กรุณาเลือก แสดงผลรูปแบบอุปกรณ์พกพา | แสดงผลโหมดพีซี

มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ - เว็บบอร์ด

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 764|ตอบกลับ: 3

ถ้อยทีถ้อยอาศัยในปัญญา

[คัดลอกลิงก์]

238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138





" การเสวนาธรรม หรือการพูดคุยเกี่ยวกับธรรมะ
จึงเป็นการกระทำ "ถ้อยทีถ้อยอาศัย" ปัญญาซึ่งกันและกัน
เพราะว่าจะได้มีความรู้เป็นที่พึ่งแก่ชีวิตได้ "

วันนี้เรามีโอกาสมาพบกันอีกครั้ง ก็จะได้พูดคุยกันก่อนที่จะทำกิจกรรมอันสร้างสรรค์ประโยชน์กับชีวิต แต่ละวันก็จะมีเวลาพูดกับท่านมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่โอกาสและความคิดในขณะนั้น

อย่างไรก็ตามเรามีโอกาสมาเสวนาธรรม หรือพูดธรรมะนั้น เป็นการพูดในสิ่งที่เป็นมงคล เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตเพราะว่าเป็นการป้องกันภัยอันตรายไม่ให้เกิดขึ้น

ปกติเราต่างก็มีความกลัวเหมือนกันหมด กลัวภัยอันตรายไปร้อยแปดพันเก้า แต่ก็เป็นปกติอีกเช่นกันที่เราใช้ชีวิตกล้าเสี่ยง คือ อยู่ในความประมาท พร้อมที่จะพลาดไปในอกุศลทั้งหลาย เพราะเรามีอดีตเหตุและก็มีปัจจุบันเหตุด้วย โดยเฉพาะอดีตเหตุอย่างเดียวนั้นก็มีกำลังแล้ว และถ้าเราสร้างปัจจุบันเหตุด้วย กำลังก็จะทวีคูณขึ้นเกิดเป็นอันตรายกับตัวเรา เพราะฉะนั้น ถึงเราจะพยายามป้องกันอย่างไร ภัยอันตรายก็เกิดขึ้นกับเราอยู่อย่างเนืองนิตย์

อดีตเหตุที่ทำให้เราต้องพบกับอันตรายก็คืออกุศลเหตุทั้งหลายที่เราสร้างไว้ หรือกรรมชั่วทางกาย วาจาและใจนั่นเอง และปัจจุบันเหตุก็คือ การกระทำความชั่วทางกาย วาจา และใจที่ทำอยู่ในขณะนี้ซึ่งเป็นการตั้งตนไว้ไม่ชอบ เป็นการกระทำที่เร่งเร้าเอาสิ่งที่เป็นผลจากอดีตเหตุให้เกิดขึ้น จึงเท่ากับว่าเรากำลังใช้ชีวิตให้อยู่ในภัยอันตรายอย่างยกกำลังสอง

ฉะนั้น การเสวนาธรรม หรือการพูดคุยเกี่ยวกับธรรมะ จึงเป็นการกระทำ " ถ้อยทีถ้อยอาศัย" ให้ปัญญาซึ่งกันและกัน เพราะว่าจะได้มีความรู้เป็นที่พึ่งแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะคำสั่งสอนขององค์พระตถาคตเจ้านั้น เป็นการปัดเป่าภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นทุกทวาร และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก



238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-12-3 12:46:19 | ดูโพสต์ทั้งหมด



ทำไมเราต้องมาเสวนาธรรม? เพราะในปัจจุบันนี้สิ่งที่อยู่รอบตัวเราส่วนใหญ่ เป็นสื่อที่จะชักนำให้เราตกอยู่ในห้วงของความประมาทได้ง่าย

เช่น เราจะเห็นได้จากแฟนซีชีวิต คือ เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ประดับร่างกายนั้นมีมากมายหลากสไตล์ต่างคุณภาพ และเราก็มีความเข้าใจว่าเสื้อผ้าที่สวยงามและจำนวนมากมายนั้นทำให้เรามีความสุข ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด



ดังที่เราได้คุยกันไปแล้วว่า ทรัพย์สมบัติไม่ใช่สิ่งที่ให้ความสุขอย่างแท้จริง แต่เราเข้าใจผิดเองโดยเฉพาะการเงินไม่ได้ให้ใครสุขเลย จึงต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า เงินที่มีมากมายหรือเงินน้อยเป็นเพียงอุปกรณ์เอื้ออำนวยความสะดวกและความสบายชีวิตเท่านั้น

แต่ถึงเราจะร่ำรวยเพียงไหนเราก็ซื้อทุกข์ออกไปจากชีวิตไม่ได้ เพราะชีวิตนั้นเป็นขันธ์ที่หมายถึงกองแห่งทุกข์นั่นเอง เรามีเงินทองข้าวของอำนวยความสะดวกมากขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำให้ใจหายฟุ้งซ่านวิตกกังวลได้ เราต้องมีความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปในอารมณ์ต่างๆปตามอำนาจของการบังคับบัญชาไม่ได้ ที่ถูกดึงไปด้วยอำนาจกิเลส ตัณหา ที่ผ่านมาเราจึงไม่มีความสุขอันแท้จริง

และเมื่อเราไม่มีสุขที่แท้จริง เราจึงออกเดินทางเพื่อค้นหาความสุข เพราะเรารักชีวิตของเรา แต่เราก็หลงทางกันมามากแล้ว เพราะไร้เข็มทิศแห่งชีวิตที่เข้าใจถูกนั่นเอง ได้แก่การขาด สัมมาทิฏฐินั้นเองคือเข็มทิศของชีวิตที่ต้องการความสุข



