ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 784|ตอบกลับ: 5

ดอกแก้วบาน ตอนที่ ๘

[คัดลอกลิงก์]

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460


ดอกแก้วบาน ตอนที่ ๘
โดย พี่ดอกแก้ว


ธรรมชาติให้ทุกอย่างแก่ชีวิตเรามากมาย
แล้วที่สุดธรรมชาติก็เอาสิ่งเหล่านั้นคืนไป
แต่ชีวิตธรรมชาติมิได้เอาไปด้วย
เขาปล่อยให้เราไปต่อ.. ต่อ…ต่อไป...
ดังนั้น...เราจึงควรหัดใจให้ยอมละทิ้งการมีที่เกิดจากธรรมชาติดูบ้าง
... ด้วยการเลือกหาทางเอง แล้วใช้ชีวิตเดินบน “ทาง”
ถึงจะหลงทางบ้าง แต่อย่า....เสียทาง


“ทาง” ที่พูดถึงนี้คือกุศลกรรมนะคะ เพราะว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็เกิดด้วยกุศลนำเกิด ฉะนั้น การเกิดเป็นมนุษย์นับว่าเป็นผู้ที่โชคดี เพราะว่ามีผู้อุปการคุณทำให้เราได้รู้จักการสนองตอบบุญคุณท่าน เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้อง ฯลฯ

เราก็จะได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเข้าใจ ความรู้จัก และนำเอาความเข้าใจ ความรู้จักนั้น มาใช้ให้ประจักษ์กับตนเองว่า เราควรจะทำอย่างไร

การเป็นมนุษย์นั้นก็นับว่าเป็นบุญวาสนาที่เราจะได้มีโอกาสกระทำคุณงามความดี ซึ่งต่างกับภพภูมิที่ต่ำกว่า และที่สำคัญก็คือ เรายังมีโอกาสได้เรียนรู้หลักของความเป็นจริง ในแง่เชิงความคิดว่า การที่เราเกิดมาเป็นคนนั้น เรามีพร้อม แทบจะเรียกว่าพร้อม คือ …อาหาร ตั้งแต่เล็กจนโตมาเราก็ดื่มนม แล้วก็มีผู้ช่วยให้เราดื่มได้ แม้ที่อยู่อาศัย ก็บนตักแม่ บนเอวพ่อ เครื่องนุ่มห่ม แล้วก็ยารักษาโรคต่างๆ… ก็เช่นเดียวกัน

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-16 12:21:02 | ดูโพสต์ทั้งหมด

  สลักธรรม 1


ฉะนั้นการเกิดเป็นมนุษย์จึงแทบจะมีพร้อม ซึ่งเมื่อเรามองไปในภพภูมิที่ต่ำกว่าเรา เช่น เต่า พอออกจากไข่ก็คลานลงทะเลไป ก็ไม่มีแม่ ไม่มีผู้อุปการะ เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงมีพร้อมแทบเรียกว่าจะพร้อมแล้ว

แต่เพราะ…. ความไม่รู้จักพอของความมีนีเอง จึงทำให้เราตะเกียกตะกายไขว่คว้า ซึ่ง การได้มาครั้งหนึ่ง ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความทะยานอยากนั้นเจริญขึ้น

แม้ว่าเรามีอุปกรณ์ที่สุรุ่ยสุร่าย และอารมณ์ที่ได้รับเพียงพออยู่แล้ว ก็คือ ความรักอันประกอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ของคุณพ่อคุณแม่ และเครือญาติต่างๆ แต่ความรักที่ได้มานั้นก็ยังไม่รู้จักพอ เราจึงวิ่งไขว่คว้าแสวงหาเพื่อจะได้ความรักมามากมาย

ลองคิดดูให้ดีว่า เท่าที่เราประสบมาหรือที่เราเห็นมานี่ ธรรมชาติให้ทุกอย่างแก่ชีวิตเรามากมายทั้งความสุข และความทุกข์ ในที่สุดธรรมชาติก็เอาสิ่งนั้นๆ คืนไปหมด เมื่อเราต้องตายลงไป หรือเราต้องประสบกับอำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในธรรมชาติที่ให้มานั้น

