มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 888|ตอบกลับ: 4

ชีวิตกับการยอมรับ

[คัดลอกลิงก์]

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405





ชีวิตกับการยอมรับ
ธรรมะบรรยายโดย หลวงพ่อเสือ


ชีวิตกับการยอมรับนั้นสำคัญมาก ถ้าเรายอมรับแล้ว เราไม่ทุกข์หรอก เพราะไม่มีใครเกิดมามีความสุข มีแต่สมมุติว่าสุข ฉะนั้น ชีวิตก็ไม่เป็นเรื่องยากเลย ถ้าเราค้นคว้าศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะเป็นศาสนาที่สอนทุกๆ อย่างให้เรายอมรับความจริงว่า ชีวิตเป็นทุกข์

แต่เมื่อมีปัญหาว่า เราเคยอยู่ในฐานะการงานที่มั่นคงและมั่งคั่ง เมื่อเศรษฐกิจตกสะเก็ดเป็นฟองสบู่กระเด็นกลายเป็นพยับแดด ก็ยอมรับไม่ได้ และเป็นการแก้ไขทุกข์ไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

ขั้นแรก ต้องยอมรับก่อน ต้องมีชีวิตกับการยอมรับว่าเป็นทุกข์ และยอมรับว่าชีวิตไม่มีโอกาสที่เป็นสุขเลย ไม่มีสุขที่แท้จริงแน่นอน สุขจีรังไม่มี มีแต่สุขชั่วคราว เราก็ต้องดูเลยว่า ตอนที่เราทำงานอยู่ดีๆ ระดับสูงๆ มันมีความสุข อันเป็นความสุขชั่วคราว สุขนั่นแหละพระพุทธเจ้าตรัสว่า สุขนั้นเป็นอนิจจัง สุขนั้นเป็นทุกขัง สุขนั้นเป็นอนัตตา ธรรมชาติทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา

เมื่อมีสุขก็มีทุกข์เป็นของคู่กัน จึงจะต้องยอมรับลงไปว่านอกจากชีวิตเป็นทุกข์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตนั้นเขาเรียกว่า โลกธรรม ๘ ประการมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นฝ่ายดี แล้วก็มีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ นี่เป็นฝ่ายไม่ดี มันมีการประกบกันอยู่ตลอดเวลา เป็นของคู่กัน ใครล่ะจะมีลาภอยู่ตลอดเวลา อุปมากก็เหมือนกับว่า ใครล่ะที่จะนั่งทำบุญอยู่ตลอดเวลา มีโอกาสไปกิน มีโอกาสไปกิน ไปอยากสารพัด มันมีความสลับซับซ้อนระหว่างบุญและบาป

ฉะนั้น เมื่อมีลาภก็ต้องมีเสื่อมลาภเป็นของธรรมดา มียศก็ต้องมีเสื่อมยศ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีสรรเสริญก็ต้องมีนินทา แต่ในลาภในยศ ในความมีในความไม่มี ก็เกิดขึ้นมาด้วยเหตุ ตั้งอยู่ด้วยเหตุ และดับไปด้วยเหตุ เมื่อทุกอย่างหมดเหตุแล้ว ผลก็ต้องหมดด้วย ฉะนั้น เราต้องปฏิรูป เริ่มต้นการสันโดษ ยินดีตามมี ยินดีตามได้ แต่อย่าท้อแท้ อย่าเกียจคร้าน ให้มีความขยันหมั่นเพียร คบมิตรดี ใช้เงินเป็น




32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-2 11:10:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ทุกวันนี้ที่เราคำนึงอยู่นี้ก็คือว่า กลัวจะไม่มีกิน เพราะเราเอาอดีตไปเปรียบเทียบกับอนาคต เอาอนาคตไปคิดกับอดีต ไม่อยู่กับปัจจุบัน คนเรากินอะไร? กินข้าว กินเพื่อแก้ทุกข์ไม่ได้กินเพื่อแก้อยาก อร่อยหรือไม่อร่อยอิ่มได้เหมือนกันใช่ไหม? แต่เราไม่คิดอย่างนี้ เรากลัวไปเองว่าจะไม่มีกิน กลัวจะไม่มีเงิน แล้วทุกวันนี้เรากินเงินเข้าไปหรือเปล่า? เรากินอะไร?