การสนทนาธรรมจึงเป็นเสมือนการป้องกันอันตรายให้แก่ชีวิต เพราะเป็นการสร้างเข็มทิศไปสู่ความสุข ความรู้ความเข้าใจที่ได้ จากการศึกษาธรรมนี้เป็นการเสมือนมัคคุเทศก์นำพาขบวนชีวิตของเราให้เข้ารูปเข้ารอยพ้นไปจากพงหนาม

มูลนิธิแห่งนี้ชื่อ อภิธรรมมูลนิธิ เป็นสถานที่เปิดขึ้นมาเพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศลด้านการเผยแผ่ธรรม เป็นสถานที่ให้สัมมาทิฏฐิ เพราะอภิธรรม หมายถึง ความเป็นจริง เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงและยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือเรื่องของชีวิต และชีวิตนี่แหละคือตัวทุกข์

การศึกษาพระอภิธรรมจึงเป็นการสร้างสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การกระทำที่ถูก เพราะถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องแล้ว เราก็จะคิดไม่ถูกต้อง และทำไม่ถูกต้อง จึงพ้นทุกข์ไปไม่ได้



238

กระทู้

469

โพสต์

4138

เครดิต

ผู้ดูแลพิเศษ

Rank: 8Rank: 8

เครดิต
4138
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-12-3 12:47:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บุษกร เมธางกูร เมื่อ 2018-12-3 12:49



พระพุทธองค์ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา" และผู้ที่เห็นธรรมได้แล้ว ก็จะเป็นผู้ที่สิ้นความทุกข์ไปในที่สุด

ผู้ที่สิ้นความทุกข์คือผู้ที่ได้ความสุข แต่ตราบใดทุกข์ยังไม่หมด ก็ไม่มีทางสุขได้มีแต่ความสะดวกสบายที่จะใช้ชีวิต เช่น เรานั่งนานๆ ก็เป็นทุกข์ แต่เมื่อเราขยับเขยื้อนแล้วก็สบายขึ้น ท่าที่เราขยับตัวก็ไม่ใช่ท่าที่ให้ความสุข เป็นแต่เพียงท่าที่ทำให้สบายเท่านั้น

แต่เวทนาที่เสวยอารมณ์ของเราเป็นวิปลาสธรรมจึงทำให้คิดผิดไปว่าเป็นสุข

จริงอยู่ที่ความดีและความชั่วเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ความดีความชั่วเมื่อมีปริมาณมากในใจก็จะแสดงออกมาทางกาย และวาจา เรียกว่ากิเลส สิ่งที่แสดงออกมาด้วยกิเลสนั่นเองจึงบ่งชัดว่า บุคคลนั้น ขณะนั้นดีหรือขณะนั้นไม่ดี แล้วก็สรุปเรียกกันว่า คนดีคนชั่วนั่นเอง

เราต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า เรามักแสดงออกตามความเคยชิน เช่น คำอุทาน หรือเปลี่ยนอิริยาบถในขณะที่เผลอตัว เป็นต้น

ความเคยชินเกิดจากการกระทำซ้ำๆของเราเอง และก็กลายมาเป็นธรรมชาติของชีวิต เราชินกับธรรมชาติชนิดไหน ธรรมชาติชนิดนั้นก็จะมาบงการจิตใจของเรา ให้มีการกระทำที่เรียกว่า ความดีความเลว

ถ้าหากเราศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจแล้ว เราก็จะสามารถแยกชีวิตได้ถูกถึงประเด็นรากฐานเลย เมื่อเราแยกชีวิตถูก ความทุกข์ที่อยู่มากก็เบาบางลง และงดเว้นจากการกระทำที่ไม่จำเป็น เช่น การเพ้อเจ้อ การนินทา ที่มีเรื่องราวกันทุกวันนี้ก็เกิดจากวาจาเป็นสำคัญ พระพุทธจึงองค์ทรงสอนให้สังวรณ์ระวังและสำรวมอินทรีย์ ให้พูดแต่ในเรื่องที่จำเป็น

เราจะทำอย่างไรจึงจะใช้ชีวิตที่ไม่ประมาท หรือประมาทน้อยที่สุด ก็ขอให้ท่านระวังในเบื้องต้นว่า ให้เราพูดครึ่งเดียวของความคิด ดีกว่าคิดครึ่งเดียวของคำพูดเรามีสิทธิ์คิดได้สารพัดเลยค่ะทั้งในเรื่องดีและไม่ดี คนนี้ไม่ดี คนนั้นไม่ดี เรื่องนั้นน่าจะเป็นอย่างนั้น เขาเป็นอย่างนี้ เราน่าจะเป็นอย่างนั้น เราคิดได้สารพัด

แต่เวลาที่เราพูด อย่าพูดแบบไม่รู้จักคิด และพูดแบบน้ำท่วมทุ่ง คือ เพ้อเจ้อไป เพราะไม่มีประโยชน์ทั้งเขาและเรา และอาจเกิดผลไม่ดีจนรู้สึกได้ว่า รู้อย่างนี้ ไม่พูดดีกว่า ที่จริงแล้วควรจะรู้ว่าไม่ควรพูดก่อนที่จะคิด ไม่ใช้พูดแล้วมาคิดทีหลังนะคะ

บุษกร  เมธางกูร.






0

กระทู้

18

โพสต์

348

เครดิต

พุทธศาสนิกชน

Rank: 2

เครดิต
348
โพสต์ 2018-12-3 15:13:45 | ดูโพสต์ทั้งหมด
กราบขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ประวัติการแบน|อุปกรณ์พกพา|ข้อความล้วน|อภิธรรมออนไลน์

GMT+7, 2024-3-29 16:09 , Processed in 0.097343 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4, Rev.75

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้