กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 1069|ตอบกลับ: 5

ทำจิตใจให้อยู่เฉยๆ จะไปถึงนิพพานหรือเปล่า

[คัดลอกลิงก์]

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405





ตอบคำถามโดยพี่ดอกแก้ว

ถาม ทำจิตใจให้อยู่เฉยๆ กับรูปเรื่อยไป อารมณ์อะไรมาก็เฉยเสียให้บ่อยๆ เมื่อทำไปนานๆอย่างนี้ จะไปถึงนิพพานหรือเปล่า

ตอบ ต้องเข้าใจเรื่องของพระนิพพานก่อนจะดีมากนะคะ เพราะจะได้ไม่เข้าใจผิดๆเช่นนี้ อย่าเอาจิตเป็นพระนิพพาน เพราะจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และก็เกิดดับอยู่ตลอด จิตเป็นอนิจจัง จะเป็นจิตบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็ต้องดับเหมือนกันทั้งนั้นนะคะ

ดังนั้นเมื่อมีสภาพความไม่เที่ยงเช่นนี้จะเป็นสุขได้อย่างไรกันใช่ไหมคะ...น่าคิดนะคะว่าแล้วอะไรคือนิพพานกันแน่ ถ้าไม่ศึกษาให้เกิดความเข้าใจก็คงยากที่จะทราบได้นะคะ

เราท่านทราบกันดีว่าโลกุตรธรรมมี ๙ อย่าง มรรคจิต ผลจิต ซึ่งเป็นโลกุตรธรรมก็จริงแต่ไม่ใช่นิพพาน มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ รวมเป็น ๘ แต่โลกุตรธรรมมี ๙ คือมีพระนิพพานอีกอย่างหนึ่ง นอกจากมรรคจิต และก็นอกจากผลจิตด้วย จึงรวมเป็น ๙ เรียกว่านวโลกุตตรธรรมค่ะ

ถ้าเราจะเอาจิตเป็นนิพพาน แบบที่คิดๆกันมากมายอยู่ทุกวันนี้นั้นผิด ถ้าจิตเป็นนิพพานปรมัตถ์ ก็ไม่ต้องมีนิพพานอีกเลยมีไปทำไมกันถ้าลงคิดว่าจิตเป็นนิพพานแล้วค่ะ ดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ให้ถูกต้องตรงตามสภาวะธรรมจะดีมาก

เพราะเท่าที่ได้รับฟังและอ่านคำถามที่มีอยู่ทั้งในเว็บต่างๆ และตามหนังสือนั้นส่วนมาก จะเข้าใจกันว่า..ทำจิตๆอะไรทำนองนี้แบบที่คุณถามมานะคะ ว่านั่งทำจิต ทำจิตใจให้อยู่เฉยๆ กับรูปเรื่อยไป อารมณ์อะไรมาก็เฉยเสียให้บ่อยๆ เมื่อทำไปนานๆอย่างนี้ จะไปถึงนิพพานหรือเปล่านั้นนะคะ

แสดงว่าพยายามที่จะให้จิตเป็นพระนิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะจิตเองก็สงเคราะห์ลงในทุกข์นะคะ และความไม่รู้ก็สงเคราะห์ลงในอวิชชา

อวิชชาคือความไม่รู้อริยะสัจจ ๔ คือไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ และไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์ เพราะถ้ารู้จักข้อปฏิบัติถูกจริง จะไม่มัวไปทำให้จิตว่างๆเฉยๆหรอกค่ะ และถ้าปฎิบัติเช่นนั้นก็ตกอยู่ในอวิชชา



32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-7-23 18:42:33 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ขอตัวอย่างมาให้ผู้ศึกษาพระอภิธรรมได้เห็นนะคะว่า..ขอถามว่า...จักขุวิญญาน โสตวิญญาน ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ เหล่านี้ มีกิเลสไหมค่ะ ลองคิดให้ดีนะคะว่า .... กิเลสเกิดใน จักขุวิญญานหรือเปล่า มีโลภะ มีโทสะ มีโมหะไหมค่ะ..ลองตอบในใจซิค่ะ ?