จึงเขียนเป็นคำคมนิดหนึ่งว่า…ธรรมชาติให้ทุกอย่างแก่ชีวิตเรามากมาย แล้วที่สุดธรรมชาติก็เอาสิ่งเหล่านั้นคืนไป ก็คือ …ไม่ว่าเราจะเจริญเติบโตมาขนาดไหน เราก็ละทิ้งเมื่อวันวานไปสิ้น ทิ้งเมื่อเดือนที่แล้วไปสิ้น เพราะสิ่งที่มีในเดือนที่แล้ว ไม่มีในเดือนนี้ ธรรมชาติจึงให้เราชั่วคราว แล้วธรรมชาตินั่นเองก็เอากลับไป เพราะธรรมชาตินั่นก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-16 12:22:27 | ดูโพสต์ทั้งหมด

แต่… ชีวิตของเราที่มีอยู่ …ธรรมชาติไม่ได้เอาไปด้วย เช่น เราจะต้องผิดหวัง แล้วก็พลัดพราก จากอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น พลัดพรากจากบิดา ธรรมชาติก็เอาชีวิตของคุณพ่อไป แต่ก็มิได้เอาชีวิตของผู้ที่เป็นลูกไปด้วย ดังนั้น เราจะต้องมีชีวิตอยู่คนเดียว แล้วก็เจอ แล้วก็จาก ไปเพียงลำพัง อย่างนี้ต่อๆ ไปเรื่อยๆ

ฉะนั้นเมื่อเราต้องเดินทางไปคนเดียว เราก็ควรจะต้องฝืนใจละทิ้งการยอมรับที่ง่ายๆ ที่ธรรมชาติหยิบยื่นให้ ด้วยการรู้ทัน รู้เกมส์ รู้การหลอกลวงของธรรมชาติเหล่านั้น คือ กิเลส ตัณหา ราคะ และอุปาทาน ด้วยการเลือกเดิน “ทาง” เพราะ ทางคือมรรคอันมีองค์ 8

ในเมื่อ ชีวิตที่มีแต่อนาคตนั้นต้องเป็นไปด้วยอำนาจของ กิเลสวัฏ กรรมวัฎ และวิบากวัฎ อันมีตัณหาเป็นตัวนำทางเดินของเรา เราจึงควรจะต้องเลือกทางของเราเอง คือ ทางสายใหม่

แม้ชีวิตของเราทำอะไรไม่ได้มาก หรือ ทำอะไรไม่ได้หมด แต่ก็ขอให้เราเดินอยู่บนทาง ถึงจะหลงไปบ้าง แต่อย่าเสียทาง


เขียนมายาว ก็อยากจะฝากไว้ตรงที่ว่า เราควรจะเดินอยู่บน “ทาง” ถึงจะหลงทางบ้าง แต่อย่าเสียทางนั้นไป คือ….เมื่อเกิดมาเป็นชาวพุทธ นับถือพุทธศาสนาแล้ว หลักของพระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี มีความรู้อันถูกต้อง เป็นคนรู้จักคุณธรรม ศีลธรรม รู้จักอภัย รู้จักเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต และที่สำคัญ คือ รู้จักชีวิตของตนเองให้ดีว่า ชีวิตนั้นมีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และบังคับบัญชาไม่ได้

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-16 12:22:51 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ความรู้สึกนี้ ยากที่จะอธิบายได้ เพราะคำว่า “รู้จัก” กับ “รู้สึก” นั้นต่างกัน รู้จัก อาจจะเกิดขึ้นจากการเรียนและการจำ
แต่ การรู้สึก นั่นคือ การเผชิญอยู่บนความจริง ทำให้เกิดอารมณ์นั้น

ฉะนั้น อารมณ์แห่งความรู้สึกที่อยู่บนทางนั้น ….ถึงเราจะต้องออกไปทำมาหากิน ออกไปทำงานที่เป็นทางโลก แต่เราก็ยังมีคุณธรรม ศีลธรรม อันเป็นเส้นทางที่ทำให้เรานั้นรักษาภพภูมิไว้ได้ ถึงเราจะหลงทางไป เช่น ทำสมาธิ หรือใช้เวลาไปกับความฟุ้งซ่านต่างๆ เราก็ยังมีโอกาสหวนกลับมาจุดเริ่มต้นที่จะไปในจุดสุดท้ายให้ได้

