มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1198|ตอบกลับ: 2

เหตุผลและกลไก

[คัดลอกลิงก์]

251

กระทู้

328

โพสต์

6935

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
6935


เหตุผลและกลไก

แสงแดดที่แผดกล้าพร้อมกับลมร้อนที่แผ่วมากระทบผิว คงยากที่จะให้สัมผัสแห่งความสุขกับใคร และหากได้อยู่ในสภาพนั้นมากๆเข้า หลายคนคงทุรนทุรายและดิ้นรนหาสภาพอากาศที่ดีกว่า ความทุกข์ที่เกิดจากรับอารมณ์ที่ไม่ดี ได้ก่อระลอกแห่งความต้องการชนิดใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะปฏิเสธและหลีกหนีสิ่งไม่พึงปรารถนาที่มาปรากฏกับกายและใจ ยิ่งกระทบกับความร้อนมากๆ ความเร่าร้อนภายในใจก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้นตามระดับของความไม่พอใจ

หลายคนอาจไม่สังเกตว่า มีความไม่พอใจหรือโทสจิตเกิดขึ้นแล้วในจิตตน แต่พฤติกรรมที่แสดงออกทางกายและวาจานั่นแหละ คือผลงานที่แสดงถึงเบื้องลึกของจิตใจว่ามีความเป็นไปเช่นใด การเดินไปเปิดหน้าต่าง การเอื้อมมือไปเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ การพยายามหลบเลี่ยงแสงแดดที่ส่องมากระทบด้วยความหงุดหงิดใจ และต้องการหลีกหนี

สิ่งเหล่านี้คือสภาพของความไม่พอใจต่อสภาพความเป็นไปในขณะนั้น และในขณะเดียวกันความปรารถนาสิ่งทีดีกว่า ก็เกิดขึ้นติดตามมาอย่างกระชั้นชิด และทำให้การแก้ไขปัญหาความร้อนนั้นสำเร็จลงได้ด้วยการไขว่คว้าหาความเย็นด้วยวิธีการต่างๆ ความเป็นไปเช่นนี้ก็เหมือนกับความเคลื่อนไหวที่เป็นกลไกลูกโซ่ เพราะในขณะที่เกิดความไม่พอใจต่อสิ่งหนึ่ง นั่นก็แสดงถึงว่ามีความต้องการสิ่งอื่นที่ดีกว่า และเราก็พยายามตอบสนองต่อความต้องการนั้นเท่าที่มีความสามารถจนกว่าจะเป็นที่พอใจ



251

กระทู้

328

โพสต์

6935

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
6935
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-9-16 12:03:29 | ดูโพสต์ทั้งหมด


บางคนที่มีความต้องการน้อย กระบวนการทำงานเพื่อตอบสนองก็จะสั้นกว่าคนที่มีความต้องการมาก ดังนั้น อารมณ์ของโลภะและโทสะ จึงเกิดขึ้นเสมอในขณะที่ชีวิตขาดการยั้งคิดและพิจารณา

นี่เป็นเพียงแค่สภาพอากาศร้อน กระบวนการทำงานของจิตใจยังเป็นไปในอกุศลอยู่อย่างไม่ขาดสาย นับประสาอะไรกับปัญหาของชีวิตที่หนักอึ้งกว่าปัญหาของความร้อน ที่เราต้องทุ่มเทใจไปกับบาปอกุศลอย่างมากมายเพื่อแก้ไขตามความคิดตนที่คิดว่าถูกต้อง บางครั้งถึงขนาดทะเลาะเบาะแว้งกันจนวุ่นวาย เพราะคำว่าไม่สบอารมณ์หรือไม่ถูกใจ

เมื่อย้อนกลับมาดูที่คำว่า ปัญหา ก็ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรแก้ไข ปัญหาเป็นสิ่งที่ควรแก้ไข แต่วิธีการแก้ไขปัญหานั้นต่างหากที่เราต้องเลือกใช้อย่างมีคุณภาพและมีเหตุผล เพราะปัญหา คือ ผลลัพธ์ที่มาจากเหตุประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการที่เป็นสิ่งบกพร่อง และการแก้ไขปัญหา ก็คือ เหตุใหม่ที่จะแปรเปลี่ยนผลลัพธ์นั้นให้เป็นไปในทางที่ดีกว่า