คำตอบก็คือ ไม่มีกิเลสเกิดในจักขุวิญญาน ฯ นะคะ

เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาน เป็นนิพพานใช่ไหมค่ะ ... ในเมื่อจักขุวิญญานไม่มีกิเลส มีแต่เจตสิก ๗ ดวงเท่านั้น คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ ที่ประกอบอยู่เท่านั้น

ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ อกุศลเจตสิกทั้งหมด ไม่มีใช่ไหมในจักขุวิญญาน โสภณกุศลเจตสิก ทั้งหมดไม่มีเลยในจักขุวิญญาน หรือโสตวิญญานฯ อย่างนี้ก็เป็นนิพพานใช่ไหมค่ะ ก็ต้องตอบว่าไม่ใช่อีกนั่นแหละ

ดังนี้จะเห็นได้ว่าการที่เห็นว่า.. จิตว่างไม่มี ...โลภะ... โทสะ ...โมหะ.. จะเป็นนิพพานแล้วละก็ ..จักขุวิญญาน.. โสตวิญญาน แม้กระทั่ง...ทวิปัญจวิญญาน ทั้ง ๑๐ เป็นนิพพานหมดเพราะไม่มีกิเลสเกิดร่วมเลย นี่เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก

และการเรียนต้องรู้ด้วย ไม่ใช่แต่เรียนๆแต่ไม่รู้ รู้เฉพาะที่เรียนอย่างนี้เสียเวลามากนะคะ เพราะหนทางแห่งปัญญายังไม่สามารถปรากฎได้เลย และแสงสว่างแห่งชีวิตจะมีได้อย่างไรกันค่ะ

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-7-23 18:42:57 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ถาม อยากทราบว่า พระนิพพานนั้น เป็นที่สิ้นสุดทุกข์ คำว่าสิ้นสุดทุกข์จริงๆ นั้นคืออะไร?

ตอบคำว่าสิ้นสุดทุกข์ ในความหมายของพระนิพพานนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า พระนิพพานเป็นที่สิ้นทุกข์ และเป็นสุดของทุกข์

ถ้าจะพูดไปกันว่า พระนิพพานเป็นสุข ก็จะต้องเป็นสุขที่สุด เพราะเป็นที่สุดของทุกข์ใช่ไหม

พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวเลยว่า เป็นที่สุดของสุข ทรงกล่าวไว้แต่เพียงว่า เป็นที่สุดของทุกข์ และจะต้องเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ด้วย เพื่อจะได้ไม่ไขว้เขวในการตีความหมาย

ที่ว่าสิ้นสุดทุกข์นั้น ก็คือไม่มีทุกข์ คำว่า สุขที่สุด คือ ที่สุดของความสุขคือไม่มีสุข สุขหมดแล้ว (สุขวิปลาส) ไม่มีสุขแล้ว อย่างนี้หมายถึง พระนิพพาน

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-7-23 18:43:19 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ถาม วันปล่อยผีมีจริงหรือไม่ช่วยตอบความจริงให้หายสงสัยด้วย?

ตอบ ตามหลักพิธีของพระพุทธศาสนานี้ คนชอบทำสลากภัตรในวันเดือนสิบเพ็ญก็เปรียบเทียบว่า ..วันนั้นสมัยพระโมคคัลลาน์ยังมีชีวิตอยู่ท่านไปเมืองนรก เมื่อไปเมืองนรกแล้วไฟนรกดับด้วยอิทธิฤทธิ์ของท่านด้วยบุญฤทธิ์

แล้วเปรตทั้งหลายหรือ สัตว์นรกทั้งหลายก็ขอฝากคำว่าให้ไปบอกญาติคนนั้น บอกญาติคนนี้ด้วยว่าตายแล้วมาตกนรกไม่ได้กินอะไรเลย แล้วจะไปรับอนุโมทนา เพราะไฟนรกดับ เขาจะมาได้วันนั้นวันเดียวเท่านั้นจึงเรียกว่าวันปล่อยผี

พวกเราคงสงสัยว่าทำไมไฟนรกจึงดับได้ ที่ดับได้ก็เพราะอิทธิฤทธิ์ของพระโมคคัลลาน์ไม่ใช่ใครจะเอาน้ำไปฉีดให้ดับได้ จึงมีการนำคาถานั้นมาเป็นมนต์พิธีเช่น เป่าเวลาโดนไฟลวก ไฟไหม้ โดยไม่ต้องใช้ยาสีฟันทา เมื่อโดนไฟไหม้แล้วมีอาการเจ็บๆ ร้อนที่ผิวหนัง เมื่อเป่าคาถานี้แล้วมันจะเย็นทันที (ตามความเชื่อที่ได้ฟังมาอีกทีนะครับ) ซึ่งเขาก็ใช้คาถาของพระโมคคัลลาน์นั่นเอง