แต่ทว่า.. หากเรา “เสียทาง” ไปแล้ว เมื่อทางไม่ดี เราก็ตกหล่ม ตกหลุม ในที่สุดชีวิตเราก็ตกเหว คือ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทุคติภูมิ

เราเกิดมาแต่ละคนได้รับของจากธรรมชาติทั้งสิ้น ธรรมชาติที่ว่านี้ก็คือ พระอภิธรรมปิฎก ซึ่งว่าไว้ถึงธรรมชาติที่ลี้ลับ ยิ่งใหญ่ และซ่อนเร้น ได้แก่สิ่งที่เรามองไม่เห็น แต่ประสบอยู่ทุกวันก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ

นอกจากนั้นยังมีภัยมืดอันอันตรายใหญ่หลวงยิ่งกว่าภัยใดๆ หากจะถามว่าไฟบรรลัยกัลป์ น่ากลัวแค่ไหน ก็ยังไม่เทียบเท่าความน่ากลัวของ อำนาจพระไตรลักษณ์ เพราะว่า ในอนาคตนั้น เรายังไม่รู้ว่า วันไหน เดือนไหน ปีไหน พุทธศักราชเท่าใด เราจึงจะเจอไฟบรรลัยกัลป์ และเมื่อมีไฟบรรลัยกัลป์นั้น เรายังมีความรู้สึกที่จะรู้หรือไม่ว่า นั่นคืออำนาจของไฟบรรลัยกัลป์ เพราะขณะนั้นเราอาจอยู่ในภพภูมิที่ไม่สามารถรับรู้ได้
ซึ่งอำนาจของไฟบรรลัยกัลป์เผาผลาญชีวิตทั้งชมพูทวีป ให้ตกตายไปตามกรรม

12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-16 12:23:22 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นี่คือพุทธทำนายอันเป็นพระสัจธรรม ซึ่งไม่มีวันวิปริตผันแปร แต่ก็คือเรื่องของอนาคตอันไกลโพ้นเกินชีวิตหลายชาติด้วยซ้ำ

แต่…สิ่งที่น่ากลัวกว่าไฟบรรลัยกัลป์ ในความรู้สึกของพี่ดอกแก้วก็คือ พระไตรลักษณ์ เพราะว่า พระไตรลักษณ์เปรียบเสมือนกองเพลิงที่เผาผลาญชีวิตอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ทุกวินาที ทุกขณะจิต ซึ่งทำให้เรานั้นย่อยยับ สูญเสียอยู่ตลอดเวลา ย่อยยับหมายถึงอะไรคะ …อำนาจของจิต เจตสิก รูปที่เกิดและดับ ต้องย่อยยับไป พลังงานที่เรากินอาหารเข้าไป ความรู้สึกที่เรายืนได้ เดินไปไหนต่อไหน เราต้องเติมพลังงานตลอดเวลา

ชีวิตที่เราได้มานั้นก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งถูกพระไตรลักษณ์ครอบงำทั้งรูปธรรม และนามธรรม ฉะนั้นไฟของพระไตรลักษณ์นั้นจึงเผาผลาญ และพล่าทำลายชีวิตของเราตลอดเวลา นอกจากนั้นยังไม่เหลือเชื้อ เช่น ถ้าเผื่อไฟไหม้ไปแล้วยังมีขี้เถ้า แต่ถ้าเป็นพระไตรลักษณ์นั้นไม่เหลืออะไรล่องลอยให้เราลูบคลำได้เลย มีแต่ความทรงจำ ในความทรงจำ ชีวิตเกิดขึ้นมาแล้วต้องมีความรู้สึก ชีวิตจึงประกอบไปด้วยรูปธรรมและนามธรรม