เราต้องคิดว่า กินเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ได้กินเพื่อแก้อยาก แล้วเรามีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อแท้ ไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจในโชคชะตา และต้องไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นลง เพราะเป็นเรื่องของกรรม เช่น โยมคนหนึ่งแก่แล้ว กินไม่ค่อยได้ เพราะทุกอย่างเสื่อม แต่ลูกอยากให้กินมากๆ ก็ถามว่าทำไมโยมไม่กินมากๆ ล่ะ? โยมตอบว่า อิ่มเจ้าค่ะ แล้วดูซิ เราอยากในสิ่งที่ไม่รู้เรื่องเลย เรากลัวไม่มีจะกิน แต่เราต้องรู้ว่า ชีวิตอยู่ได้ด้วยอะไร ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหารก็คือคำข้าวคำน้ำ เรากินเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ได้กินเพื่อแก้อยาก อร่อยหรือไม่อร่อย อิ่มได้เหมือนกัน เราลองทำกับข้าวอย่างเดียว เช่นแกงเลียง เป็นกับข้าวที่มีสารอาหารครบหมู่ แถมไล่ลมในท้องเสร็จและเป็นยาด้วย

ถ้าเราหลีก ละ ลด และเลิกความสุรุ่ยสุร่ายลง ละความเคยชินออกมา ทำแกงกับไข่ต้ม พรุ่งนี้ล่ะ ไข่เจียวกับแกงจืด มะรืนล่ะ ไข่ตุ๋นกับผัดผัก แต่ไม่ต้องรวมมิตรหรอก อย่าตามใจปาก อย่าอยากเกินจริงก็อยู่ได้ เช่น เราขายข้าวแกงอยู่ก็กินข้าวแกง แต่ส่วนมากคนขายข้าวแกง มักจะไปหาก๋วยเตี๋ยวกิน พวกขายก๋วยเตี๋ยวมักไปกินข้าวแกง เป็นการไม่ยินดีตามมี ไม่ยินดีตามได้ เรามักเบื่ออะไรที่จำเจซ้ำๆ ซากๆ แต่เมื่อเรารู้ฐานะของเราจากระดับผู้จัดการกลายมาเป็นคนขายข้าวแกงนี่ เราควรหรือที่จะกลับไปกินหูฉลามเหมือนเดิม นี่ล่ะการใช้ชีวิตพอเพียง ดำรงชีวิตคือกินเพื่อแก้ทุกข์ไม่ได้กินเพื่อแก้อยาก อร่อยหรือไม่อร่อยอิ่มได้เหมือนกัน นี่คือเรื่องอาหาร

ส่วนที่อยู่อาศัย คือ ใช้กันแดด กันฝน กันลม กันยุง เหลือบ ลิ้น ไร สัตว์มีพิษมาทำร้าย แค่หลับ แล้วตอนนอนหลับนี่เราจะเห็นไหมว่า เสาตรงนี้จากอิตาลี หรือนอนอยู่บนบ้านไม้สัก แม้ว่าจะเลี่ยมทองคำเอาไว้ก็ตาม แต่ตอนที่หลับก็ไม่รู้หรอก ชีวิตของเราก็ออกไปอยู่นอกบ้านเป็นส่วนมาก แล้วใครสบาย? คนที่อยู่เฝ้าบ้านนั่นไง

คนยากจนมี ๒ ชนิด คือ จนเพราะไม่มี กับจนเพราะไม่พอ
คนจนเพราะไม่มี เมื่อขยันทำมาหากินไปก็มีขึ้นมาได้
แต่จนเพราะไม่พอ ทำอย่างไรก็ไม่มีทางพอ

คนยากจนยังมีโอกาสมีได้ เช่น เกิดมาเป็นลูกตาสีตาสาอยู่ไกล ทุรกันดาร ต้องขุดมันแกว ขายมะละกอ ต้องทำงานตัวเป็นเกลียว แต่อยู่ดีๆ ก็มีคนพาเข้ามาบ้านกรุงเทพ มารับจ้างทำงานบ้าน เวลากินเจ้าของบ้านกินนิดเดียว แต่พวกพนักงานแม่บ้านนี่กินจนเป็นพะโล้เลย นี่เป็นพวกยากจนนะ แต่พวกที่อดอยากนั้น แม้จะมีเงินมากมายแต่กินบะหมี่อยู่ที่ทำงาน แล้วก็ผอม นี่เป็นเพราะอะไร? ทำไมจึงกินไม่ได้? เพราะอำนาจอกุศลส่งผล ทำให้ผะอืดผอม กินไม่ลง นี่คืออดอยาก แม้ว่าจะเกิดเป็นคนรวยก็จริงแต่พวกแม่บ้านได้กินมากกว่า