แต่ถ้ามาใช้เหตุผลตามหลักความจริงแล้ว เราจะสามารถตอบกับตนเองได้ว่าวันปล่อยผีนั้นไม่มี เพราะกรรมใครก็กรรมใคร กรรมไม่มีทางจับใส่คุกตารางใดๆได้ ถ้าทำได้ละก็คงจะต้องช่วยกันจับกรรมชั่วขังไว้ไม่ให้มาสิงสถิตในจิตใจใครๆจะได้ไม่มีคนชั่วมากมายเช่นทุกวันนี้

และยิ่งเรื่องผลของกรรมด้วยแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะมีความสามารถเก่งกาจเกินกรรมได้ แต่ถ้าบอกว่าวันหมดกรรมที่ให้ผล (อโหสิกรรม)คงจะพอเข้าท่ากว่า

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-7-23 18:43:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ถาม การเจริญวิปัสสนา นั้นแตกต่างกันมากกับการเจริญสถมะ คือทำสมาธิอย่างไร?

ตอบที่ว่าการเจริญวิปัสสนาต่างกับการเจริญสมถะอย่างไรบ้างนั้น เป็นคำถามที่ดีมากอีกคำถามหนึ่ง เพราะนอกจากคุณแล้วผู้อื่นที่เข้ามาอ่านนั้นจะได้เข้าใจด้วย

ที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันโดยอารมณ์ ต่างกันโดยปหานะ ต่างกันโดยกิจ ต่างกันโดยลักษณะ ต่างกันโดยอานิสงส์ และต่างกันโดยสภาวะ

การเจริญวิปัสสนา เป็นการทำปัญญาที่รู้ซึ้งถึงนามรูปพร้อมด้วยลักษณะให้เกิดขึ้น
ส่วนการเจริญสมถะนั้นเป็นการทำสมาธิที่ตั้งมั่นในบัญญัติกรรมฐานอารมณ์ให้เกิดขึ้น

แต่ถ้าจะว่ากันโดยอารมณ์แล้ว
วิปัสสนาก็มีพระไตรลักษณ์ซึ่งเป็นลักษณะของนามรูปเป็นอารมณ์
แต่สมถะนั้นมีบัญญัติกรรมฐานมีกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์

ถ้าจะว่ากันโดยปหานะคือการละแล้ว
วิปัสสนาก็จัดเป็นตทังคะปหานะคือละอนุสัยกิเลสอันมีทิฏฐานุสัยเป็นต้นที่นอนเนื่องอยู่ในโลกียจิตทุกๆดวงตลอดระยะเวลาที่วิปัสสนานั้นเกิดขึ้น
ส่วนสมถะก็เป็นได้เพียงวิขัมภนปหานะคือ ละได้ด้วยการกดหรือข่มนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางเข้าไว้ได้ด้วยอำนาจขององค์ฌานเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจที่จะละอนุสัยกิเลสได้เหมือนวิปัสสนา

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-7-23 18:44:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ถ้าจะว่ากันโดยกิจแล้ว
วิปัสสนามีกิจกำจัดอวิชชาคือความไม่รู้ซึ้งสภาวะความจริงที่เป็นม่านมืดคอยปกปิดสภาวะความจริงของอารมณ์อยู่
ส่วนสมถะนั้นมีกิจกำจัดนิวรณ์๕มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น

ถ้าจะว่ากันโดยลักษณะแล้ว
วิปัสสนามีลักษณะรู้แจ้งแทงตลอดถึงสภาวะความจริงของอารมณ์เป็นลักษณะ
ส่วนสมถะมีความไม่ฟุ้งซ่านตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเป็นลักษณะ

แต่เมื่อจะว่ากันโดยอานิสงส์แล้ว
วิปัสสนามีอาสวขัย คือความสิ้นจากกิเลสทั้งปวงในชาติปัจจุบัน และมีการสิ้นชาติสิ้นภพในอนาคตชาติเป็นอานิสงส์
ส่วนสมถะนั้นก็มีอานิสงส์ทำให้ได้อภิญญาสมาบัติทั้ง ๕ มีหูทิพย์ ตาทิพย์เป็นต้น และทำจิตใจเยือกเย็นเนื่องจากสงบระงับนิวรณ์ที่มากลุ้มรุมจิตใจเสียได้ในชาติปัจจุบัน ส่วนอานิสงส์ในอนาคตชาตินั้น สมถะก็มีอานิสงส์ให้เกิดในพรหมโลกได้

ถ้าจะว่ากันโดยสภาวะของธรรมะทั้งสองอย่างนั้นแล้ว
วิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญาโดยตรง
ส่วนสมถะนั้นเน้นเรื่องของสมาธิโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญญาเลยนะ นี่ละความแตกต่างระหว่างวิปัสสนากับสมาธิ



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-28 19:32 , Processed in 0.093146 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้