คำว่าชีวิตนั้น หากเราจะมองให้รู้จัก ก็คือ การเห็นคน เห็นสัตว์ ฯลฯ รู้หรือเรียนว่าเป็นรูปธรรม นามธรรม แต่แท้ที่จริงแล้ว ชีวิตในความรู้สึก ก็คือความรู้สึกนั่นเองค่ะ เพราะ ขาดการความรู้สึกแล้วก็ไม่ใช่ชีวิต
ฉะนั้น ชีวิตเรานั้นไม่ต้องพูดเลยว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย แต่… ความรู้สึกที่ยังมีเราอยู่ ไม่ว่า ณ จุดไหน ที่ไหน ความรู้สึกนั่นก็คือศูนย์รวมและหัวใจของชีวิต



12

กระทู้

37

ตอบกลับ

460

เครดิต

ผู้เยี่ยมชม

เครดิต
460
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-5-16 12:23:44 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ฉะนั้น ชีวิตเราขึ้นอยู่กับความรู้สึก รู้สึกดี เราก็มีชีวิตที่สบาย รู้สึกไม่ดี เราก็มีชีวิตที่ไม่สบาย ฉะนั้น ธรรมชาติเอาแต่สิ่งที่เป็นอุปกรณ์ของชีวิตไป แต่ไม่ได้เอาชีวิตไป ในขณะที่เราจะต้องพบกับความพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก ประสบกับสิ่งที่เราไม่ต้องการ ฯลฯ ตลอดเวลา กำลังนอนสบายก็ธรรมชาติของจิตที่ถูกวิบาก หรืออำนาจของกรรมทำให้เราต้องตื่น ฉะนั้น ก็พรากเอาความสุขที่ควรจะได้รับเอาไป

ไฟของพระไตรลักษณ์นั้น เผาเราอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นไฟที่น่ากลัวที่สุด ในระหว่างนั้นก็ไม่ได้เอาชีวิตของเราไปด้วย เผาแต่อุปกรณ์ชีวิต ยังปล่อยให้เราเดินต่อไปมีชีวิตและความรู้สึกต่อไป … ไปเรื่อยๆ ดังนั้น เราจึงควรหัดใจของเราเอง ให้ยอมละทิ้งการมีที่เกิดจากธรรมชาติดูบ้าง เช่น

ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ที่เรามีอยู่ทุกวันนี้ เป็นของที่ธรรมชาติให้มา คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม

….จะละทิ้งได้อย่างไรคะ ก็คือดูเฉยๆ คือ กำหนดรู้ว่ามันเป็นวิบาก และวิบากฝ่ายใด ฝ่ายกุศลให้ผลเท่านั้นเอง เป็นผลของวิบากเท่านั้นเอง และเป็นผลของกรรมในอดีตเท่านั้นเอง จึงเขียนไว้ว่า ….

เราจึงควรหัดใจให้ยอมละทิ้งการมีที่เกิดจากธรรมชาติดูบ้าง ส่วนข้อความที่ว่า ด้วยการเลือกหาทางเอง แล้วใช้ชีวิตเดินบน “ทาง” ถึงจะหลงทางบ้าง แต่อย่า....เสียทาง
ก็คือ... การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเกิดด้วยกุศลกรรม แล้วเราต้องพยายามเดินอยู่บนกุศลกรรมให้ได้
ถึงจะหลงทาง คือ มีเรื่องธุระปะปังจะต้องทำงานบ้าน หรืองานจิปาถะ แม้จะรู้แล้วว่าสิ่งนั้นไม่ก่อประโยชน์อันสูงสุด แต่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ยังมีโอกาสทำและมีโอกาสกลับมาครองใจของเรา คือ มีคุณธรรมมีศีลธรรมประจำใจ และก็มีน้ำใจ รู้จักชีวิตให้ดี หมั่นคิด หมั่นตรึก หมั่นตรอง หมั่นประคองอารมณ์

นี่ก็เรียกว่า ถึงจะหลงทางไปบ้าง เพราะเราไม่มีโอกาสเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ทั้งวี่ทั้งวัน อย่างไรก็แล้วแต่ เข้าป่าก็ออกมาได้ แต่ถ้าลงไปในเหว หรือตกไปในน้ำจมลงไปแล้วโผล่ขึ้นมาไม่ได้

ฉะนั้น … หลงทางแต่อย่าเสียทาง ทางในที่นี้ ก็คือ กุศลกรรม นั่นเอง


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-11-24 07:24 , Processed in 0.061683 second(s), 20 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.9

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้