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-2 11:11:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นี่เป็นกฎของกรรม เป็นอำนาจของชีวิต ไม่เหมือนกัน และไม่มีใครลิขิต กรรมลิขิต อำนาจกรรมคงเส้นคงวา เราจึงต้องค่อยๆ ผ่อนผัน เราต้องหัดฝึกจิต และลดเครดิตตนเองลงมา แล้วก้าวไปข้างหน้าไปอย่างมั่นคง ด้วยความเป็นจริง ไม่มีอะไรหรอกที่ทำไม่ได้

จะสอนเรื่องความตายซึ่งทุกคนต้องประสบแน่นอน และเด็กที่เกิดมาทุกคนก็ต้องตาย ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นอมตะไม่ตาย ชีวิตเปรียบเหมือนตะเกียงน้ำมัน ต้องมีเหตุ ๔ อย่างไฟจึงจะดับ คือ

๑. น้ำมันหมด แต่ไส้ยังอยู่ ไฟก็ดับ เปรียบเหมือนหมดกรรมก็ต้องตาย

๒. น้ำมันยังอยู่ แต่ไส้หมด ไฟก็ดับ เปรียบเหมือนหมดอายุขัยก็ต้องตาย

๓. น้ำมันหมด ไส้ก็หมด ไฟก็ดับ เปรียบเหมือนหมดกรรมและหมดอายุขัย ก็ต้องตาย

๔. น้ำมันก็มีอยู่ ไส้ก็มีอยู่ แต่มีลมกรรโชกแรงๆ ไฟก็ดับ เปรียบเหมือนมีอุปเฉทกรรมมาตัดรอน ก็ต้องตาย

ดังนั้น แม้ว่าจะไม่มีสตางค์ แต่ไฟก็ติดอยู่ ก็ยังไม่ตาย แต่เรากลัวไปเอง ฉะนั้น เราจะเลิกบรรเทาทุกข์ไปเองว่า “อดตาย” เรามีสุข มีดี สบายได้ เพราะเราทำมาดี เรารู้เหตุนี่ แล้วเราอยากได้ดีต่อ เราต้องทำดีต่อ เราไม่อยากได้ชั่ว เราต้องทำเหตุดีสู้ไป อย่างที่กล่าวไว้แล้ว

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-2 11:11:42 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ฉะนั้น ชีวิตจึงต้องเรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำไห้ได้ ความจริงของชีวิตเป็นเรื่องเรียนไม่ยาก แต่จะยากสำหรับคนที่ท้อแท้ และมีความหวังมาก หวังมากก็ผิดหวังมาก ไม่หวังเลย ไม่ผิดหวังเลย และโดยคำจำกัดความว่า อย่าอยู่อย่างอยาก

คำว่า กรรมดี กรรมชั่วนั้น เราทำกรรมดีมา ทำกรรมชั่วมาในอดีตชาติ ทำไมล่ะ เราทำดีแล้ว แต่ไม่ได้ดี เพราะอะไร? เพราะเราไม่รู้จักกรรมดี ไม่รู้จักกฎของกรรมหรืออำนาจของกรรมดี จึงต้องศึกษาซักนิดเพื่อทวนความเข้าใจ

กรรมดีหรือกรรมชั่วคอยติดตามบุคคลผู้กระทำกรรมอยู่ตลอดเวลา ไม่ปล่อยเลย ท่านบอกว่า กรรมเปรียบเหมือนเงาตามตัว ขณะนี้นั่งอยู่ในที่ร่มมีเงาไหม? ไม่มี แต่ท่านบอกว่า กรรมมันตามล่าบุคคลที่ทำเหมือนเงาตามตัว การที่เรามองไม่เห็นเงาเพราะมัวดำเนินชีวิตอยู่ในทางที่ชั่ว หรือเรียกว่า มีชีวิตอยู่ในทางที่มืด แต่เมื่อออกไปกลางแดดเงามีไหม? มี เพราะมีแสงสว่างมากระทบ มันก็ทอดเงาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลทั้งหลายจึงมองไม่เห็นเงาตัวเองเพราะใช้ชีวิตอยู่ในความมืด คือขาดปัญญานั่นเอง ทั้งๆ ที่มีอยู่ตลอดเวลา