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่ดีจึงต้องมีสติและปัญญา เข้าร่วมก่อการและทำงานเป็นทีม เพราะสติและปัญญาคือปัจจัยของความมีเหตุผลในชีวิต เมื่อมีอากาศร้อนมากระทบจนเกิดความรู้สึกทุกข์กับสภาพอากาศนั้น สติและปัญญาก็จะครองใจให้สงบต่อการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ด้วยการเปิดหน้าต่าง เปิดพัดลม หรือเปิดเครื่องปรับอากาศด้วยกิริยาอาการที่ไม่เร่งร้อนใส่อารมณ์โดยมีเหตุผล

เช่น ทราบว่าเพื่อแก้ไขความร้อนที่มีผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจในขณะนั้น และหากปล่อยไว้ก็จะมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีแก่ตน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเก็บกดอยู่ในสภาพนั้น อันเป็นการเติมทุกข์ให้ชีวิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากการเปิดหน้าต่าง เปิดพัดลม หรือเปิดเครื่องปรับอากาศด้วยความทุรนทุรายหงุดหงิดกับความร้อนที่เกิดขึ้นและต้องการหนีไปหาความเย็นเท่านั้น จะเห็นว่า หน้าต่าง พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศยังคงถูกเปิดเหมือนเดิม แต่จิตใจขณะที่ทำงานนั้นมีเหตุผลและกลไกที่ต่างกันออกไป

251

กระทู้

328

โพสต์

6935

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
6935
 เจ้าของ| โพสต์ 2020-9-16 12:03:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด


ในการแก้ไขปัญหาอื่นก็เช่นกัน สติและปัญญาจะช่วยลดความเสียหายลงได้มาก โดยเฉพาะความเสียหายทางใจ นอกจากนี้สติและปัญญายังจะช่วยจัดสรรเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างสันติวิธี และจัดหาที่อาศัยที่ดีของจิตใจให้มาเป็นเกราะป้องกันโลภและโทสะได้เป็นการชั่วคราว นั่นก็คือ พรหมวิหารธรรม

เมตตา คือ ความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข เป็นความเอื้ออารีหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ใจร้อนวู่วาม มีแต่ความเป็นมิตร

กรุณาคือ ความสงสารที่เจือจานไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบทุกข์ทั้งกายและใจ

มุทิตาคือ การส่งเสริมสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกัน ด้วยการชื่นชมในคุณความดีของผู้อื่น หรือผลดีที่ได้รับ

อุเบกขา คือ การวางใจในความเป็นไปตามกรรมของแต่ละคนโดยไม่เพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ ใครจะได้รับผลอย่างไรนั้นก็ล้วนแต่เกิดจากกรรมมิใช่เพราะบุคคล

ฉะนั้น ความร้อนของอากาศมีความสามารถเพียงก่อให้เกิดความร้อนใจเป็นการเฉพาะตนซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ความร้อนของปัญหาสังคมนั้นเป็นความร้อนของคนหมู่มาก แต่อาจกระจายความร้อนไปทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าฤดูกาลไหน ผู้ที่ร่วมรับรู้หรือร่วมมือเพื่อแก้ไขจึงจะต้องมีความระมัดระวังใจไม่ให้ตกไปในเพลิงโลภะและโทสะ จนเป็นเหยื่อของอกุศลจนถอนตัวไม่ขึ้น ด้วยการใช้สติปัญญามาป้องกันความร้อนมิให้ทะลุทะลวงใจ และใช้พรหมวิหารธรรมปรับสภาพจิตใจให้เยือกเย็นท่ามกลางความร้อนทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง

ด้วยความปรารถนาดี
พี่ดอกแก้ว


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-20 23:08 , Processed in 0.078512 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้