาดสติสัมปชัญญะแล้วย่อมขาดเหตุผล ทำอะไรตามใจชอบ ตกเป็นทาสอารมณ์ ท่านกล่าวว่าเสมือนเรือที่ขาดหางเสือ แม้แล่นไปได้ก็ยังอันตรายอยู่ ไม่น่าไว้วางใจและไม่อาจถึงจุดหมายที่ประสงค์ได้

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-9-7 14:04:30 | ดูโพสต์ทั้งหมด



สัปปุริสธรรม หมายถึงธรรมของสัตบุรุษ หรือคุณสมบัติของคนดีนั่นเอง มีทั้งหมด ๗ ประการ แต่ข้อที่จะเสริมสร้างให้ เป็นบุคคลมีบุคคลิกภาพในที่ดีมีเหตุผลนั้น ได้แก่สัปปุริสธรรมข้อที่ ๑ และ ๒ ได้แก่

๑.ธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ แห่งความสุข สิ่งนั้นเป็นเหตุแห่งความทุกข์

๒. อัตถัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้ว่าความสุขเป็นผลแห่งเหตุใด ความทุกข์เป็นผลแห่งเหตุใดเป็นต้น

ซึ่งธรรมะ ๒ ข้อนี้จัดเป็น กฏแห่งเหตุผล เป็นหลักที่ทำให้บุคคลมีเหตุผล ไม่เป็นคนหูเบารอบคอบ ไม่วู่วาม เป็นคนมีจิตใจเยือกเย็นกว้างขวาง ลดความเป็นบุคคลที่มากด้วยทิฐิได้ดี.

ทั้งหมดนี้คือหลักของความเจริญชั้นสูงของชีวิต และเป็นสภาพธรรมที่นำชีวิตของบุคคลออกจากความเห็นผิด คิดผิด และทำผิดได้เป็นอย่างดี และถ้าใครก็ตาม สามารถสร้างธรรมะเหล่านี้มีให้มีในตนแล้ว ท่านนั้นจะเป็นผู้เจริญแน่

สมดังพระภาษิตที่ว่า... ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม.

ด้วยความหวังดีค่ะ
บุษกร เมธางกูร.



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-20 18:44 , Processed in 0.079291 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้