ถามว่า นั่งอยู่นี่เมื่อยไหม? ตอบว่า เมื่อย ความเมื่อยนั่นแหละเป็นเงาที่ตามมาสู่ชีวิตเป็นวิบาก ทุกข์เกิดแล้ว (อเหตุกอกุศลวิบาก) นั่งอยู่ คิดว่าการพลิกคือความสบาย ก็เป็นเงา (เป็นอเหตุกกุศลวิบากกายวิญญาณ) การที่เห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี สัมผัสถูกต้องดี ก็เป็นเพียงอเหตุกกุศลวิบากเท่านั้น จึงไม่มีคนไม่มีสัตว์ เราจะได้ไม่ติดใจว่า คนนี้ชมเป็น คนนี้ด่าเป็นแต่ เป็นวิบากทั้งสิ้นเลย ฉะนั้น เรามีเงา แต่บุคคลทั้งหลายไม่สามารถมองเห็นเงาตัวเองได้ แต่ถ้าเมื่อใดถูกแสงสว่าง (เห็นด้วยปัญญา) บุคคลนั้นแหละก็จะมองเห็นเงาตัวเองทุกครั้งไป

เพราะโดยสภาวะของความเป็นจริง กรรมจะให้ผลต่อเนื่องมา และจะให้ผลออกมาปรากฏชัดก็ต่อเมื่อสุกงอมเต็มที่ เพราะอะไร? เพราะกฎของกรรมหรืออำนาจของกรรม มีระยะฟักตัวตามสมควรที่เห็นได้ยาก และเพราะชีวิตของมนุษย์นั้นสั้น เรื่องมาก ภาระเยอะ ก่อนจะมีครอบครัวบุตรธิดา เขาไม่ค่อยคิดกันหรอกว่า มีบุตรธิดาตอนอายุ ๕๐ ปี ชีวิตเหลืออีก ๒๕ ปี ก็ต้องตาย บุตรธิดาอายุประมาณ ๑๘ เราก็เหลือชีวิตอีก ๗ ปีตาย แล้วชีวิตเราจะคุ้มครองเขาได้นานไหม และในระหว่าง ๑๘ ปีนั้น แน่ใจหรือว่าเราจะไม่มีกรรมมาตัดรอนฝ่ายอกุศล ก็ไม่แน่ใจ ก็ไม่รู้ อาจจะตายในวันสองวันนี้ก็ได้ ฉะนั้นใครจะดูแล

32

กระทู้

170

โพสต์

2405

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
2405
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-10-2 11:12:33 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ความรับผิดชอบต้องมีภายหลังความชอบเสมอ แต่คนไม่ค่อยคิดถึงความรับผิดชอบ แค่ชอบจึงออกเรือน เช่น คิดว่าเราจะหาเลี้ยงแม่บ้านได้ไหม เราจะรับผิดชอบชีวิตเขาจนกว่าเขาจะมีความสุขไปได้ไหม เดี๋ยวเราต้องตายก่อน แล้วใครจะรับผิดชอบเขา เขาคงว้าเหว่ ตอบตัวเองไม่ได้ หาจุดแห่งความสุขของตัวเองไม่ได้เลย บวชดีกว่า ความสงบในตัวเองไม่มี ไม่เอาเลย เลิกคิด ออกบวชดีกว่า นี่ต้องคิดหน้าคิดหลังหลายๆ พันครั้งเลย

ในเรื่องของกรรมดีนั้น เป็นหน้าที่ของคนรักดี เช่น การเรียนพระอภิธรรม ทำไมไม่ค่อยส่งผล? เพราะเราไม่ได้ปลูกถั่วงอก หรือต้นมะม่วงที่ใช้เวลา ๕ ปี แต่เราปลูกต้นสัก (ปัญญา) ต้นสักใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปี ไม้สักแข็งแกร่ง ปลวกไม่กัด ก็เปรียบเหมือนกับจิตที่เราฝึกการปฏิบัติวิปัสสนา กิเลสเข้าไปไม่ได้ แต่รอเวลาตรงนั้น เหมือนต้นสักที่ใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปี และต้นต้องใหญ่ จึงจะนำมาทำพื้นได้ เป็นพื้นของจิตใจ อย่าลืมว่า ลูกทุกคนกำลังปลูกต้นสัก ไม่ได้ปลูกต้นข้าว แต่การให้ผลเป็นหน้าที่ของกรรม นี่ล่ะได้ความรู้และกำลังใจจากพระธรรม

ถาม วันนี้ไม่มีเงิน ต้องไปยืมเงินจากผู้ให้กู้ แต่ตนเองก็ไม่ทราบว่า จะหาเงินมาคืนได้อย่างไร เมื่อทุกข์ทับถมมากๆ ก็คงจะทำให้บดบังความคิด ความรู้ที่เขาเคยได้อ่านได้ฟังว่าชีวิตนั้นเป็นอย่างไร กรรมนั้นเป็นอย่างไร ทำให้คิดฆ่าตัวตาย ถ้าอย่างนั้นจะได้บาปอะไรไหม เพราะถ้าฆ่าคนอื่นรังแกเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นนั้น มีกรรมมีบาป แต่เขาคิดว่า เมื่อชีวิตเป็นทุกข์ เขาจะตัดทุกข์ด้วยการไม่มีชีวิต ทุกข์ก็จะหมดด้วย เขาไม่คำนึงถึงชาติหน้า ถ้าอย่างนี้เขาจะมีกรรมอะไรที่เป็นโทษสำหรับการคิดทำลายชีวิตตนเอง?

ตอบ ต้องแยกประเด็นให้เห็น วันนี้ไม่มีสตางค์ซักสลึงเดียว แต่จำเป็นเพราะแม่ป่วย จำเป็นต้องใช้เงิน ๒๐๐ บาท เพื่อพาแม่ไปหาหมอ ในงบประมาณ ๒๐๐ ไม่มีเลย แต่ด้วยความกตัญญู กตเวทิตาคุณ ต้องไปยืมเขา แล้วรู้ว่าไปยืมต้องได้แน่ แต่ดอกเบี้ยแพง ถ้าเป็นหลักสภาวธรรมแล้ว ถ้าเราจะไปยืมหรือขอใคร มักจะมีเรื่องคือคนส่วนใหญ่ตระหนี่ถี่เหนียว ฉะนั้นเขาต้องมีวิบากดีส่งผล จึงสามารถเจรจาขอยืมเงินได้ แต่มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป และสามารถเอาเงินไปกตัญญูต่อแม่ได้ แล้วได้กรรมดีด้วย จัดว่ากรรมเก่าส่งผลมาดีแล้ว ให้ผลแล้วก็จบลง

แต่ที่ต้องใช้ดอกเบี้ยเยอะๆ นั้น จัดว่าวิบากอกุศลส่งผล ตามที่เรียนมาคือ กุศลเป็นเหตุให้เกิดอกุศลได้ อกุศลเป็นเหตุให้เกิดกุศลได้ เป็นจิตคนละขณะกัน แต่ส่งมาไล่เลี่ยกัน เมื่อแยกได้จะรู้ชัด แล้วความกตัญญูเป็นที่ตั้ง ทำให้ไม่คิดอะไรเลยในขณะนั้น แต่มาคิดได้ ถ้าคิดได้ถูกก็ดี แต่คิดไม่ถูกก็ไม่ดี จึงเป็นดินพอกหางหมูขึ้นมาอย่างที่กล่าว แล้วคิดจะฆ่าตัวตาย ซึ่งจะมีผลอะไรไหม ถ้าเปรียบเทียบกับการฆ่าสัตว์อื่น เช่น ตบยุงมีผลในปฏิสนธิกาลทำให้ตกนรกได้ และมีผลในปวัตติกาลถึง ๙ ประการ เช่น บางคนอายุ ๗๒ ปี มีสุขภาพดี แต่บางคนอายุ ๒๗ ปี นอนให้น้ำเกลือ อำนาจกรรมที่ทำให้กำลังกายเฉื่อยชา เพราะผลจากการฆ่าสัตว์



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-4-20 13:28 , Processed in 0.063245 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้